คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ รายงานการดูแลราคาสินค้าและแนวทางการกำกับดูแลในระยะต่อไป ดังนี้
1. หลักเกณฑ์ในการกำหนดแนวทางการดูแล
ได้กำหนดปัจจัยและเงื่อนไขในการวางแนวทางการดูแลราคาสินค้าเป็น 3 ระดับ โดยใช้ปัจจัยหลักราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ซึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้า ดังนี้
ปัจจัย ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3
ราคาน้ำมันดิบ น้อยกว่า 110USD/บาร์เรล 110-150 USD/บาร์เรล มากกว่า 150 USD/บาร์เรล
อัตราแลกเปลี่ยน น้อยกว่า 33 บาท/USD 33-35 บาท/USD มากกว่า 35 บาท/USD
2. การกำกับดูแลราคาสินค้าในระยะที่ผ่านมา
ในช่วงต้นปี 2551 ถึงปัจจุบัน สถานการณ์ปัจจัยหลักอยู่ในระดับที่ 2 คือระดับราคาน้ำมันดิบ (ดูไบ) ในตลาดโลกปรับสูงขึ้นมากจาก 87.68 USD/บาร์เรลในเดือนมกราคา 2551 เป็น 113.47 USD/บาร์เรล (เฉลี่ย 1-21 สิงหาคม 2551) ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.84 บาท/USD สำหรับราคาวัตถุดิบและสินค้าสำคัญหลายรายการทั้งที่ต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าและสินค้าสำเร็จรูปนำเข้าจากต่างประเทศ มีการปรับราคาสูงขึ้นมากเช่นกัน ส่งผลทำให้ต้นทุนสินค้ารวมถึงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เช่น ค่าพลังงาน ค่าขนส่ง ฯลฯ ได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้สินค้าสำคัญหลายรายการ มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในหมวดวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก สายไฟฟ้า สินค้าหมวดอาคารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์นม สินค้าในหมวดปัจจัยทางการเกษตร เช่น น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์นม สินค้าในหมวดปัจจัยทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี อาหารสัตว์ เป็นต้น
2.1 แนวทางการกำกับดูแลราคาสินค้า
กระทรวงพาณิชย์มีหลักการในการดูแลราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมชาติสอดคล้องกับต้นทุน มิให้มีการฉวยโอกาสค้ากำไรเกินควร ทั้งระดับต้นทาง (ราคา ณ โรงงาน) และปลายทาง (ราคาขายปลีก) โดย
(1) กำหนดสินค้าควบคุม จำนวน 35 รายการ โดยใช้มาตรการกำหนดราคาจำหน่ายสูงสุดการขออนุญาตก่อนปรับราคาสูงขึ้น การแจ้งต้นทุน ราคา ปริมาณ และสถานที่เก็บสินค้า รวมถึงการกำหนดสินค้าที่ติดตามดูแลราคาอย่างใกล้ชิด จำนวน 200 รายการ
(2) การตรวจสอบราคาและการปิดป้ายแสดงราคาสินค้า ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นประจำทุกวัน จำนวน 20 สาย ทั้งในเขตกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด รวมทั้งมีหน่วยเฉพาะกิจในการตรวจสอบเมื่อมีการร้องเรียน
(3) การสร้างกลไกสนับสนุนให้ตลาดมีการแข่งขัน โดยการส่งเสริมให้ธุรกิจมีการแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรม มีการค้าที่เป็นธรรม รวมทั้งการสนับสนุนให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เพื่อมิให้โครงสร้างตลาดเกิดการผูกขาดหรือใช้อำนาจตลาดมาจำกัดการแข่งขัน เช่น การสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ให้จำหน่ายสินค้าแก่ผู้บริโภคโดยตรง รวมทั้งการนำสินค้าตามโครงการธงฟ้าเข้าไปจำหน่ายในบางพื้นที่ที่กลไกตลาดถูกบิดเบือน
(4) การลดภาระค่าครองชีพและเพิ่มทางเลือกผู้บริโภค โดยการจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพในราคาประหยัดเพื่อให้กลไกตลาดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและส่งเสริมสนับสนุนร้านอาหารและรถเข็นธงฟ้าเพื่อจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จในราคาประหยัดช่วยเหลือประชาชน
2.2 ภาวะค่าครองชีพของประชาชน
แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์ของสินค้าต่าง ๆ รวมถึงภาระค่าครองชีพของประชาชนได้ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของหมวดอาหาร และไม่ใช่อาหาร เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายเดินทาง อย่างไรก็ดี ระดับดัชนีราคาผู้บริโภคในประเทศมีการปรับสูงขึ้นไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศใกล้เคียง คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคใน 7 เดือนแรกของปี 2551 (มค. —กค.) อยู่ในระดับ ร้อยละ 6.6 ซึ่งต่ำกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 ของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่ม ASEAN คือ อินโดนีเซีย มีอัตราร้อยละ 8.9 เวียดนามร้อยละ 20.4 และฟิลิปปินส์ อัตราร้อยละ 7.7
