คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง ครั้งที่ 2 ดังนี้
1. จังหวัดชุมพร
1.1 สถานการณ์ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2548)
1.1.1 จังหวัดชุมพรยังมีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินกรณีหมู่บ้านประสบภัยแล้งใน 8 อำเภอ 69 ตำบล 596 หมู่บ้าน ซึ่งขณะนี้มีฝนตกทั่วทั้งจังหวัดแล้ว ทำให้สถานการณ์ภัยแล้งเกือบเข้าสู่สภาวะปกติ
1.1.2 ราษฎรได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวน 54,251 ครัวเรือน สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร รายงานความเสียหายจากการประสบภัยแล้งของพืชผลทางการเกษตรว่าพืชไร่และพืชสวน มีมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 182,394,336 บาท ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ของทางราชการโดยด่วนแล้ว
1.2 การดำเนินงานแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน
1.2.1 ฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพร มีการออกปฏิบัติการจัดทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ตามสภาพอากาศที่เหมาะสม ทำให้มีฝนตกทั่วพื้นที่ทุกวัน ซึ่งฐานปฏิบัติการฝนหลวงฯ จะอยู่ปฏิบัติภารกิจจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2548
1.2.2 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร เตรียมการแจกจ่ายน้ำอุปโภคและบริโภคให้กับประชาชนตลอดเวลา ตามที่จะมีประชาชนร้องขอมา และจัดหาเครื่องสูบน้ำให้อำเภอที่ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะอำเภอหลังสวนได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมอีก 2 เครื่อง
1.2.3 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีเป้าหมายเจาะบ่อบาดาล จำนวน 20 บ่อ ขณะนี้ได้ดำเนินการเจาะบ่อบาดาลแล้วเสร็จ บ่อที่เจาะมีปริมาณน้ำเฉลี่ยบ่อละ 40,000 ลิตรต่อวันและอัตราการใช้น้ำคนละ 100 ลิตรต่อวัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2548)
1.3 ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกในบางพื้นที่ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร จังหวัดชุมพรจึงจะขอการสนับสนุนให้ฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพรอยู่ปฏิบัติการในพื้นที่ต่อไปอีก จนกว่าจะถึงฤดูฝนปกติ ซึ่งขณะนี้ได้มีการประสานงานในเบื้องต้นกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว
2. จังหวัดระนอง
2.1 สถานการณ์ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2548)
2.1.1 จังหวัดระนองยังประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินกรณีหมู่บ้านประสบภัยแล้งใน 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 28 ตำบล 159 หมู่บ้าน ขณะนี้มีฝนตกทั่วทั้งจังหวัดแล้ว ซึ่งทำให้สถานการณ์ภัยแล้งเกือบเข้าสู่สภาวะปกติ
2.1.2 ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 31,126 ครัวเรือน ประชากร 102,733 คน สำนักงานเกษตรจังหวัดระนองรายงานความเสียหายจากการประสบภัยแล้งของพืชผลทางการเกษตรว่าพืชไร่และพืชสวน มีมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 136,500 บาท ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ของทางราชการโดยด่วนแล้ว
2.2 การดำเนินงานแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน
2.2.1 ฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพร ยังมีการออกปฏิบัติการจัดทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่องในเขตจังหวัดชุมพรและพื้นที่ต่อเนื่องกับจังหวัดระนอง รวมทั้งเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนปกติ จึงช่วยทำให้มีฝนตกทั่วพื้นที่ทุกวัน
2.2.2 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีเป้าหมายเจาะบ่อบาดาลจำนวน 10 บ่อ ขณะนี้ได้ดำเนินการเจาะบ่อบาดาลแล้วเสร็จ บ่อที่เจาะมีปริมาณน้ำเฉลี่ยบ่อละ 40,000 ลิตรต่อวันและอัตราการใช้น้ำคนละ 100 ลิตรต่อวัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2548)
