คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัย ในห้วงวันที่ 11-25 กันยายน 2551 สรุปสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นรวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 25 กันยายน 2551) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11-25 กันยายน 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 24 จังหวัด 138 อำเภอ 735 ตำบล 4,462 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดตาก พิจิตร แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด และจังหวัดจันทบุรี
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 13 คน จ.สระบุรี 2 คน (อ.แก่งคอย 1 คน อ.มวกเหล็ก 1 คน) จ.ลพบุรี 2 คน (อ.โคกสำโรง 1 คน อ.สระโบสถ์ 1 คน) จ.นครราชสีมา 2 คน (อ.ปากช่อง 1 คน อ.ปักธงชัย 1 คน) จ.หนองบัวลำภู 4 คน (อ.เมือง 3 คน อ.นากลาง 1 คน) จ.แม่ฮ่องสอน 1 คน (อ.แม่สะเรียง) จ.พิษณุโลก 2 คน (อ.วัดโบสถ์ 1 คน อ.วังทอง 1 คน) สูญหาย 1 คน (อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก) ราษฎรเดือดร้อน 282,554 ครัวเรือน 839,573 คน
2) ด้านทรัพย์สิน (เบื้องต้น) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง บางส่วน 1,887 หลัง สะพาน 38 แห่ง ทำนบ/ฝาย 251 แห่ง ถนน 951 สาย วัด 16 แห่ง โรงเรียน 10 แห่ง สถานที่ราชการ 10 แห่ง ปศุสัตว์ 173 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 6,273 บ่อ ท่อระบายน้ำ 36 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 297,862 ไร่
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 114,957,778 บาท
1.3 สถานการณ์ปัจจุบันในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตาก นครสวรรค์ นครนายก เลย สุโขทัย ฉะเชิงเทรา ตราด ชลบุรี พิจิตร สระบุรี อุบลราชธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ แม่ฮ่องสอน และจังหวัดจันทบุรี ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 8 จังหวัดได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี มีรายละเอียด ดังนี้
1. จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 จนถึงวันที่ 20 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังใน 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอวังทอง 7 ตำบล 36 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลวังนกแอ่น (หมู่ที่ 1,2,3,7,16,17) ชัยนาม (หมู่ที่ 2,3,5,9) วังทอง (หมู่ที่ 4,7,12) วังพิกุล (หมู่ที่ 1,2,4,8,14) ดินทอง (หมู่ที่ 1,2,3,5,7) ท่าหมื่นราม (หมู่ที่ 1-4,6,9,10,11,13,14) และตำบลพันชาลี (หมู่ที่ 1-4) เสียชีวิต 1 คน (นายบุญชู หงส์ทอง 64 ม.9 ต.ดินทอง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
2) อำเภอเมืองฯ 4 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสมอแข (หมู่ที่ 1,2,3,8) อรัญญิก (หมู่ที่ 4-6) บ้านป่า (หมู่ที่ 2,3,5,6,7,8,10) และตำบลหัวรอ (หมู่ที่ 3,5,6,7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม.
แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ใน 1 สัปดาห์ แต่จะยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรบางแห่ง
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ชลประทานจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 7 ลำ กระสอบทราย 500 กระสอบ ให้ทัณฑสถานหญิงเพื่อวางกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าในพื้นที่ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
2) สำนักงานบำรุงทางพิษณุโลกที่ 2 และกองพลพัฒนาที่ 3 สนับสนุนเรือท้องแบน 3 ลำ พร้อมกำลังพลในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่ปลอดภัย
2. จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 11-16 กันยายน 2551 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิด น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 8 อำเภอ 65 ตำบล 530 หมู่บ้าน เสียชีวิต 2 คน ราษฎรเดือดร้อน 125,747 คน 35,135 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเมืองฯ โคกสำโรง บ้านหมี่ สระโบสถ์ โคกเจริญ ชัยบาดาล หนองม่วง และอำเภอลำสนธิ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมืองฯ ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาสามยอด (หมู่ที่ 4) ท่าแค (หมู่ที่ 1-10) ถนนใหญ่ (หมู่บ้านสิรันยา และหน้าเทศบาล) ป่าตาล (หมู่ที่ 1,6,7) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
2) อำเภอโคกสำโรง ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกสำโรง (หมู่ที่ 1) ถลุงเหล็ก (หมู่ที่ 4) และตำบลหลุมข้าว (หมู่ที่ 9,10,11) (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อนายสายยล คลังผา อายุ 45 ปี) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 8,555 ครัวเรือน 33,822 คน ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 ม.
