คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 17 ช่วงวันที่ 8-14กันยายน 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย
เนื่องจากเกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณ
ภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 เกิดพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 9 จังหวัด ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และระนอง และยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย สระบุรี ชลบุรี และลพบุรี ดังนี้
1. จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 ที่ อำเภอวังทองวัดได้ 145.3 มม. ที่ อ.เนินมะปราง 125.0 มม. ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในลุ่มน้ำวังทอง (น้ำเข็ก) ล้นตลิ่งท่วมพื้นที่อำเภอจำนวน 2 อำเภอ ดังนี้
อำเภอวังทอง 5 ตำบล ได้แก่ ต.วังทอง พันชาติ วังนกแอ่น ชัยนาม และดินทอง ระดับน้ำท่วมสูง 0.20-0.50 เมตร คาดว่าถ้าหากไม่มีฝนตกซ้ำระดับน้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1-2 วัน
อำเภอเนินมะปราง 2 ตำบล ได้แก่ ต.ชมพู และต.บ้านมุง ระดับน้ำท่วมสูง 0.30-0.50 เมตร หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 2-3 วันนี้
2. จังหวัดสุโขทัย เกิดฝนตกวัดได้ ในเขต อ.เมือง 79.8 มม. อ.กงไกรลาศ 57.3 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในเขตพื้นที่ราบลุ่ม จำนวน 2 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง จำนวน 1 ตำบล ได้แก่ ต.ปากพระ และอำเภอกงไกรลาศ จำนวน 2 ตำบล ได้แก่ ต.ท่าฉนวน และ ต.กง หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 2-3 วันนี้
3. จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2551 ฝนตกหนักและเกิดน้ำป่าไหลหลาก เกิดพื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 อำเภอ คือ อำเภอแก่งคอย จำนวน 11 ตำบล ได้แก่ ต.ทับกวาง ชะอม ท่าตูม บ้านธาตุ เตาปูน ตาลเดี่ยว หินซ้อน บ้านป่า ท่ามะปราง สองคอน และท่าคล้อ และอำเภอมวกเหล็ก จำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ต.มวกเหล็ก ลำพญากลาง และมิตรภาพ
4. จังหวัดชลบุรี น้ำล้นตลิ่งและเข้าท่วมพื้นที่ จำนวน 4 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง ในเขต ต.ตำหรุ หนองไม้แดง และดอนหัวฬ่อ น้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.40 เมตร
อำเภอพานทอง ในเขต ต.หนองกะขะ มาบโป่ง และหนองหงส์ น้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.30 เมตร
อำเภอเกาะจันทร์ ในเขต ต.เกาะจันทร์ น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-1.00 เมตร
อำเภอพนัสนิคม ในเขต ต.หนองเหียง นาวังหิน บ้านช้าง และไร่หลักทอง น้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.50 เมตร
ขณะนี้โครงการชลประทานชลบุรีได้เร่งระบายน้ำโดย การเปิดประตูระบายน้ำปากคลองบางแสม ประตูระบายน้ำปลายคลองบางแสม ประตูระบายน้ำพานทอง และประตูระบายน้ำตำหรุ ลงสู่แม่น้ำบางปะกง คาดว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติภายในวันที่ 15 กันยายน 2551
5. จังหวัดลพบุรี เกิดฝนตกหนักวันที่ 12 กันยายน 2551 ในเขตอ.เมือง วัดได้ 149 มม. อ.ศรีสำโรง วัดได้ 242 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลาก มีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 5 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง ท่วมผิวจราจรถนนพหลโยธิน บริเวณ ต.เขาพระงาม เขาสามยอด สูงกว่าระดับผิวจราจรประมาณ 0.50 เมตร ลดลงเหลือ 0.30 เมตร
อำเภอโคกสำโรง ท่วมในเขตเทศบาลต.โคกสำโรง และน้ำไหลข้ามถนนพหลโยธิน ในเขต ต.โคกสำโรง และ ต.ตำบลวังขอนขว้าง ระดับน้ำท่วมสูงกว่าผิวการจราจรประมาณ 0.50 เมตร
อำเภอชัยบาดาล 3 ตำบล ได้แก่ ต.เขาแหลม ชัยนารายณ์ และศิลาทิพย์
อำเภอหนองม่วง 6 ตำบล ได้แก่ ต.ยางโทน บ่อทอง ดงดินแดน ซอนสมบูรณ์ ซอนสารเดช และ หนองม่วง
อำเภอโคกเจริญ 5 ตำบล ได้แก่ ต.โคกเจริญ ยางราก โคกแสมสาร วังทอง และหนองม่วง
ขณะได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 24 เครื่อง เร่งระบายน้ำลงคลองชัยนาท-ป่าสัก หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 วันนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (14 กันยายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 48,501 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 25,187 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2550 (50,380 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,897 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 4 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำได้อีก 20,006 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 404.3 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน 26,125 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 68 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 7,123 และ 7,449 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 และ 78 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,572 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 63 ของความจุอ่างฯ ทั้งสอง ปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 7,922 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 426 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ 423 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่างฯ คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ ตามลำดับ
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ (ล้าน ลบ.ม)
ปริมาตร % ความจุ ปริมาตรน้ำ % ความ เฉลี่ย วันนี้ สะสมตั้งแต่
น้ำ อ่างฯ ล้าน ลบ.ม. จุอ่างฯ ทั้งปี 1 ม.ค. 51
ล้าน
ลบ.ม.
