คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ข้อมูล ณ 31 กรกฎาคม 2551) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปสาระ สำคัญ ดังนี้
การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ฯ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ดำเนินการแนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์ด้านการบริหารจัดการ ให้ความรู้และพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ ให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงินและบัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่เกษตรกร
ผลการดำเนินงาน
- ด้านการรวมกลุ่ม มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร และส่งเสริมเพิ่มความรู้และทักษะด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดให้เกษตรกร เป้าหมาย 1,129 กลุ่ม ดำเนินการได้ 956 กลุ่ม คิดเป็น ร้อยละ 84.68 เกษตรกร 227,802 ครัวเรือน
- ด้านเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาตามแนวทฤษฏีใหม่ และการอบรมให้ความรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแก่เกษตรกร เป้าหมาย 274 แห่ง ดำเนินการได้ 240 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 87.59 เกษตรกร 39,892 ครัวเรือน
- การพัฒนาขีดความสามารถของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิต พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนปอเนาะ การตรวจสอบบัญชีกลุ่มเกษตรกร เป้าหมาย 1,417 กลุ่ม ดำเนินการได้ 1,157 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 81.65 เกษตรกร 15,805 ครัวเรือน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพเกษตรให้สอดคล้องกับศักยภาพและพื้นที่
ดำเนินการพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพภาคเกษตรให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาเกษตร จากแหล่งผลิตการเกษตรที่ส่งเสริมให้เกิดขึ้นใหม่และพัฒนาปรับปรุงคุณภาพแหล่งผลิตการเกษตรที่มีอยู่เดิมจากสินค้าเกษตรต่าง ๆ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว ลองกอง ปศุสัตว์ (โค แพะ ไก่) และประมง
ผลการดำเนินงาน
- ยางพารา ให้การสงเคราะห์ดำเนินการปลูกแทน 33,052 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.13 ของเป้าหมาย 76,630 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตภายในปี 2558 จำนวน 21,762 ตัน/ปี ดำเนินการดูแลสวนยาง โดยให้คำแนะนำและสนับสนุนแก่เจ้าของส่วน 478,809 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 101.18 ของเป้าหมาย 473,239 ไร่
- ปาล์มน้ำมัน ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่นาร้างเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันปี 2551 ดำเนินการได้ 8,723 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 95.52 ของเป้าหมาย 9,132 ไร่ ดำเนินการอบรมเกษตรกร จำนวน 502 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.22 ของเป้าหมาย 820 ราย รวมทั้งก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาด 45 ตันทะลายต่อชั่วโมง 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 78.00
- ข้าว เพิ่มพื้นที่ปลูกใหม่ปี 2551 โดยฟื้นฟูนาร้างเป็นนาข้าว 6,500 ไร่ (จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ผลิตข้าวปลอดสารพิษและข้าวอินทรีย์ 2,000 ไร่ (จังหวัดปัตตานี) และเพิ่มประสิทธิภาพข้าว 200 ไร่ (จังหวัดสตูล) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกร รณรงค์สาธิตการปลูกข้าว และจัดซื้อจัดจ้างเพื่อปรับที่ดิน คาดว่าเมื่อดำเนินการเก็บเกี่ยวจะมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นในพื้นที่ 3.654 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 32.886 ล้านบาท
- ลองกอง ดำเนินการพัฒนาศักยภาพการผลิตลองกองให้มีคุณภาพ โดยการฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตและศัตรูของลองกองและการป้องกันกำจัด ดำเนินการแล้ว 1,318 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.46 ของเป้าหมาย 2,720 ราย รวมทั้งจัดทำแปลงต้นแบบเรียนรู้ภายในศูนย์วิจัย/ศูนย์บริการเครือข่ายในพื้นที่ 39 ไร่
- พืชอื่น ๆ ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักไร้ดิน ปลูกข้าวโพดหวาน สับปะรดเชิงพาณิชย์ และพืชอื่น ๆ โดยฝึกอบรมเกษตรกร 1,360 ราย จัดทำแปลงสาธิต 345 ราย และจัดทำแปลงต้นแบบการเรียนรู้ 284 ไร่ จำนวน 230 มุ้ง
