คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัย ในห้วงวันที่ 11-15 กันยายน 2551 สรุปสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นรวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 15 กันยายน 2551) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11 - 15 กันยายน 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 12 จังหวัด 25 อำเภอ 118 ตำบล 666 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี เลย สระบุรี นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ตาก และจังหวัดชลบุรี
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 5 คน จ.สระบุรี 2 คน (อ.แก่งคอย 1 อ.มวกเหล็ก 1) จ.นครราชสีมา 2 คน (อ.ปากช่อง 1 อ.ปักธงชัย 1) จ.ลพบุรี 1 คน (อ.โคกสำโรง) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 34,182 ครัวเรือน 114,345 คน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 4 หลัง บางส่วน 332 หลัง สะพาน 16 แห่ง ถนน 147 สาย โรงเรียน 4 แห่ง สถานที่ราชการ 10 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 100,000 ไร่
3) มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ตาก นครสวรรค์ และจังหวัดนครนายก ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา เลย และจังหวัดชลบุรี ดังนี้
1) จังหวัดพิษณุโลก เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 12 กันยายน 2551 จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 13 กันยายน 2551 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 3 อำเภอ 11 ตำบล 36 หมู่บ้าน ดังนี้
(1) อำเภอวังทอง 5 ตำบล 13 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลวังนกแอ่น (หมู่ที่ 1,2,3,7,16) ตำบลชัยนาม (หมู่ที่ 2,3,5,7) วังทอง (หมู่ที่ 4,7,12) วังพิกุล (หมู่ที่ 2) และตำบลดินทอง (หมู่ที่ 1) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
(2) อำเภอเนินมะปราง 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลชมพู (หมู่ที่ 3,5,7,12) และตำบล บ้านมุง (หมู่ที่ 2) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
(3) อำเภอเมือง 4 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสมอแข (หมู่ที่ 1,2,3,8) อรัญญิก (หมู่ที่ 4-6) บ้านป่า (หมู่ที่ 2,3,5,6,7,8,10) และตำบลหัวรอ (หมู่ที่ 3,5,6,7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-4 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ชลประทานจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 7 ลำ กระสอบทราย จำนวน 500 กระสอบ ให้ทัณฑสถานหญิงเพื่อวางกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าในพื้นที่ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
2) สำนักงานบำรุงทางพิษณุโลกที่ 2 และกองพลพัฒนาที่ 3 สนับสนุนเรือท้องแบน 3 ลำ พร้อมกำลังพลในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่ปลอดภัย
2) จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดทั้งวัน จนถึงวันที่ 12 กันยายน 2551 เวลาประมาณ 01.00 น. ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 8 อำเภอ 65 ตำบล 530 หมู่บ้าน (เสียชีวิต 1 คน) ราษฎรเดือดร้อน 113,995 คน 33,287 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเมือง โคกสำโรง ชัยบาดาล หนองม่วง บ้านหมี่ สระโบสถ์ โคกเจริญ และอำเภอลำสนธิ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คล้ายแล้ว 3 อำเภอ คือ อ.สระโบสถ์ อ.โคกเจริญ และลำสนธิ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ดังนี้
(1) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 7 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ ตำบลท่าศาลา (หมู่ที่ 1-8) เขาสามยอด (หมู่ที่ 1-7) ท่าแค (หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10) กกโก (หมู่ที่ 1,2,4,7,8) โคกตูม (หมู่ที่ 4,7,14,16) ถนนใหญ่ (หมู่ที่ 1-6) และตำบลป่าตาล (หมู่ที่ 1-8) และในเขตเทศบาลเมืองบริเวณวงเวียนพระนารายณ์หน้าศาลากลางจังหวัด ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,239 ครัวเรือน 24,956 คน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