2.2.3 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เตรียมการแจกจ่ายน้ำอุปโภคและบริโภคให้กับประชาชนตลอดเวลา ตามที่จะมีประชาชนร้องขอมา
2.3 ปัญหาและอุปสรรค
2.3.1 เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งของจังหวัดมีลักษณะดินเป็นดินทราย ทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาถูกดูดซึมลงใต้ดินอย่างรวดเร็ว ซึ่งแหล่งน้ำและบ่อน้ำที่มีการขุดลอกใหม่ยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ดังนั้นประชาชนจึงยังต้องการให้มีการจัดทำฝนหลวงต่อไปอีก เพื่อให้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง
2.3.2 ภัยแล้งเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจนทำให้พืชไร่และพืชสวนของเกษตรกรเสียหายในจังหวัดระนอง ซึ่งเกษตรกรร้องเรียนว่าหน่วยงานราชการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2547 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ความช่วยเหลือ ด้านพืช ด้านประมง ด้านปศุสัตว์และด้านเกษตรอื่น โดยปรากฏว่ามูลค่าการช่วยเหลือจะต่ำกว่ามูลค่าความเสียหายจริงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเกษตรกรจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนและปรับอัตราการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเฉพาะในกรณีพืชสวนและพืชไร่เสียหาย ให้สูงขึ้น
3. การดำเนินงานแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาว
3.1 จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง แจ้งให้อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งทั้งระบบของจังหวัด โดยใช้งบประมาณจากเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ดำเนินงานเบื้องต้น 4 กิจกรรมหลัก คือ
1) จัดหาถังน้ำหรือภาชนะเก็บกักน้ำประเภทต่างๆ
2) ขุดลอกแหล่งน้ำ ลำห้วย หนองน้ำ และสระน้ำที่ตื้นเขิน
3) ก่อสร้างฝายประชาอาสา ฝายต้นน้ำลำธารและการขุดลอกหน้าฝาย
4) ขุดเจาะบ่อบาดาล หรือซ่อมแซมบ่อบาดาลและเป่าล้างบ่อบาดาล
3.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติการร่วมกับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนองเพื่อดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วทั้งจังหวัด รวมทั้งสำรวจศักยภาพและความต้องการของท้องถิ่นในการก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำและฝาย รวมทั้งระบบประปาหมู่บ้านเพิ่มเติม เพื่อใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภค โดยสรุปภาพรวม ดังนี้
1) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับข้อเสนอจากองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดชุมพร 18 แห่ง ต้องการเจาะบ่อบาดาลเพิ่ม 64 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดระนอง 21 แห่ง ต้องการเจาะบ่อบาดาลเพิ่ม 55 แห่ง ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2548
2) กรมทรัพยากรน้ำ ได้รับการประสานการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาว โดยจังหวัดชุมพรต้องการให้จัดทำฝายในพื้นที่ต้นน้ำ 70 จุด ขุดลอกคลอง ปรับปรุงฝาย ประตูระบายน้ำ และก่อสร้างฝายน้ำล้น รวม 24 โครงการ และขอให้แก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคและบริโภคในหมู่บ้านที่ไม่มีน้ำประปาในจังหวัดชุมพร 395 หมู่บ้าน สำหรับจังหวัดระนองต้องการให้จัดทำฝายในพื้นที่ต้นน้ำ 82 จุด ขุดลอกคลอง ปรับปรุงฝาย ประตูระบายน้ำ และก่อสร้างฝายน้ำล้น รวม 56 โครงการ และขอให้แก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคและบริโภคในหมู่บ้านที่ไม่มีน้ำประปาในจังหวัดระนอง 63 หมู่บ้าน ทั้งนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะนำข้อมูลดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของโครงการและจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาพรวมทั้งระบบของประเทศ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภคให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. จังหวัดชุมพร
