คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานผลการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข สรุปได้ดังนี้
1) สรุปข้อมูลปฏิบัติการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
- มีการให้บริการ EMS ทุกประเภท (ทั้งอุบัติเหตุจราจรและการเจ็บป่วยฉุกเฉิน อื่น ๆ เช่น พลัดตกหกล้ม ตกจากที่สูง เพลิงไหม้ จมน้ำ ถูกทำร้าย ทำร้ายตัวเอง) รวม 7,946 ครั้ง (795 ครั้ง/วัน) สูงกว่าปีที่แล้ว 70 %
- มีการให้บริการ EMS เฉพาะอุบัติเหตุจราจรเพียงอย่างเดียว สูงถึง 56.2 % ของการให้บริการทุกประเภท (เฉลี่ย = 447 ครั้ง/วัน) สูงกว่าช่วงปกติ และสูงกว่าปีที่แล้วถึง 62.4 % (ปี 2548 = 2,751 ครั้ง,ปี 2549 = 4,467 ครั้ง) * ในช่วงปกติเฉลี่ย 250 ครั้ง/วัน
ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเป็น 3 ระดับ คือ 1) หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (Advanced Life Support : ALS) 2) หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (Basic Life Support : BLS) 3) หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับตำบล (First Responder : FR) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมูลนิธิภาคเอกชนต่าง ๆ
โดยปัจจุบันมีหน่วย FR 1,500 หน่วยทั่วประเทศ สำหรับหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) และระดับพื้นฐาน (BLS) มีอยู่ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งระดับอำเภอและจังหวัด
เทศกาลสงกรานต์ 2549 นี้ มีการให้บริการ EMS (เฉพาะอุบัติเหตุจราจรอย่างเดียว) ในระดับต่าง ๆ ดังนี้
- ให้บริการผู้บาดเจ็บขั้นสูง (ALS) สูงกว่าปีที่แล้วเกือบ 2 เท่าตัว (ปี 2548 = 922 ครั้ง , ปี 2549 = 1,715 ครั้ง)
- ให้บริการผู้บาดเจ็บขั้นพื้นฐาน (BLS) สูงที่สุด (53%) และสูงกว่าปีที่แล้ว 41.0% ซึ่ง BLS มีความจำเป็นสำหรับการช่วยผู้บาดเจ็บ (ปี 2548 = 1,829 ครั้ง,ปี 2549 = 2,579 ครั้ง)
- ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับตำบล (FR) 571 ครั้ง (57 ครั้ง/วัน)
- การให้บริการ ณ จุดเกิดเหตุ มีการรักษาและนำส่งสูงถึง 83.4% ไม่พบเหตุ 12.2 %นอกจากนั้นจะเป็นการรักษาไม่นำส่งและตายก่อนหน่วยไปถึง
- การรับแจ้งเหตุ โดยตำรวจมากที่สุด 23.3 % ทางหมายเลขโทรศัพท์ 1669 17.4 % และโทรศัพท์อื่น ๆ 17.7 %
- ความรวดเร็วของการให้บริการ (รับแจ้งเหตุจนรถพยาบาลถึงที่เกิดเหตุ-response time) มาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 10 นาที (ช่วงสงกรานต์ 2549 เร็วตามมาตรฐานที่กำหนด 53.4%)
ข้อมูลผู้บาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ Injury Surveillance — IS)
1) ข้อมูลการบาดเจ็บรุนแรงในทุกกลุ่มอายุ
ผู้บาดเจ็บรุนแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (จากการรักษาเบื้องต้น ณ ห้องฉุกเฉิน) พบว่า ตายประมาณ 2.7% (นับเฉพาะผู้ป่วยที่รอดชีวิตเมื่อมาถึงโรงพยาบาล) ยังมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องเข้ารับการรักษาต่อในหอผู้ป่วย ซึ่งยังไม่ทราบผลการรักษา
2) ข้อมูลการบาดเจ็บรุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
- จำนวนเด็กบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจรที่มารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้นจาก 12% เป็น 15% (ของผู้บาดเจ็บทั้งหมด)
- เด็กบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรชั่วโมงละ 5 คน
- รถจักรยานยนต์ ยังคงเป็นพาหนะที่มีสัดส่วนสูงสุดในทุกประเภทของผู้บาดเจ็บในเด็ก (68.5%)
- มีเด็กบาดเจ็บรุนแรงจากการใช้รถจักรยานยนต์ (ผู้ขับขี่และโดยสาร) จำนวน 547 คน (61 คน/วัน) ในจำนวนนี้เป็นเด็กที่ขับขี่รถจักรยานยนต์สูงถึง 273 คน (30 คน/วัน)
* เด็กบาดเจ็บเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ 75% ขับขี่รถจักรยาน 25%
- ไม่สวมหมวกนิรภัย มีสัดส่วนสูงขึ้น จาก 94% เป็น 97% (+3.0%)
- เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่บาดเจ็บรุนแรง มีสัดส่วนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูงขึ้นจาก 8% เป็น 18.8% (+10.8%)
- เด็กที่ตายจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ พบว่า 81% ตายเนื่องจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ
- เด็กที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ พบว่า 50% เป็นการบาดเจ็บที่ศีรษะ
ข้อเสนอ