3) อำเภอบ้านหมี่ เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลพุกา หนองทรายขาว หนองเมือง หินปัก ดงพลับ บางกะพี้ บ้านทราย หนองกระเบียน และตำบลบ้านกล้วย ระดับน้ำสูง 0.30-0.80 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าอำเภอโคกสำโรงจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2 - 3 วัน อำเภอเมืองฯ และอำเภอบ้านหมี่ จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-4 สัปดาห์
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี อำเภอ สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 83 ลำ รถแบ็คโฮ 2 คัน พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 39,873 ชุด ชุดยาเวชภัณฑ์ 26,668 ชุด กระสอบทราย 25,000 ถุง
2) กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 45 เครื่อง พร้อมนำเครื่องจักรทำการกำจัดวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก
3. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยมีปริมาณสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรที่ติดริมน้ำ 9 อำเภอ 63 ตำบล 244 หมู่บ้าน 9,942 ครัวเรือน 39,768 คน ดังนี้
1) อำเภอผักไห่ มีน้ำท่วม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลกุฏี (หมู่ที่ 1,12) และตำบลท่าดินแดง
2) อำเภอบางบาล มีน้ำท่วม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านกุ่ม น้ำเต่า บางหลวง และตำบลทางช้าง
3) อำเภอเสนา มีน้ำท่วม 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านแพน บ้านโพธิ์ หัวเวีย กระทุ่ม บางนมโค สามกอ และตำบลรางจระเข้
4) อำเภอบางไทร มีน้ำท่วม 21 ตำบล ได้แก่ ตำบลช้างน้อย ช้างใหญ่ บางยี่โท บ้านม้า บ้านกลึง สนามชัย แคตก ไม้ตรา ราชคราม เชียงรากน้อย โพแตง ห่อหมก บ้านแป้ง บ้านเกาะ หน้าไม้ แคออก ช่างเหล็ก กระแชง กกแก้วบูรพา โคกช้าง และตำบลบางพลี
5) อำเภอมหาราช มีน้ำท่วม 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลพิตเพียน โรงช้าง เจ้าปลุก น้ำเต้า มหาราช หัวไผ่ บ้านนา บ้านขวาง ท่าต่อ และตำบลบ้านใหม่
6) อำเภอนครหลวง มีน้ำท่วม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าช้าง บ่อโพง และพระนอน
7) อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีน้ำท่วม 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองสระบัว สวนพริก ลุมพลี บ้านเกาะ หันตรา ภูเทอง บ้านใหม่ บ้านป้อม ปากกราน คลองตะเคียน สำเภาล่ม เกาะเรียน คลองสวนพลู และบ้านรุน
8) อำเภอบ้านแพรก (อยู่ระหว่างการสำรวจ)
9) อำเภอบ่างปะอิน (อยู่ระหว่างการสำรวจ)
- ทางหลวงหมายเลข 3263 ตอน อยุธยา-เสนา-บ้านสาลี กม.ที่ 10-11 น้ำท่วมสูง 0.40 ม.ไม่สามารถสัญจรไปมาได้
การให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เร่งออกสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป
4. จังหวัดหนองบัวลำภู เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ และน้ำจากภูเขาในพื้นที่จังหวัดไหลลงคลองพะเนียงเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 58 ตำบล 531 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอนาวัง นากลาง เมืองฯ ศรีบุญเรือง โนนสัง และอำเภอสุวรรณคูหา ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอนากลาง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลดงสวรรค์ กุดแห่ เก่ากลอยนากลาง ด่านช้าง อุทัยสวรรค์ โนนเมือง ฝั่งแดง กุดดินจี่ (เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายคำมี สามา อายุ 71 ปี)
2) อำเภอเมืองฯ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองภัยศูนย์ หนองสวรรค์ กุดจิก พร้าว บ้านขาม โนนขมิ้น หนองหว้า โนนทัน หนองบัว หัวนา ป่าไม้งาม นาคำไฮ มะเฟือง และโพธิ์ชัย (เสียชีวิต 3 คน ชื่อ นายโชคชัย นันทะ อายุ 35 ปี นายจักคำ พรมต๊ะ อายุ 68 ปี และ นางสาวอุทัย ท้าววัน)
3) อำเภอศรีบุญเรือง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรือง นากอก โนนสะอาด ยางหล่อ หนองกุงแก้ว โนนม่วง กุดสะเทียน หนองแก หนองบัวใต้ หันนางาม และทรายทอง
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาธารณภัยจังหวัดหนองบัวลำภู อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป
5. จังหวัดชัยภูมิ เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมใน 15 อำเภอ 106 ตำบล 513 หมู่บ้าน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ 15 ชุมชน ระดับน้ำสูง 0.50-0.80 ม.
