คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติองค์กรอัยการ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 6 ฉบับ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอว่า ปัจจุบันสำนักงานอัยการสูงสุดมีฐานะเป็นกรมอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 และมีระบบการบริหารราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. 2534 แต่โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่มีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้อง
ยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงได้เสนอร่างกฎหมายรวม 6 ฉบับดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
1. ร่างพระราชบัญญัติองค์กรอัยการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอัยการตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคลและกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด (ร่างมาตรา 4 และ 5)
1.2 กำหนดให้ข้าราชการฝ่ายอัยการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดได้รับสิทธิในเงินค่าครองชีพชั่วคราว บำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม เช่นเดียวกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ร่างมาตรา 6)
1.3 กำหนดการจัดสรรงบประมาณและการเสนองบประมาณรายจ่ายของสำนักงานอัยการสูงสุด (ร่างมาตรา 7)
1.4 กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยรับตรวจตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
(ร่างมาตรา 8)
1.5 กำหนดอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด (ร่างมาตรา 9)
2. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 3)
2.2 กำหนดให้ข้าราชการฝ่ายอัยการ มี 2 ประเภท คือ ข้าราชการอัยการ และข้าราชการธุรการ และกำหนดในเรื่องอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การปรับขั้นต่ำขั้นสูงของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง บำเหน็จบำนาญ เครื่องแบบและการแต่งกาย รวมทั้งวันเวลาทำงาน วันหยุดราชการและการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ (ร่างมาตรา 5,6, 10-12)
2.3 กำหนดให้กรณีที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้มีผลถึงข้าราชการฝ่ายอัยการด้วย (ร่างมาตรา 8)
2.4 กำหนดให้มีคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) คณะกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการ (ก.อ.ว.) และคณะกรรมการข้าราชการธุรการ (ก.ธ.) รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งการพ้นจากตำแหน่ง วิธีการประชุม และอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. , ก.อ.ว. , และ ก.ธ. (ร่างมาตรา 15-31 และร่างมาตรา 84-88)
2.5 กำหนดหลักเกณฑ์การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน รวมทั้งการพ้นจากตำแหน่ง วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษข้าราชการอัยการ (ร่างมาตรา 32-41 และร่างมาตรา 48-80)
2.6 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ (ร่างมาตรา 42-47)
2.7 กำหนดคุณสมบัติของข้าราชการธุรการ และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพ การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการรักษาจริยธรรม ของข้าราชการธุรการ (ร่างมาตรา 81-83 และร่างมาตรา 89-102)
2.8 กำหนดบทเฉพาะกาล (ร่างมาตรา 103-114)
3. ร่างพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 ยกเลิกพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 3)
3.2 กำหนดชื่อผู้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการ (ร่างมาตรา 5)
3.3 กำหนดให้มีพนักงานอัยการไว้เป็นทนายแผ่นดินประจำศาลไม่เฉพาะศาลยุติธรรมเท่านั้น(ร่างมาตรา 6)
3.4 กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ (ร่างมาตรา 11)
3.5 กำหนดหลักการให้ดุลพินิจในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และกำหนดหลักการให้ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการดำเนินคดีกับพนักงานอัยการได้ตามขั้นตอนตามกฎหมาย (ร่างมาตรา 12)
3.6 กำหนดหลักการในการออกหมายเรียกของพนักงานอัยการในการเรียกบุคคลมาให้การต่อพนักงานอัยการให้ครอบคลุมทั้งในคดีแพ่งและคดีอื่นที่ตั้งต้นที่พนักงานอัยการ (ร่างมาตรา 14)
3.7 กำหนดหลักการเกี่ยวกับการมอบอำนาจของอัยการสูงสุด (ร่างมาตรา 16)
3.8 กำหนดหลักการในเรื่องการรักษาราชการแทนในกรณีที่พนักงานอัยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ และในกรณีที่ตำแหน่งพนักงานอัยการว่างลง (ร่างมาตรา 17)
4. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 กำหนดให้นำระบบบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการมาใช้กับข้าราชการอัยการโดยอนุโลม
(แก้ไขมาตรา 3 (ร่างมาตรา 3))
4.2 ยกเลิกตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายที่ปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต และเพิ่มตำแหน่งผู้ตรวจราชการอัยการ อธิบดีอัยการฝ่าย อธิบดีอัยการเขต รองอธิบดีอัยการฝ่าย รองอธิบดีอัยการเขต อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และอัยการผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (แก้ไขมาตรา 4 (ร่างมาตรา 4))
4.3 แก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ (แก้ไขมาตรา 5 (ร่างมาตรา 5))
4.4 แก้ไขบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ร่างมาตรา 6)
5. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
- ยกเลิกบทบัญญัติในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดตามมาตรา 31 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (ร่างมาตรา 3 และ 4)
6. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
- ยกเลิกบทบัญญัติในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดตามมาตรา 46 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 (ร่างมาตรา 3-5)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--
พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 6 ฉบับ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอว่า ปัจจุบันสำนักงานอัยการสูงสุดมีฐานะเป็นกรมอยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 และมีระบบการบริหารราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. 2534 แต่โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่มีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้อง
ยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่และแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบันเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงได้เสนอร่างกฎหมายรวม 6 ฉบับดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
1. ร่างพระราชบัญญัติองค์กรอัยการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอัยการตามบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคลและกำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด (ร่างมาตรา 4 และ 5)
1.2 กำหนดให้ข้าราชการฝ่ายอัยการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดได้รับสิทธิในเงินค่าครองชีพชั่วคราว บำเหน็จบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม เช่นเดียวกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ร่างมาตรา 6)
1.3 กำหนดการจัดสรรงบประมาณและการเสนองบประมาณรายจ่ายของสำนักงานอัยการสูงสุด (ร่างมาตรา 7)
1.4 กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยรับตรวจตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
(ร่างมาตรา 8)
1.5 กำหนดอำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด (ร่างมาตรา 9)
2. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 3)
2.2 กำหนดให้ข้าราชการฝ่ายอัยการ มี 2 ประเภท คือ ข้าราชการอัยการ และข้าราชการธุรการ และกำหนดในเรื่องอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การรับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การปรับขั้นต่ำขั้นสูงของเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง บำเหน็จบำนาญ เครื่องแบบและการแต่งกาย รวมทั้งวันเวลาทำงาน วันหยุดราชการและการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายอัยการ (ร่างมาตรา 5,6, 10-12)
2.3 กำหนดให้กรณีที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้มีผลถึงข้าราชการฝ่ายอัยการด้วย (ร่างมาตรา 8)
2.4 กำหนดให้มีคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) คณะกรรมการอัยการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการออกจากราชการ (ก.อ.ว.) และคณะกรรมการข้าราชการธุรการ (ก.ธ.) รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การแต่งตั้งการพ้นจากตำแหน่ง วิธีการประชุม และอำนาจหน้าที่ของ ก.อ. , ก.อ.ว. , และ ก.ธ. (ร่างมาตรา 15-31 และร่างมาตรา 84-88)
2.5 กำหนดหลักเกณฑ์การบรรจุ การแต่งตั้ง และการเลื่อนขั้นเงินเดือน รวมทั้งการพ้นจากตำแหน่ง วินัย การรักษาวินัย และการลงโทษข้าราชการอัยการ (ร่างมาตรา 32-41 และร่างมาตรา 48-80)
2.6 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสอบคัดเลือก การทดสอบความรู้ และการคัดเลือกพิเศษเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการ (ร่างมาตรา 42-47)
2.7 กำหนดคุณสมบัติของข้าราชการธุรการ และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง การสรรหา การบรรจุ การแต่งตั้ง การเพิ่มพูนประสิทธิภาพ การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ การร้องทุกข์ และการรักษาจริยธรรม ของข้าราชการธุรการ (ร่างมาตรา 81-83 และร่างมาตรา 89-102)
2.8 กำหนดบทเฉพาะกาล (ร่างมาตรา 103-114)
3. ร่างพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 ยกเลิกพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ร่างมาตรา 3)
3.2 กำหนดชื่อผู้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการ (ร่างมาตรา 5)
3.3 กำหนดให้มีพนักงานอัยการไว้เป็นทนายแผ่นดินประจำศาลไม่เฉพาะศาลยุติธรรมเท่านั้น(ร่างมาตรา 6)
3.4 กำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ (ร่างมาตรา 11)
3.5 กำหนดหลักการให้ดุลพินิจในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และกำหนดหลักการให้ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากการพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการดำเนินคดีกับพนักงานอัยการได้ตามขั้นตอนตามกฎหมาย (ร่างมาตรา 12)
3.6 กำหนดหลักการในการออกหมายเรียกของพนักงานอัยการในการเรียกบุคคลมาให้การต่อพนักงานอัยการให้ครอบคลุมทั้งในคดีแพ่งและคดีอื่นที่ตั้งต้นที่พนักงานอัยการ (ร่างมาตรา 14)
3.7 กำหนดหลักการเกี่ยวกับการมอบอำนาจของอัยการสูงสุด (ร่างมาตรา 16)
3.8 กำหนดหลักการในเรื่องการรักษาราชการแทนในกรณีที่พนักงานอัยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ และในกรณีที่ตำแหน่งพนักงานอัยการว่างลง (ร่างมาตรา 17)
4. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 กำหนดให้นำระบบบัญชีเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการมาใช้กับข้าราชการอัยการโดยอนุโลม
(แก้ไขมาตรา 3 (ร่างมาตรา 3))
4.2 ยกเลิกตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายที่ปรึกษา อัยการพิเศษฝ่ายคดี อัยการพิเศษฝ่ายวิชาการ และอัยการพิเศษประจำเขต และเพิ่มตำแหน่งผู้ตรวจราชการอัยการ อธิบดีอัยการฝ่าย อธิบดีอัยการเขต รองอธิบดีอัยการฝ่าย รองอธิบดีอัยการเขต อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ และอัยการผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (แก้ไขมาตรา 4 (ร่างมาตรา 4))
4.3 แก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ (แก้ไขมาตรา 5 (ร่างมาตรา 5))
4.4 แก้ไขบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ (ร่างมาตรา 6)
5. ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
- ยกเลิกบทบัญญัติในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดตามมาตรา 31 และมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (ร่างมาตรา 3 และ 4)
6. ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
- ยกเลิกบทบัญญัติในส่วนของสำนักงานอัยการสูงสุดตามมาตรา 46 และมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 (ร่างมาตรา 3-5)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--