คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัย ในห้วงวันที่ 11-31 สิงหาคม 2551 สรุปสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นรวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 1 กันยายน 2551) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11 - 31 สิงหาคม 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 7 จังหวัด 48 อำเภอ 298 ตำบล 2,310 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน เชียงราย นครพนม สกลนคร หนองคาย เพชรบูรณ์ และมุกดาหาร
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 6 คน (จังหวัดนครพนม 2 คน จังหวัดหนองคาย 4 คน) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 100,576 ครัวเรือน 438,152 คน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 3,824 หลัง ถนน 1,049 สาย สะพาน 58 แห่ง พื้นที่การเกษตร 496,693 ไร่ สัตว์ปีก 211,558 ตัว ปศุสัตว์ 50,209 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 2,373 บ่อ ทำนบ 36 แห่ง ฝาย 82 แห่ง ท่อระบายน้ำ 309 แห่ง วัด 25 แห่ง โรงเรียน 59 แห่ง สถานที่ราชการ 48 แห่ง
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 238,105,252 บาท
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ เชียงราย สกลนคร มุกดาหาร และหนองคาย ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดนครพนม ดังนี้
จังหวัดนครพนม ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง และน้ำในแม่น้ำโขงมีปริมาณสูงขึ้นเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร จำนวน 5 อำเภอ 18 ตำบล 240 หมู่บ้าน (มีผู้เสียชีวิต 2 คน อำเภอโพนสวรรค์ 1 อำเภอเมือง 1 คน) ได้แก่ อำเภอท่าอุเทน อำเภอนาทม อำเภอศรีสงคราม อำเภอบ้านแพง และอำเภอโพนสวรรค์ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรของ อำเภอศรีสงคราม ระดับน้ำลดลง เนื่องจากลำน้ำสงครามระบายลงสู่แม่น้ำโขงได้เร็วขึ้น คาดว่าระดับน้ำจะลดลงภายใน 1 สัปดาห์
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครพนม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มอบถุงยังชีพ 5,000 ชุด เรือท้องแบน 14 ลำ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ 500 ชุด มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก 1,450 ชุด พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ 1,500 ชุด เหล่ากาชาดจังหวัดสนับสนุนชุดยาเวชภัณฑ์ 2,000 ชุด ปศุสัตว์มอบหญ้าแห้ง 15 ตัน สาธารณสุขจังหวัดนครพนม มอบชุดยาสามัญประจำบ้าน 7,000 ชุด จังหวัดทหารบกนครพนม มอบถุงยังชีพ 200 ชุด กรมชลประทานติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 3 เครื่อง ในเขตเทศบาลเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกไปสำรวจ และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
1.4 การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัยของหน่วยงาน
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) ได้ระดมกำลัง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมืออุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ของ ศูนย์ฯเขตต่าง ๆ เข้าไปช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ดังนี้
(1) ประเภทและจำนวนเครื่องจักรกล
เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และเครื่องมืออุปกรณ์ 12 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 43 ลำ สะพานแบลีย์ ขนาด 15 เมตร รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน
(2) เจ้าหน้าที่ 150 คน
(3) สนับสนุนถุงยังชีพให้แก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำนวน 8,000 ชุด
2) กรมชลประทาน ได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตาม จังหวัดต่างๆทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำให้การช่วยเหลือในพื้นที่ประสบอุทกภัย ดังนี้ จังหวัดสกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5 เครื่อง และจังหวัดหนองคาย 17 เครื่อง
3) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย หน่วยทหารพัฒนา โดย นพค.25 จัดกำลังพล 35 นาย พร้อม รยบ.สไตร์เออร์ 1 คัน รยบ.สัมภาระ 2 คัน และเรือท้องแบน 2 ลำ อพยพราษฎรและมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย 130 ครัวเรือน ในพื้นที่อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม อำเภอโพธิ์ตาก และอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 6 กันยายน 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเล อันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 1-6 กันยายน 2551 ร่องความกดอากาศต่ำ จะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ทั่วประเทศมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน และแพร่ ระมัดวังอันตราย จากสภาวะฝนตกหนักไว้ด้วย