(2) อำเภอโคกสำโรง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 13 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลโคกสำโรง ตำบลโคกสำโรง (หมู่ที่ 1-9) ถลุงเหล็ก (หมู่ที่ 1-8) วังจั่น (หมู่ที่ 1-7) เกาะแก้ว (หมู่ที่ 1-11) หนองแขม (หมู่ที่ 1-13) หลุมข้าว (หมู่ที่ 1-11) ห้วยโป่ง (หมู่ที่ 1-12) วังขอนขาว (หมู่ที่ 1-6) คลองเกตุ (หมู่ที่ 1-10) เพนียด (หมู่ที่ 1-10) สะแกราบ (หมู่ที่ 1-15) วังเพลิง (หมู่ที่ 1-13) และตำบลดงมะรุม (หมู่ที่ 1-12) ระดับน้ำสูง 0.30-1.00 ม. (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายสายยล คลังผา อายุ45 ปี) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,500 ครัวเรือน 19,000 คน
(3) อำเภอชัยบาดาล เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาแหม (หมู่ที่ 1-7) ศิลาทิพย์ (หมู่ที่ 5,6,11) ม่วงค่อม (หมู่ที่ 1,4,5,6,7) หนองยายโต๊ะ (หมู่ที่ 3,6,8) ชัยบาดาล(หมู่ที่ 8) และตำบลลำนารายณ์ (หมู่ที่ 12) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,332 ครัวเรือน 13,328 คน ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
(4) อำเภอหนองม่วง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองม่วง (หมู่ที่ 1-10) บ่อทอง (หมู่ที่ 1-12) ดงดินแดง (หมู่ที่ 1-11) ชอนสมบูรณ์ (หมู่ที่ 1-12) ยางโทน (หมู่ที่ 1-10) และตำบลชอนสารเดช (หมู่ที่ 1-11) ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 ม.
(5) อำเภอบ้านหมี่ เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกะพี้ หินปัก ดอนดึง ดงพลับ บ้านทราย และบ้านกล้วย ราษฎรเดือดร้อน 1,305 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 0.30-1.00 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-4 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสนับสนุนเรือท้องแบน 72 ลำ รถแบ็คโฮ 2 คัน พร้อมมอบถุงยังชีพ 1,500 ชุด ชุดยาเวชภัณฑ์ 4,000 ชุด
2) กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 35 เครื่อง พร้อมนำเครื่องจักรทำการกำจัดวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก
3) จังหวัดสระบุรี เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ของวันที่ 11 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ในพื้นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากใน 2 อำเภอ 16 ตำบล 1 เทศบาล 63 หมู่บ้าน ได้แก่
(1) อำเภอแก่งคอย เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 13 ตำบล 51 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลทับกวาง (หมู่ที่ 3,4,6,7,9) ตำบลชะอม (หมู่ที่ 1-11) ตำบลท่าตูม ตำบลบ้านธาตุ ตำบลห้วยแห้ง ตำบลเตาปูน ตำบลตาลเดี่ยว ตำบลหินซ้อน ตำบลซำผักแพรว (หมู่ที่ 1-10) ตำบลท่ามะปราง (หมู่ที่ 1-4) ตำบลบ้านป่า (หมู่ที่ 2,9,10,11) และตำบลสองคอน (หมู่ที่ 3,4,5,6,10,11) และตำบลท่าคล้อ (หมู่ที่ 1-11) (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นางสมพงษ์ กุหามบ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26 ม.7 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
(2) อำเภอมวกเหล็ก เกิดน้ำป่าไหลหลากลงมาตามคลองมวกเหล็กเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 3 ตำบล 1 เทศบาล 12 หมู่บ้าน ได้แก่ เทศบาลมวกเหล็กบริเวณชุมชนมวกเหล็กนอก โรงพยาบาลมวกเหล็ก โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา ตำบลมวกเหล็ก (หมู่ที่ 1,2,4,9,11) ตำบลลำพญากลาง (หมู่ที่ 1,6,8,14,16) ตำบลมิตรภาพ (หมู่ที่ 9,10) (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายแดง ไม่ทราบนามสกุล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี ได้นำถุงยังชีพและน้ำดื่มมอบให้แก่ผู้ประสบภัย 100 ชุด อำเภอหนองแซงนำกระสอบทราย 500 คิว ปิดกั้นประตูน้ำบริเวณคลองระพีพัฒน์ เพื่อกั้นน้ำไม่ให้ล้นเข้าท่วมในพื้นที่ และเทศบาลตำบลทับกวางตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และอพยพประชาชน 150 คน ไปยังพื้นที่ปลอดภัย พร้อมทั้งจัดหาอาหาร น้ำดื่ม และเต็นท์ที่พักให้แก่ผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