1) แม่กวงฯ เชียงใหม่ 50 19 36 14 186 1.6 73
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี และอ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ คิดเป็นร้อยละ 85 และ 89 ของความจุอ่างฯ ตามลำดับ
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ (ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณ
น้ำรับได้
ปริมาตรน้ำ % ความ ปริมา % ความจุ เฉลี่ยทั้ง วันนี้ สะสม อีก
ล้าน ลบ.ม. จุอ่างฯ ตรน้ำ อ่างฯ ปี ตั้งแต่
ล้าน ล้าน 1 ม.ค.
ลบ.ม. ลบ.ม. 51
1) ศรีนครินทร์ กาญจนบุรี 15,099 85 4,834 27 4,339 23.2 2,632 2,646
2) ประแสร์ ระยอง 220 89 200 75 295 5.7 175 28
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติแนวโน้มลดลง
แม่น้ำยม สถานี Y.20 บ?นห?วยสัก อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำน่าน สถานี N.64 บ้านผาขวาง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และสถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และสถานี N.67 สะพานบ้านเกศไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำโขง สถานี Kh.97 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และสถานี Kh.104 วัดศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง สถานี Kh.16B บ?นท?ควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มลดลง
แม่น้ำชี สถานี E.91 บ้านหนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และสถานี E.20A บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 974 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 130 ลบ.ม.ต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 1,050ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 78 ลบ.ม.ต่อวินาที) โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.50 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา +11.40 เมตร. (รทก.) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 18 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 1 ลบ.ม.ต่อวินาที) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 129 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 11 ลบ.ม.ต่อวินาที)
แม่น้ำท่าจีน ที่สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ความจุ 440 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำ 1.12 เมตร ปริมาณน้ำไหลผ่าน 283.47 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.48 เมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปิดการระบายน้ำ (ลดลงจากเมื่อวาน 2 ลบ.ม.ต่อวินาที) เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 427.48 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 68.3 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำคลองหลวง ที่ สถานี Kgt.19 ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี (ความจุ 35.92 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับตลิ่ง + 4.80 ม.) ปัจจุบันปริมาณน้ำไหลผ่าน 16.42 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำ +3.62 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 1.18 เมตร ขณะนี้โครงการชลประทานชลบุรีได้เร่งระบายน้ำโดยการเปิดประตูระบายน้ำปากคลองบางแสม,ประตูระบายน้ำปลายคลองบางแสม,ประตูระบายน้ำพานทอง และ ประตูระบายน้ำตำหรุ ลงสู่แม่น้ำบางปะกงอย่างต่อเนื่อง
ผลกระทบด้านการเกษตร
1. อุทกภัย
ช่วงวันที่ 1 —12 กันยายน 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 11 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 5 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด ภาคกลาง 2 จังหวัด และภาคตะวันออก 2 จังหวัด
ด้านพืช 10 จังหวัด เกษตรกร 40,283 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 402,371 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 264,492 ไร่ พืชไร่ 137,658 ไร่ พืชสวน 221 ไร่
ด้านปศุสัตว์ 2 จังหวัดเกษตรกร 220 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 9,636 ตัว แบ่งเป็น สุกร-แพะ-แกะ 29 ตัว สัตว์ปีก 9,607 ตัว
ด้านประมง 3 จังหวัด เกษตรกร 301 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 318 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 157 ไร่
ช่วงวันที่ 1 สิงหาคม — 29 สิงหาคม 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 23 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 10 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคใต้ 1 จังหวัด
ด้านพืช 23 จังหวัด เกษตรกร 146,864 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 991,970.75 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 780,901.25 ไร่ พืชไร่ 188,979.50 ไร่ พืชสวน 22,090 ไร่
ด้านปศุสัตว์ 6 จังหวัด เกษตรกร 34,423 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 148,343 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 63,204 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 4,287 ตัว สัตว์ปีก 80,852 ตัว