- โคเนื้อ อบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ 1,814 คน คิดเป็นร้อยละ 90.70 ของเป้าหมาย 2,000 คน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพการผลิตของกลุ่ม 86 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 86 ของเป้าหมาย 100 กลุ่ม นอกจากนี้มีการตรวจสุขภาพแม่โค รวมทั้งดำเนินการผสมเทียมเพื่อเพิ่มผลผลิตโคเนื้อ 4,962 ตัว แม่โคตั้งท้องจำนวน 1,341 ตัว มีลูกโคที่เกิดจากการผสมเทียม 342 ตัว (เพศผู้ 205 ตัว เพศเมีย 137 ตัว) คิดเป็นมูลค่าเมื่อลูกหย่านม จำนวน 10.728 ล้านบาท
- แพะ ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรแกนนำ 404 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.73 ของเป้าหมาย 422 ราย และติดตามดูแลแพะของกลุ่มเกษตรกร 211 กลุ่ม มีลูกแพะเกิดทั้งสิ้น 2,154 ตัว (เพศผู้ 872 ตัว เพศเมีย 1,282 ตัว) จำหน่ายแล้วได้เงิน 197,640 บาท (105 ตัว)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน
ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน เพื่อเพิ่มพื้นที่ทำการเกษตรให้มากขึ้นด้วยการอนุรักษ์ดินและนำ เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำด้วยการสร้างแหล่งปะการังเทียม และส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการฯ ในรูปชุมชน
ผลการดำเนินงาน
- ทรัพยากรดิน ดำเนินการฟื้นฟูและป้องกันการชะล้างพังทลายของดินด้วยการปลูกหญ้าแฝกและจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ จำนวน 5.11 ล้านกล้า คิดเป็นร้อยละ 87.80 ของเป้าหมาย 5.82 ล้านกล้า ส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี 4,92,580 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 89.14 ของเป้าหมาย 552,600 ไร่ และปรับปรุงคุณภาพดิน 800 ไร่
- ทรัพยากรน้ำ ก่อสร้างแหล่งน้ำ ระบบส่งน้ำ ปรับปรุงระบบชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นา จำนวน 210 แห่ง ดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 70.22 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มพื้นที่รับน้ำชลประทานใหม่ และปรับปรุงประสิทธิภาพของพื้นที่รับน้ำเดิม รวมทั้งสิ้น 83,740 ไร่
- ปะการังเทียม ดำเนินการก่อสร้างปะการังเทียม จำนวน 3 แห่ง อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้างครั้งที่ 2 เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคา เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้มีแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำมากขึ้น ส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรให้เข้มแข็ง
ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรให้เข้มแข็งด้วยการสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานการเชื่อมโยงกับปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้นำท้องถิ่น และสร้างแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรในชุมชนให้ครบ ทุกตำบลในพื้นที่
ผลการดำเนินงาน
- พัฒนาเกษตรอาสา ประกอบด้วย หมอดินอาสาและยุวหมอดินอาสา อาสาปฏิรูปที่ดินเกษตรกร คลื่นลูกใหม่ ยุวเกษตรกร ครูบัญชีอาสา อาสาสมัครเกษตรและสหกรณ์ โดยดำเนินการอบรมให้เกษตรกรมีศักยภาพด้านการเกษตร และสามารถเป็นกลไกเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชนในพื้นที่ ดำเนินการแล้ว 3,625 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.59 ของเป้าหมาย 3,677 ราย
- สร้างแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรในชุมชน โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ดำเนินการแล้ว 111 แห่ง โดยจัดสัมมนาชี้แจงกรอบแนวทางการดำเนินงานให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง หากดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพอย่างน้อย 33,300 ราย
- การประเมินผล ดำเนินการติดตามความก้าวหน้า จำนวน 16 โครงการ
ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปี 2551
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินการ ทั้งสิ้น 1,471.81 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,044.83 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 71.00
การดำเนินงานโครงการตามนโยบายเร่งด่วนที่ใช้งบ ศอ.บต.
1. โครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพารา วงเงิน 16 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างตลาดกลางยางพารา จังหวัดยะลา เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยทดลองเปิดตลาดสัปดาห์ละ 2 วัน พบว่า ภายใน 4 สัปดาห์ ช่วยดึงราคายางในท้องถิ่นให้สูงขึ้นระหว่าง 9-13 บาท จากสัปดาห์ที่ 1 ราคาท้องถิ่น 83-86 บาท เพิ่มเป็น 92-99 บาท ทำให้เกษตรกรเจ้าของสวนยางพาราที่ขายยางทั้งในและนอกตลาดกลาง สามารถขายยางได้ในราคาที่สูงขึ้น และใช้ราคาตลาดกลางเป็นราคาอ้างอิงในการซื้อขายยาง
2. โครงการนำร่องส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่เนื้อครบวงจร วงเงิน 2.615 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่อำเภอจะนะ, เทพา , นาทวี และสะบ้าย้อย จ.สงขลา มีผู้เลี้ยงรวม 5 กลุ่ม เป้าหมาย เกษตรกร 50 ราย ดำเนินการได้ 63 ราย คิดเป็นร้อยละ 126 เป้าหมายการเลี้ยงไก่ 15 รุ่น จำนวน 30,000 ตัว ดำเนินการได้ 12 รุ่น จำนวน 28,920 ตัว คิดเป็น ร้อยละ 96.40 สามารถจำหน่ายไก่ได้เงิน 1.243 ล้านบาท
3. โครงการฟื้นฟูนาร้าง วงเงิน 23.5836 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ คือโครงการฟื้นฟูนาร้างตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จ.ปัตตานี วงเงิน 21.1836 ล้านบาท และโครงการส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรในพื้นที่นาร้าง จ.ยะลา วงเงิน 2.4 ล้านบาท ได้ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สำรวจพื้นที่ จัดทำบัญชีผู้เข้าร่วมโครงการ และดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 467 ราย ในพื้นที่เป้าหมาย 5,500 ไร่
สรุปผลการดำเนินงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินงานโครงการเพื่อพัฒนาการเกษตรในเขตพื้นที่เฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 ยุทธศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 413 โครงการ โดยดำเนินการพัฒนาอาชีพและให้ความรู้แก่เกษตรกร 2,615 กลุ่ม/แห่ง จำนวนเกษตรกร 333,499 ครัวเรือน และพัฒนาอาชีพทำประโยชน์ในพื้นที่ จำนวน 1,013,964 ไร่ สามารถพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และส่งผลทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่นาร้างเพิ่มขึ้น ดำเนินการเบิกจ่ายเงินไปทั้งสิ้น 1,044.83 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 71.00 นอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการจัดกอล์ฟการกุศลหาทุนช่วยเหลือข้าราชการ และพนักงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการ ขณะนี้ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น 3,157,717 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 กันยายน 2551--จบ--
การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ฯ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ดำเนินการแนะนำส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์ด้านการบริหารจัดการ ให้ความรู้และพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ ให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงินและบัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงแก่เกษตรกร
ผลการดำเนินงาน
- ด้านการรวมกลุ่ม มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร และส่งเสริมเพิ่มความรู้และทักษะด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดให้เกษตรกร เป้าหมาย 1,129 กลุ่ม ดำเนินการได้ 956 กลุ่ม คิดเป็น ร้อยละ 84.68 เกษตรกร 227,802 ครัวเรือน
- ด้านเศรษฐกิจพอเพียงดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาตามแนวทฤษฏีใหม่ และการอบรมให้ความรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงแก่เกษตรกร เป้าหมาย 274 แห่ง ดำเนินการได้ 240 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 87.59 เกษตรกร 39,892 ครัวเรือน
- การพัฒนาขีดความสามารถของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ผลิต พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนปอเนาะ การตรวจสอบบัญชีกลุ่มเกษตรกร เป้าหมาย 1,417 กลุ่ม ดำเนินการได้ 1,157 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 81.65 เกษตรกร 15,805 ครัวเรือน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพเกษตรให้สอดคล้องกับศักยภาพและพื้นที่
ดำเนินการพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพภาคเกษตรให้สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาเกษตร จากแหล่งผลิตการเกษตรที่ส่งเสริมให้เกิดขึ้นใหม่และพัฒนาปรับปรุงคุณภาพแหล่งผลิตการเกษตรที่มีอยู่เดิมจากสินค้าเกษตรต่าง ๆ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว ลองกอง ปศุสัตว์ (โค แพะ ไก่) และประมง