2) เทศบาลมวกเหล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานในพื้นที่ ได้จัดทำป้ายสัญญาณแจ้งเตือนให้ระมัดระวังในการใช้ถนน พร้อมจัดทำทางเบี่ยงให้รถสามารถสัญจรไปมาได้ชั่วคราวแล้ว
3) กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ สนับสนุนกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ยังที่ปลอดภัย
4) จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้เกิดฝนตกหนักและน้ำจากอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรีไหลเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอสนามชัยเขต 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่ากระดาน และตำบลลาดกระทิง (ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ)
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฉะเชิงเทรา เหล่ากาชาดจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป
5) จังหวัดเลย ได้เกิดฝนตกหนักและน้ำจากแม่น้ำเลยเอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรที่ติดริมน้ำ 3 ตำบล 4 ชุมชน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกุดป่อง (ชุมชนบ้านติ้ว ชุมชนตลาดเมืองใหม่ ชุมชนสำนักสงฆ์บ้านทับมิ่งขวัญ ชุมชนหน้าที่ทำการไปรษณีย์จังหวัด) ตำบลนาอาน (หมู่ที่ 2,9) และตำบลชัยพฤกษ์ (หมู่ที่ 11) ราษฎรเดือดร้อน 260 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 0.30-0.50 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย เหล่ากาชาดจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนเรือท้องแบน 8 ลำ เจ้าหน้าที่ 75 คน เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 ต่อไป พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย
6) จังหวัดชลบุรี ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร จำนวน 3 อำเภอ 8 ตำบล ได้แก่ อำเภอเกาะจันทร์ (ตำบลเกาะจันทร์) อำเภอพนัสนิคม (ตำบลหนองเหียง วังหิน บ้านช้าง ไร่หลักทอง) และอำเภอพานทอง (ตำบลหนองกะขะ มาบโป่ง หนองหงส์) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี เหล่ากาชาดจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 ต่อไป โครงการชลประทานชลบุรีได้เร่งระบายน้ำ โดยการเปิดประตูระบายน้ำปากคลองบางแสม ประตูระบายน้ำพานทอง และประตูระบายน้ำตำหรุ ลงสู่แม่น้ำบางปะกง
1.4 สิ่งของพระราชทาน
1) สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย โดยสถานีกาชาดที่ 6 จังหวัดปราจีนบุรี สนับสนุนเรือท้องแบนจำนวน 4 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
2) กาชาดจังหวัดลพบุรี สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 6 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
1.5 การประชุมแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ
เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2551 กระทรวงมหาดไทยได้จัดประชุมแก้ไขปัญหาอุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือ ณ ห้องประชุม 352 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ( นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประสงค์ โฆษิตานนท์) และหัวหน้าส่วนราชการของหน่วยงานต่างๆ รวม 35 ท่าน เพื่อติดตามแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น และมอบนโยบายแนวทางการให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัย มอบให้ส่วนราชการดำเนินการ ดังนี้
(1) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเรื่องปัจจัยสี่ (อาหารน้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) ถือเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นลำดับแรก โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ร่วมกับจังหวัดที่ประสบภัยรับผิดชอบ สำหรับงบประมาณ ให้ใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) หรือจากงบองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
