คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานผลการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2551 (1 ตุลาคม 2550-30 มิถุนายน 2551) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2551 ณ เดือนมิถุนายน 2551 พบว่าประชาชนคนไทยมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 61.85 ล้านคน ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 98.69 ของประชากรทั้งประเทศ (62.68 ล้านคน) มีอัตราความครอบคลุมเพิ่มขึ้นจากผลงานในไตรมาส 2 ร้อยละ 0.03 จำนวนประชากรที่มีสิทธิว่างซึ่งรอการตรวจสอบสิทธิ 824,439 คน (ร้อยละ 1.32 ของประชากรผู้มีสิทธิ) และอยู่ในกลุ่มรอพิสูจน์สถานะ 897,574 คน ประชากรลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 46.91 ล้านคน โดยลงทะเบียนสิทธิกับหน่วยบริการของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 42.62 ล้านคน (ร้อยละ 90.86) หน่วยบริการของรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2.23 ล้านคน (ร้อยละ 4.75) และหน่วยบริการสังกัดเอกชน จำนวน 2.06 ล้านคน
(ร้อยละ 0.21)
หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในไตรมาส 3 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,217 แห่ง เป็นกลุ่มโรงพยาบาล 969 แห่ง (ร้อยละ 79.62) ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 837 แห่ง (ร้อยละ 86.38 ของกลุ่มโรงพยาบาล) และคลินิก 248 แห่ง (ร้อยละ 20.38) ส่วนใหญ่เป็นคลินิกชุมชนอบอุ่น (เอกชน) 153 แห่ง (ร้อยละ 61.69 ของกลุ่มคลินิก)
การใช้บริการทางการแพทย์เฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่ามีการใช้บริการผู้ป่วยนอกจำนวน 90.94 ล้านครั้ง (28.88 ล้านคน) อัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก เท่ากับ 2.59 ครั้ง/คน ส่วนผู้ป่วยในมีจำนวน 3.71 ล้านคน (13.54 ล้านวัน) อัตราการใช้บริการผู้ป่วยใน เท่ากับ 0.11 ครั้ง/คน
การควบคุมคุณภาพและกำกับมาตรฐานบริการ
การควบคุมคุณภาพและกำกับมาตรฐานบริการ จะประกอบด้วยการสนับสนุนให้หน่วยบริการในระบบมีการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งการควบคุมกำกับและติดตามประเมินผลคุณภาพบริการของหน่วยบริการทุกระดับ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลเปรียบเทียบระหว่างกันยายน 2550 กับ มิถุนายน 2551 พบว่าร้อยละของหน่วยบริการที่มีการพัฒนาตามมาตรฐาน HA หรือ ISO 9001 : 2000 ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 93.81 เป็น 97.33 โดย ณ มิถุนายน 2551 โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเกือบทั้งหมดมีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA โดยมีการพัฒนาคุณภาพบริการจนได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานตามมาตรฐาน HA ขั้นที่ 2 และการรับรอง HA เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 35.18 และ 17.57 ตามลำดับ
การคุ้มครองสิทธิ การช่วยเหลือเบื้องต้น และการประชาสัมพันธ์
การให้บริการประชาชนเพื่อช่วยเหลือผู้มีสิทธิและผู้ให้บริการในระบบหลักประกันถ้วนหน้า โดยในรอบ 9 เดือนของปีงบประมาณ 2550 ให้บริการไปแล้วทั้งสิ้น 581,221 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการให้ข้อมูล จำนวน 563,273 เรื่อง (ร้อยละ 96.91) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้บริการประชาชน เรื่องร้องทุกข์ 15,065 เรื่อง (ร้อยละ 2.59) และเรื่องร้องเรียน 2,883 เรื่อง (ร้อยละ 0.50) โดยเรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนอง (ตอบกลับผู้ร้องหรือผู้แจ้งเรื่อง) ภายใน 5 วันทำการ ทั้งนี้เป็นเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วันทำการ จำนวน 2,650 เรื่อง (ร้อยละ 91.92) ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด นอกจากนี้ สปสช. มีศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการได้ทันท่วงที โดยในรอบ 9 เดือน ได้รับเรื่องประสานการส่งต่อผู้ป่วยจำนวน 2,754 ราย สามารถประสานการส่งต่อได้ จำนวน 1,948 (ร้อยละ 70.73)
การช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการกรณีได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2551 จนถึงปัจจุบัน ได้พิจารณาเห็นชอบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการทั้งหมด 395 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 44.88 ล้านบาท ส่วนการช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 385 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2.28 ล้านบาท
การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี
สปสช.สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายองค์กรประชาชน เครือข่ายผู้ป่วย การมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้ร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพอีกด้วย โดยปี 2551 สปสช.ได้ร่วมกับภาคีต่างๆ จัดกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพคนพิการขึ้นตามความพร้อมขององค์กรคนพิการเพิ่มเป็น 4 ศูนย์ และขยายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเพิ่มขึ้นรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 101 ศูนย์ กิจกรรมการส่งเสริมค่ายอาสาสมัครนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 39 สถาบันในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระบบประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมารวมดำเนินการจำนวน 2,692 พื้นที่ เพิ่มขึ้นในพื้นที่ใหม่ 1,804 พื้นที่ ประชากรพื้นที่ดำเนินการ 20.18 ล้านคน
การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2551
การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา ในภาพรวมมีการใช้เงินกองทุนฯ ไปทั้งสิ้น 51,739.55 ล้านบาท (ร้อยละ 67.36) จากงบประมาณที่ได้รับ 76,808.91 ล้านบาท ส่วนใหญ่มีการเบิกจ่ายมากกว่าร้อยละ 60 โดยเบิกจ่ายสูงสุดในกองทุนบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ร้อยละ 93.03 และกองทุนผู้ป่วยนอก ร้อยละ 84.99 ตามลำดับ
ผลงานที่สำคัญและการพัฒนาหลักประกันสุขภาพ
การจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินงานและคุณภาพบริการ เป็นการจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อการดำเนินงานและคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกและเกณฑ์ที่ดีเพื่อตอบแทนตามผลงานบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการประจำและเครือข่าย จัดบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง และทำให้มีระบบสารสนเทศในการเฝ้าระวังด้านคุณภาพบริการที่ใช้วางแผนพัฒนา ตลอดจนการควบคุมกำกับการดำเนินงานบริการที่มีคุณภาพต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--
ความครอบคลุมหลักประกันสุขภาพ
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2551 ณ เดือนมิถุนายน 2551 พบว่าประชาชนคนไทยมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 61.85 ล้านคน ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 98.69 ของประชากรทั้งประเทศ (62.68 ล้านคน) มีอัตราความครอบคลุมเพิ่มขึ้นจากผลงานในไตรมาส 2 ร้อยละ 0.03 จำนวนประชากรที่มีสิทธิว่างซึ่งรอการตรวจสอบสิทธิ 824,439 คน (ร้อยละ 1.32 ของประชากรผู้มีสิทธิ) และอยู่ในกลุ่มรอพิสูจน์สถานะ 897,574 คน ประชากรลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 46.91 ล้านคน โดยลงทะเบียนสิทธิกับหน่วยบริการของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 42.62 ล้านคน (ร้อยละ 90.86) หน่วยบริการของรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 2.23 ล้านคน (ร้อยละ 4.75) และหน่วยบริการสังกัดเอกชน จำนวน 2.06 ล้านคน
(ร้อยละ 0.21)
หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในไตรมาส 3 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,217 แห่ง เป็นกลุ่มโรงพยาบาล 969 แห่ง (ร้อยละ 79.62) ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 837 แห่ง (ร้อยละ 86.38 ของกลุ่มโรงพยาบาล) และคลินิก 248 แห่ง (ร้อยละ 20.38) ส่วนใหญ่เป็นคลินิกชุมชนอบอุ่น (เอกชน) 153 แห่ง (ร้อยละ 61.69 ของกลุ่มคลินิก)
การใช้บริการทางการแพทย์เฉพาะผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่ามีการใช้บริการผู้ป่วยนอกจำนวน 90.94 ล้านครั้ง (28.88 ล้านคน) อัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก เท่ากับ 2.59 ครั้ง/คน ส่วนผู้ป่วยในมีจำนวน 3.71 ล้านคน (13.54 ล้านวัน) อัตราการใช้บริการผู้ป่วยใน เท่ากับ 0.11 ครั้ง/คน
การควบคุมคุณภาพและกำกับมาตรฐานบริการ