1.1 สถานการณ์ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2548)
1.1.1 จังหวัดชุมพรยังมีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินกรณีหมู่บ้านประสบภัยแล้งใน 8 อำเภอ 69 ตำบล 596 หมู่บ้าน ซึ่งขณะนี้มีฝนตกทั่วทั้งจังหวัดแล้ว ทำให้สถานการณ์ภัยแล้งเกือบเข้าสู่สภาวะปกติ
1.1.2 ราษฎรได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวน 54,251 ครัวเรือน สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร รายงานความเสียหายจากการประสบภัยแล้งของพืชผลทางการเกษตรว่าพืชไร่และพืชสวน มีมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 182,394,336 บาท ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ของทางราชการโดยด่วนแล้ว
1.2 การดำเนินงานแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน
1.2.1 ฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพร มีการออกปฏิบัติการจัดทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง ตามสภาพอากาศที่เหมาะสม ทำให้มีฝนตกทั่วพื้นที่ทุกวัน ซึ่งฐานปฏิบัติการฝนหลวงฯ จะอยู่ปฏิบัติภารกิจจนถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2548
1.2.2 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชุมพร เตรียมการแจกจ่ายน้ำอุปโภคและบริโภคให้กับประชาชนตลอดเวลา ตามที่จะมีประชาชนร้องขอมา และจัดหาเครื่องสูบน้ำให้อำเภอที่ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะอำเภอหลังสวนได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมอีก 2 เครื่อง
1.2.3 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีเป้าหมายเจาะบ่อบาดาล จำนวน 20 บ่อ ขณะนี้ได้ดำเนินการเจาะบ่อบาดาลแล้วเสร็จ บ่อที่เจาะมีปริมาณน้ำเฉลี่ยบ่อละ 40,000 ลิตรต่อวันและอัตราการใช้น้ำคนละ 100 ลิตรต่อวัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2548)
1.3 ปัญหาและอุปสรรค
เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกในบางพื้นที่ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร จังหวัดชุมพรจึงจะขอการสนับสนุนให้ฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพรอยู่ปฏิบัติการในพื้นที่ต่อไปอีก จนกว่าจะถึงฤดูฝนปกติ ซึ่งขณะนี้ได้มีการประสานงานในเบื้องต้นกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว
2. จังหวัดระนอง
2.1 สถานการณ์ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤษภาคม 2548)
2.1.1 จังหวัดระนองยังประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินกรณีหมู่บ้านประสบภัยแล้งใน 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 28 ตำบล 159 หมู่บ้าน ขณะนี้มีฝนตกทั่วทั้งจังหวัดแล้ว ซึ่งทำให้สถานการณ์ภัยแล้งเกือบเข้าสู่สภาวะปกติ
2.1.2 ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 31,126 ครัวเรือน ประชากร 102,733 คน สำนักงานเกษตรจังหวัดระนองรายงานความเสียหายจากการประสบภัยแล้งของพืชผลทางการเกษตรว่าพืชไร่และพืชสวน มีมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 136,500 บาท ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ของทางราชการโดยด่วนแล้ว
2.2 การดำเนินงานแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน
2.2.1 ฐานปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดชุมพร ยังมีการออกปฏิบัติการจัดทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่องในเขตจังหวัดชุมพรและพื้นที่ต่อเนื่องกับจังหวัดระนอง รวมทั้งเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนปกติ จึงช่วยทำให้มีฝนตกทั่วพื้นที่ทุกวัน
2.2.2 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีเป้าหมายเจาะบ่อบาดาลจำนวน 10 บ่อ ขณะนี้ได้ดำเนินการเจาะบ่อบาดาลแล้วเสร็จ บ่อที่เจาะมีปริมาณน้ำเฉลี่ยบ่อละ 40,000 ลิตรต่อวันและอัตราการใช้น้ำคนละ 100 ลิตรต่อวัน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2548)