(2) การซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมที่ชำรุดเสียหาย มอบให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งดำเนินการซ่อมแซมให้สามารถใช้ได้ชั่วคราวโดยเร็วที่สุด หากความเสียหายมีมากเกินความสามารถ ให้ประสานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาเข้าไปช่วยเหลือ
(3) การดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟูด้านสาธารณสุข มอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบโดยจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลผู้ประสบภัยและการป้องกันโรค ตลอดจนฟื้นฟูด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
(4) การช่วยเหลือด้านการเกษตร ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบโดยให้จังหวัดตั้งคณะกรรมการสำรวจความเสียหายที่แท้จริง ทั้งพื้นที่เกษตร ปศุสัตว์และประมงที่ได้รับความเสียหาย ให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรเพื่อนำไปฟื้นฟูอาชีพต่อไป
(5) ภายหลังน้ำลด ให้ทุกส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบสำรวจความเสียหายเพื่อของบประมาณจากสำนักงบประมาณในการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ ถนน สะพาน ทำนบ เหมือง ฝาย ตลอดจนสถานที่ราชการให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วต่อไป
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 14 - 20 กันยายน 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่าในช่วงวันที่ 14 - 16 กันยายน ร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยยังมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทย สูงประมาณ 2 เมตร ต่อจากนั้นในช่วงวันที่ 17-20 กันยายน ร่องความกดอากาศต่ำและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลง ส่วนคลื่นลมในทะเลจะมีกำลังอ่อนลง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อาทิเช่น บริเวณจังหวัดน่าน แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยขอให้เพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือไว้ด้วย
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และคลื่นซัดฝั่ง สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและชาวเรือ โดยให้ศูนย์ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11 - 15 กันยายน 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 12 จังหวัด 25 อำเภอ 118 ตำบล 666 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี เลย สระบุรี นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครสวรรค์ ตาก และจังหวัดชลบุรี
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 5 คน จ.สระบุรี 2 คน (อ.แก่งคอย 1 อ.มวกเหล็ก 1) จ.นครราชสีมา 2 คน (อ.ปากช่อง 1 อ.ปักธงชัย 1) จ.ลพบุรี 1 คน (อ.โคกสำโรง) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 34,182 ครัวเรือน 114,345 คน
2) ด้านทรัพย์สิน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 4 หลัง บางส่วน 332 หลัง สะพาน 16 แห่ง ถนน 147 สาย โรงเรียน 4 แห่ง สถานที่ราชการ 10 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 100,000 ไร่
3) มูลค่าความเสียหาย อยู่ระหว่างการสำรวจ
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี ตาก นครสวรรค์ และจังหวัดนครนายก ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา เลย และจังหวัดชลบุรี ดังนี้
1) จังหวัดพิษณุโลก เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันที่ 12 กันยายน 2551 จนถึงช่วงเช้าของวันที่ 13 กันยายน 2551 เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 3 อำเภอ 11 ตำบล 36 หมู่บ้าน ดังนี้
(1) อำเภอวังทอง 5 ตำบล 13 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลวังนกแอ่น (หมู่ที่ 1,2,3,7,16) ตำบลชัยนาม (หมู่ที่ 2,3,5,7) วังทอง (หมู่ที่ 4,7,12) วังพิกุล (หมู่ที่ 2) และตำบลดินทอง (หมู่ที่ 1) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
(2) อำเภอเนินมะปราง 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลชมพู (หมู่ที่ 3,5,7,12) และตำบล บ้านมุง (หมู่ที่ 2) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.40 ม.
