เรื่อง องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบในร่างสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17&C-19
และ B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียและร่างเอกสาร Indemnity Letter
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17&C-19 และ B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียและร่างเอกสาร Indemnity Letter ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17&C-19 และ B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียระหว่างองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย และผู้ได้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PCJDA และ PTTEPI) ในฐานะกลุ่มผู้ขายกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ซื้อ
2. เอกสาร Indemnity Letter ในระหว่างกลุ่มผู้ขายอันเกี่ยวเนื่องกับสัญญาตามข้อ 1
3. ให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแปลง B-17&C-19 และ B-17-01 กับผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติได้ รวมทั้งให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย สามารถลงนามใน Indemnity Letter กับกลุ่มผู้ขายได้ ทั้งนี้เมื่อร่างสัญญาและเอกสารดังกล่าวได้ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
ทั้งนี้ ร่างสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติดังกล่าว มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดวันเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติระยะที่ 1 คือ วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 โดยผลิตเริ่มต้นที่ 135 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันใน 6 เดือนแรก แล้วเพิ่มขึ้นเป็น 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี และจะลดอัตราการผลิตลงที่อัตรา 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จนถึงสิ้นสุดปีที่ 16
2. กำหนดให้มีการหารือเพื่อเพิ่มการผลิตก๊าซธรรมชาติอีกในระยะที่ 2 โดยมีอัตราการผลิตอยู่ระหว่าง 0-200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มผลิตระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2553-2555 โดยจะมีการเจรจากันก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2550 มีระยะเวลาการผลิตตามที่ผู้ขายจะเป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการยืนยันปริมาณสำรองก๊าซในขณะนั้น และจะมีการขยายอัตราการผลิตที่ 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปีที่ 16 ออกไปจนถึงปีที่ 20
3. กำหนดให้มีส่วนลดราคาก๊าซธรรมชาติ 4 ระดับขั้น โดยอิงกับปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติสะสม
4. กำหนดปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ (Initial Field Reserve) ตามที่ได้ประเมินไว้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2546 สำหรับสัญญาฉบับนี้ ที่ 1.954 ล้านลูกบาศก์ฟุต โดยรวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 23
5. การกำหนดราคาฐานไว้ ณ ปี 2538 ที่ราคา 2.30 ดอลลาร์สหรัฐ/ล้านบีทียู โดยเปลี่ยนแปลงราคาตามสูตร
6. สูตรการลดราคา สำหรับปริมาณการผลิตก๊าซรวมทั้งหมดในสัญญาฯ
ปริมาณการผลิตก๊าซสะสม(ล้านล้าน ลบ.ฟุต) ส่วนลดลงจากราคา Current Price
ตามสูตรราคาในสัญญาฯ (%)
0-0.4 5
0.4-0.9 10
0.9-1.8 15
>1.8 20
7. ราคา Shortfall Price ตลอดอายุของสัญญา (ซึ่งผู้ซื้อจะจ่ายให้ผู้ขายกรณีที่ผู้ขายส่งก๊าซในช่วงเวลาใด ๆ ไม่ครบตามอัตราการผลิตที่ผู้ซื้อต้องการ) เท่ากับร้อยละ 75 ของราคา Current Price
8. การคำนวณค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันเตา (Fy) ในสูตรราคาก๊าซตามสัญญาฯ Fy สำหรับปีใด ๆ ตามสูตรราคาปัจจุบัน กำหนดให้ใช้ค่าถัวเฉลี่ยของราคาประกาศ (posted prices) จากโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 6 โรง ในประเทศสิงคโปร์ (เพื่อสะท้อนราคาที่แท้จริงในตลาดโลก) ในกรณีที่จำนวนโรงกลั่นน้ำมันในประเทศสิงคโปร์ในอนาคตมีจำนวนต่ำกว่า 3 โรง ก็ให้มีกลไกที่เป็นธรรมที่จะเปลี่ยนจากค่าเฉลี่ยของราคาประกาศของน้ำมันเตา มาสู่ราคาในตลาดจร (spot prices) ของน้ำมันเตาได้ รวมทั้งมีกลไกที่เป็นกลางในการปรับเปลี่ยนดัชนีอ้างอิงใหม่ หากไม่มีราคาตลาดจรของน้ำมันเตาให้อ้างอิงได้
9. กรณีเหตุสุดวิสัยให้รวมถึงกรณีภัยจากสึนามิด้วย และจะไม่นำกรณีของการศึกษาพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการก่อสร้างท่อก๊าซธรรมชาติของฝ่ายผู้ซื้อมาเกี่ยวโยงกับเหตุสุดวิสัย หรือวันเริ่มผลิตก๊าซด้วย
10. การระงับข้อพิพาทกำหนดให้ใช้วีธีการทางอนุญาโตตุลาการภายใต้กฎของ UNCITRAL โดยแต่ละฝ่ายจะตั้งอนุญาโตตุลาการของตนและตุลาการทั้งสอง จะร่วมตั้งอนุญาโตตุลาการคนที่สามขึ้น โดยจะใช้สถานที่พิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้เป็นที่ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ให้ใช้สถานที่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการให้เป็นที่สุด และมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยหรือไม่มีข้อยุติจากอนุญาโตตุลาการก็ให้ร้องขอต่อศาลของประเทศอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานเห็นว่าเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่พัฒนาร่วมมาใช้ประโยชน์โดยเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และส่งเสริมให้มีการพัฒนานำก๊าซธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในประเทศได้เพิ่มขึ้นตามความต้องการ ซึ่งคณะกรรมการองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ได้ให้ความเห็นชอบสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17&C-19 และ B-17-01 และเอกสาร Indemnity Letter แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