1. ควรมีการเข้มงวดบังคับใช้กฎหมายร่วมกับการรณรงค์ ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากพบว่าจำนวนเด็กบาดเจ็บรุนแรงในภาพรวม มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งต่างจากในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่มีแนวโน้มลดลง นอกจากนั้นยังพบว่าพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ 1) การไม่สวมหมวกนิรภัยในเด็กที่บาดเจ็บรุนแรงและรับไว้รักษาในโรงพยาบาลมีสัดส่วนสูงขึ้น ทั้งที่ในช่วงปีที่ผ่านมาได้มีการรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยในเด็กจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง รวมทั้งมีการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทางด้านการผลิตหมวกนิรภัยเด็กในประเทศเพื่อให้มีการจำหน่ายในราคาถูก และ 2) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเด็กที่บาดเจ็บรุนแรงและเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตามกฎหมายไม่อนุญาตให้มีใบขับขี่และห้ามจำหน่ายสุราในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ดังนั้นจึงควรเร่งดำเนินการ ดังนี้
- รณรงค์ขอความร่วมมือผู้ปกครองห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ขับขี่รถจักรยานยนต์ และหากเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปจำเป็นต้องโดยสารรถจักรยานยนต์ ให้สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง
- ให้มีการบังคับใช้กฎหมาย (การขับขี่รถจักรยานยนต์ การสวมหมวกนิรภัย การจำหน่ายสุรา) ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อย่างเข้มงวด
2. ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันหามาตรการหรือควบคุมกำกับเพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ เช่น การติดฉลากคำเตือนบนรถจักรยานยนต์ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549
3. ควรมีการติดตามประเมินประสิทธิภาพการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับตำบล (FR) เนื่องจากเป็นปีแรกที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเริ่มมีผลงานการออกปฏิบัติการอย่างเห็นได้ชัดเจน เพื่อนำผลการประเมินมาพัฒนาในการขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกตำบลในปี 2553 ตามเป้าที่ตั้งไว้
4. ควรมีการบูรณาการการแจ้งเหตุฉุกเฉินทุกประเภททางหมายเลขโทรศัพท์กลาง ในกรณีที่พบผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือพบเห็นผู้บาดเจ็บหรือเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ เพื่อประชาชนจะได้ไม่สับสนจดจำหมายเลขของหน่วยราชการจำนวน มากกว่า 20 หน่วยงานยามฉุกเฉิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--
1) สรุปข้อมูลปฏิบัติการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
- มีการให้บริการ EMS ทุกประเภท (ทั้งอุบัติเหตุจราจรและการเจ็บป่วยฉุกเฉิน อื่น ๆ เช่น พลัดตกหกล้ม ตกจากที่สูง เพลิงไหม้ จมน้ำ ถูกทำร้าย ทำร้ายตัวเอง) รวม 7,946 ครั้ง (795 ครั้ง/วัน) สูงกว่าปีที่แล้ว 70 %
- มีการให้บริการ EMS เฉพาะอุบัติเหตุจราจรเพียงอย่างเดียว สูงถึง 56.2 % ของการให้บริการทุกประเภท (เฉลี่ย = 447 ครั้ง/วัน) สูงกว่าช่วงปกติ และสูงกว่าปีที่แล้วถึง 62.4 % (ปี 2548 = 2,751 ครั้ง,ปี 2549 = 4,467 ครั้ง) * ในช่วงปกติเฉลี่ย 250 ครั้ง/วัน
ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งหน่วยปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเป็น 3 ระดับ คือ 1) หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (Advanced Life Support : ALS) 2) หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (Basic Life Support : BLS) 3) หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับตำบล (First Responder : FR) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมูลนิธิภาคเอกชนต่าง ๆ
โดยปัจจุบันมีหน่วย FR 1,500 หน่วยทั่วประเทศ สำหรับหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (ALS) และระดับพื้นฐาน (BLS) มีอยู่ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งระดับอำเภอและจังหวัด
เทศกาลสงกรานต์ 2549 นี้ มีการให้บริการ EMS (เฉพาะอุบัติเหตุจราจรอย่างเดียว) ในระดับต่าง ๆ ดังนี้
- ให้บริการผู้บาดเจ็บขั้นสูง (ALS) สูงกว่าปีที่แล้วเกือบ 2 เท่าตัว (ปี 2548 = 922 ครั้ง , ปี 2549 = 1,715 ครั้ง)
- ให้บริการผู้บาดเจ็บขั้นพื้นฐาน (BLS) สูงที่สุด (53%) และสูงกว่าปีที่แล้ว 41.0% ซึ่ง BLS มีความจำเป็นสำหรับการช่วยผู้บาดเจ็บ (ปี 2548 = 1,829 ครั้ง,ปี 2549 = 2,579 ครั้ง)
- ให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับตำบล (FR) 571 ครั้ง (57 ครั้ง/วัน)
- การให้บริการ ณ จุดเกิดเหตุ มีการรักษาและนำส่งสูงถึง 83.4% ไม่พบเหตุ 12.2 %นอกจากนั้นจะเป็นการรักษาไม่นำส่งและตายก่อนหน่วยไปถึง
- การรับแจ้งเหตุ โดยตำรวจมากที่สุด 23.3 % ทางหมายเลขโทรศัพท์ 1669 17.4 % และโทรศัพท์อื่น ๆ 17.7 %
- ความรวดเร็วของการให้บริการ (รับแจ้งเหตุจนรถพยาบาลถึงที่เกิดเหตุ-response time) มาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 10 นาที (ช่วงสงกรานต์ 2549 เร็วตามมาตรฐานที่กำหนด 53.4%)
