คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 7 เดือนแรกปี 2551 (มกราคม — กรกฎาคม) ดังนี้
1. การส่งออก
การส่งออกเดือนกรกฎาคม 2551 การส่งออกมีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีมูลค่าเกิน 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในทุกหมวดโดยเฉพาะสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวมากทุกรายการ อาทิ ข้าวปริมาณ 0.98 ล้านตัน มูลค่า 755.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 และ 212.1 ตามลำดับ ยางพารา ปริมาณ 0.26 ล้านตัน มูลค่า 719.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และ 51.9 ตามลำดับ อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูปมูลค่า 614 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.7 ไก่แช่แข็งและแปรรูป มูลค่า 138.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 130.1
สำหรับหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมากได้แก่ ยานยนต์ มูลค่า 1,708 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.7 อัญมณีและเครื่องประดับมูลค่า 866 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 197.1 ( โดยร้อยละ 56 เป็นการส่งออกทองคำมูลค่า 493 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,133) วัสดุก่อสร้าง มูลค่า 798 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.7 น้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ 1,089 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 278.9
การส่งออกในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่า 104,170.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 คิดเป็น 60.9% ของเป้าหมายการส่งออก
2. การนำเข้า
การนำเข้าเดือนกรกฎาคม 2551 มีมูลค่า 17,984.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันเมื่อปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.1 โดยสินค้าสำคัญเพิ่มขึ้นทุกหมวด โดยเฉพาะในหมวดทุนและหมวดวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 และ 52.9 ตามลำดับ สอดคล้องกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมสำคัญที่เริ่มขยายการลงทุนและการขยายตัวของการส่งออก เช่น ยานยนต์และเครื่องจักรสำนักงานเป็นต้น
สินค้าสำคัญที่ขยายตัวมากคือ น้ำมันดิบ ปริมาณ 26.21 ล้านบาร์เรลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 มูลค่า 3,592.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.5 ราคาเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ 137.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.3 ทั้งนี้นอกจากจะนำเข้ามาเป็นเชื้อเพลิงแล้ว ยังใช้ในการผลิตในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติก ซึ่งอุตสาหกรรมในหมวดดังกล่าวมีการขยายตัวของการส่งออกสูง
นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าแท่นขุดเจาะน้ำมันและอุปกรณ์มูลค่า 233 ล้านเหรียญสหรัฐ และก๊าซธรรมชาติ มูลค่า 202 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การนำเข้าในระยะ 7 เดือนของปี 2551 มีมูลค่า 106,264.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันกับ ปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 เนื่องจากราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ 7 เดือนแรกของปี 2551 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 70.2 จากช่วงเดียวกันของปี 2550
3. ดุลการค้า
ดุลการค้าเดือนกรกฎาคม 2551 ไทยขาดดุลการค้า 1,026.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าในระยะ 7 เดือนแรก ปี 2551 ขาดดุลการค้ารวม 2,094.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากที่เกินดุลการค้า 4,966.5 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะเดียวกันของปีก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 กันยายน 2551--จบ--
1. การส่งออก
การส่งออกเดือนกรกฎาคม 2551 การส่งออกมีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และมีมูลค่าเกิน 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในทุกหมวดโดยเฉพาะสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวมากทุกรายการ อาทิ ข้าวปริมาณ 0.98 ล้านตัน มูลค่า 755.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 และ 212.1 ตามลำดับ ยางพารา ปริมาณ 0.26 ล้านตัน มูลค่า 719.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 และ 51.9 ตามลำดับ อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูปมูลค่า 614 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.7 ไก่แช่แข็งและแปรรูป มูลค่า 138.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 130.1
สำหรับหมวดสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมากได้แก่ ยานยนต์ มูลค่า 1,708 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.7 อัญมณีและเครื่องประดับมูลค่า 866 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 197.1 ( โดยร้อยละ 56 เป็นการส่งออกทองคำมูลค่า 493 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,133) วัสดุก่อสร้าง มูลค่า 798 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.7 น้ำมันสำเร็จรูปร้อยละ 1,089 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 278.9
การส่งออกในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2551 มีมูลค่า 104,170.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 คิดเป็น 60.9% ของเป้าหมายการส่งออก
2. การนำเข้า
การนำเข้าเดือนกรกฎาคม 2551 มีมูลค่า 17,984.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับเดือนเดียวกันเมื่อปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.1 โดยสินค้าสำคัญเพิ่มขึ้นทุกหมวด โดยเฉพาะในหมวดทุนและหมวดวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 และ 52.9 ตามลำดับ สอดคล้องกับการขยายตัวของอุตสาหกรรมสำคัญที่เริ่มขยายการลงทุนและการขยายตัวของการส่งออก เช่น ยานยนต์และเครื่องจักรสำนักงานเป็นต้น
สินค้าสำคัญที่ขยายตัวมากคือ น้ำมันดิบ ปริมาณ 26.21 ล้านบาร์เรลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 มูลค่า 3,592.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.5 ราคาเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ 137.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.3 ทั้งนี้นอกจากจะนำเข้ามาเป็นเชื้อเพลิงแล้ว ยังใช้ในการผลิตในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติก ซึ่งอุตสาหกรรมในหมวดดังกล่าวมีการขยายตัวของการส่งออกสูง
นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าแท่นขุดเจาะน้ำมันและอุปกรณ์มูลค่า 233 ล้านเหรียญสหรัฐ และก๊าซธรรมชาติ มูลค่า 202 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การนำเข้าในระยะ 7 เดือนของปี 2551 มีมูลค่า 106,264.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันกับ ปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.8 เนื่องจากราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ 7 เดือนแรกของปี 2551 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 70.2 จากช่วงเดียวกันของปี 2550
3. ดุลการค้า
ดุลการค้าเดือนกรกฎาคม 2551 ไทยขาดดุลการค้า 1,026.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าในระยะ 7 เดือนแรก ปี 2551 ขาดดุลการค้ารวม 2,094.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากที่เกินดุลการค้า 4,966.5 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะเดียวกันของปีก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 กันยายน 2551--จบ--