(3) อำเภอเมือง 4 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสมอแข (หมู่ที่ 1,2,3,8) อรัญญิก (หมู่ที่ 4-6) บ้านป่า (หมู่ที่ 2,3,5,6,7,8,10) และตำบลหัวรอ (หมู่ที่ 3,5,6,7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-4 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ชลประทานจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 7 ลำ กระสอบทราย จำนวน 500 กระสอบ ให้ทัณฑสถานหญิงเพื่อวางกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าในพื้นที่ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
2) สำนักงานบำรุงทางพิษณุโลกที่ 2 และกองพลพัฒนาที่ 3 สนับสนุนเรือท้องแบน 3 ลำ พร้อมกำลังพลในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่ปลอดภัย
2) จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2551 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดทั้งวัน จนถึงวันที่ 12 กันยายน 2551 เวลาประมาณ 01.00 น. ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 8 อำเภอ 65 ตำบล 530 หมู่บ้าน (เสียชีวิต 1 คน) ราษฎรเดือดร้อน 113,995 คน 33,287 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเมือง โคกสำโรง ชัยบาดาล หนองม่วง บ้านหมี่ สระโบสถ์ โคกเจริญ และอำเภอลำสนธิ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คล้ายแล้ว 3 อำเภอ คือ อ.สระโบสถ์ อ.โคกเจริญ และลำสนธิ ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 5 อำเภอ ดังนี้
(1) อำเภอเมือง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 7 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ ตำบลท่าศาลา (หมู่ที่ 1-8) เขาสามยอด (หมู่ที่ 1-7) ท่าแค (หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10) กกโก (หมู่ที่ 1,2,4,7,8) โคกตูม (หมู่ที่ 4,7,14,16) ถนนใหญ่ (หมู่ที่ 1-6) และตำบลป่าตาล (หมู่ที่ 1-8) และในเขตเทศบาลเมืองบริเวณวงเวียนพระนารายณ์หน้าศาลากลางจังหวัด ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,239 ครัวเรือน 24,956 คน ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
(2) อำเภอโคกสำโรง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 13 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลโคกสำโรง ตำบลโคกสำโรง (หมู่ที่ 1-9) ถลุงเหล็ก (หมู่ที่ 1-8) วังจั่น (หมู่ที่ 1-7) เกาะแก้ว (หมู่ที่ 1-11) หนองแขม (หมู่ที่ 1-13) หลุมข้าว (หมู่ที่ 1-11) ห้วยโป่ง (หมู่ที่ 1-12) วังขอนขาว (หมู่ที่ 1-6) คลองเกตุ (หมู่ที่ 1-10) เพนียด (หมู่ที่ 1-10) สะแกราบ (หมู่ที่ 1-15) วังเพลิง (หมู่ที่ 1-13) และตำบลดงมะรุม (หมู่ที่ 1-12) ระดับน้ำสูง 0.30-1.00 ม. (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายสายยล คลังผา อายุ45 ปี) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 6,500 ครัวเรือน 19,000 คน
(3) อำเภอชัยบาดาล เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาแหม (หมู่ที่ 1-7) ศิลาทิพย์ (หมู่ที่ 5,6,11) ม่วงค่อม (หมู่ที่ 1,4,5,6,7) หนองยายโต๊ะ (หมู่ที่ 3,6,8) ชัยบาดาล(หมู่ที่ 8) และตำบลลำนารายณ์ (หมู่ที่ 12) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 3,332 ครัวเรือน 13,328 คน ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
(4) อำเภอหนองม่วง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองม่วง (หมู่ที่ 1-10) บ่อทอง (หมู่ที่ 1-12) ดงดินแดง (หมู่ที่ 1-11) ชอนสมบูรณ์ (หมู่ที่ 1-12) ยางโทน (หมู่ที่ 1-10) และตำบลชอนสารเดช (หมู่ที่ 1-11) ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 ม.