2.3 ผลการกำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชนของรัฐ
จากการกำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชนของรัฐบาลตามมาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน ซึ่งเริ่มในเดือนสิงหาคม 2551 ทำให้ประชาชนลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้และมีรายได้เหลือใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคสินค้าอื่นได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดจำหน่ายสินค้าโดยเฉพาะอุปโภคบริโภคเพิ่มสูงขึ้น ทำให้แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ประกอบการได้บางส่วน
2.4 การตรึงราคาสินค้า
กระทรวงพาณิชย์ ได้มีนโยบายในการชะลอการปรับราคาจำหน่ายของสินค้าในช่วงระยะสั้นที่ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนจากภาวะค่าครองชีพ แม้ว่าผู้ประกอบการจะมีภาระต้นทุนสูงขึ้น โดยต้นทุนวัตถุดิบได้มีการปรับสูงขึ้นประมาณร้อยละ 70-110 (ในช่วง มค. 2551 ถึง กค. 2551) ขณะนี้สินค้าบางรายการที่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนได้ทยอยปรับสูงขึ้นบางส่วน ร้อยละ 0.17-79.60 โดยสินค้าที่ต้นทุนสูงขึ้นมากคือสินค้าที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ได้แก่ ปุ๋ยเคมีและผลิตภัณฑ์เหล็ก อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการหลายสินค้า เช่น หมวดของใช้ประจำวัน เหล็กและผลิตภัณฑ์ปัจจัยทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์รถยนต์ ได้รับว่าจะให้ความร่วมมือกับกระทรวงในการตรึงราคาสินค้าต่อไปอีกระยะหนึ่งอย่างน้อยถึงสิ้นปี 2551
3. แนวทางการกำกับดูแลราคาสินค้าในระยะต่อไป
จากหลักเกณฑ์ในการดูแลราคาสินค้าและได้กำหนดปัจจัยไว้เป็น 3 ระดับตามข้อ 1 ซึ่งตามข้อเท็จจริง ขณะนี้อยู่ในระดับที่ 2 แล้ว หากในระยะต่อไปปัจจัยดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงปรับสูงขึ้นอีกเป็นระยะที่ 3 กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมมาตรการเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลสินค้าต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ดังกล่าวไว้แล้ว เช่น
3.1 เพิ่มรายการสินค้าควบคุมและมาตรการกำกับดูแล
(1) สินค้าควบคุม จากที่กำหนดไว้ 35 รายการ ในปัจจุบัน อาจปรับเพิ่มขึ้นอีก 10 รายการ
(2) มาตรการทางกฎหมาย ในกรณีที่จำเป็น หากสินค้ามีแนวโน้มอาจขาดแคลนหรือลดปริมาณการจำหน่ายก็จะกำหนดมาตรการควบคุมสินค้าโดยให้มีการแจ้งปริมาณ สถานที่เก็บ หรือควบคุมการขนย้าย กำหนดส่วนเหลื่อมหรืออัตรากำไร รวมถึงการกำหนดให้การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่สำคัญต้องได้รับการอนุญาตก่อน
3.2 การดูแลภาระค่าครองชีพ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนในการลดภาระค่าครองชีพโดยการขยายการดำเนินงานตามโครงการธงฟ้าราคาประหยัด ที่จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด และร้านอาหาร ราคายุติธรรม (ราคาประหยัด) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะต้องมีการใช้งบประมาณการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับ โดยอาจจำเป็นต้องขออนุมัติงบประมาณจากงบกลางเพิ่มเติม
3.3 การบริหารจัดการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างครอบคลุมและทั่วถึงประชาชนทั่วประเทศ จะได้ขยายการกำกับดูแลระดับจังหวัดต่าง ๆ โดยให้คณะกรรมการส่วนจังหวัด ซึ่งอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 เข้ามากำกับดูแลราคาสินค้าให้ใกล้ชิดมากขึ้น
3.4 การลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ หากสถานการณ์ในด้านต้นทุนสินค้ายังคงสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีก เช่น ราคาวัตถุดิบยังคงสูงขึ้น หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการยังคงปรับสูงขึ้นก็อาจจำเป็นต้องประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือลดภาระต้นทุนบางส่วนภาระภาษีวัตถุดิบนำเข้า ภาษีการค้าหรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในบางอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระต้นทุนและชะลอการปรับราคาสินค้าเป็นการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--
