คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานการประชุมการเตรียมความพร้อมแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งนอกและในกระทรวงสาธารณสุข โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในการประชุม เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 ณ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยสรุปผลการประชุมได้ ดังนี้
สถานการณ์โรคไข้หวัดนกและความเสี่ยงของการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ สรุปได้ดังนี้
ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกแล้วใน 9 ประเทศ รวม 196 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 110 ราย เฉพาะ 3 เดือนแรกของปีนี้มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่จาก 7 ประเทศ รวม 52 ราย คาดว่าจะมีรายงานผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นตลอดปีนี้ เนื่องจากแนวโน้มการพบเชื้อในนกอพยพและสัตว์ปีกพื้นบ้านเพิ่มมากขึ้นมากกว่า 40 ประเทศในสามทวีป (เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา)
สำหรับประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยรวม 22 ราย เสียชีวิต 14 ราย ผู้ป่วยรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2548 ตั้งแต่ต้นปีนี้มีการรายงานผู้ป่วยปอดบวมหรือไข้หวัดใหญ่ที่ทำการสอบสวนรวม 904 รายจาก 63 จังหวัด จนถึงขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนกรายใหม่ แต่ยังไม่สามารถวางใจได้ เพราะโดยประสบการณ์มักจะพบผู้ป่วยเมื่อมีความตระหนักลดลง ส่วนความเสี่ยงของการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่นั้น อยู่ในระดับ 3 คือคนติดเชื้อไข้หวัดนกจากสัตว์ปีก และอาจมีการติดเชื้อจากคนสู่คนแต่ยังไม่สามารถแพร่ได้อย่างง่าย และองค์การอนามัยโลกเตือนให้ทุกประเทศระวังการแพร่ระบาดในระดับ 4 ดังนั้นควรเร่งการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ต่อไป
ความก้าวหน้าในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ประชุมได้รับทราบกิจกรรมหลักที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติใน 6 ด้าน คือ การเฝ้าระวังควบคุมโรค การบริการทางการแพทย์ การช่วยเหลือชุมชน การจัดหาเวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ การให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ การบูรณาการด้านบริหารจัดการ รวมทั้งการเตรียมซ้อมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ในระดับจังหวัด ระดับส่วนกลางและระดับชาติ
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเสนอสรุปมาตรการสำคัญ 7 ด้านคือ การประชาสัมพันธ์ แจ้งสัตว์ป่วยตาย การทำลายสัตว์ที่สงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก (โดยไม่ต้องรอผล Lab) การชดเชยเกษตรกรเมื่อมีการทำลายสัตว์ปีก การปศุสัตว์ปลอดภัย โดยเฉพาะไก่ชนและเป็ดไล่ทุ่งให้เข้าที่ การเฝ้าระวังโรคเชิงรุก (X-ray) พื้นที่อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง การพัฒนาบุคลากร และพัฒนาศักยภาพด้านชันสูตรโรคในภูมิภาค และการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัคร
- กรมอุทยานแห่งชาติ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคในนกอพยพและนกประจำวัน โดยการสุ่มตรวจเชื้อไข้หวัดนก โดยปี 2549 นี้เป็นนกอพยพ ครอบคลุมพื้นที่ 76 จังหวัด ซึ่งยังตรวจไม่พบเชื้อไข้หวัดนก H5N1
- กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมสนับสนุนน้ำยาฆ่าเชื้อ
- กรุงเทพมหานคร มีแผนป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกในเขตรับผิดชอบโดยมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ไว้ชัดเจน มีการผลิตคู่มือปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่ และสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับประชาชน รวมทั้งมี การสุ่มตรวจสัตว์ปีก เพื่อหาเชื้อไข้หวัดนกในทุกเขต
- กระทรวงกลาโหม ในการซ้อมแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ ได้เชิญผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมด้วย