และ B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียและร่างเอกสาร Indemnity Letter
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17&C-19 และ B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียและร่างเอกสาร Indemnity Letter ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17&C-19 และ B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียระหว่างองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย และผู้ได้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PCJDA และ PTTEPI) ในฐานะกลุ่มผู้ขายกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ซื้อ
2. เอกสาร Indemnity Letter ในระหว่างกลุ่มผู้ขายอันเกี่ยวเนื่องกับสัญญาตามข้อ 1
3. ให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแปลง B-17&C-19 และ B-17-01 กับผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติได้ รวมทั้งให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย สามารถลงนามใน Indemnity Letter กับกลุ่มผู้ขายได้ ทั้งนี้เมื่อร่างสัญญาและเอกสารดังกล่าวได้ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
ทั้งนี้ ร่างสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติดังกล่าว มีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดวันเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติระยะที่ 1 คือ วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 โดยผลิตเริ่มต้นที่ 135 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันใน 6 เดือนแรก แล้วเพิ่มขึ้นเป็น 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี และจะลดอัตราการผลิตลงที่อัตรา 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จนถึงสิ้นสุดปีที่ 16
2. กำหนดให้มีการหารือเพื่อเพิ่มการผลิตก๊าซธรรมชาติอีกในระยะที่ 2 โดยมีอัตราการผลิตอยู่ระหว่าง 0-200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มผลิตระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2553-2555 โดยจะมีการเจรจากันก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2550 มีระยะเวลาการผลิตตามที่ผู้ขายจะเป็นผู้เสนอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการยืนยันปริมาณสำรองก๊าซในขณะนั้น และจะมีการขยายอัตราการผลิตที่ 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปีที่ 16 ออกไปจนถึงปีที่ 20
3. กำหนดให้มีส่วนลดราคาก๊าซธรรมชาติ 4 ระดับขั้น โดยอิงกับปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติสะสม
4. กำหนดปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ (Initial Field Reserve) ตามที่ได้ประเมินไว้ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2546 สำหรับสัญญาฉบับนี้ ที่ 1.954 ล้านลูกบาศก์ฟุต โดยรวมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 23
5. การกำหนดราคาฐานไว้ ณ ปี 2538 ที่ราคา 2.30 ดอลลาร์สหรัฐ/ล้านบีทียู โดยเปลี่ยนแปลงราคาตามสูตร
6. สูตรการลดราคา สำหรับปริมาณการผลิตก๊าซรวมทั้งหมดในสัญญาฯ
ปริมาณการผลิตก๊าซสะสม(ล้านล้าน ลบ.ฟุต) ส่วนลดลงจากราคา Current Price
ตามสูตรราคาในสัญญาฯ (%)
0-0.4 5
0.4-0.9 10
0.9-1.8 15
>1.8 20
7. ราคา Shortfall Price ตลอดอายุของสัญญา (ซึ่งผู้ซื้อจะจ่ายให้ผู้ขายกรณีที่ผู้ขายส่งก๊าซในช่วงเวลาใด ๆ ไม่ครบตามอัตราการผลิตที่ผู้ซื้อต้องการ) เท่ากับร้อยละ 75 ของราคา Current Price
8. การคำนวณค่าเฉลี่ยราคาน้ำมันเตา (Fy) ในสูตรราคาก๊าซตามสัญญาฯ Fy สำหรับปีใด ๆ ตามสูตรราคาปัจจุบัน กำหนดให้ใช้ค่าถัวเฉลี่ยของราคาประกาศ (posted prices) จากโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 6 โรง ในประเทศสิงคโปร์ (เพื่อสะท้อนราคาที่แท้จริงในตลาดโลก) ในกรณีที่จำนวนโรงกลั่นน้ำมันในประเทศสิงคโปร์ในอนาคตมีจำนวนต่ำกว่า 3 โรง ก็ให้มีกลไกที่เป็นธรรมที่จะเปลี่ยนจากค่าเฉลี่ยของราคาประกาศของน้ำมันเตา มาสู่ราคาในตลาดจร (spot prices) ของน้ำมันเตาได้ รวมทั้งมีกลไกที่เป็นกลางในการปรับเปลี่ยนดัชนีอ้างอิงใหม่ หากไม่มีราคาตลาดจรของน้ำมันเตาให้อ้างอิงได้
9. กรณีเหตุสุดวิสัยให้รวมถึงกรณีภัยจากสึนามิด้วย และจะไม่นำกรณีของการศึกษาพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของการก่อสร้างท่อก๊าซธรรมชาติของฝ่ายผู้ซื้อมาเกี่ยวโยงกับเหตุสุดวิสัย หรือวันเริ่มผลิตก๊าซด้วย
10. การระงับข้อพิพาทกำหนดให้ใช้วีธีการทางอนุญาโตตุลาการภายใต้กฎของ UNCITRAL โดยแต่ละฝ่ายจะตั้งอนุญาโตตุลาการของตนและตุลาการทั้งสอง จะร่วมตั้งอนุญาโตตุลาการคนที่สามขึ้น โดยจะใช้สถานที่พิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้เป็นที่ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ให้ใช้สถานที่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการให้เป็นที่สุด และมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยหรือไม่มีข้อยุติจากอนุญาโตตุลาการก็ให้ร้องขอต่อศาลของประเทศอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพลังงานเห็นว่าเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่พัฒนาร่วมมาใช้ประโยชน์โดยเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และส่งเสริมให้มีการพัฒนานำก๊าซธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ในประเทศได้เพิ่มขึ้นตามความต้องการ ซึ่งคณะกรรมการองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ได้ให้ความเห็นชอบสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17&C-19 และ B-17-01 และเอกสาร Indemnity Letter แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--