1. หลักเกณฑ์ในการกำหนดแนวทางการดูแล
ได้กำหนดปัจจัยและเงื่อนไขในการวางแนวทางการดูแลราคาสินค้าเป็น 3 ระดับ โดยใช้ปัจจัยหลักราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ซึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและราคาสินค้า ดังนี้
ปัจจัย ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3
ราคาน้ำมันดิบ น้อยกว่า 110USD/บาร์เรล 110-150 USD/บาร์เรล มากกว่า 150 USD/บาร์เรล
อัตราแลกเปลี่ยน น้อยกว่า 33 บาท/USD 33-35 บาท/USD มากกว่า 35 บาท/USD
2. การกำกับดูแลราคาสินค้าในระยะที่ผ่านมา
ในช่วงต้นปี 2551 ถึงปัจจุบัน สถานการณ์ปัจจัยหลักอยู่ในระดับที่ 2 คือระดับราคาน้ำมันดิบ (ดูไบ) ในตลาดโลกปรับสูงขึ้นมากจาก 87.68 USD/บาร์เรลในเดือนมกราคา 2551 เป็น 113.47 USD/บาร์เรล (เฉลี่ย 1-21 สิงหาคม 2551) ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอยู่ที่ 33.84 บาท/USD สำหรับราคาวัตถุดิบและสินค้าสำคัญหลายรายการทั้งที่ต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าและสินค้าสำเร็จรูปนำเข้าจากต่างประเทศ มีการปรับราคาสูงขึ้นมากเช่นกัน ส่งผลทำให้ต้นทุนสินค้ารวมถึงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เช่น ค่าพลังงาน ค่าขนส่ง ฯลฯ ได้เพิ่มสูงขึ้น ทำให้สินค้าสำคัญหลายรายการ มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในหมวดวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก สายไฟฟ้า สินค้าหมวดอาคารและเครื่องดื่ม เช่น น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์นม สินค้าในหมวดปัจจัยทางการเกษตร เช่น น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์นม สินค้าในหมวดปัจจัยทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี อาหารสัตว์ เป็นต้น
2.1 แนวทางการกำกับดูแลราคาสินค้า
กระทรวงพาณิชย์มีหลักการในการดูแลราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมชาติสอดคล้องกับต้นทุน มิให้มีการฉวยโอกาสค้ากำไรเกินควร ทั้งระดับต้นทาง (ราคา ณ โรงงาน) และปลายทาง (ราคาขายปลีก) โดย
(1) กำหนดสินค้าควบคุม จำนวน 35 รายการ โดยใช้มาตรการกำหนดราคาจำหน่ายสูงสุดการขออนุญาตก่อนปรับราคาสูงขึ้น การแจ้งต้นทุน ราคา ปริมาณ และสถานที่เก็บสินค้า รวมถึงการกำหนดสินค้าที่ติดตามดูแลราคาอย่างใกล้ชิด จำนวน 200 รายการ
(2) การตรวจสอบราคาและการปิดป้ายแสดงราคาสินค้า ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเป็นประจำทุกวัน จำนวน 20 สาย ทั้งในเขตกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด รวมทั้งมีหน่วยเฉพาะกิจในการตรวจสอบเมื่อมีการร้องเรียน
(3) การสร้างกลไกสนับสนุนให้ตลาดมีการแข่งขัน โดยการส่งเสริมให้ธุรกิจมีการแข่งขันอย่างเสรีเป็นธรรม มีการค้าที่เป็นธรรม รวมทั้งการสนับสนุนให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เพื่อมิให้โครงสร้างตลาดเกิดการผูกขาดหรือใช้อำนาจตลาดมาจำกัดการแข่งขัน เช่น การสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย ให้จำหน่ายสินค้าแก่ผู้บริโภคโดยตรง รวมทั้งการนำสินค้าตามโครงการธงฟ้าเข้าไปจำหน่ายในบางพื้นที่ที่กลไกตลาดถูกบิดเบือน
(4) การลดภาระค่าครองชีพและเพิ่มทางเลือกผู้บริโภค โดยการจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพในราคาประหยัดเพื่อให้กลไกตลาดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและส่งเสริมสนับสนุนร้านอาหารและรถเข็นธงฟ้าเพื่อจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จในราคาประหยัดช่วยเหลือประชาชน
2.2 ภาวะค่าครองชีพของประชาชน
แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์ของสินค้าต่าง ๆ รวมถึงภาระค่าครองชีพของประชาชนได้ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของหมวดอาหาร และไม่ใช่อาหาร เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายเดินทาง อย่างไรก็ดี ระดับดัชนีราคาผู้บริโภคในประเทศมีการปรับสูงขึ้นไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศใกล้เคียง คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคใน 7 เดือนแรกของปี 2551 (มค. —กค.) อยู่ในระดับ ร้อยละ 6.6 ซึ่งต่ำกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 ของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่ม ASEAN คือ อินโดนีเซีย มีอัตราร้อยละ 8.9 เวียดนามร้อยละ 20.4 และฟิลิปปินส์ อัตราร้อยละ 7.7
