คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2548) สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2548 มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,554 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ปริมาณน้ำสูงสุด เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2548 จำนวน 1,828 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จำนวน 1,343 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2548 จำนวน 1,540 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) และเขื่อนพระรามหกปิดการระบายน้ำ จะทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในเกณฑ์ 1,343 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 16 ตุลาคม 2548 จำนวน 67 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ปริมาณน้ำดังกล่าวนี้จะไหลผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ที่อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ปกติปริมาณน้ำที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หากอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะไม่ส่งผลกระทบให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร) ใน ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้ง โดยมีระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดที่สะพานพุทธฯ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2548 เวลา 17.00 น. วัดได้ 1.72 เมตร (รทก.) ส่วนระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาในวันที่ 17 ตุลาคม 2548 ที่จังหวัดสิงห์บุรี ต่ำกว่าตลิ่ง 3.22 เมตร ที่จังหวัดอ่างทอง ต่ำกว่าตลิ่ง 2.34 เมตร และที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่ำกว่าตลิ่ง 2.19 เมตร
2. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เนื่องจากได้เกิดฝนตกหนักในช่วงระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2548 ที่ผ่านมาทำให้พื้นที่บริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครซึ่งมีลักษณะเป็นที่ลุ่มและเป็นแอ่งกะทะ เกิดปัญหาน้ำท่วมขังประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลกระทบต่อชุมชนและพื้นที่การเกษตรในเขตมีนบุรีบริเวณบึงขวาง หนองจอก ซึ่งมีการทำนาหญ้าและนาข้าว กรมชลประทานได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาในขณะนั้น ด้วยการเร่งระบายน้ำผ่านคลองแสนแสบ และคลองประเวศบุรีรัมย์ ลงสู่คลองชายทะเลริมถนนสุขุมวิทสายเก่า และเร่งสูบน้ำผ่านสถานีสูบน้ำเจริญราษฎร์ สถานีสูบน้ำบางปลา สถานีสูบน้ำบางปลาร้า ในปริมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2548 ทำให้ในขณะนี้ปริมาณน้ำ ที่ท่วมขังได้ลดลงเหลือเพียงพื้นที่ลุ่มบางแห่งเท่านั้น แต่กรมชลประทานยังคงดำเนินการสูบน้ำออกสู่ทะเลวันละ 5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 3-5 วันหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม และจะหยุดการสูบน้ำและเก็บกักน้ำไว้ในคลองต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการเกษตรในช่วงฤดูแล้งต่อไป
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนั้น กรมชลประทานได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยศึกษาความเหมาะสมแนวทางการระบายน้ำ ผลการศึกษาพบว่า แนวทางผันน้ำออกทางด้านข้างของพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก โดยการปรับปรุงคลองต่าง ๆ ได้แก่ ขุดขยายคลองระพีพัฒน์ เริ่มจากจุดตัดแม่น้ำป่าสัก ลงมาทางตอนล่างเชื่อมต่อกับคลอง 13 คลอง 14 และคลองอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคลองนครเนื่องเขตระบายผ่านแม่น้ำนครนายก-บางปะกง และคลองพระองค์ไชยานุชิต เพื่อระบายน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนออกสู่ทะเล และได้เร่งดำเนินการขุดคลองสายใหม่สำโรง-ชายทะเล ความยาวประมาณ10.5 กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จภายในปี 2551 ซึ่งสามารถช่วยระบายน้ำจากบริเวณพื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิได้ 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2548 มีปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1,554 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ปริมาณน้ำสูงสุด เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2548 จำนวน 1,828 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จำนวน 1,343 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2548 จำนวน 1,540 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) และเขื่อนพระรามหกปิดการระบายน้ำ จะทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในเกณฑ์ 1,343 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากวันที่ 16 ตุลาคม 2548 จำนวน 67 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ปริมาณน้ำดังกล่าวนี้จะไหลผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ที่อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ปกติปริมาณน้ำที่ไหลผ่านกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หากอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะไม่ส่งผลกระทบให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร) ใน ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้ง โดยมีระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดที่สะพานพุทธฯ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2548 เวลา 17.00 น. วัดได้ 1.72 เมตร (รทก.) ส่วนระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาในวันที่ 17 ตุลาคม 2548 ที่จังหวัดสิงห์บุรี ต่ำกว่าตลิ่ง 3.22 เมตร ที่จังหวัดอ่างทอง ต่ำกว่าตลิ่ง 2.34 เมตร และที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต่ำกว่าตลิ่ง 2.19 เมตร
2. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เนื่องจากได้เกิดฝนตกหนักในช่วงระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2548 ที่ผ่านมาทำให้พื้นที่บริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครซึ่งมีลักษณะเป็นที่ลุ่มและเป็นแอ่งกะทะ เกิดปัญหาน้ำท่วมขังประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลกระทบต่อชุมชนและพื้นที่การเกษตรในเขตมีนบุรีบริเวณบึงขวาง หนองจอก ซึ่งมีการทำนาหญ้าและนาข้าว กรมชลประทานได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาในขณะนั้น ด้วยการเร่งระบายน้ำผ่านคลองแสนแสบ และคลองประเวศบุรีรัมย์ ลงสู่คลองชายทะเลริมถนนสุขุมวิทสายเก่า และเร่งสูบน้ำผ่านสถานีสูบน้ำเจริญราษฎร์ สถานีสูบน้ำบางปลา สถานีสูบน้ำบางปลาร้า ในปริมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2548 ทำให้ในขณะนี้ปริมาณน้ำ ที่ท่วมขังได้ลดลงเหลือเพียงพื้นที่ลุ่มบางแห่งเท่านั้น แต่กรมชลประทานยังคงดำเนินการสูบน้ำออกสู่ทะเลวันละ 5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 3-5 วันหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม และจะหยุดการสูบน้ำและเก็บกักน้ำไว้ในคลองต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการเกษตรในช่วงฤดูแล้งต่อไป
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตนั้น กรมชลประทานได้ดำเนินการตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยศึกษาความเหมาะสมแนวทางการระบายน้ำ ผลการศึกษาพบว่า แนวทางผันน้ำออกทางด้านข้างของพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก โดยการปรับปรุงคลองต่าง ๆ ได้แก่ ขุดขยายคลองระพีพัฒน์ เริ่มจากจุดตัดแม่น้ำป่าสัก ลงมาทางตอนล่างเชื่อมต่อกับคลอง 13 คลอง 14 และคลองอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคลองนครเนื่องเขตระบายผ่านแม่น้ำนครนายก-บางปะกง และคลองพระองค์ไชยานุชิต เพื่อระบายน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนออกสู่ทะเล และได้เร่งดำเนินการขุดคลองสายใหม่สำโรง-ชายทะเล ความยาวประมาณ10.5 กิโลเมตร ให้แล้วเสร็จภายในปี 2551 ซึ่งสามารถช่วยระบายน้ำจากบริเวณพื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิได้ 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--