คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปสภาวะของประเทศปี 2551 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)เสนอดังนี้
สศช. รายงานว่า คณะกรรมการจัดทำรายงานสรุปสภาวะของประเทศ ได้จัดทำรายงานสรุปสภาวะของประเทศปี 2551 โดยสรุปได้ว่า สภาวะของประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปจากปี 2550 ค่อนข้างมากที่สำคัญคือ ภาวะเงินเฟ้อซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันและราคาอาหารในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (Sub-Prime Loans) และวิกฤตสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลถึงเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ดังมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1. สภาวะเศรษฐกิจ ในปี 2551 เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับปัจจัยข้อจำกัดและความเสี่ยงหลายประการ ได้แก่ ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นมากและกดดันให้ต้นทุนและค่าครองชีพประชาชนเพิ่มสูงขึ้นมาก วิกฤตการณ์การเงินโลกที่เกิดจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (Sub-Prime) ในตลาดสหรัฐฯ ที่ลุกลามไปยังตลาดอื่นโดยเฉพาะในยุโรป และปัญหาการเมืองในประเทศ รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังยืดเยื้อ ในปี 2551 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของทั้งในภาคประชาชนและภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมลดลง
1.1 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ร้อยละ 6.1 และ 5.3 ในไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปี 2551 โดยแรงสนับสนุนหลักมาจากการส่งออก ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปี มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 ดัชนีเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนกรกฎาคมของธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.9 และล่าสุดในเดือนสิงหาคมมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9
1.2 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนทางการเมือง เป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการสร้างความเชื่อมั่นประชาชนและภาคธุรกิจ ราคาน้ำมันดิบดูไบสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี และเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 131.17 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในเดือนกรกฎาคม ก่อนที่จะเริ่มชะลอลงและเฉลี่ยเท่ากับ 112.86 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในเดือนสิงหาคม ประกอบกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลต่อเนื่องให้เงินเฟ้อของประเทศเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุดที่ร้อยละ 9.2 ในเดือนกรกฎาคม ก่อนที่ลดลงเป็น
ร้อยละ 6.4 ในเดือนสิงหาคมอันเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันลดลงและผลของการดำเนินมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้นมา
1.3 ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ รุนแรงมากขึ้น และลุกลามไปยังญี่ปุ่นและยุโรปและกลายเป็นวิกฤตการเงินโลกจะเป็นข้อจำกัดต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยในระยะต่อไป วิกฤตการเงินโลกมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกนำโดยเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว และเหตุการณ์ล่าสุดซึ่งสถาบันการเงินระดับ Top 5 ของสหรัฐได้แก่ Lehman Brothers และ Merrill Lynch รวมถึง บริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ คือ AIG ประสบปัญหาการเงินชี้ว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อเนื่องไปถึงปี 2552 และภาคการเงินจะมีความผันผวนได้ง่าย
1.4 เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 เงินเฟ้อเท่ากับ 6.7 แต่ในเดือนสิงหาคมอัตราเงินเฟ้อได้ปรับตัวลงเป็นร้อยละ 6.4 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,205 ล้านดอลลาร์ สรอ. ค่าเงินบาทมีอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเท่ากับ 32.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเฉลี่ย 33.7 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนธันวาคม 2550 และอยู่ที่เฉลี่ย 33.86 ต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนสิงหาคม เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม เท่ากับ 101.250 พันดอลลาร์ สรอ. และ เศรษฐกิจไทยใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 อยู่ที่ 0.933 ลดลงจากร้อยละ 0.9734 ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550
2. นโยบายด้านเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน นอกจากการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศให้คลี่คลายไปโดยสันติวิธีและสมานฉันท์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศที่ดีสำหรับการลงทุนและการท่องเที่ยวมาตรการเศรษฐกิจสำคัญเร่งด่วนในช่วงต่อไปได้แก่การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์การเงินโลก และสนับสนุนให้เกิดความสมดุลของเศรษฐกิจในการขยายตัวในระยะต่อไปอย่างยั่งยืน ได้แก่