ข้อมูลผู้บาดเจ็บรุนแรงในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (ระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ Injury Surveillance — IS)
1) ข้อมูลการบาดเจ็บรุนแรงในทุกกลุ่มอายุ
ผู้บาดเจ็บรุนแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (จากการรักษาเบื้องต้น ณ ห้องฉุกเฉิน) พบว่า ตายประมาณ 2.7% (นับเฉพาะผู้ป่วยที่รอดชีวิตเมื่อมาถึงโรงพยาบาล) ยังมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องเข้ารับการรักษาต่อในหอผู้ป่วย ซึ่งยังไม่ทราบผลการรักษา
2) ข้อมูลการบาดเจ็บรุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
- จำนวนเด็กบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุจราจรที่มารับการรักษา ณ ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลมีแนวโน้มสูงขึ้นจาก 12% เป็น 15% (ของผู้บาดเจ็บทั้งหมด)
- เด็กบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรชั่วโมงละ 5 คน
- รถจักรยานยนต์ ยังคงเป็นพาหนะที่มีสัดส่วนสูงสุดในทุกประเภทของผู้บาดเจ็บในเด็ก (68.5%)
- มีเด็กบาดเจ็บรุนแรงจากการใช้รถจักรยานยนต์ (ผู้ขับขี่และโดยสาร) จำนวน 547 คน (61 คน/วัน) ในจำนวนนี้เป็นเด็กที่ขับขี่รถจักรยานยนต์สูงถึง 273 คน (30 คน/วัน)
* เด็กบาดเจ็บเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ 75% ขับขี่รถจักรยาน 25%
- ไม่สวมหมวกนิรภัย มีสัดส่วนสูงขึ้น จาก 94% เป็น 97% (+3.0%)
- เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่บาดเจ็บรุนแรง มีสัดส่วนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูงขึ้นจาก 8% เป็น 18.8% (+10.8%)
- เด็กที่ตายจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ พบว่า 81% ตายเนื่องจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ
- เด็กที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ พบว่า 50% เป็นการบาดเจ็บที่ศีรษะ
ข้อเสนอ
1. ควรมีการเข้มงวดบังคับใช้กฎหมายร่วมกับการรณรงค์ ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากพบว่าจำนวนเด็กบาดเจ็บรุนแรงในภาพรวม มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งต่างจากในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่มีแนวโน้มลดลง นอกจากนั้นยังพบว่าพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ 1) การไม่สวมหมวกนิรภัยในเด็กที่บาดเจ็บรุนแรงและรับไว้รักษาในโรงพยาบาลมีสัดส่วนสูงขึ้น ทั้งที่ในช่วงปีที่ผ่านมาได้มีการรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยในเด็กจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง รวมทั้งมีการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมทางด้านการผลิตหมวกนิรภัยเด็กในประเทศเพื่อให้มีการจำหน่ายในราคาถูก และ 2) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเด็กที่บาดเจ็บรุนแรงและเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งตามกฎหมายไม่อนุญาตให้มีใบขับขี่และห้ามจำหน่ายสุราในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ดังนั้นจึงควรเร่งดำเนินการ ดังนี้
- รณรงค์ขอความร่วมมือผู้ปกครองห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ขับขี่รถจักรยานยนต์ และหากเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปจำเป็นต้องโดยสารรถจักรยานยนต์ ให้สวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง
- ให้มีการบังคับใช้กฎหมาย (การขับขี่รถจักรยานยนต์ การสวมหมวกนิรภัย การจำหน่ายสุรา) ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อย่างเข้มงวด
2. ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรร่วมกันหามาตรการหรือควบคุมกำกับเพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์ เช่น การติดฉลากคำเตือนบนรถจักรยานยนต์ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549
3. ควรมีการติดตามประเมินประสิทธิภาพการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับตำบล (FR) เนื่องจากเป็นปีแรกที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเริ่มมีผลงานการออกปฏิบัติการอย่างเห็นได้ชัดเจน เพื่อนำผลการประเมินมาพัฒนาในการขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกตำบลในปี 2553 ตามเป้าที่ตั้งไว้
4. ควรมีการบูรณาการการแจ้งเหตุฉุกเฉินทุกประเภททางหมายเลขโทรศัพท์กลาง ในกรณีที่พบผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือพบเห็นผู้บาดเจ็บหรือเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ เพื่อประชาชนจะได้ไม่สับสนจดจำหมายเลขของหน่วยราชการจำนวน มากกว่า 20 หน่วยงานยามฉุกเฉิน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--