คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้ ให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 โดยกำหนดรายละเอียดของลักษณะเหรียญไว้ และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. ให้บุคคลผู้มีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้
3. การประดับเหรียญนี้ให้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือจะประดับโดยใช้ห้อยคอหรือโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควรโดยไม่มีแพรแถบก็ได้
4. ให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างและการจำหน่ายเหรียญฯ
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า คณะกรรมการเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึกตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. 2548 ได้เห็นชอบให้จัดสร้างเหรียญเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นควรจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นเหรียญเงิน ชนิดบุรุษ จำนวนผลิตไม่เกิน 30,000 เหรียญ ชนิดสตรี จำนวนผลิตไม่เกิน 20,000 เหรียญ และกำหนดราคาจำหน่ายเหรียญละ 600 บาท ซึ่งในการดำเนินการจัดทำเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2549--จบ--
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้ ให้มีเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 โดยกำหนดรายละเอียดของลักษณะเหรียญไว้ และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. ให้บุคคลผู้มีสิทธิประดับเหรียญนี้ได้
3. การประดับเหรียญนี้ให้ประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือจะประดับโดยใช้ห้อยคอหรือโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควรโดยไม่มีแพรแถบก็ได้
4. ให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างและการจำหน่ายเหรียญฯ
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า คณะกรรมการเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึกตามพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. 2548 ได้เห็นชอบให้จัดสร้างเหรียญเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นควรจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เป็นเหรียญเงิน ชนิดบุรุษ จำนวนผลิตไม่เกิน 30,000 เหรียญ ชนิดสตรี จำนวนผลิตไม่เกิน 20,000 เหรียญ และกำหนดราคาจำหน่ายเหรียญละ 600 บาท ซึ่งในการดำเนินการจัดทำเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2549--จบ--