2.1 วางกลไกการดูสภาพคล่องของระบบการเงินในประเทศ รวมทั้งการรายงานความเคลื่อนไหวธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินที่ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็วและสภาพคล่องตึงตัวอันเนื่องจากผลกระทบต่อเนื่องจากสถานการณ์การเงินโลก
2.2 บรรเทาผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังจะมีความจำเป็นอยู่เนื่องจากแม้ว่าราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มลดลง แต่ยังมีแรงกดดันเดิมของต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นสะสมและรอการปรับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้จะต้องติดตามความคืบหน้าและผลของการดำเนินมาตรการเพื่อลดผลกระทบ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” เพื่อการทบทวนมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและสนับสนุนการประหยัด
2.3 สนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ดูแลเงินเฟ้อ และค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและกลไกตลาด โดยมีกรอบนโยบายการเงินและเป้าหมายของนโยบายการเงิน ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสอดประสานกับนโยบายการคลัง
2.4 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปีงบประมาณ 2552 ทั้งในส่วนของงบรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยให้ความสำคัญของการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการ SML ให้กระจายสู่ชนบทได้เร็ว รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนสนับสนุนมาตรการบรรเทาผลกระทบความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น
2.5 วางกรอบและผลักดันการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยมีแหล่งเงินและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงวินัยการคลังของประเทศ และสนับสนุนการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนเพื่อลดภาระการลงทุนของภาครัฐ
2.6 สนับสนุนศักยภาพของสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญในการจ้างงานและการสร้างรายได้ของประชาชน โดย
2.6.1 ดูแลภาคการส่งออกสินค้าของประเทศให้มีความสามาถในการแข่งขันได้เพื่อให้เป็น
แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ที่ผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ และราคาน้ำมันที่สูงมีผลทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวเป็นวงกว้างมากขึ้นและมีสัญญาณการชะลอตัวของการส่งออกของไทย โดยครอบคลุมถึงตลาดเอเชีย รวมทั้งญี่ปุ่นและจีน ซึ่งตลาดเหล่านี้ในช่วงปีที่แล้วและปีนี้บทบาทมากขึ้นอย่างชัดเจนในฐานะตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย
2.6.2 ดำเนินมาตรการทางด้านการตลาดเพื่อเตรียมรับฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จะเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาภาคการท่องเที่ยวมีปัจจัยข้อจำกัดหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนราคาน้ำมัน ราคาค่าโดยสารของสายการบิน และผลกระทบจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008
2.6.3 ดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว 4 เดือนสุดท้ายของปี รวมทั้งสร้างความมั่นใจในปริมาณการผลิตพืชพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการน้ำมันแก๊สโซฮอล์
2.6.4 กระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในช่วงการชะลอตัวแม้ว่าจะได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์มาตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2551 โดยลดภาษีธุรกิจเฉพาะและลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดทะเบียนจำนอง ทั้งนี้เนื่องราคาที่สูงขึ้นและความเชื่อมั่นที่ต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะทบทวนขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการออกไปจากเดิมที่จะสิ้นสุดลงในวนัที่ 28 มีนาคม 2552 โดยเฉพาะภายใต้เงื่อนไขที่สภาพคล่องทางการเงินจะมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น
3. สภาวะสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคง โดยรวมสภาวะและประเด็นนโยบายด้านสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงยังมิได้เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงปลายปี 2550 มากนัก เช่น แนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นต้น ยกเว้นความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งกลับมามีการประท้วงต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และความขัดแย้งตามแนวชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นสถานการณ์ใหม่ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ นโยบายหลักด้านสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคง ในช่วงต่อไปได้แก่
