คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) รายงานการกำกับติดตามการปฏิบัติราชการบูรณาการการแก้ไขปัญหาความยากจน (คาราวานแก้จน) ซึ่ง รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) ได้มอบหมายให้รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (นายจักรภพ เพ็ญแข) ดำเนินการตรวจติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายคาราวานแก้จนของจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 (จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี) ระหว่างวันที่ 26-27 กันยายน 2548 โดยได้ประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามผลการดำเนินการ และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการของแต่ละจังหวัด พร้อมกับเดินทางไปติดตามผลการดำเนินงานช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย และตรวจเยี่ยมราษฎร ที่หมู่ 5 ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ กับติดตามผลการดำเนินงานคาราวานแก้จนที่บ้านหนองแม่แตง หมู่ 1 ตำบลหนองแม่แตง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร ด้วย สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี มีผู้มาลงทะเบียนผู้มีปัญหาความเดือดร้อน รวม 531,599 ราย ดำเนินการให้ความช่วยเหลือแล้วรวม 203,868 ราย ในการนี้ จังหวัดกำแพงเพชร มีผู้มาลงทะเบียนฯ ขอยุติเรื่องจำนวน 36,854 ราย ทำให้จำนวนผู้มาลงทะเบียนฯ ที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ คงเหลือ 290,877 ราย
2. การจัดคาราวานแก้จน ที่ให้บริการคำแนะนำเพื่อสร้างโอกาส และทางเลือกในการประกอบอาชีพ และเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาและสาธารณสุขของจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 ได้ดำเนินการแล้ว รวม 21 ครั้ง (เฉพาะจังหวัดพิจิตรและอุทัยธานี) ทั้งนี้ จังหวัดพิจิตรได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือราษฎรรวม 3,726 ราย (จากจำนวน 9,645 ราย) จังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานีได้ดำเนินการ Re-check ผู้มาลงทะเบียนผู้มีปัญหาความเดือดร้อน รวม 113,829 ราย
3. ปัญหาและอุปสรรค
จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
1) การแก้ไขปัญหาด้านที่ดินทำกิน จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 ทุกจังหวัดขาดที่ดินที่จะจัดสรรให้กับผู้มาลงทะเบียนฯ ได้ตามความต้องการ ซึ่งขณะนี้แต่ละจังหวัดได้พิจารณาจัดหาที่ดินสาธารณะ ที่ดินราชพัสดุ และที่ดินทหาร เพื่อนำมาดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไปแล้ว
2) การแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยเฉพาะหนี้สินนอกระบบที่จะเข้าสู่ระบบธนาคารมีจำนวนมาก ซึ่งปรากฏว่าหนี้สินส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอนุมัติให้เข้าสู่ระบบเนื่องจากประชาชนมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่ เพียงพอ หรือขาดบุคคลค้ำประกัน สำหรับจังหวัดนครสวรรค์ ผู้มาลงทะเบียนฯ จำนวนมากเข้าใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินให้เปล่า
3) การแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย โดยที่ผู้มาลงทะเบียนฯ มีที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลไม่สะดวกในการย้ายเข้ามาพักอาศัยในบ้านที่จัดไว้ให้ในตัวเมืองหรืออำเภอ และบางรายไม่มีเงินผ่อนชำระ ประกอบกับ บ้านพักอาศัยที่จัดให้มีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการด้วย
4) การจัดสรรงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนระดับหมู่บ้านเป็น การแยกตามภารกิจของส่วนราชการ ต้องจัดการบูรณาการงบประมาณในระดับพื้นที่เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความยากจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
5) การแก้ไขปัญหาความยากจนระดับครัวเรือน จังหวัดกำแพงเพชรขาดการสนับสนุนเครื่องมือและทุนในการประกอบอาชีพให้ครบวงจร และหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ Fix-It center ของจังหวัดกำแพงเพชรขาดความพร้อมด้านเครื่องมือช่าง
ข้อสังเกต
1. เพื่อให้การแก้ไขปัญหาของผู้มาลงทะเบียนผู้มีปัญหาความเดือดร้อนตามแนวทางการดำเนินงาน การต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ได้ถูกต้องตรงตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้เน้นย้ำให้จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 ได้ตรวจสอบถึงปัญหาความเดือดร้อนของผู้มาลงทะเบียนให้ชัดเจน เพื่อจะได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือได้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
