แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักนายกรัฐมนตรี
ภาวะเรือนกระจก
คณะรัฐมนตรี
ภูมิอากาศ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร. และข้อสังเกตของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ด้วย
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นเรียกว่า “องค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก (องค์การมหาชน)” เรียกโดยย่อว่า “อ.บ.ภ.” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน่วยงานที่มีความคล่องตัวในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงการ การติดตามประเมินผลโครงการ การส่งเสริมการตลาดสำหรับการซื้อขายประมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง การส่งเสริมการพัฒนาโครงการและศักยภาพของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก
1.2 ให้องค์การมีอำนาจ ดังต่อไปนี้
1.2.1 วิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเสนอคณะกรรมการองค์การเพื่อให้ความเห็นชอบโครงการ
1.2.2 ประสานงาน ติดตามและประเมินผลโครงการที่ได้รับความเห็นชอบ และโครงการที่ได้รับการรับรอง
1.2.3 พัฒนาระบบและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับความเห็นชอบโครงการที่ได้รับการรับรอง และกานขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งการจัดทำบัญชีการซื้อขายเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก ฯลฯ
1.3 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก” ประกอบด้วย
1.3.1 ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงทางด้านการบริหาร
1.3.2 กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.3.3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่คณะกรรมการแห่งชาติแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงเป็นที่ประจักษ์ด้านการบริหารธุรกิจด้านพลังงาน ด้านป่าไม้ และด้านการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวนไม่เกิน 4 คน
1.4 ในวาระเริ่มแรก ให้มีคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจกประกอบด้วย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และ ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก จำนวน 3 คน ซึ่งกรรมการโดยตำแหน่งข้างต้นร่วมกันคัดเลือก เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการ และให้ปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะมีคณะกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับในระหว่างที่ยังไม่มีผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก เป็นการชั่วคราวไปจนกว่าจะมีผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
1.5 ให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทำหน้าที่รองผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่เจ้าหน้าที่ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
1.6 ในวาระเริ่มแรกให้องค์การประกอบด้วยส่วนงานหลัก ดังนี้
1.6.1 สำนักงานบริหารองค์การและศูนย์บริหารและศูนย์ข้อมูล
1.6.2 หน่วยวิเคราะห์โครงการ
1.6.3 หน่วยพัฒนาศักยภาพ
2. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ให้มีคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมศาสตร์ และด้านกฎหมาย จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 คนและไม่เกิน 5 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการโดยให้มีสำนักงานประสานการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอากาศในสังกัด สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการและเป็นฝ่ายเลขานุการ
2.2 ให้มีสำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสังกัดสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ดังนี้
2.2.1 สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิภาคแห่งชาติ
2.2.2 เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ทั้งในด้านการลดการปล่อยและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกความอ่อนไหวและการปรับตัวต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และการวิจัยและพัฒนาที่จะช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ฯลฯ
2.3 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ในกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย
2.3.1 เงินสมทบที่เรียกเก็บจากการซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง
2.3.2 เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
2.3.3 เงินจากดอกผลและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากกองทุนนี้
2.3.4 เงินอื่น ๆ ที่ได้รับมาเพื่อดำเนินการตามกองทุนนี้
2.4 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
2.4.1 วางยุทธศาสตร์การป้องกันและการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย รวมทั้งการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการกักเก็บและการปลอดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2.4.2 กำหนดนโยบาย แนวทาง หลักเกณฑ์ และกลไกการดำเนินงานร่วมกับนานาชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ โดยสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและผลประโยชน์ของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 สิงหาคม 2549--จบ--
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 ให้จัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นเรียกว่า “องค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก (องค์การมหาชน)” เรียกโดยย่อว่า “อ.บ.ภ.” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน่วยงานที่มีความคล่องตัวในการให้บริการเกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงการ การติดตามประเมินผลโครงการ การส่งเสริมการตลาดสำหรับการซื้อขายประมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง การส่งเสริมการพัฒนาโครงการและศักยภาพของบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก
1.2 ให้องค์การมีอำนาจ ดังต่อไปนี้
1.2.1 วิเคราะห์ กลั่นกรอง และทำความเห็นเสนอคณะกรรมการองค์การเพื่อให้ความเห็นชอบโครงการ
1.2.2 ประสานงาน ติดตามและประเมินผลโครงการที่ได้รับความเห็นชอบ และโครงการที่ได้รับการรับรอง
1.2.3 พัฒนาระบบและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ได้รับความเห็นชอบโครงการที่ได้รับการรับรอง และกานขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งการจัดทำบัญชีการซื้อขายเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านก๊าซเรือนกระจก ฯลฯ
1.3 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก” ประกอบด้วย
1.3.1 ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงทางด้านการบริหาร
1.3.2 กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.3.3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่คณะกรรมการแห่งชาติแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงเป็นที่ประจักษ์ด้านการบริหารธุรกิจด้านพลังงาน ด้านป่าไม้ และด้านการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวนไม่เกิน 4 คน
1.4 ในวาระเริ่มแรก ให้มีคณะกรรมการบริหารองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจกประกอบด้วย ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร และ ผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก จำนวน 3 คน ซึ่งกรรมการโดยตำแหน่งข้างต้นร่วมกันคัดเลือก เป็นกรรมการ และผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ช่วยเลขานุการ และให้ปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะมีคณะกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับในระหว่างที่ยังไม่มีผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการภาวะเรือนกระจก เป็นการชั่วคราวไปจนกว่าจะมีผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
1.5 ให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทำหน้าที่รองผู้อำนวยการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่เจ้าหน้าที่ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการตามพระราชกฤษฎีกานี้ ซึ่งต้องไม่เกินสองร้อยสี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
1.6 ในวาระเริ่มแรกให้องค์การประกอบด้วยส่วนงานหลัก ดังนี้
1.6.1 สำนักงานบริหารองค์การและศูนย์บริหารและศูนย์ข้อมูล
1.6.2 หน่วยวิเคราะห์โครงการ
1.6.3 หน่วยพัฒนาศักยภาพ
2. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ให้มีคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมศาสตร์ และด้านกฎหมาย จำนวนไม่ต่ำกว่า 3 คนและไม่เกิน 5 คน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ และปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและเลขานุการ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการโดยให้มีสำนักงานประสานการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอากาศในสังกัด สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการและเป็นฝ่ายเลขานุการ
2.2 ให้มีสำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสังกัดสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ดังนี้
2.2.1 สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิภาคแห่งชาติ
2.2.2 เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ทั้งในด้านการลดการปล่อยและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกความอ่อนไหวและการปรับตัวต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และการวิจัยและพัฒนาที่จะช่วยในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ฯลฯ
2.3 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ในกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย
2.3.1 เงินสมทบที่เรียกเก็บจากการซื้อขายปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรอง
2.3.2 เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศรัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ
2.3.3 เงินจากดอกผลและผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากกองทุนนี้
2.3.4 เงินอื่น ๆ ที่ได้รับมาเพื่อดำเนินการตามกองทุนนี้
2.4 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
2.4.1 วางยุทธศาสตร์การป้องกันและการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย รวมทั้งการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการกักเก็บและการปลอดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
2.4.2 กำหนดนโยบาย แนวทาง หลักเกณฑ์ และกลไกการดำเนินงานร่วมกับนานาชาติว่าด้วยการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ โดยสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและผลประโยชน์ของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 สิงหาคม 2549--จบ--