ด้านประมง 10 จังหวัด เกษตรกร 13,561 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 15,047 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 9,855 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 15 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 520 ตารางเมตร
ช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม-31 กรกฎาคม 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 43 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 12 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ภาคกลาง 6 จังหวัด ภาคตะวันออก 8 จังหวัด ภาคตะวันตก 4 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด
ด้านพืช 37 จังหวัด พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 765,542 ไร่ พื้นที่เสียหายสิ้นเชิง 358,238.25 ไร่ เกษตรกร 18,864 ราย
ด้านปศุสัตว์ 7 จังหวัด เกษตรกร 2,263 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 45,488 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 4,144 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 1,794 ตัว สัตว์ปีก 39,550 ตัว
ด้านประมง 22 จังหวัด เกษตรกร 2,350 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,384 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 4,127 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 5,112 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 83,243 ตารางเมตร
2. ฝนทิ้งช่วง ช่วงวันที่ 1 มิ.ย. ถึง 29 ส.ค. 51
พื้นที่ประสบภัย 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ เลย ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สระบุรี และอำนาจเจริญ เกษตรกร 127,743 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 1,163,182.75 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,075,858 ไร่ พืชไร่ 87,092 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 233 ไร่
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 15 จังหวัด จำนวน 148 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 36 เครื่อง ดังนี้ จ.กำแพงเพชร 3 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง ลพบุรี 24 เครื่อง สิงห์บุรี 4 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง อ่างทอง 37 เครื่อง นครราชสีมา 4 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 9 เครื่อง) สุพรรณบุรี 26 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 7 เครื่อง) น่าน 14 เครื่อง นครปฐม เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง สกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5 เครื่อง และ หนองคาย 18 เครื่อง
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 182,475 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 12,594 ตัว
3. การปฏิบัติการฝนหลวง
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เริ่มตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2551 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ในภาคต่างๆ รวมทั้ง ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำจากเขื่อนต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั้งหมด จำนวน 7 ศูนย์ (8 หน่วยปฏิบัติการ และ 4 ฐานเติมสารฝนหลวง) ดังนี้
1) ภาคเหนือตอนบน หน่วยฯ เชียงใหม่ และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดตาก
2) ภาคเหนือตอนล่าง หน่วยฯ พิษณุโลก
3) ภาคกลาง หน่วยฯ ลพบุรี และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์
4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน หน่วยฯ ขอนแก่น และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดร้อยเอ็ด
5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หน่วยฯ นครราชสีมา และหน่วยฯ อุบลราชธานี
6) ภาคตะวันออก หน่วยฯ สระแก้ว และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดระยอง
7) ภาคใต้ตอนบน หน่วยฯ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงในรอบสัปดาห์ (ช่วงวันที่ 5-11 ก.ย. 2551) ขึ้นบินปฏิบัติการจำนวน 7 วัน 190 เที่ยวบิน มีฝนตกวัดปริมาณน้ำฝนได้ 501 สถานี ปริมาณน้ำฝน 0.1-106.8 มิลลิเมตร ในพื้นที่ 53 จังหวัด
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม ตั้งแต่ตั้งหน่วยฯ (ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.-11 ก.ย. 2551) ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 214 วัน 5,022 เที่ยวบิน มีฝนตกวัดปริมาณน้ำฝนได้ 871 สถานี (จากสถานีวัดฝนรวมทั้งหมด 1,149 สถานี) ปริมาณน้ำฝน 0.1-270.0 มิลลิเมตรในพื้นที่ 69 จังหวัด
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำคู่มือการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตรขึ้น เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติด้านการเกษตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--
สถานการณ์อุทกภัย
เนื่องจากเกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณ
ภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 เกิดพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 9 จังหวัด ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และระนอง และยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย สระบุรี ชลบุรี และลพบุรี ดังนี้
1. จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 ที่ อำเภอวังทองวัดได้ 145.3 มม. ที่ อ.เนินมะปราง 125.0 มม. ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในลุ่มน้ำวังทอง (น้ำเข็ก) ล้นตลิ่งท่วมพื้นที่อำเภอจำนวน 2 อำเภอ ดังนี้
อำเภอวังทอง 5 ตำบล ได้แก่ ต.วังทอง พันชาติ วังนกแอ่น ชัยนาม และดินทอง ระดับน้ำท่วมสูง 0.20-0.50 เมตร คาดว่าถ้าหากไม่มีฝนตกซ้ำระดับน้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1-2 วัน
อำเภอเนินมะปราง 2 ตำบล ได้แก่ ต.ชมพู และต.บ้านมุง ระดับน้ำท่วมสูง 0.30-0.50 เมตร หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 2-3 วันนี้
2. จังหวัดสุโขทัย เกิดฝนตกวัดได้ ในเขต อ.เมือง 79.8 มม. อ.กงไกรลาศ 57.3 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในเขตพื้นที่ราบลุ่ม จำนวน 2 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง จำนวน 1 ตำบล ได้แก่ ต.ปากพระ และอำเภอกงไกรลาศ จำนวน 2 ตำบล ได้แก่ ต.ท่าฉนวน และ ต.กง หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 2-3 วันนี้
3. จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2551 ฝนตกหนักและเกิดน้ำป่าไหลหลาก เกิดพื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 อำเภอ คือ อำเภอแก่งคอย จำนวน 11 ตำบล ได้แก่ ต.ทับกวาง ชะอม ท่าตูม บ้านธาตุ เตาปูน ตาลเดี่ยว หินซ้อน บ้านป่า ท่ามะปราง สองคอน และท่าคล้อ และอำเภอมวกเหล็ก จำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ต.มวกเหล็ก ลำพญากลาง และมิตรภาพ
4. จังหวัดชลบุรี น้ำล้นตลิ่งและเข้าท่วมพื้นที่ จำนวน 4 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง ในเขต ต.ตำหรุ หนองไม้แดง และดอนหัวฬ่อ น้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.40 เมตร
อำเภอพานทอง ในเขต ต.หนองกะขะ มาบโป่ง และหนองหงส์ น้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.30 เมตร
อำเภอเกาะจันทร์ ในเขต ต.เกาะจันทร์ น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-1.00 เมตร
อำเภอพนัสนิคม ในเขต ต.หนองเหียง นาวังหิน บ้านช้าง และไร่หลักทอง น้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.50 เมตร
ขณะนี้โครงการชลประทานชลบุรีได้เร่งระบายน้ำโดย การเปิดประตูระบายน้ำปากคลองบางแสม ประตูระบายน้ำปลายคลองบางแสม ประตูระบายน้ำพานทอง และประตูระบายน้ำตำหรุ ลงสู่แม่น้ำบางปะกง คาดว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่สภาวะปกติภายในวันที่ 15 กันยายน 2551
5. จังหวัดลพบุรี เกิดฝนตกหนักวันที่ 12 กันยายน 2551 ในเขตอ.เมือง วัดได้ 149 มม. อ.ศรีสำโรง วัดได้ 242 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลาก มีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 5 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง ท่วมผิวจราจรถนนพหลโยธิน บริเวณ ต.เขาพระงาม เขาสามยอด สูงกว่าระดับผิวจราจรประมาณ 0.50 เมตร ลดลงเหลือ 0.30 เมตร
อำเภอโคกสำโรง ท่วมในเขตเทศบาลต.โคกสำโรง และน้ำไหลข้ามถนนพหลโยธิน ในเขต ต.โคกสำโรง และ ต.ตำบลวังขอนขว้าง ระดับน้ำท่วมสูงกว่าผิวการจราจรประมาณ 0.50 เมตร
อำเภอชัยบาดาล 3 ตำบล ได้แก่ ต.เขาแหลม ชัยนารายณ์ และศิลาทิพย์
อำเภอหนองม่วง 6 ตำบล ได้แก่ ต.ยางโทน บ่อทอง ดงดินแดน ซอนสมบูรณ์ ซอนสารเดช และ หนองม่วง
อำเภอโคกเจริญ 5 ตำบล ได้แก่ ต.โคกเจริญ ยางราก โคกแสมสาร วังทอง และหนองม่วง
ขณะได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 24 เครื่อง เร่งระบายน้ำลงคลองชัยนาท-ป่าสัก หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 วันนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (14 กันยายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 48,501 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 25,187 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2550 (50,380 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,897 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 4 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำได้อีก 20,006 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 404.3 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน 26,125 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 68 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 7,123 และ 7,449 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 และ 78 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 14,572 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 63 ของความจุอ่างฯ ทั้งสอง ปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 7,922 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 426 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ 423 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่างฯ คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 19 ของความจุอ่างฯ ตามลำดับ
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ (ล้าน ลบ.ม)
ปริมาตร % ความจุ ปริมาตรน้ำ % ความ เฉลี่ย วันนี้ สะสมตั้งแต่
น้ำ อ่างฯ ล้าน ลบ.ม. จุอ่างฯ ทั้งปี 1 ม.ค. 51
ล้าน
ลบ.ม.