2.3 ผลการกำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชนของรัฐ
จากการกำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชนของรัฐบาลตามมาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน ซึ่งเริ่มในเดือนสิงหาคม 2551 ทำให้ประชาชนลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้และมีรายได้เหลือใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคสินค้าอื่นได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดจำหน่ายสินค้าโดยเฉพาะอุปโภคบริโภคเพิ่มสูงขึ้น ทำให้แบ่งเบาภาระต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ประกอบการได้บางส่วน
2.4 การตรึงราคาสินค้า
กระทรวงพาณิชย์ ได้มีนโยบายในการชะลอการปรับราคาจำหน่ายของสินค้าในช่วงระยะสั้นที่ผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อนจากภาวะค่าครองชีพ แม้ว่าผู้ประกอบการจะมีภาระต้นทุนสูงขึ้น โดยต้นทุนวัตถุดิบได้มีการปรับสูงขึ้นประมาณร้อยละ 70-110 (ในช่วง มค. 2551 ถึง กค. 2551) ขณะนี้สินค้าบางรายการที่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนได้ทยอยปรับสูงขึ้นบางส่วน ร้อยละ 0.17-79.60 โดยสินค้าที่ต้นทุนสูงขึ้นมากคือสินค้าที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ได้แก่ ปุ๋ยเคมีและผลิตภัณฑ์เหล็ก อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการหลายสินค้า เช่น หมวดของใช้ประจำวัน เหล็กและผลิตภัณฑ์ปัจจัยทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์รถยนต์ ได้รับว่าจะให้ความร่วมมือกับกระทรวงในการตรึงราคาสินค้าต่อไปอีกระยะหนึ่งอย่างน้อยถึงสิ้นปี 2551
3. แนวทางการกำกับดูแลราคาสินค้าในระยะต่อไป
จากหลักเกณฑ์ในการดูแลราคาสินค้าและได้กำหนดปัจจัยไว้เป็น 3 ระดับตามข้อ 1 ซึ่งตามข้อเท็จจริง ขณะนี้อยู่ในระดับที่ 2 แล้ว หากในระยะต่อไปปัจจัยดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงปรับสูงขึ้นอีกเป็นระยะที่ 3 กระทรวงพาณิชย์ได้เตรียมมาตรการเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลสินค้าต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ดังกล่าวไว้แล้ว เช่น
3.1 เพิ่มรายการสินค้าควบคุมและมาตรการกำกับดูแล
(1) สินค้าควบคุม จากที่กำหนดไว้ 35 รายการ ในปัจจุบัน อาจปรับเพิ่มขึ้นอีก 10 รายการ
(2) มาตรการทางกฎหมาย ในกรณีที่จำเป็น หากสินค้ามีแนวโน้มอาจขาดแคลนหรือลดปริมาณการจำหน่ายก็จะกำหนดมาตรการควบคุมสินค้าโดยให้มีการแจ้งปริมาณ สถานที่เก็บ หรือควบคุมการขนย้าย กำหนดส่วนเหลื่อมหรืออัตรากำไร รวมถึงการกำหนดให้การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าที่สำคัญต้องได้รับการอนุญาตก่อน
3.2 การดูแลภาระค่าครองชีพ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนในการลดภาระค่าครองชีพโดยการขยายการดำเนินงานตามโครงการธงฟ้าราคาประหยัด ที่จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด และร้านอาหาร ราคายุติธรรม (ราคาประหยัด) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะต้องมีการใช้งบประมาณการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากที่ได้รับ โดยอาจจำเป็นต้องขออนุมัติงบประมาณจากงบกลางเพิ่มเติม
3.3 การบริหารจัดการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างครอบคลุมและทั่วถึงประชาชนทั่วประเทศ จะได้ขยายการกำกับดูแลระดับจังหวัดต่าง ๆ โดยให้คณะกรรมการส่วนจังหวัด ซึ่งอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 เข้ามากำกับดูแลราคาสินค้าให้ใกล้ชิดมากขึ้น
3.4 การลดภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ หากสถานการณ์ในด้านต้นทุนสินค้ายังคงสูงขึ้นต่อเนื่องไปอีก เช่น ราคาวัตถุดิบยังคงสูงขึ้น หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการยังคงปรับสูงขึ้นก็อาจจำเป็นต้องประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือลดภาระต้นทุนบางส่วนภาระภาษีวัตถุดิบนำเข้า ภาษีการค้าหรือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำในบางอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระต้นทุนและชะลอการปรับราคาสินค้าเป็นการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบต่อผู้บริโภค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--