2.2.3 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เตรียมการแจกจ่ายน้ำอุปโภคและบริโภคให้กับประชาชนตลอดเวลา ตามที่จะมีประชาชนร้องขอมา
2.3 ปัญหาและอุปสรรค
2.3.1 เนื่องจากพื้นที่หลายแห่งของจังหวัดมีลักษณะดินเป็นดินทราย ทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาถูกดูดซึมลงใต้ดินอย่างรวดเร็ว ซึ่งแหล่งน้ำและบ่อน้ำที่มีการขุดลอกใหม่ยังไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ดังนั้นประชาชนจึงยังต้องการให้มีการจัดทำฝนหลวงต่อไปอีก เพื่อให้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง
2.3.2 ภัยแล้งเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจนทำให้พืชไร่และพืชสวนของเกษตรกรเสียหายในจังหวัดระนอง ซึ่งเกษตรกรร้องเรียนว่าหน่วยงานราชการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2547 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ความช่วยเหลือ ด้านพืช ด้านประมง ด้านปศุสัตว์และด้านเกษตรอื่น โดยปรากฏว่ามูลค่าการช่วยเหลือจะต่ำกว่ามูลค่าความเสียหายจริงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเกษตรกรจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนและปรับอัตราการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเฉพาะในกรณีพืชสวนและพืชไร่เสียหาย ให้สูงขึ้น
3. การดำเนินงานแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาว
3.1 จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง แจ้งให้อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งทั้งระบบของจังหวัด โดยใช้งบประมาณจากเงินทดรองราชการตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ดำเนินงานเบื้องต้น 4 กิจกรรมหลัก คือ
1) จัดหาถังน้ำหรือภาชนะเก็บกักน้ำประเภทต่างๆ
2) ขุดลอกแหล่งน้ำ ลำห้วย หนองน้ำ และสระน้ำที่ตื้นเขิน
3) ก่อสร้างฝายประชาอาสา ฝายต้นน้ำลำธารและการขุดลอกหน้าฝาย
4) ขุดเจาะบ่อบาดาล หรือซ่อมแซมบ่อบาดาลและเป่าล้างบ่อบาดาล
3.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ส่งเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติการร่วมกับจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนองเพื่อดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วทั้งจังหวัด รวมทั้งสำรวจศักยภาพและความต้องการของท้องถิ่นในการก่อสร้างแหล่งเก็บกักน้ำและฝาย รวมทั้งระบบประปาหมู่บ้านเพิ่มเติม เพื่อใช้น้ำในการอุปโภคและบริโภค โดยสรุปภาพรวม ดังนี้
1) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับข้อเสนอจากองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดชุมพร 18 แห่ง ต้องการเจาะบ่อบาดาลเพิ่ม 64 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลของจังหวัดระนอง 21 แห่ง ต้องการเจาะบ่อบาดาลเพิ่ม 55 แห่ง ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2548
2) กรมทรัพยากรน้ำ ได้รับการประสานการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระยะยาว โดยจังหวัดชุมพรต้องการให้จัดทำฝายในพื้นที่ต้นน้ำ 70 จุด ขุดลอกคลอง ปรับปรุงฝาย ประตูระบายน้ำ และก่อสร้างฝายน้ำล้น รวม 24 โครงการ และขอให้แก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคและบริโภคในหมู่บ้านที่ไม่มีน้ำประปาในจังหวัดชุมพร 395 หมู่บ้าน สำหรับจังหวัดระนองต้องการให้จัดทำฝายในพื้นที่ต้นน้ำ 82 จุด ขุดลอกคลอง ปรับปรุงฝาย ประตูระบายน้ำ และก่อสร้างฝายน้ำล้น รวม 56 โครงการ และขอให้แก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคและบริโภคในหมู่บ้านที่ไม่มีน้ำประปาในจังหวัดระนอง 63 หมู่บ้าน ทั้งนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะนำข้อมูลดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของโครงการและจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาพรวมทั้งระบบของประเทศ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภคให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--