ผลการดำเนินงาน
- ยางพารา ให้การสงเคราะห์ดำเนินการปลูกแทน 33,052 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.13 ของเป้าหมาย 76,630 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิตภายในปี 2558 จำนวน 21,762 ตัน/ปี ดำเนินการดูแลสวนยาง โดยให้คำแนะนำและสนับสนุนแก่เจ้าของส่วน 478,809 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 101.18 ของเป้าหมาย 473,239 ไร่
- ปาล์มน้ำมัน ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่นาร้างเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันปี 2551 ดำเนินการได้ 8,723 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 95.52 ของเป้าหมาย 9,132 ไร่ ดำเนินการอบรมเกษตรกร จำนวน 502 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.22 ของเป้าหมาย 820 ราย รวมทั้งก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาด 45 ตันทะลายต่อชั่วโมง 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 78.00
- ข้าว เพิ่มพื้นที่ปลูกใหม่ปี 2551 โดยฟื้นฟูนาร้างเป็นนาข้าว 6,500 ไร่ (จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ผลิตข้าวปลอดสารพิษและข้าวอินทรีย์ 2,000 ไร่ (จังหวัดปัตตานี) และเพิ่มประสิทธิภาพข้าว 200 ไร่ (จังหวัดสตูล) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกร รณรงค์สาธิตการปลูกข้าว และจัดซื้อจัดจ้างเพื่อปรับที่ดิน คาดว่าเมื่อดำเนินการเก็บเกี่ยวจะมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นในพื้นที่ 3.654 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 32.886 ล้านบาท
- ลองกอง ดำเนินการพัฒนาศักยภาพการผลิตลองกองให้มีคุณภาพ โดยการฝึกอบรมเกษตรกรหลักสูตรเทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตและศัตรูของลองกองและการป้องกันกำจัด ดำเนินการแล้ว 1,318 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.46 ของเป้าหมาย 2,720 ราย รวมทั้งจัดทำแปลงต้นแบบเรียนรู้ภายในศูนย์วิจัย/ศูนย์บริการเครือข่ายในพื้นที่ 39 ไร่
- พืชอื่น ๆ ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผักไร้ดิน ปลูกข้าวโพดหวาน สับปะรดเชิงพาณิชย์ และพืชอื่น ๆ โดยฝึกอบรมเกษตรกร 1,360 ราย จัดทำแปลงสาธิต 345 ราย และจัดทำแปลงต้นแบบการเรียนรู้ 284 ไร่ จำนวน 230 มุ้ง
- โคเนื้อ อบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ 1,814 คน คิดเป็นร้อยละ 90.70 ของเป้าหมาย 2,000 คน รวมทั้งพัฒนาศักยภาพการผลิตของกลุ่ม 86 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 86 ของเป้าหมาย 100 กลุ่ม นอกจากนี้มีการตรวจสุขภาพแม่โค รวมทั้งดำเนินการผสมเทียมเพื่อเพิ่มผลผลิตโคเนื้อ 4,962 ตัว แม่โคตั้งท้องจำนวน 1,341 ตัว มีลูกโคที่เกิดจากการผสมเทียม 342 ตัว (เพศผู้ 205 ตัว เพศเมีย 137 ตัว) คิดเป็นมูลค่าเมื่อลูกหย่านม จำนวน 10.728 ล้านบาท
- แพะ ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรแกนนำ 404 ราย คิดเป็นร้อยละ 95.73 ของเป้าหมาย 422 ราย และติดตามดูแลแพะของกลุ่มเกษตรกร 211 กลุ่ม มีลูกแพะเกิดทั้งสิ้น 2,154 ตัว (เพศผู้ 872 ตัว เพศเมีย 1,282 ตัว) จำหน่ายแล้วได้เงิน 197,640 บาท (105 ตัว)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน
ดำเนินการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน เพื่อเพิ่มพื้นที่ทำการเกษตรให้มากขึ้นด้วยการอนุรักษ์ดินและนำ เพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำด้วยการสร้างแหล่งปะการังเทียม และส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการฯ ในรูปชุมชน
ผลการดำเนินงาน
- ทรัพยากรดิน ดำเนินการฟื้นฟูและป้องกันการชะล้างพังทลายของดินด้วยการปลูกหญ้าแฝกและจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ จำนวน 5.11 ล้านกล้า คิดเป็นร้อยละ 87.80 ของเป้าหมาย 5.82 ล้านกล้า ส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี 4,92,580 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 89.14 ของเป้าหมาย 552,600 ไร่ และปรับปรุงคุณภาพดิน 800 ไร่
- ทรัพยากรน้ำ ก่อสร้างแหล่งน้ำ ระบบส่งน้ำ ปรับปรุงระบบชลประทาน แหล่งน้ำในไร่นา จำนวน 210 แห่ง ดำเนินการแล้วเสร็จร้อยละ 70.22 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มพื้นที่รับน้ำชลประทานใหม่ และปรับปรุงประสิทธิภาพของพื้นที่รับน้ำเดิม รวมทั้งสิ้น 83,740 ไร่
- ปะการังเทียม ดำเนินการก่อสร้างปะการังเทียม จำนวน 3 แห่ง อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้างครั้งที่ 2 เนื่องจากไม่มีผู้เสนอราคา เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้มีแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำมากขึ้น ส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรให้เข้มแข็ง
ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรให้เข้มแข็งด้วยการสร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานการเชื่อมโยงกับปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้นำท้องถิ่น และสร้างแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรในชุมชนให้ครบ ทุกตำบลในพื้นที่
ผลการดำเนินงาน
- พัฒนาเกษตรอาสา ประกอบด้วย หมอดินอาสาและยุวหมอดินอาสา อาสาปฏิรูปที่ดินเกษตรกร คลื่นลูกใหม่ ยุวเกษตรกร ครูบัญชีอาสา อาสาสมัครเกษตรและสหกรณ์ โดยดำเนินการอบรมให้เกษตรกรมีศักยภาพด้านการเกษตร และสามารถเป็นกลไกเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐและประชาชนในพื้นที่ ดำเนินการแล้ว 3,625 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.59 ของเป้าหมาย 3,677 ราย
- สร้างแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรในชุมชน โดยจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรภายใต้การดำเนินงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ดำเนินการแล้ว 111 แห่ง โดยจัดสัมมนาชี้แจงกรอบแนวทางการดำเนินงานให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง หากดำเนินการแล้วเสร็จจะทำให้เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารเพื่อใช้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพอย่างน้อย 33,300 ราย
- การประเมินผล ดำเนินการติดตามความก้าวหน้า จำนวน 16 โครงการ
ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ปี 2551
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินการ ทั้งสิ้น 1,471.81 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,044.83 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 71.00
การดำเนินงานโครงการตามนโยบายเร่งด่วนที่ใช้งบ ศอ.บต.
1. โครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพารา วงเงิน 16 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างตลาดกลางยางพารา จังหวัดยะลา เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยทดลองเปิดตลาดสัปดาห์ละ 2 วัน พบว่า ภายใน 4 สัปดาห์ ช่วยดึงราคายางในท้องถิ่นให้สูงขึ้นระหว่าง 9-13 บาท จากสัปดาห์ที่ 1 ราคาท้องถิ่น 83-86 บาท เพิ่มเป็น 92-99 บาท ทำให้เกษตรกรเจ้าของสวนยางพาราที่ขายยางทั้งในและนอกตลาดกลาง สามารถขายยางได้ในราคาที่สูงขึ้น และใช้ราคาตลาดกลางเป็นราคาอ้างอิงในการซื้อขายยาง
2. โครงการนำร่องส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่เนื้อครบวงจร วงเงิน 2.615 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่อำเภอจะนะ, เทพา , นาทวี และสะบ้าย้อย จ.สงขลา มีผู้เลี้ยงรวม 5 กลุ่ม เป้าหมาย เกษตรกร 50 ราย ดำเนินการได้ 63 ราย คิดเป็นร้อยละ 126 เป้าหมายการเลี้ยงไก่ 15 รุ่น จำนวน 30,000 ตัว ดำเนินการได้ 12 รุ่น จำนวน 28,920 ตัว คิดเป็น ร้อยละ 96.40 สามารถจำหน่ายไก่ได้เงิน 1.243 ล้านบาท
3. โครงการฟื้นฟูนาร้าง วงเงิน 23.5836 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ คือโครงการฟื้นฟูนาร้างตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จ.ปัตตานี วงเงิน 21.1836 ล้านบาท และโครงการส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรในพื้นที่นาร้าง จ.ยะลา วงเงิน 2.4 ล้านบาท ได้ดำเนินการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สำรวจพื้นที่ จัดทำบัญชีผู้เข้าร่วมโครงการ และดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 467 ราย ในพื้นที่เป้าหมาย 5,500 ไร่
สรุปผลการดำเนินงาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินงานโครงการเพื่อพัฒนาการเกษตรในเขตพื้นที่เฉพาะกิจ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 ยุทธศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 413 โครงการ โดยดำเนินการพัฒนาอาชีพและให้ความรู้แก่เกษตรกร 2,615 กลุ่ม/แห่ง จำนวนเกษตรกร 333,499 ครัวเรือน และพัฒนาอาชีพทำประโยชน์ในพื้นที่ จำนวน 1,013,964 ไร่ สามารถพัฒนาอาชีพด้านการเกษตร เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น และส่งผลทางเศรษฐกิจของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่นาร้างเพิ่มขึ้น ดำเนินการเบิกจ่ายเงินไปทั้งสิ้น 1,044.83 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 71.00 นอกจากนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการจัดกอล์ฟการกุศลหาทุนช่วยเหลือข้าราชการ และพนักงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนสวัสดิการ ขณะนี้ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น 3,157,717 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 กันยายน 2551--จบ--