การควบคุมคุณภาพและกำกับมาตรฐานบริการ จะประกอบด้วยการสนับสนุนให้หน่วยบริการในระบบมีการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งการควบคุมกำกับและติดตามประเมินผลคุณภาพบริการของหน่วยบริการทุกระดับ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาลเปรียบเทียบระหว่างกันยายน 2550 กับ มิถุนายน 2551 พบว่าร้อยละของหน่วยบริการที่มีการพัฒนาตามมาตรฐาน HA หรือ ISO 9001 : 2000 ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 93.81 เป็น 97.33 โดย ณ มิถุนายน 2551 โรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเกือบทั้งหมดมีการดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA โดยมีการพัฒนาคุณภาพบริการจนได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานตามมาตรฐาน HA ขั้นที่ 2 และการรับรอง HA เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 35.18 และ 17.57 ตามลำดับ
การคุ้มครองสิทธิ การช่วยเหลือเบื้องต้น และการประชาสัมพันธ์
การให้บริการประชาชนเพื่อช่วยเหลือผู้มีสิทธิและผู้ให้บริการในระบบหลักประกันถ้วนหน้า โดยในรอบ 9 เดือนของปีงบประมาณ 2550 ให้บริการไปแล้วทั้งสิ้น 581,221 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นการให้ข้อมูล จำนวน 563,273 เรื่อง (ร้อยละ 96.91) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้บริการประชาชน เรื่องร้องทุกข์ 15,065 เรื่อง (ร้อยละ 2.59) และเรื่องร้องเรียน 2,883 เรื่อง (ร้อยละ 0.50) โดยเรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนอง (ตอบกลับผู้ร้องหรือผู้แจ้งเรื่อง) ภายใน 5 วันทำการ ทั้งนี้เป็นเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 30 วันทำการ จำนวน 2,650 เรื่อง (ร้อยละ 91.92) ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด นอกจากนี้ สปสช. มีศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการได้ทันท่วงที โดยในรอบ 9 เดือน ได้รับเรื่องประสานการส่งต่อผู้ป่วยจำนวน 2,754 ราย สามารถประสานการส่งต่อได้ จำนวน 1,948 (ร้อยละ 70.73)
การช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการกรณีได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2551 จนถึงปัจจุบัน ได้พิจารณาเห็นชอบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการทั้งหมด 395 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 44.88 ล้านบาท ส่วนการช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 385 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2.28 ล้านบาท
การส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี
สปสช.สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคี โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายองค์กรประชาชน เครือข่ายผู้ป่วย การมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้ร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพอีกด้วย โดยปี 2551 สปสช.ได้ร่วมกับภาคีต่างๆ จัดกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพคนพิการขึ้นตามความพร้อมขององค์กรคนพิการเพิ่มเป็น 4 ศูนย์ และขยายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเพิ่มขึ้นรวมมีจำนวนทั้งสิ้น 101 ศูนย์ กิจกรรมการส่งเสริมค่ายอาสาสมัครนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร 39 สถาบันในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระบบประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมารวมดำเนินการจำนวน 2,692 พื้นที่ เพิ่มขึ้นในพื้นที่ใหม่ 1,804 พื้นที่ ประชากรพื้นที่ดำเนินการ 20.18 ล้านคน
การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2551
การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา ในภาพรวมมีการใช้เงินกองทุนฯ ไปทั้งสิ้น 51,739.55 ล้านบาท (ร้อยละ 67.36) จากงบประมาณที่ได้รับ 76,808.91 ล้านบาท ส่วนใหญ่มีการเบิกจ่ายมากกว่าร้อยละ 60 โดยเบิกจ่ายสูงสุดในกองทุนบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ร้อยละ 93.03 และกองทุนผู้ป่วยนอก ร้อยละ 84.99 ตามลำดับ
ผลงานที่สำคัญและการพัฒนาหลักประกันสุขภาพ
การจัดสรรงบประมาณเพื่อการดำเนินงานและคุณภาพบริการ เป็นการจัดสรรงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อการดำเนินงานและคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกและเกณฑ์ที่ดีเพื่อตอบแทนตามผลงานบริการที่มีคุณภาพ ซึ่งจะสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการประจำและเครือข่าย จัดบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง และทำให้มีระบบสารสนเทศในการเฝ้าระวังด้านคุณภาพบริการที่ใช้วางแผนพัฒนา ตลอดจนการควบคุมกำกับการดำเนินงานบริการที่มีคุณภาพต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--