1) แม่กวงฯ เชียงใหม่ 50 19 36 14 186 1.6 73
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 2 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี และอ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ คิดเป็นร้อยละ 85 และ 89 ของความจุอ่างฯ ตามลำดับ
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ (ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณ
น้ำรับได้
ปริมาตรน้ำ % ความ ปริมา % ความจุ เฉลี่ยทั้ง วันนี้ สะสม อีก
ล้าน ลบ.ม. จุอ่างฯ ตรน้ำ อ่างฯ ปี ตั้งแต่
ล้าน ล้าน 1 ม.ค.
ลบ.ม. ลบ.ม. 51
1) ศรีนครินทร์ กาญจนบุรี 15,099 85 4,834 27 4,339 23.2 2,632 2,646
2) ประแสร์ ระยอง 220 89 200 75 295 5.7 175 28
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติแนวโน้มลดลง
แม่น้ำยม สถานี Y.20 บ?นห?วยสัก อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำน่าน สถานี N.64 บ้านผาขวาง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และสถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และสถานี N.67 สะพานบ้านเกศไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำโขง สถานี Kh.97 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และสถานี Kh.104 วัดศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง สถานี Kh.16B บ?นท?ควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มลดลง
แม่น้ำชี สถานี E.91 บ้านหนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และสถานี E.20A บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 974 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 130 ลบ.ม.ต่อวินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 1,050ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 78 ลบ.ม.ต่อวินาที) โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.50 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา +11.40 เมตร. (รทก.) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 18 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 1 ลบ.ม.ต่อวินาที) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 129 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 11 ลบ.ม.ต่อวินาที)
แม่น้ำท่าจีน ที่สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ความจุ 440 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำ 1.12 เมตร ปริมาณน้ำไหลผ่าน 283.47 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.48 เมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปิดการระบายน้ำ (ลดลงจากเมื่อวาน 2 ลบ.ม.ต่อวินาที) เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 427.48 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 68.3 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำคลองหลวง ที่ สถานี Kgt.19 ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี (ความจุ 35.92 ลบ.ม.ต่อวินาที ระดับตลิ่ง + 4.80 ม.) ปัจจุบันปริมาณน้ำไหลผ่าน 16.42 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำ +3.62 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 1.18 เมตร ขณะนี้โครงการชลประทานชลบุรีได้เร่งระบายน้ำโดยการเปิดประตูระบายน้ำปากคลองบางแสม,ประตูระบายน้ำปลายคลองบางแสม,ประตูระบายน้ำพานทอง และ ประตูระบายน้ำตำหรุ ลงสู่แม่น้ำบางปะกงอย่างต่อเนื่อง
ผลกระทบด้านการเกษตร
1. อุทกภัย
ช่วงวันที่ 1 —12 กันยายน 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 11 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 5 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด ภาคกลาง 2 จังหวัด และภาคตะวันออก 2 จังหวัด
ด้านพืช 10 จังหวัด เกษตรกร 40,283 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 402,371 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 264,492 ไร่ พืชไร่ 137,658 ไร่ พืชสวน 221 ไร่
ด้านปศุสัตว์ 2 จังหวัดเกษตรกร 220 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 9,636 ตัว แบ่งเป็น สุกร-แพะ-แกะ 29 ตัว สัตว์ปีก 9,607 ตัว
ด้านประมง 3 จังหวัด เกษตรกร 301 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 318 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 157 ไร่
ช่วงวันที่ 1 สิงหาคม — 29 สิงหาคม 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 23 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 10 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 2 จังหวัด และภาคใต้ 1 จังหวัด
ด้านพืช 23 จังหวัด เกษตรกร 146,864 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 991,970.75 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 780,901.25 ไร่ พืชไร่ 188,979.50 ไร่ พืชสวน 22,090 ไร่
ด้านปศุสัตว์ 6 จังหวัด เกษตรกร 34,423 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 148,343 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 63,204 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 4,287 ตัว สัตว์ปีก 80,852 ตัว
