คณะรัฐมนตรีพิจารณาอัตราเหมาจ่ายรายหัวสำหรับการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบอัตราเหมาจ่ายรายหัวสำหรับการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ในอัตรา 1,899.69 บาทต่อประชากร
เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีชุดที่ผ่านมาได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 ให้มีโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับประชาชนชาวไทย (30 บาทรักษาทุกโรค) โดยเริ่มนำร่องตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ใน 6 จังหวัดก่อน และได้ขยายครอบคลุมทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 โดยมีอัตราเหมาจ่ายรายหัวต่อประชากรที่ปรับเพิ่มขึ้นมาโดยลำดับ ดังนี้ ปี 2544 เท่ากับ 1,197 บาทต่อประชากร ปี 2547 เท่ากับ 1,308.54 บาทต่อประชากร ปี 2548 เท่ากับ 1,396.30 บาทต่อประชากร ปี 2549 เท่ากับ 1,510.50 บาทต่อประชากร
สำหรับข้อมูลครั้งล่าสุดเกี่ยวกับผลการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ เดือนมิถุนายน 2549 ที่กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2549 สรุปได้ว่า การดำเนินการโครงการดังกล่าวสามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 61 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.23 ของประชากรทั้งประเทศ (62.74 ล้านคน) หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีจำนวน 1,157 แห่ง เป็นกลุ่มโรงพยาบาล 962 แห่ง (ร้อยละ 83.15) และคลินิก 195 แห่ง (ร้อยละ 16.85) มีการใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 37,412.18 ล้านบาท (ร้อยละ 94.32) จากงบประมาณที่ได้รับตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (39,666.80 ล้านบาท) ส่วนงบเหมาจ่ายรายหัวนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับมากที่สุด 22,942.76 ล้านบาท (ร้อยละ 84.76) รองลงมาคือ สำนักงานสาขากรุงเทพมหานคร 2,454.25 ล้านบาท (ร้อยละ 9.07) และภาคเอกชนในส่วนภูมิภาค 574.72 ล้านบาท (ร้อยละ 2.12) งบลงทุนใช้ไปทั้งสิ้น 5,434.35 ล้านบาท (ร้อยละ 88.28) ของงบที่ได้รับการจัดสรร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 พฤศจิกายน 2549--จบ--
เรื่องเดิม คณะรัฐมนตรีชุดที่ผ่านมาได้มีมติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544 ให้มีโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับประชาชนชาวไทย (30 บาทรักษาทุกโรค) โดยเริ่มนำร่องตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ใน 6 จังหวัดก่อน และได้ขยายครอบคลุมทั่วประเทศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 โดยมีอัตราเหมาจ่ายรายหัวต่อประชากรที่ปรับเพิ่มขึ้นมาโดยลำดับ ดังนี้ ปี 2544 เท่ากับ 1,197 บาทต่อประชากร ปี 2547 เท่ากับ 1,308.54 บาทต่อประชากร ปี 2548 เท่ากับ 1,396.30 บาทต่อประชากร ปี 2549 เท่ากับ 1,510.50 บาทต่อประชากร
สำหรับข้อมูลครั้งล่าสุดเกี่ยวกับผลการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ เดือนมิถุนายน 2549 ที่กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2549 สรุปได้ว่า การดำเนินการโครงการดังกล่าวสามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 61 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 97.23 ของประชากรทั้งประเทศ (62.74 ล้านคน) หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีจำนวน 1,157 แห่ง เป็นกลุ่มโรงพยาบาล 962 แห่ง (ร้อยละ 83.15) และคลินิก 195 แห่ง (ร้อยละ 16.85) มีการใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 37,412.18 ล้านบาท (ร้อยละ 94.32) จากงบประมาณที่ได้รับตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (39,666.80 ล้านบาท) ส่วนงบเหมาจ่ายรายหัวนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้รับมากที่สุด 22,942.76 ล้านบาท (ร้อยละ 84.76) รองลงมาคือ สำนักงานสาขากรุงเทพมหานคร 2,454.25 ล้านบาท (ร้อยละ 9.07) และภาคเอกชนในส่วนภูมิภาค 574.72 ล้านบาท (ร้อยละ 2.12) งบลงทุนใช้ไปทั้งสิ้น 5,434.35 ล้านบาท (ร้อยละ 88.28) ของงบที่ได้รับการจัดสรร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 พฤศจิกายน 2549--จบ--