(5) อำเภอบ้านหมี่ เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 6 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกะพี้ หินปัก ดอนดึง ดงพลับ บ้านทราย และบ้านกล้วย ราษฎรเดือดร้อน 1,305 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 0.30-1.00 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-4 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสนับสนุนเรือท้องแบน 72 ลำ รถแบ็คโฮ 2 คัน พร้อมมอบถุงยังชีพ 1,500 ชุด ชุดยาเวชภัณฑ์ 4,000 ชุด
2) กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 35 เครื่อง พร้อมนำเครื่องจักรทำการกำจัดวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก
3) จังหวัดสระบุรี เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น. ของวันที่ 11 ก.ย.51 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ในพื้นที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากใน 2 อำเภอ 16 ตำบล 1 เทศบาล 63 หมู่บ้าน ได้แก่
(1) อำเภอแก่งคอย เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ 13 ตำบล 51 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลทับกวาง (หมู่ที่ 3,4,6,7,9) ตำบลชะอม (หมู่ที่ 1-11) ตำบลท่าตูม ตำบลบ้านธาตุ ตำบลห้วยแห้ง ตำบลเตาปูน ตำบลตาลเดี่ยว ตำบลหินซ้อน ตำบลซำผักแพรว (หมู่ที่ 1-10) ตำบลท่ามะปราง (หมู่ที่ 1-4) ตำบลบ้านป่า (หมู่ที่ 2,9,10,11) และตำบลสองคอน (หมู่ที่ 3,4,5,6,10,11) และตำบลท่าคล้อ (หมู่ที่ 1-11) (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นางสมพงษ์ กุหามบ อายุ 33 ปี อยู่บ้านเลขที่ 26 ม.7 ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
(2) อำเภอมวกเหล็ก เกิดน้ำป่าไหลหลากลงมาตามคลองมวกเหล็กเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรในพื้นที่ 3 ตำบล 1 เทศบาล 12 หมู่บ้าน ได้แก่ เทศบาลมวกเหล็กบริเวณชุมชนมวกเหล็กนอก โรงพยาบาลมวกเหล็ก โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา ตำบลมวกเหล็ก (หมู่ที่ 1,2,4,9,11) ตำบลลำพญากลาง (หมู่ที่ 1,6,8,14,16) ตำบลมิตรภาพ (หมู่ที่ 9,10) (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายแดง ไม่ทราบนามสกุล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
1) จังหวัด อำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสระบุรี ได้นำถุงยังชีพและน้ำดื่มมอบให้แก่ผู้ประสบภัย 100 ชุด อำเภอหนองแซงนำกระสอบทราย 500 คิว ปิดกั้นประตูน้ำบริเวณคลองระพีพัฒน์ เพื่อกั้นน้ำไม่ให้ล้นเข้าท่วมในพื้นที่ และเทศบาลตำบลทับกวางตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และอพยพประชาชน 150 คน ไปยังพื้นที่ปลอดภัย พร้อมทั้งจัดหาอาหาร น้ำดื่ม และเต็นท์ที่พักให้แก่ผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว
2) เทศบาลมวกเหล็ก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานในพื้นที่ ได้จัดทำป้ายสัญญาณแจ้งเตือนให้ระมัดระวังในการใช้ถนน พร้อมจัดทำทางเบี่ยงให้รถสามารถสัญจรไปมาได้ชั่วคราวแล้ว
3) กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ สนับสนุนกำลังพลช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ยังที่ปลอดภัย
4) จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้เกิดฝนตกหนักและน้ำจากอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรีไหลเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอสนามชัยเขต 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่ากระดาน และตำบลลาดกระทิง (ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ)
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฉะเชิงเทรา เหล่ากาชาดจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป
5) จังหวัดเลย ได้เกิดฝนตกหนักและน้ำจากแม่น้ำเลยเอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรที่ติดริมน้ำ 3 ตำบล 4 ชุมชน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกุดป่อง (ชุมชนบ้านติ้ว ชุมชนตลาดเมืองใหม่ ชุมชนสำนักสงฆ์บ้านทับมิ่งขวัญ ชุมชนหน้าที่ทำการไปรษณีย์จังหวัด) ตำบลนาอาน (หมู่ที่ 2,9) และตำบลชัยพฤกษ์ (หมู่ที่ 11) ราษฎรเดือดร้อน 260 ครัวเรือน ระดับน้ำสูง 0.30-0.50 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย เหล่ากาชาดจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนเรือท้องแบน 8 ลำ เจ้าหน้าที่ 75 คน เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 ต่อไป พร้อมจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย
6) จังหวัดชลบุรี ได้เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร จำนวน 3 อำเภอ 8 ตำบล ได้แก่ อำเภอเกาะจันทร์ (ตำบลเกาะจันทร์) อำเภอพนัสนิคม (ตำบลหนองเหียง วังหิน บ้านช้าง ไร่หลักทอง) และอำเภอพานทอง (ตำบลหนองกะขะ มาบโป่ง หนองหงส์) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วันนี้
