คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการท่องเที่ยว กีฬา พุทธศาสนา แรงงานและการพัฒนาสังคม) ซึ่งมี รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานกรรมการฯ ในการประชุม ครั้งที่ 2/2549 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 ที่อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ซึ่งร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ กำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานรายงานว่า
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่มีบทบัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง การใช้แรงงานและการจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย และได้รับค่าตอบแทนตามสมควร ทั้งนี้ มาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ ได้ให้อำนาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งในปัจจุบันมีการก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งมีการติดต่อซ่อมแซม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง เคลื่อนย้าย และการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยมีการใช้ไฟฟ้า เสาเข็ม เครื่องจักร ปั้นจั่น นั่งร้าน ค้ำยัน ลิฟต์ขนส่งวัสดุ และลิฟต์โดยสารชั่วคราวในการก่อสร้าง นอกจากนี้ เทคโนโลยีด้านก่อสร้างมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง รวมทั้งวิธีการก่อสร้างมีการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไปจากอดีตอย่างมาก ทำให้สภาพของงานก่อสร้างมีความเสี่ยงอันตรายสูง และมีอัตราในการประสบอันตรายที่สูง จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยและสุขภาพของลูกจ้าง ซึ่งทำงานก่อสร้างอย่างเหมาะสมและทันสมัย เพื่อป้องกันและลดปัญหาการประสบอันตรายในงานก่อสร้าง อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างที่จะเป็นการลดความสูญเสียเงิน ทรัพย์สินและแรงงานที่มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงาน และเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างที่เป็นการถนอมแรงงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง ช่วยให้ลูกจ้างทำงานด้วยความปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี รวมทั้ง จะส่งผลต่อประเทศที่จะลดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในวัยทำงาน ประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพของลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานก่อสร้าง และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่จะสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ดีในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งการที่ประเทศไทยมีมาตรฐานแรงงานเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นมาตรการในการป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. .... ได้มีการประมวลรวมกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย (อนุบัญญัติที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานเดิมที่ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่อนุบัญญัติยังใช้บังคับอยู่) จำนวน 5 ฉบับ รวมเข้าด้วยกันเป็นฉบับเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อนายจ้างซึ่งจะต้องปฏิบัติตาม ซึ่งได้แก่
2.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยเขตก่อสร้างลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528
2.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2531
2.3 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราวลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2524
2.4 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2525
2.5 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และการพังทลาย ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2534
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มีนาคม 2549--จบ--
ซึ่งร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ กำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานรายงานว่า
1. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่มีบทบัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง การใช้แรงงานและการจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย และได้รับค่าตอบแทนตามสมควร ทั้งนี้ มาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ ได้ให้อำนาจแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานในการออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานให้นายจ้างดำเนินการในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งในปัจจุบันมีการก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งมีการติดต่อซ่อมแซม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง เคลื่อนย้าย และการรื้อถอนทำลายสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก โดยมีการใช้ไฟฟ้า เสาเข็ม เครื่องจักร ปั้นจั่น นั่งร้าน ค้ำยัน ลิฟต์ขนส่งวัสดุ และลิฟต์โดยสารชั่วคราวในการก่อสร้าง นอกจากนี้ เทคโนโลยีด้านก่อสร้างมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง รวมทั้งวิธีการก่อสร้างมีการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไปจากอดีตอย่างมาก ทำให้สภาพของงานก่อสร้างมีความเสี่ยงอันตรายสูง และมีอัตราในการประสบอันตรายที่สูง จึงจำเป็นต้องกำหนดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยและสุขภาพของลูกจ้าง ซึ่งทำงานก่อสร้างอย่างเหมาะสมและทันสมัย เพื่อป้องกันและลดปัญหาการประสบอันตรายในงานก่อสร้าง อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อนายจ้างที่จะเป็นการลดความสูญเสียเงิน ทรัพย์สินและแรงงานที่มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงาน และเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างที่เป็นการถนอมแรงงานและพัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง ช่วยให้ลูกจ้างทำงานด้วยความปลอดภัยและมีสุขภาพอนามัยที่ดี รวมทั้ง จะส่งผลต่อประเทศที่จะลดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในวัยทำงาน ประหยัดงบประมาณในการดูแลรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพของลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานก่อสร้าง และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่จะสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ดีในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งการที่ประเทศไทยมีมาตรฐานแรงงานเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้างที่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นมาตรการในการป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศได้อีกทางหนึ่ง
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. .... ได้มีการประมวลรวมกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย (อนุบัญญัติที่ออกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานเดิมที่ถูกยกเลิกไปแล้ว แต่อนุบัญญัติยังใช้บังคับอยู่) จำนวน 5 ฉบับ รวมเข้าด้วยกันเป็นฉบับเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อนายจ้างซึ่งจะต้องปฏิบัติตาม ซึ่งได้แก่
2.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยเขตก่อสร้างลงวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528
2.2 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2531
2.3 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราวลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2524
2.4 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างว่าด้วยนั่งร้าน ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2525
2.5 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่น และการพังทลาย ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2534
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มีนาคม 2549--จบ--