คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การให้สัมปทานปิโตรเลียมตามประกาศเชิญชวนให้ยื่นคำขอสัมปทานปิโตรเลียม ครั้งที่ 19 ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน การเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) เป็นประธานฯ ที่อนุมัติให้กระทรวงพลังงานออกสัมปทานปิโตรเลียมแก่ผู้ยื่นขอจำนวน 3 ราย คือ
1. สัมปทานปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจหมายเลข G4/48 ในทะเลอ่าวไทย แก่บริษัท ยูโนแคล อันดามัน จำกัด
2. สัมปทานปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจหมายเลข G9/48 ในทะเลอ่าวไทย แก่บริษัทปตท.สผ. (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ยูโนแคล อันดามัน จำกัด
3. สัมปทานปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจหมายเลข G12/48 ในทะเลอ่าวไทย แก่บริษัท ปตท.สผ. (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ และบริษัท ไทยเอนเนอร์จี จำกัด
โดยให้กระทรวงพลังงาน รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย
กระทรวงพลังงานชี้แจงว่า กระทรวงพลังงานได้ออกประกาศเชิญชวนให้บริษัทปิโตรเลียมต่างๆ ยื่นคำขอสัมปทานเพื่อสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมครั้งที่ 19 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 สำหรับแปลงสำรวจบนบกในทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามัน จำนวน 82 แปลง โดยประกาศดังกล่าว มีอายุ 1 ปี ซึ่งในการยื่นขอสัมปทาน ภายใต้ประกาศครั้งนี้ครบกำหนดยื่นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 มีบริษัทปิโตรเลียมยื่นคำขอสัมปทานจำนวน 9 ราย ใน 11 แปลงสำรวจ
กระทรวงพลังงานได้พิจารณาคำขอสัมปทานของบริษัทที่ได้ยื่นคำขอ โดยในขั้นต้นได้พิจารณาเฉพาะแปลงสำรวจที่ไม่มีการยื่นขอซ้ำกันและมีข้อมูลครบถ้วน และพิจารณาถึงความเหมาะสมของข้อผูกพัน ด้านการสำรวจตามที่กำหนดไว้ในประกาศ ฯ แล้วเสร็จจำนวน 3 ราย ใน 3 แปลงสำรวจ ประกอบด้วย
1. บริษัท ยูโนแคล อันดามัน จำกัด ยื่นคำขอสัมปทานแปลงสำรวจหมายเลข G4/48 ในทะเลอ่าวไทย
2. บริษัท ปตท.สผ. (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ยูโนแคล อันดามัน จำกัด (ถือสิทธิในสัมปทาน ร้อยละ 84 และร้อยละ 16 ตามลำดับ) ยื่นคำขอสัมปทานแปลงสำรวจหมายเลข G9/48 ในทะเลอ่าวไทย
3. บริษัท ปตท.สผ. (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ และบริษัท ไทยเอนเนอร์จี จำกัด (ถือสิทธิในสัมปทานร้อยละ 44.4445, ร้อยละ 33.3333 และ ร้อยละ 22.2222 ตามลำดับ) ยื่นคำขอสัมปทานแปลงสำรวจ หมายเลข G12/48 ในทะเลอ่าวไทย
กระทรวงพลังงานได้ยกร่างสัมปทานตามแบบสัมปทานที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2532) และได้นำเสนอคณะกรรมการปิโตรเลียมพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการปิโตรเลียมในคราวประชุม เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 มีมติเห็นสมควรนำเสนอกระทรวงพลังงาน เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ออกสัมปทานแก่ผู้ยื่นขอสัมปทานทั้ง 3 รายดังกล่าว ซึ่งกระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติดังกล่าว
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 มีความเห็นและข้อสังเกตว่า ในโอกาสต่อไปการชวนเชิญให้ยื่นสัมปทานปิโตรเลียมควรดำเนินการให้มีการแข่งขันซึ่งเป็นการเปิดกว้างคราวละ 1 แปลง และควรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของผลประโยชน์ที่รัฐควรได้รับในด้านต่าง ๆ ประกอบการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นคำขอสัมปทานอย่างชัดเจน นอกจากนั้น กระทรวงพลังงานควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลของการเปิดโอกาสให้บริษัทปิโตรเลียมต่างชาติสามารถยื่นขอสำรวจปิโตรเลียมในประเทศได้เช่นเดียวกับบริษัทของไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศต่อไปด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2549--จบ--
1. สัมปทานปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจหมายเลข G4/48 ในทะเลอ่าวไทย แก่บริษัท ยูโนแคล อันดามัน จำกัด
2. สัมปทานปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจหมายเลข G9/48 ในทะเลอ่าวไทย แก่บริษัทปตท.สผ. (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ยูโนแคล อันดามัน จำกัด
3. สัมปทานปิโตรเลียมสำหรับแปลงสำรวจหมายเลข G12/48 ในทะเลอ่าวไทย แก่บริษัท ปตท.สผ. (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ และบริษัท ไทยเอนเนอร์จี จำกัด
โดยให้กระทรวงพลังงาน รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย
กระทรวงพลังงานชี้แจงว่า กระทรวงพลังงานได้ออกประกาศเชิญชวนให้บริษัทปิโตรเลียมต่างๆ ยื่นคำขอสัมปทานเพื่อสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมครั้งที่ 19 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 สำหรับแปลงสำรวจบนบกในทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามัน จำนวน 82 แปลง โดยประกาศดังกล่าว มีอายุ 1 ปี ซึ่งในการยื่นขอสัมปทาน ภายใต้ประกาศครั้งนี้ครบกำหนดยื่นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548 มีบริษัทปิโตรเลียมยื่นคำขอสัมปทานจำนวน 9 ราย ใน 11 แปลงสำรวจ
กระทรวงพลังงานได้พิจารณาคำขอสัมปทานของบริษัทที่ได้ยื่นคำขอ โดยในขั้นต้นได้พิจารณาเฉพาะแปลงสำรวจที่ไม่มีการยื่นขอซ้ำกันและมีข้อมูลครบถ้วน และพิจารณาถึงความเหมาะสมของข้อผูกพัน ด้านการสำรวจตามที่กำหนดไว้ในประกาศ ฯ แล้วเสร็จจำนวน 3 ราย ใน 3 แปลงสำรวจ ประกอบด้วย
1. บริษัท ยูโนแคล อันดามัน จำกัด ยื่นคำขอสัมปทานแปลงสำรวจหมายเลข G4/48 ในทะเลอ่าวไทย
2. บริษัท ปตท.สผ. (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ยูโนแคล อันดามัน จำกัด (ถือสิทธิในสัมปทาน ร้อยละ 84 และร้อยละ 16 ตามลำดับ) ยื่นคำขอสัมปทานแปลงสำรวจหมายเลข G9/48 ในทะเลอ่าวไทย
3. บริษัท ปตท.สผ. (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ และบริษัท ไทยเอนเนอร์จี จำกัด (ถือสิทธิในสัมปทานร้อยละ 44.4445, ร้อยละ 33.3333 และ ร้อยละ 22.2222 ตามลำดับ) ยื่นคำขอสัมปทานแปลงสำรวจ หมายเลข G12/48 ในทะเลอ่าวไทย
กระทรวงพลังงานได้ยกร่างสัมปทานตามแบบสัมปทานที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2532) และได้นำเสนอคณะกรรมการปิโตรเลียมพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการปิโตรเลียมในคราวประชุม เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 มีมติเห็นสมควรนำเสนอกระทรวงพลังงาน เพื่อพิจารณาอนุมัติให้ออกสัมปทานแก่ผู้ยื่นขอสัมปทานทั้ง 3 รายดังกล่าว ซึ่งกระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติดังกล่าว
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 มีความเห็นและข้อสังเกตว่า ในโอกาสต่อไปการชวนเชิญให้ยื่นสัมปทานปิโตรเลียมควรดำเนินการให้มีการแข่งขันซึ่งเป็นการเปิดกว้างคราวละ 1 แปลง และควรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของผลประโยชน์ที่รัฐควรได้รับในด้านต่าง ๆ ประกอบการพิจารณาคัดเลือกผู้ยื่นคำขอสัมปทานอย่างชัดเจน นอกจากนั้น กระทรวงพลังงานควรดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุผลของการเปิดโอกาสให้บริษัทปิโตรเลียมต่างชาติสามารถยื่นขอสำรวจปิโตรเลียมในประเทศได้เช่นเดียวกับบริษัทของไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศต่อไปด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2549--จบ--