3.1 นโยบายด้านสังคม ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่ (1) เพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนทางสังคมโดยเฉพาะด้านสุขภาพและด้านการศึกษา (2) เร่งยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบมู่งสู่สังคมแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม (3) พัฒนาระบบการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมร่วมกับสถานประกอบการ (4) เร่งมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างเป็นองค์รวม (5) ยึดแนวทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาของชุมชน (6) ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (7) พัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทันกับการเปลี่ยนแปลง
3.2 นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่ (1) รักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี (2) สร้างความเป็นธรรมให้ชุมชนมีสิทธิในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2550 (3) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างจิตสำนึกของประชาชนและชุมชนให้มีจริยธรรมในการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า (4) พัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่บนฐานความรู้ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และความสามารถในการจัดการของชุมชน (5) ส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (6) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดมลพิษและควบคุมกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต (7) กำหนดจุดยืนเชิงยุทธศาสตร์ต่อพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้อตกลงทางการค้าที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
3.3 นโยบายด้านความมั่นคง ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่ (1)เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554 (2)เร่งเสริมสร้างเอกภาพการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการยึดแนวทางสันติวิธีและเสริมสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (3) ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประเทศเพื่อนบ้าน (4) เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนรองรับนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญของประชาชนและสังคม (5) เตรียมการติดตามประเมินผลและยกร่างนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ซึ่งนโยบายเดิมมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ในปี 2552 และ (6) ติดตามและประเมินผลนโยบายและแผนปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2548 — 2551 เพื่อการจัดทำร่างนโยบายฉบับใหม่ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กันยายน 2551--จบ--
สศช. รายงานว่า คณะกรรมการจัดทำรายงานสรุปสภาวะของประเทศ ได้จัดทำรายงานสรุปสภาวะของประเทศปี 2551 โดยสรุปได้ว่า สภาวะของประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปจากปี 2550 ค่อนข้างมากที่สำคัญคือ ภาวะเงินเฟ้อซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันและราคาอาหารในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (Sub-Prime Loans) และวิกฤตสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ซึ่งอาจจะส่งผลถึงเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ดังมีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1. สภาวะเศรษฐกิจ ในปี 2551 เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับปัจจัยข้อจำกัดและความเสี่ยงหลายประการ ได้แก่ ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นมากและกดดันให้ต้นทุนและค่าครองชีพประชาชนเพิ่มสูงขึ้นมาก วิกฤตการณ์การเงินโลกที่เกิดจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ (Sub-Prime) ในตลาดสหรัฐฯ ที่ลุกลามไปยังตลาดอื่นโดยเฉพาะในยุโรป และปัญหาการเมืองในประเทศ รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังยืดเยื้อ ในปี 2551 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของทั้งในภาคประชาชนและภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมลดลง
1.1 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ร้อยละ 6.1 และ 5.3 ในไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปี 2551 โดยแรงสนับสนุนหลักมาจากการส่งออก ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปี มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 ดัชนีเครื่องชี้เศรษฐกิจเดือนกรกฎาคมของธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวต่อเนื่อง โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.9 และล่าสุดในเดือนสิงหาคมมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9
1.2 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนทางการเมือง เป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการสร้างความเชื่อมั่นประชาชนและภาคธุรกิจ ราคาน้ำมันดิบดูไบสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี และเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 131.17 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล ในเดือนกรกฎาคม ก่อนที่จะเริ่มชะลอลงและเฉลี่ยเท่ากับ 112.86 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลในเดือนสิงหาคม ประกอบกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลต่อเนื่องให้เงินเฟ้อของประเทศเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุดที่ร้อยละ 9.2 ในเดือนกรกฎาคม ก่อนที่ลดลงเป็น
