คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานสรุปผลการหารือเรื่องมาตรการพลังงานระยะสั้น ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์) เป็นประธาน เมื่อวันพุธที่ 26 เมษายน 2549 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล สรุปผลการประชุมได้ดังนี้
1. มาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเสนอประเด็นหารือแนวทางและมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติดังนี้
1.1 ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน สำหรับน้ำมันดีเซลจาก 1.95 บาท/ลิตร เหลือ 0.95 บาท/ลิตร ซึ่งจะมีผลให้ราคาน้ำมันดีเซลหน้าสถานีบริการทั่วประเทศลดลง 1 บาท/ลิตร โดยให้มีผลตั้งแต่วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2549 เป็นต้นไป
1.2 มาตรการช่วยเหลือรายสาขา
1.2.1 สาขาขนส่ง ผู้ประกอบการน้ำมันได้ให้ความร่วมมือในการลดราคาน้ำมันดีเซลจากราคาหน้าสถานีบริการอีก 1 บาท/ลิตร ให้แก่รถโดยสารสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัด และระหว่างจังหวัดรวมทั้งเรือโดยสารสาธารณะ เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยจะดำเนินการภายหลังจากที่ได้รับข้อมูลจำนวนรถและเรือโดยสารที่จดทะเบียนกับกระทรวงคมนาคมแล้ว
1.2.2 สาขาเกษตร
1) ด้านประมง ได้รับการช่วยเหลือในการอุดหนุนน้ำมันม่วงซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายทั่วไป 2 บาท/ลิตรแล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549
2) ด้านเกษตรกรรม บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจาก จำกัด (มหาชน) ได้ลดราคาขายน้ำมันให้แก่สหกรณ์การเกษตรในราคา 1 บาท/ลิตร
1.2.3 สาขาไฟฟ้า ให้คงอัตราค่าไฟฟ้าจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 และจะเร่งดำเนินการท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้แล้วเสร็จ เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ไม่ปรับตัวสูงขึ้น
1.3 มอบให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับกระทรวงพลังาน และบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) เพื่อเจรจากับประธานสหพันธ์ขนส่งทางบก กรณีรถบรรทุกขนส่งสินค้าปรับขึ้นราคาค่าขนส่งร้อยละ 20 เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย
1.4 มอบหมายให้ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กฟผ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันเร่งจัดทำแผนรณรงค์ประหยัดพลังงานร่วมกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจ และความร่วมมือจากประชาชนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
2. มาตรการเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมัน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเสนอมาตรการเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเร่งรัดการใช้ NGV แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล โดยเสนอให้ที่ประชุมพิจารณากำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละเชื้อเพลิง เพื่อเร่งรัดและติดตามการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติดังนี้
2.1 มอบหมายผู้รับผิดชอบ ดังนี้
2.1.1 การจัดตั้งสถานีบริการ NGV มอบให้ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) เร่งดำเนินการจัดตั้งสถานีบริการเพิ่มขึ้นเป็น 200 แห่ง ภายในปี 2549 และรายงานความก้าวหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกสัปดาห์
2.1.2 การติดตั้งอุปกรณ์ NGV และการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมดูแลเรื่องการกำหนดมาตรการอุปกรณ์ ส่วนการติดตั้งอุปกรณ์ขอให้ภาคเอกชนเป็นแกนหลัก และให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ควบคุมคุณภาพ มาตรการด้านภาษีและสร้างแรงจูงใจ มอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาหาข้อสรุปในการลดภาษีให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ และให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ NGV มากขึ้น
2.1.4 การผลิตแก๊สโซฮอล์ มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแลเรื่องการผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง เพื่อใช้ผลิตเอทานอลให้ได้ตามเป้าหมาย 8 แสนลิตรต่อวัน ภายในปี 2549
2.2 มอบให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินมาตรการ และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทุกสัปดาห์ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2549--จบ--
1. มาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเสนอประเด็นหารือแนวทางและมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เพื่อลดผลกระทบจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น โดยที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติดังนี้
1.1 ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน สำหรับน้ำมันดีเซลจาก 1.95 บาท/ลิตร เหลือ 0.95 บาท/ลิตร ซึ่งจะมีผลให้ราคาน้ำมันดีเซลหน้าสถานีบริการทั่วประเทศลดลง 1 บาท/ลิตร โดยให้มีผลตั้งแต่วันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2549 เป็นต้นไป
1.2 มาตรการช่วยเหลือรายสาขา
1.2.1 สาขาขนส่ง ผู้ประกอบการน้ำมันได้ให้ความร่วมมือในการลดราคาน้ำมันดีเซลจากราคาหน้าสถานีบริการอีก 1 บาท/ลิตร ให้แก่รถโดยสารสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัด และระหว่างจังหวัดรวมทั้งเรือโดยสารสาธารณะ เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยจะดำเนินการภายหลังจากที่ได้รับข้อมูลจำนวนรถและเรือโดยสารที่จดทะเบียนกับกระทรวงคมนาคมแล้ว
1.2.2 สาขาเกษตร
1) ด้านประมง ได้รับการช่วยเหลือในการอุดหนุนน้ำมันม่วงซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลที่จำหน่ายทั่วไป 2 บาท/ลิตรแล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549
2) ด้านเกษตรกรรม บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางจาก จำกัด (มหาชน) ได้ลดราคาขายน้ำมันให้แก่สหกรณ์การเกษตรในราคา 1 บาท/ลิตร
1.2.3 สาขาไฟฟ้า ให้คงอัตราค่าไฟฟ้าจนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2549 และจะเร่งดำเนินการท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้แล้วเสร็จ เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ไม่ปรับตัวสูงขึ้น
1.3 มอบให้กระทรวงคมนาคมเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ร่วมกับกระทรวงพลังาน และบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) เพื่อเจรจากับประธานสหพันธ์ขนส่งทางบก กรณีรถบรรทุกขนส่งสินค้าปรับขึ้นราคาค่าขนส่งร้อยละ 20 เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย
1.4 มอบหมายให้ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กฟผ จำกัด (มหาชน) ร่วมกันเร่งจัดทำแผนรณรงค์ประหยัดพลังงานร่วมกัน เพื่อสร้างแรงจูงใจ และความร่วมมือจากประชาชนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
2. มาตรการเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมัน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้นำเสนอมาตรการเพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเร่งรัดการใช้ NGV แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล โดยเสนอให้ที่ประชุมพิจารณากำหนดหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละเชื้อเพลิง เพื่อเร่งรัดและติดตามการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติดังนี้
2.1 มอบหมายผู้รับผิดชอบ ดังนี้
2.1.1 การจัดตั้งสถานีบริการ NGV มอบให้ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) เร่งดำเนินการจัดตั้งสถานีบริการเพิ่มขึ้นเป็น 200 แห่ง ภายในปี 2549 และรายงานความก้าวหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกสัปดาห์
2.1.2 การติดตั้งอุปกรณ์ NGV และการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมดูแลเรื่องการกำหนดมาตรการอุปกรณ์ ส่วนการติดตั้งอุปกรณ์ขอให้ภาคเอกชนเป็นแกนหลัก และให้กระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ควบคุมคุณภาพ มาตรการด้านภาษีและสร้างแรงจูงใจ มอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาหาข้อสรุปในการลดภาษีให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ และให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ NGV มากขึ้น
2.1.4 การผลิตแก๊สโซฮอล์ มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดูแลเรื่องการผลิตอ้อยและมันสำปะหลัง เพื่อใช้ผลิตเอทานอลให้ได้ตามเป้าหมาย 8 แสนลิตรต่อวัน ภายในปี 2549
2.2 มอบให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินมาตรการ และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทุกสัปดาห์ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2549--จบ--