- กระทรวงศึกษาธิการ ขอการสนับสนุนสื่อสุขศึกษาให้แก่โรงเรียนก่อนเกิดการระบาด และขอคำแนะนำในการปิดโรงเรียนหากมีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
ปัญหาอุปสรรคสำคัญ
1) ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การซื้อยาต้านไวรัส วัคซีน การสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุข การประชาสัมพันธ์ การจัดทำห้องแยกโรค เป็นต้น (จำเป็นต้องขอเพิ่ม)
2) บุคลากรด้านการป้องกันควบคุมโรคมีจำกัด ทุกระดับ (กำลังพัฒนาเพิ่มเติม)
3) การประสานงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวปฏิบัติและข้อมูลระหว่างภาคส่วนต่างๆ มีจำกัด
4) ยังขาดกลไก การติดตาม กำกับ และประสานการดำเนินงานระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในส่วนกลาง/ระดับประเทศประธานสั่งการให้ดำเนินการต่อไป มีดังนี้
1) ให้จัดทำบัญชีรายชื่อพร้อมโทรศัพท์/โทรสาร ของบุคคลที่หน่วยงานต่างๆมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานหลักในการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก
2) ให้กรมควบคุมโรคพิจารณามาตรการที่ด่านกรมควบคุมโรคตามท่าอากาศยานนานาชาติ สำหรับผู้เดินทางที่มาจากเขตการระบาดของโรคไข้หวัดนก/ ไข้หวัดใหญ่
3) ให้องค์การเภสัชกรรม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ติดตามการดื้อยาต้านไวรัส
4) ให้สำนักงานปลัดกระทรวงฯ และกรมการแพทย์ รับผิดชอบการจัดสร้างห้องแยกโรค
5) การลงทุนสร้างโรงงานวัคซีน ซึ่งมีความจำเป็นไม่สามารถรอ Mega Project ได้ ให้พิจารณาแยกออกมาของบประมาณปกติ
6) การประชุมครั้งต่อไป ควรเชิญสำนักงบประมาณ และสำนักงานประกันสังคมมาร่วมด้วย
7) ขอความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการในการเฝ้าระวังโรคและการให้สุขศึกษาในโรงเรียน
8) ให้รายงานสรุปผลการประชุมของศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงสาธารณสุข (war room) รวมทั้งการประชุมระดับจังหวัด
9) การจัดประชุม/ สัมมนา เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้เชิญผู้แทนจากกระทรวงเกษตรฯ กรมทรัพยากรฯ และมหาดไทยเข้าร่วมด้วย
10) ให้ผู้ตรวจราชการและสาธารณสุขนิเทศก์ติดตามกำกับสนับสนุนจังหวัดในการควบคุมโรคไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่อย่างเต็มที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--
สถานการณ์โรคไข้หวัดนกและความเสี่ยงของการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ สรุปได้ดังนี้
ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกแล้วใน 9 ประเทศ รวม 196 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 110 ราย เฉพาะ 3 เดือนแรกของปีนี้มีรายงานผู้ป่วยรายใหม่จาก 7 ประเทศ รวม 52 ราย คาดว่าจะมีรายงานผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นตลอดปีนี้ เนื่องจากแนวโน้มการพบเชื้อในนกอพยพและสัตว์ปีกพื้นบ้านเพิ่มมากขึ้นมากกว่า 40 ประเทศในสามทวีป (เอเชีย ยุโรป และแอฟริกา)
สำหรับประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยรวม 22 ราย เสียชีวิต 14 ราย ผู้ป่วยรายสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2548 ตั้งแต่ต้นปีนี้มีการรายงานผู้ป่วยปอดบวมหรือไข้หวัดใหญ่ที่ทำการสอบสวนรวม 904 รายจาก 63 จังหวัด จนถึงขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยไข้หวัดนกรายใหม่ แต่ยังไม่สามารถวางใจได้ เพราะโดยประสบการณ์มักจะพบผู้ป่วยเมื่อมีความตระหนักลดลง ส่วนความเสี่ยงของการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่นั้น อยู่ในระดับ 3 คือคนติดเชื้อไข้หวัดนกจากสัตว์ปีก และอาจมีการติดเชื้อจากคนสู่คนแต่ยังไม่สามารถแพร่ได้อย่างง่าย และองค์การอนามัยโลกเตือนให้ทุกประเทศระวังการแพร่ระบาดในระดับ 4 ดังนั้นควรเร่งการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ต่อไป
ความก้าวหน้าในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก และการเตรียมพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ประชุมได้รับทราบกิจกรรมหลักที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติใน 6 ด้าน คือ การเฝ้าระวังควบคุมโรค การบริการทางการแพทย์ การช่วยเหลือชุมชน การจัดหาเวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ การให้สุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ การบูรณาการด้านบริหารจัดการ รวมทั้งการเตรียมซ้อมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ในระดับจังหวัด ระดับส่วนกลางและระดับชาติ