ร้อยละ 6.4 ในเดือนสิงหาคมอันเป็นผลจากการที่ราคาน้ำมันลดลงและผลของการดำเนินมาตรการ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม เป็นต้นมา
1.3 ปัญหาวิกฤตสถาบันการเงินในสหรัฐฯ รุนแรงมากขึ้น และลุกลามไปยังญี่ปุ่นและยุโรปและกลายเป็นวิกฤตการเงินโลกจะเป็นข้อจำกัดต่อการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยในระยะต่อไป วิกฤตการเงินโลกมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกนำโดยเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว และเหตุการณ์ล่าสุดซึ่งสถาบันการเงินระดับ Top 5 ของสหรัฐได้แก่ Lehman Brothers และ Merrill Lynch รวมถึง บริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ คือ AIG ประสบปัญหาการเงินชี้ว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อเนื่องไปถึงปี 2552 และภาคการเงินจะมีความผันผวนได้ง่าย
1.4 เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2551 เงินเฟ้อเท่ากับ 6.7 แต่ในเดือนสิงหาคมอัตราเงินเฟ้อได้ปรับตัวลงเป็นร้อยละ 6.4 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,205 ล้านดอลลาร์ สรอ. ค่าเงินบาทมีอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยเท่ากับ 32.5 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเฉลี่ย 33.7 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนธันวาคม 2550 และอยู่ที่เฉลี่ย 33.86 ต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนสิงหาคม เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม เท่ากับ 101.250 พันดอลลาร์ สรอ. และ เศรษฐกิจไทยใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนการใช้น้ำมันต่อ GDP ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 อยู่ที่ 0.933 ลดลงจากร้อยละ 0.9734 ในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550
2. นโยบายด้านเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน นอกจากการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศให้คลี่คลายไปโดยสันติวิธีและสมานฉันท์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศที่ดีสำหรับการลงทุนและการท่องเที่ยวมาตรการเศรษฐกิจสำคัญเร่งด่วนในช่วงต่อไปได้แก่การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์การเงินโลก และสนับสนุนให้เกิดความสมดุลของเศรษฐกิจในการขยายตัวในระยะต่อไปอย่างยั่งยืน ได้แก่
2.1 วางกลไกการดูสภาพคล่องของระบบการเงินในประเทศ รวมทั้งการรายงานความเคลื่อนไหวธุรกรรมทางการเงินของสถาบันการเงินที่ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างรวดเร็วและสภาพคล่องตึงตัวอันเนื่องจากผลกระทบต่อเนื่องจากสถานการณ์การเงินโลก
2.2 บรรเทาผลกระทบจากภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังจะมีความจำเป็นอยู่เนื่องจากแม้ว่าราคาน้ำมันจะมีแนวโน้มลดลง แต่ยังมีแรงกดดันเดิมของต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นสะสมและรอการปรับราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ทั้งนี้จะต้องติดตามความคืบหน้าและผลของการดำเนินมาตรการเพื่อลดผลกระทบ “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน” เพื่อการทบทวนมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและสนับสนุนการประหยัด
2.3 สนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ ดูแลเงินเฟ้อ และค่าเงินบาทให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและกลไกตลาด โดยมีกรอบนโยบายการเงินและเป้าหมายของนโยบายการเงิน ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสอดประสานกับนโยบายการคลัง
2.4 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปีงบประมาณ 2552 ทั้งในส่วนของงบรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน โดยให้ความสำคัญของการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการ SML ให้กระจายสู่ชนบทได้เร็ว รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีส่วนสนับสนุนมาตรการบรรเทาผลกระทบความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น
2.5 วางกรอบและผลักดันการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยมีแหล่งเงินและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงวินัยการคลังของประเทศ และสนับสนุนการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนเพื่อลดภาระการลงทุนของภาครัฐ
2.6 สนับสนุนศักยภาพของสาขาเศรษฐกิจที่สำคัญในการจ้างงานและการสร้างรายได้ของประชาชน โดย
2.6.1 ดูแลภาคการส่งออกสินค้าของประเทศให้มีความสามาถในการแข่งขันได้เพื่อให้เป็น
แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ที่ผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพ และราคาน้ำมันที่สูงมีผลทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวเป็นวงกว้างมากขึ้นและมีสัญญาณการชะลอตัวของการส่งออกของไทย โดยครอบคลุมถึงตลาดเอเชีย รวมทั้งญี่ปุ่นและจีน ซึ่งตลาดเหล่านี้ในช่วงปีที่แล้วและปีนี้บทบาทมากขึ้นอย่างชัดเจนในฐานะตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย
2.6.2 ดำเนินมาตรการทางด้านการตลาดเพื่อเตรียมรับฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จะเห็นว่าในช่วงที่ผ่านมาภาคการท่องเที่ยวมีปัจจัยข้อจำกัดหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนราคาน้ำมัน ราคาค่าโดยสารของสายการบิน และผลกระทบจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008
2.6.3 ดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว 4 เดือนสุดท้ายของปี รวมทั้งสร้างความมั่นใจในปริมาณการผลิตพืชพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการน้ำมันแก๊สโซฮอล์
2.6.4 กระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังอยู่ในช่วงการชะลอตัวแม้ว่าจะได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์มาตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2551 โดยลดภาษีธุรกิจเฉพาะและลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดทะเบียนจำนอง ทั้งนี้เนื่องราคาที่สูงขึ้นและความเชื่อมั่นที่ต่ำ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะทบทวนขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการออกไปจากเดิมที่จะสิ้นสุดลงในวนัที่ 28 มีนาคม 2552 โดยเฉพาะภายใต้เงื่อนไขที่สภาพคล่องทางการเงินจะมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น
3. สภาวะสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคง โดยรวมสภาวะและประเด็นนโยบายด้านสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงยังมิได้เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงปลายปี 2550 มากนัก เช่น แนวโน้มการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน การรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้ เป็นต้น ยกเว้นความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งกลับมามีการประท้วงต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และความขัดแย้งตามแนวชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นสถานการณ์ใหม่ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ นโยบายหลักด้านสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคง ในช่วงต่อไปได้แก่
3.1 นโยบายด้านสังคม ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่ (1) เพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนทางสังคมโดยเฉพาะด้านสุขภาพและด้านการศึกษา (2) เร่งยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบมู่งสู่สังคมแห่งการเรียนรู้คู่คุณธรรม (3) พัฒนาระบบการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมร่วมกับสถานประกอบการ (4) เร่งมาตรการลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างเป็นองค์รวม (5) ยึดแนวทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ปัญหาของชุมชน (6) ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (7) พัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทันกับการเปลี่ยนแปลง
3.2 นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่ (1) รักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี (2) สร้างความเป็นธรรมให้ชุมชนมีสิทธิในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2550 (3) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและสร้างจิตสำนึกของประชาชนและชุมชนให้มีจริยธรรมในการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า (4) พัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่บนฐานความรู้ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น และความสามารถในการจัดการของชุมชน (5) ส่งเสริมให้เกิดการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (6) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดมลพิษและควบคุมกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต (7) กำหนดจุดยืนเชิงยุทธศาสตร์ต่อพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งข้อตกลงทางการค้าที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
3.3 นโยบายด้านความมั่นคง ที่สำคัญในช่วงต่อไปได้แก่ (1)เสริมสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีของคนในชาติ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554 (2)เร่งเสริมสร้างเอกภาพการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการยึดแนวทางสันติวิธีและเสริมสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (3) ให้ความสำคัญในการเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่สร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประเทศเพื่อนบ้าน (4) เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนรองรับนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญของประชาชนและสังคม (5) เตรียมการติดตามประเมินผลและยกร่างนโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ซึ่งนโยบายเดิมมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด ในปี 2552 และ (6) ติดตามและประเมินผลนโยบายและแผนปฏิบัติการจิตวิทยาแห่งชาติ พ.ศ. 2548 — 2551 เพื่อการจัดทำร่างนโยบายฉบับใหม่ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กันยายน 2551--จบ--