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มจากสภาวะฝนตกที่อาจจะเกิดขึ้น โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 กันยายน 2551--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11 - 31 สิงหาคม 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 7 จังหวัด 48 อำเภอ 298 ตำบล 2,310 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดน่าน เชียงราย นครพนม สกลนคร หนองคาย เพชรบูรณ์ และมุกดาหาร
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 6 คน (จังหวัดนครพนม 2 คน จังหวัดหนองคาย 4 คน) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 100,576 ครัวเรือน 438,152 คน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 3,824 หลัง ถนน 1,049 สาย สะพาน 58 แห่ง พื้นที่การเกษตร 496,693 ไร่ สัตว์ปีก 211,558 ตัว ปศุสัตว์ 50,209 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 2,373 บ่อ ทำนบ 36 แห่ง ฝาย 82 แห่ง ท่อระบายน้ำ 309 แห่ง วัด 25 แห่ง โรงเรียน 59 แห่ง สถานที่ราชการ 48 แห่ง
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น 238,105,252 บาท
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ เชียงราย สกลนคร มุกดาหาร และหนองคาย ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดนครพนม ดังนี้
จังหวัดนครพนม ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง และน้ำในแม่น้ำโขงมีปริมาณสูงขึ้นเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร จำนวน 5 อำเภอ 18 ตำบล 240 หมู่บ้าน (มีผู้เสียชีวิต 2 คน อำเภอโพนสวรรค์ 1 อำเภอเมือง 1 คน) ได้แก่ อำเภอท่าอุเทน อำเภอนาทม อำเภอศรีสงคราม อำเภอบ้านแพง และอำเภอโพนสวรรค์ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรของ อำเภอศรีสงคราม ระดับน้ำลดลง เนื่องจากลำน้ำสงครามระบายลงสู่แม่น้ำโขงได้เร็วขึ้น คาดว่าระดับน้ำจะลดลงภายใน 1 สัปดาห์
การให้ความช่วยเหลือ
จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครพนม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มอบถุงยังชีพ 5,000 ชุด เรือท้องแบน 14 ลำ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ 500 ชุด มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก 1,450 ชุด พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ 1,500 ชุด เหล่ากาชาดจังหวัดสนับสนุนชุดยาเวชภัณฑ์ 2,000 ชุด ปศุสัตว์มอบหญ้าแห้ง 15 ตัน สาธารณสุขจังหวัดนครพนม มอบชุดยาสามัญประจำบ้าน 7,000 ชุด จังหวัดทหารบกนครพนม มอบถุงยังชีพ 200 ชุด กรมชลประทานติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 3 เครื่อง ในเขตเทศบาลเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกไปสำรวจ และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
1.4 การสนับสนุนให้ความช่วยเหลือแก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัยของหน่วยงาน
1) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) ได้ระดมกำลัง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมืออุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ของ ศูนย์ฯเขตต่าง ๆ เข้าไปช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ดังนี้
(1) ประเภทและจำนวนเครื่องจักรกล
เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และเครื่องมืออุปกรณ์ 12 คัน/เครื่อง เรือท้องแบน 43 ลำ สะพานแบลีย์ ขนาด 15 เมตร รถผลิตน้ำดื่ม 2 คัน
(2) เจ้าหน้าที่ 150 คน
(3) สนับสนุนถุงยังชีพให้แก่จังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำนวน 8,000 ชุด
2) กรมชลประทาน ได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตาม จังหวัดต่างๆทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำให้การช่วยเหลือในพื้นที่ประสบอุทกภัย ดังนี้ จังหวัดสกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5 เครื่อง และจังหวัดหนองคาย 17 เครื่อง
3) ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย หน่วยทหารพัฒนา โดย นพค.25 จัดกำลังพล 35 นาย พร้อม รยบ.สไตร์เออร์ 1 คัน รยบ.สัมภาระ 2 คัน และเรือท้องแบน 2 ลำ อพยพราษฎรและมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย 130 ครัวเรือน ในพื้นที่อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม อำเภอโพธิ์ตาก และอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 6 กันยายน 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเล อันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตลอดช่วง และในช่วงวันที่ 1-6 กันยายน 2551 ร่องความกดอากาศต่ำ จะพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ทั่วประเทศมีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน และแพร่ ระมัดวังอันตราย จากสภาวะฝนตกหนักไว้ด้วย
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มจากสภาวะฝนตกที่อาจจะเกิดขึ้น โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 กันยายน 2551--จบ--