คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการขอปรับเพิ่มวงเงินการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ จำนวน 20 คัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แล้วมีมติอนุมัติให้ปรับเพิ่มวงเงินงบประมาณโครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้า จำนวน 112 คัน และรถจักรดีเซลไฟฟ้า 7 คัน วงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้เดิม 903.46 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1,031.14 ล้านบาท ส่วนที่เหลือต้องรอให้การดำเนินการในส่วนแรกเสร็จเรียบร้อยก่อน
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม รายงานว่า
1. โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าและรถจักรฯ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ รวมทั้งเป็นการรองรับการขยายตัวของปริมาณการขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทางเลือกและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการขนส่งทางรถไฟ ลดปริมาณการจราจรทางถนน ลดอุบัติเหตุและประหยัดพลังงาน ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2. การจัดหารถจักรฯ ด้วยวิธีแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter Trade) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยในการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 21-22 กันยายน 2548 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) กับรองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน (มาดามอู๋อี๋) โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินการค้าแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter Trade) ซึ่งจะส่งผลต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสอง
3. เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายและกู้เงินทั้งหมดเอง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการ โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกันและจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมให้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
ทั้งนี้กระทรวงคมนาคม รายงานว่า
1. โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าและรถจักรฯ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ รวมทั้งเป็นการรองรับการขยายตัวของปริมาณการขนส่งสินค้าคอนเทนเนอร์ภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มทางเลือกและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการขนส่งทางรถไฟ ลดปริมาณการจราจรทางถนน ลดอุบัติเหตุและประหยัดพลังงาน ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนระบบโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2. การจัดหารถจักรฯ ด้วยวิธีแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter Trade) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยในการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าการลงทุนและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 21-22 กันยายน 2548 ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) กับรองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน (มาดามอู๋อี๋) โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะดำเนินการค้าแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter Trade) ซึ่งจะส่งผลต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสอง
3. เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายและกู้เงินทั้งหมดเอง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการ โดยให้กระทรวงการคลังค้ำประกันและจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมให้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--