คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ตามที่สำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีเสนอ และให้แจ้งเวียนให้หน่วยงานต่างๆ รับทราบและถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2549 นั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เสนอแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรดังนี้
1. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงทันที ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549
2. รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง แต่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ (วันถวายสัตย์ปฏิญาณ) ดังนั้น คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะพ้นจากตำแหน่งอย่างแท้จริงในวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ (วันถวายสัตย์ปฏิญาณ) อย่างไรก็ดีรัฐธรรมนูญมาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเมื่ออายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรจะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือให้พ้นจากตำแหน่งมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
3. แนวทางปฏิบัติของคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
3.1 คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยตามข้อหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม 2533 สรุปว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งยังคงมีฐานะดังเดิมเพื่อรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ต่อไปอีก
ในช่วงเวลาที่คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ยังมิได้เข้ารับหน้าที่การลงชื่อตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี จึงต้องเป็นการลงชื่อในตำแหน่งเดิม มิใช่เป็นการรักษาการหรือรักษาการในตำแหน่ง
3.2 สำหรับข้าราชการการเมืองอื่น เช่น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น แม้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 จะบัญญัติให้ออกจากตำแหน่งเมื่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งออกจากตำแหน่ง แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยไว้สรุปได้ว่า ข้าราชการการเมืองดังกล่าวยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และพ้นจากตำแหน่งพร้อมกับการสิ้นสุดการอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้แต่งตั้ง แต่ต้องไม่เกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่
3.3 คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (23 พฤษภาคม 2538, 4 ตุลาคม 2539, 7 พฤศจิกายน 2543, 14 พฤศจิกายน 2543 และ 21 ธันวาคม 2547) กำหนดแนวทางปฏิบัติของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่สรุปได้ดังนี้
(1) คณะรัฐมนตรีคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามปกติ เว้นแต่เป็นเรื่องที่เห็นว่าเป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นใหม่และก่อให้เกิดผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ให้พึงละเว้นการดำเนินการในส่วนนั้น
(2) การประชุมคณะรัฐมนตรีให้มีต่อไปตามปกติ จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาจัดเฉพาะระเบียบวาระที่ด่วน หรือเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติหรือเมื่อรัฐมนตรีขอให้บรรจุวาระโดยไม่ใช่เรื่องผูกพันทางนโยบาย
สำหรับเรื่องที่เห็นว่าเป็นนโยบายซึ่งจะมีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เช่น การกำหนดนโยบายใหม่ การอนุมัติงบประมาณ การอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น นอกจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะกลั่นกรองไว้ชั้นหนึ่งแล้ว คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีควรมีมติหรือคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เว้นแต่เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือเรื่องต่อเนื่อง จึงให้พิจารณาดำเนินการเป็นเรื่องๆ ไป
(3) การออกกฎหมายใหม่ ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเท่านั้น หรือถ้ามีความจำเป็นอาจดำเนินการในรูปของพระราชกำหนดได้ แต่ต้องเป็นเรื่องที่ฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และเข้าหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้นส่วนการตราพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ
(4) ในระหว่างนี้สมควรงดการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี เว้นแต่เป็นการประชุมเพื่อกลั่นกรองเรื่องที่ไม่ใช่นโยบายใหม่ให้มีความรอบคอบยิ่งขึ้น
(5) การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของรัฐมนตรี ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรณีได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ออกโทรทัศน์ ในฐานะตำแหน่งรัฐมนตรีจะให้สัมภาษณ์ได้เฉพาะงานในตำแหน่งหน้าที่รัฐมนตรีเท่านั้น ไม่พึงให้ความเห็นในลักษณะที่เป็นคุณหรือโทษแก่พรรคการเมืองใด
4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 44 บัญญัติห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดจัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่บุคคลใด ชุมชน สมาคม สถาบันการศึกษาหรือสถาบันอื่นใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ดังนั้น ในระหว่างที่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ การอนุมัติงบประมาณลงพื้นที่ต่าง ๆ พึงละเว้นการดำเนินการในส่วนดังกล่าว เว้นแต่กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาภัยพิบัติหรือเรื่องอื่นที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน ก็ให้ดำเนินการได้ โดยให้เฉพาะข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการไปตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม
5. คณะกรรมการ ป.ป.ช. เคยให้ความเห็นว่า กรณีรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง ให้ถือวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์เป็นวันพ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณและต้องยื่นภายใน 30 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือ วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2549 นั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เสนอแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรดังนี้
1. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงทันที ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549
2. รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง แต่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ (วันถวายสัตย์ปฏิญาณ) ดังนั้น คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะพ้นจากตำแหน่งอย่างแท้จริงในวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ (วันถวายสัตย์ปฏิญาณ) อย่างไรก็ดีรัฐธรรมนูญมาตรา 215 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งทั้งคณะเมื่ออายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรจะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือให้พ้นจากตำแหน่งมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
3. แนวทางปฏิบัติของคณะรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
3.1 คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยตามข้อหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม 2533 สรุปว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งยังคงมีฐานะดังเดิมเพื่อรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ต่อไปอีก
ในช่วงเวลาที่คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ยังมิได้เข้ารับหน้าที่การลงชื่อตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี จึงต้องเป็นการลงชื่อในตำแหน่งเดิม มิใช่เป็นการรักษาการหรือรักษาการในตำแหน่ง
3.2 สำหรับข้าราชการการเมืองอื่น เช่น เลขาธิการนายกรัฐมนตรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น แม้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 จะบัญญัติให้ออกจากตำแหน่งเมื่อนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งออกจากตำแหน่ง แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยไว้สรุปได้ว่า ข้าราชการการเมืองดังกล่าวยังคงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และพ้นจากตำแหน่งพร้อมกับการสิ้นสุดการอยู่ในตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้แต่งตั้ง แต่ต้องไม่เกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่
3.3 คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (23 พฤษภาคม 2538, 4 ตุลาคม 2539, 7 พฤศจิกายน 2543, 14 พฤศจิกายน 2543 และ 21 ธันวาคม 2547) กำหนดแนวทางปฏิบัติของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งและต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่สรุปได้ดังนี้
(1) คณะรัฐมนตรีคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามปกติ เว้นแต่เป็นเรื่องที่เห็นว่าเป็นนโยบายที่กำหนดขึ้นใหม่และก่อให้เกิดผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ให้พึงละเว้นการดำเนินการในส่วนนั้น
(2) การประชุมคณะรัฐมนตรีให้มีต่อไปตามปกติ จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาจัดเฉพาะระเบียบวาระที่ด่วน หรือเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติหรือเมื่อรัฐมนตรีขอให้บรรจุวาระโดยไม่ใช่เรื่องผูกพันทางนโยบาย
สำหรับเรื่องที่เห็นว่าเป็นนโยบายซึ่งจะมีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เช่น การกำหนดนโยบายใหม่ การอนุมัติงบประมาณ การอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น นอกจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะกลั่นกรองไว้ชั้นหนึ่งแล้ว คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีควรมีมติหรือคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เว้นแต่เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือเรื่องต่อเนื่อง จึงให้พิจารณาดำเนินการเป็นเรื่องๆ ไป
(3) การออกกฎหมายใหม่ ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเท่านั้น หรือถ้ามีความจำเป็นอาจดำเนินการในรูปของพระราชกำหนดได้ แต่ต้องเป็นเรื่องที่ฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และเข้าหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้นส่วนการตราพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ
(4) ในระหว่างนี้สมควรงดการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี เว้นแต่เป็นการประชุมเพื่อกลั่นกรองเรื่องที่ไม่ใช่นโยบายใหม่ให้มีความรอบคอบยิ่งขึ้น
(5) การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนของรัฐมนตรี ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกรณีได้รับเชิญไปสัมภาษณ์ออกโทรทัศน์ ในฐานะตำแหน่งรัฐมนตรีจะให้สัมภาษณ์ได้เฉพาะงานในตำแหน่งหน้าที่รัฐมนตรีเท่านั้น ไม่พึงให้ความเห็นในลักษณะที่เป็นคุณหรือโทษแก่พรรคการเมืองใด
4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 44 บัญญัติห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้ใดจัดทำ ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมแก่บุคคลใด ชุมชน สมาคม สถาบันการศึกษาหรือสถาบันอื่นใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้แก่ตนเอง หรือผู้สมัครอื่น หรือพรรคการเมืองใด หรือให้งดเว้นการลงคะแนนแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด ดังนั้น ในระหว่างที่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ การอนุมัติงบประมาณลงพื้นที่ต่าง ๆ พึงละเว้นการดำเนินการในส่วนดังกล่าว เว้นแต่กรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาภัยพิบัติหรือเรื่องอื่นที่ต้องดำเนินการช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน ก็ให้ดำเนินการได้ โดยให้เฉพาะข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ดำเนินการไปตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามความจำเป็นและเหมาะสม
5. คณะกรรมการ ป.ป.ช. เคยให้ความเห็นว่า กรณีรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง ให้ถือวันที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์เป็นวันพ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจะยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณและต้องยื่นภายใน 30 วัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--