การให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี เหล่ากาชาดจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นแล้ว พร้อมเร่งสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ.2546 ต่อไป โครงการชลประทานชลบุรีได้เร่งระบายน้ำ โดยการเปิดประตูระบายน้ำปากคลองบางแสม ประตูระบายน้ำพานทอง และประตูระบายน้ำตำหรุ ลงสู่แม่น้ำบางปะกง
1.4 สิ่งของพระราชทาน
1) สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย โดยสถานีกาชาดที่ 6 จังหวัดปราจีนบุรี สนับสนุนเรือท้องแบนจำนวน 4 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
2) กาชาดจังหวัดลพบุรี สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 6 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านหมี่ และอำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
1.5 การประชุมแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ
เมื่อวันจันทร์ที่ 15 กันยายน 2551 กระทรวงมหาดไทยได้จัดประชุมแก้ไขปัญหาอุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือ ณ ห้องประชุม 352 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ( นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประสงค์ โฆษิตานนท์) และหัวหน้าส่วนราชการของหน่วยงานต่างๆ รวม 35 ท่าน เพื่อติดตามแก้ไขปัญหาสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น และมอบนโยบายแนวทางการให้ความช่วยเหลือราษฎรที่ประสบภัย มอบให้ส่วนราชการดำเนินการ ดังนี้
(1) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเรื่องปัจจัยสี่ (อาหารน้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) ถือเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วนที่จะต้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นลำดับแรก โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ร่วมกับจังหวัดที่ประสบภัยรับผิดชอบ สำหรับงบประมาณ ให้ใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) หรือจากงบองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
(2) การซ่อมแซมเส้นทางคมนาคมที่ชำรุดเสียหาย มอบให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเร่งดำเนินการซ่อมแซมให้สามารถใช้ได้ชั่วคราวโดยเร็วที่สุด หากความเสียหายมีมากเกินความสามารถ ให้ประสานขอรับการสนับสนุนจากหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาเข้าไปช่วยเหลือ
(3) การดูแลช่วยเหลือและฟื้นฟูด้านสาธารณสุข มอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบโดยจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลผู้ประสบภัยและการป้องกันโรค ตลอดจนฟื้นฟูด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
(4) การช่วยเหลือด้านการเกษตร ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบโดยให้จังหวัดตั้งคณะกรรมการสำรวจความเสียหายที่แท้จริง ทั้งพื้นที่เกษตร ปศุสัตว์และประมงที่ได้รับความเสียหาย ให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรเพื่อนำไปฟื้นฟูอาชีพต่อไป
(5) ภายหลังน้ำลด ให้ทุกส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบสำรวจความเสียหายเพื่อของบประมาณจากสำนักงบประมาณในการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ ถนน สะพาน ทำนบ เหมือง ฝาย ตลอดจนสถานที่ราชการให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็วต่อไป
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 14 - 20 กันยายน 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่าในช่วงวันที่ 14 - 16 กันยายน ร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยยังมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทย สูงประมาณ 2 เมตร ต่อจากนั้นในช่วงวันที่ 17-20 กันยายน ร่องความกดอากาศต่ำและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลง ส่วนคลื่นลมในทะเลจะมีกำลังอ่อนลง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อาทิเช่น บริเวณจังหวัดน่าน แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม มุกดาหาร และกาฬสินธุ์ ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ส่วนชาวเรือในบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยขอให้เพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือไว้ด้วย
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และคลื่นซัดฝั่ง สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและชาวเรือ โดยให้ศูนย์ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 กันยายน 2551--จบ--