2. เนื่องจากการให้บริการศูนย์ซ่อมเครื่องมือ เครื่องใช้ (Fix-It center) จะช่วยลดภาระรายจ่ายที่สำคัญของประชาชนได้ทางหนึ่ง ได้แจ้งให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์ฯ ให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จังหวัดพิจารณาการฝึกอบรมบุคลากรผู้ให้บริการก่อนการปฏิบัติงาน และอบรมเสริมความรู้เป็นระยะ พร้อมทั้งจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจนด้วย
3. การให้การส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ราษฎรตามโครงการต่าง ๆ สมควรให้การสนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพนั้น ๆ แก่ราษฎรด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี มีผู้มาลงทะเบียนผู้มีปัญหาความเดือดร้อน รวม 531,599 ราย ดำเนินการให้ความช่วยเหลือแล้วรวม 203,868 ราย ในการนี้ จังหวัดกำแพงเพชร มีผู้มาลงทะเบียนฯ ขอยุติเรื่องจำนวน 36,854 ราย ทำให้จำนวนผู้มาลงทะเบียนฯ ที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ คงเหลือ 290,877 ราย
2. การจัดคาราวานแก้จน ที่ให้บริการคำแนะนำเพื่อสร้างโอกาส และทางเลือกในการประกอบอาชีพ และเสริมสร้างทักษะต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาและสาธารณสุขของจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 ได้ดำเนินการแล้ว รวม 21 ครั้ง (เฉพาะจังหวัดพิจิตรและอุทัยธานี) ทั้งนี้ จังหวัดพิจิตรได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือราษฎรรวม 3,726 ราย (จากจำนวน 9,645 ราย) จังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานีได้ดำเนินการ Re-check ผู้มาลงทะเบียนผู้มีปัญหาความเดือดร้อน รวม 113,829 ราย
3. ปัญหาและอุปสรรค
จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
1) การแก้ไขปัญหาด้านที่ดินทำกิน จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 ทุกจังหวัดขาดที่ดินที่จะจัดสรรให้กับผู้มาลงทะเบียนฯ ได้ตามความต้องการ ซึ่งขณะนี้แต่ละจังหวัดได้พิจารณาจัดหาที่ดินสาธารณะ ที่ดินราชพัสดุ และที่ดินทหาร เพื่อนำมาดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไปแล้ว
2) การแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยเฉพาะหนี้สินนอกระบบที่จะเข้าสู่ระบบธนาคารมีจำนวนมาก ซึ่งปรากฏว่าหนี้สินส่วนใหญ่ไม่ได้รับการอนุมัติให้เข้าสู่ระบบเนื่องจากประชาชนมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่ เพียงพอ หรือขาดบุคคลค้ำประกัน สำหรับจังหวัดนครสวรรค์ ผู้มาลงทะเบียนฯ จำนวนมากเข้าใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือเป็นเงินให้เปล่า
3) การแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย โดยที่ผู้มาลงทะเบียนฯ มีที่พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลไม่สะดวกในการย้ายเข้ามาพักอาศัยในบ้านที่จัดไว้ให้ในตัวเมืองหรืออำเภอ และบางรายไม่มีเงินผ่อนชำระ ประกอบกับ บ้านพักอาศัยที่จัดให้มีจำนวนไม่เพียงพอกับความต้องการด้วย
4) การจัดสรรงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนระดับหมู่บ้านเป็น การแยกตามภารกิจของส่วนราชการ ต้องจัดการบูรณาการงบประมาณในระดับพื้นที่เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความยากจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
5) การแก้ไขปัญหาความยากจนระดับครัวเรือน จังหวัดกำแพงเพชรขาดการสนับสนุนเครื่องมือและทุนในการประกอบอาชีพให้ครบวงจร และหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ Fix-It center ของจังหวัดกำแพงเพชรขาดความพร้อมด้านเครื่องมือช่าง
ข้อสังเกต
1. เพื่อให้การแก้ไขปัญหาของผู้มาลงทะเบียนผู้มีปัญหาความเดือดร้อนตามแนวทางการดำเนินงาน การต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน ได้ถูกต้องตรงตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้เน้นย้ำให้จังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 ได้ตรวจสอบถึงปัญหาความเดือดร้อนของผู้มาลงทะเบียนให้ชัดเจน เพื่อจะได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือได้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
2. เนื่องจากการให้บริการศูนย์ซ่อมเครื่องมือ เครื่องใช้ (Fix-It center) จะช่วยลดภาระรายจ่ายที่สำคัญของประชาชนได้ทางหนึ่ง ได้แจ้งให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์ฯ ให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จังหวัดพิจารณาการฝึกอบรมบุคลากรผู้ให้บริการก่อนการปฏิบัติงาน และอบรมเสริมความรู้เป็นระยะ พร้อมทั้งจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจนด้วย
3. การให้การส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ราษฎรตามโครงการต่าง ๆ สมควรให้การสนับสนุนเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพนั้น ๆ แก่ราษฎรด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--