ด้านประมง 10 จังหวัด เกษตรกร 13,561 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 15,047 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 9,855 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 15 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 520 ตารางเมตร
ช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม-31 กรกฎาคม 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 43 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 12 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ภาคกลาง 6 จังหวัด ภาคตะวันออก 8 จังหวัด ภาคตะวันตก 4 จังหวัด และภาคใต้ 4 จังหวัด
ด้านพืช 37 จังหวัด พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 765,542 ไร่ พื้นที่เสียหายสิ้นเชิง 358,238.25 ไร่ เกษตรกร 18,864 ราย
ด้านปศุสัตว์ 7 จังหวัด เกษตรกร 2,263 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 45,488 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 4,144 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 1,794 ตัว สัตว์ปีก 39,550 ตัว
ด้านประมง 22 จังหวัด เกษตรกร 2,350 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,384 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 4,127 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 5,112 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 83,243 ตารางเมตร
2. ฝนทิ้งช่วง ช่วงวันที่ 1 มิ.ย. ถึง 29 ส.ค. 51
พื้นที่ประสบภัย 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ เลย ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สระบุรี และอำนาจเจริญ เกษตรกร 127,743 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 1,163,182.75 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,075,858 ไร่ พืชไร่ 87,092 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 233 ไร่
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 15 จังหวัด จำนวน 148 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 36 เครื่อง ดังนี้ จ.กำแพงเพชร 3 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง ลพบุรี 24 เครื่อง สิงห์บุรี 4 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง อ่างทอง 37 เครื่อง นครราชสีมา 4 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 9 เครื่อง) สุพรรณบุรี 26 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 7 เครื่อง) น่าน 14 เครื่อง นครปฐม เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง สกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5 เครื่อง และ หนองคาย 18 เครื่อง
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 182,475 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 12,594 ตัว
3. การปฏิบัติการฝนหลวง
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เริ่มตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ประจำปี 2551 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นมา เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้ในภาคต่างๆ รวมทั้ง ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำจากเขื่อนต่างๆ ซึ่งขณะนี้มีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั้งหมด จำนวน 7 ศูนย์ (8 หน่วยปฏิบัติการ และ 4 ฐานเติมสารฝนหลวง) ดังนี้
1) ภาคเหนือตอนบน หน่วยฯ เชียงใหม่ และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดตาก
2) ภาคเหนือตอนล่าง หน่วยฯ พิษณุโลก
3) ภาคกลาง หน่วยฯ ลพบุรี และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์
4) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน หน่วยฯ ขอนแก่น และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดร้อยเอ็ด
5) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หน่วยฯ นครราชสีมา และหน่วยฯ อุบลราชธานี
6) ภาคตะวันออก หน่วยฯ สระแก้ว และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดระยอง
7) ภาคใต้ตอนบน หน่วยฯ หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงในรอบสัปดาห์ (ช่วงวันที่ 5-11 ก.ย. 2551) ขึ้นบินปฏิบัติการจำนวน 7 วัน 190 เที่ยวบิน มีฝนตกวัดปริมาณน้ำฝนได้ 501 สถานี ปริมาณน้ำฝน 0.1-106.8 มิลลิเมตร ในพื้นที่ 53 จังหวัด
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม ตั้งแต่ตั้งหน่วยฯ (ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.-11 ก.ย. 2551) ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 214 วัน 5,022 เที่ยวบิน มีฝนตกวัดปริมาณน้ำฝนได้ 871 สถานี (จากสถานีวัดฝนรวมทั้งหมด 1,149 สถานี) ปริมาณน้ำฝน 0.1-270.0 มิลลิเมตรในพื้นที่ 69 จังหวัด
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำคู่มือการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตรขึ้น เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติด้านการเกษตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--