คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดวิธีการพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดเพื่อการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดและค่าธรรมเนียม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงมหาดไทยเสนอว่า พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสองบัญญัติให้มีการกำหนดวิธีการพิสูจน์การได้สัญชาติไทยของผู้เกิดโดยมีบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยไว้ในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อเป็นการวางหลักการในการให้ผู้เกิดหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ประสงค์พิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิด สามารถยื่นคำขอพิสูจน์เพื่อให้ผู้เกิดได้สัญชาติไทยตามบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยได้ ถึงแม้บิดาของผู้เกิดจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบุตรของบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยที่จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบิดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นบิดาบุตรกันจริง กรณีบุตรที่เกิดนอกราชอาณาจักรโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยแต่มารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง มีดังนี้
1. กำหนดให้ “ผู้มีส่วนได้เสีย” หมายถึง ผู้บุพการี บุตร ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของผู้เกิด (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับการพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิด (ร่างข้อ 2)
3. กำหนดให้ผู้เกิดหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ประสงค์พิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดต้องยื่น คำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (ร่างข้อ 3)
4. กำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองการพิสูจน์ความเป็นบิดาของผู้เกิดให้แก่ผู้ยื่นคำขอในกรณีที่เห็นว่าเป็นบิดาและบุตรกัน แต่หากเห็นว่าคำขอที่อ้างนั้นมิได้เป็นบิดาและบุตรกัน ให้แจ้งเหตุผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบ โดยให้ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด (ร่างข้อ 5)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--
กระทรวงมหาดไทยเสนอว่า พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 7 วรรคสองบัญญัติให้มีการกำหนดวิธีการพิสูจน์การได้สัญชาติไทยของผู้เกิดโดยมีบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยไว้ในกฎกระทรวง ดังนั้น เพื่อเป็นการวางหลักการในการให้ผู้เกิดหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ประสงค์พิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิด สามารถยื่นคำขอพิสูจน์เพื่อให้ผู้เกิดได้สัญชาติไทยตามบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยได้ ถึงแม้บิดาของผู้เกิดจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบุตรของบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยที่จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามบิดา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นบิดาบุตรกันจริง กรณีบุตรที่เกิดนอกราชอาณาจักรโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยแต่มารดาเป็นคนต่างด้าวซึ่งบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
โดยสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง มีดังนี้
1. กำหนดให้ “ผู้มีส่วนได้เสีย” หมายถึง ผู้บุพการี บุตร ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของผู้เกิด (ร่างข้อ 1)
2. กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับการพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิด (ร่างข้อ 2)
3. กำหนดให้ผู้เกิดหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ประสงค์พิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดต้องยื่น คำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด (ร่างข้อ 3)
4. กำหนดให้มีการออกหนังสือรับรองการพิสูจน์ความเป็นบิดาของผู้เกิดให้แก่ผู้ยื่นคำขอในกรณีที่เห็นว่าเป็นบิดาและบุตรกัน แต่หากเห็นว่าคำขอที่อ้างนั้นมิได้เป็นบิดาและบุตรกัน ให้แจ้งเหตุผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบ โดยให้ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด (ร่างข้อ 5)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--