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเสนอสรุปมาตรการสำคัญ 7 ด้านคือ การประชาสัมพันธ์ แจ้งสัตว์ป่วยตาย การทำลายสัตว์ที่สงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก (โดยไม่ต้องรอผล Lab) การชดเชยเกษตรกรเมื่อมีการทำลายสัตว์ปีก การปศุสัตว์ปลอดภัย โดยเฉพาะไก่ชนและเป็ดไล่ทุ่งให้เข้าที่ การเฝ้าระวังโรคเชิงรุก (X-ray) พื้นที่อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง การพัฒนาบุคลากร และพัฒนาศักยภาพด้านชันสูตรโรคในภูมิภาค และการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัคร
- กรมอุทยานแห่งชาติ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคในนกอพยพและนกประจำวัน โดยการสุ่มตรวจเชื้อไข้หวัดนก โดยปี 2549 นี้เป็นนกอพยพ ครอบคลุมพื้นที่ 76 จังหวัด ซึ่งยังตรวจไม่พบเชื้อไข้หวัดนก H5N1
- กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมสนับสนุนน้ำยาฆ่าเชื้อ
- กรุงเทพมหานคร มีแผนป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกในเขตรับผิดชอบโดยมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ไว้ชัดเจน มีการผลิตคู่มือปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่ และสื่อประชาสัมพันธ์สำหรับประชาชน รวมทั้งมี การสุ่มตรวจสัตว์ปีก เพื่อหาเชื้อไข้หวัดนกในทุกเขต
- กระทรวงกลาโหม ในการซ้อมแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ ได้เชิญผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมด้วย
- กระทรวงศึกษาธิการ ขอการสนับสนุนสื่อสุขศึกษาให้แก่โรงเรียนก่อนเกิดการระบาด และขอคำแนะนำในการปิดโรงเรียนหากมีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
ปัญหาอุปสรรคสำคัญ
1) ได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การซื้อยาต้านไวรัส วัคซีน การสนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุข การประชาสัมพันธ์ การจัดทำห้องแยกโรค เป็นต้น (จำเป็นต้องขอเพิ่ม)
2) บุคลากรด้านการป้องกันควบคุมโรคมีจำกัด ทุกระดับ (กำลังพัฒนาเพิ่มเติม)
3) การประสานงานด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวปฏิบัติและข้อมูลระหว่างภาคส่วนต่างๆ มีจำกัด
4) ยังขาดกลไก การติดตาม กำกับ และประสานการดำเนินงานระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในส่วนกลาง/ระดับประเทศประธานสั่งการให้ดำเนินการต่อไป มีดังนี้
1) ให้จัดทำบัญชีรายชื่อพร้อมโทรศัพท์/โทรสาร ของบุคคลที่หน่วยงานต่างๆมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานหลักในการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนก
2) ให้กรมควบคุมโรคพิจารณามาตรการที่ด่านกรมควบคุมโรคตามท่าอากาศยานนานาชาติ สำหรับผู้เดินทางที่มาจากเขตการระบาดของโรคไข้หวัดนก/ ไข้หวัดใหญ่
3) ให้องค์การเภสัชกรรม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ติดตามการดื้อยาต้านไวรัส
4) ให้สำนักงานปลัดกระทรวงฯ และกรมการแพทย์ รับผิดชอบการจัดสร้างห้องแยกโรค
5) การลงทุนสร้างโรงงานวัคซีน ซึ่งมีความจำเป็นไม่สามารถรอ Mega Project ได้ ให้พิจารณาแยกออกมาของบประมาณปกติ
6) การประชุมครั้งต่อไป ควรเชิญสำนักงบประมาณ และสำนักงานประกันสังคมมาร่วมด้วย
7) ขอความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการในการเฝ้าระวังโรคและการให้สุขศึกษาในโรงเรียน
8) ให้รายงานสรุปผลการประชุมของศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงสาธารณสุข (war room) รวมทั้งการประชุมระดับจังหวัด
9) การจัดประชุม/ สัมมนา เกี่ยวกับโรคไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้เชิญผู้แทนจากกระทรวงเกษตรฯ กรมทรัพยากรฯ และมหาดไทยเข้าร่วมด้วย
10) ให้ผู้ตรวจราชการและสาธารณสุขนิเทศก์ติดตามกำกับสนับสนุนจังหวัดในการควบคุมโรคไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่อย่างเต็มที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--