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชัยภูมิ กาชาดจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนเรือท้องแบน 10 ลำ ถุงยังชีพ 280 ถุง น้ำดื่ม 100 โหล กระสอบทราย 30,000 กระสอบ โครงการชลประทานชัยภูมิ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 9 เครื่อง เพื่อระบายน้ำลงสู่ลำห้วยประทาน ตลอด 24 ชั่วโมง
6. จังหวัดขอนแก่น เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ 10 อำเภอ 66 ตำบล 576 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น บ้านแฮด ชนบท มัญจาคีรี บ้านไผ่ ซำสูง โคกโพธิ์ไชย พล หนองนาคำ และอำเภอภูผาม่าน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมืองขอนแก่น แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลดอนหัน (หมู่ที่ 3,4,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม.
2) อำเภอชนบท แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรือง (หมู่ที่ 4-12) และตำบลชนบท (หมู่ที่ 4,5,6,10,13) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.00 ม.
3) อำเภอบ้านแฮด ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านแฮด โคกสำราญ โนนสมบูรณ์ และตำบลหนองแซง ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร
4) อำเภอบ้านไผ่ ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวหนอง หนองใส และตำบลบ้านไผ่ ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดขอนแก่น ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น
2) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสนับสนุนเรือท้องแบน 24 ลำ ติดตั้งสะพานแบรี่ย์บริเวณคอสะพานที่ชำรุด แจกถุงยังชีพ 4,530 ชุด ข้าวกล่อง 200 กล่อง จัดหากระสอบทราย 4,000 กระสอบ เทศบาลนครขอนแก่นนำรถขุดไปเปิดทางน้ำหลังหมู่บ้านมิตรสัมพันธ์
3) มณฑลทหารบกที่ 23 จัดกำลังพล จำนวน 30 นาย และ ตชด.ภาค 2 จัดกำลังพล จำนวน 40 นาย พร้อมเรือท้องแบน ให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย
7. จังหวัดนครราชสีมา ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักท้ายเขื่อนลำตะคอง ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ในเขตพื้นที่ ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ และตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองฯ ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าว ได้ไหลเข้าท่วมในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ปัจจุบันน้ำที่ท่วมในเขตอำเภอเมือง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีแนวโน้มลดลง ซึ่งกรมชลประทานโดยโครงการส่งน้ำฯ ลำตะคอง ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เข้าช่วยเหลือ จำนวน 11 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำ จำนวน 5 เครื่อง คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วัน
8. จังหวัดปราจีนบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอกบินทร์บุรี ระดับน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ มีน้ำท่วมขังใน 8 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลกบินทร์บุรี ตำบลกบินทร์บุรี หนองกี่ หาดนางแก้ว ลาดตระเคียน ย่านรี บ่อทอง วังตะเคียน และตำบลเมืองเก่า ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
2) อำเภอเมืองฯ น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลดงขี้เหล็ก ดงพระราม รอบเมือง บ้านพระ โคกไม้ลาย ไม้เด็ด ท่างาม โนนห้อม เนินหอม บางเตชะ และตำบลวัดโบสถ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
3) อำเภอศรีมหาโพธิ น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกุ้ง หัวหว้า ท่าตูม ศรีมหาโพธิ บ้านทาม สัมพันธ์ หาดยาง ดงกระทงยาม หนองโพลง และตำบลกรอกสมบูรณ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
- ทางหลวงหมายเลข 33 ตอน พระปรง-บ้านแก้ง กม.ที่ 1-2 ระดับน้ำสูง 1.00 ม. ไม่สามารถสัญจรไปมาได้
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือ 30 ลำ กระสอบทราย 28,000 ถุง รถแบ็คโฮ 2 คัน ถุงยังชีพ 3,521 ชุด
2) ร.2 พัน 2 รอ. จัดกำลังพล 48 นาย รถบรรทุก 2 คัน รถยูนิม๊อก 1 คัน เรือท้องแบน 3 ลำ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
1.4 สิ่งของพระราชทาน
1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ นำโดยประธานกรรมการบริหาร (นายดิสธร วัชโรทัย) และเลขาธิการฯ (นายประสงค์ พิฑูรกิจจา) และคณะเจ้าหน้าที่ นำสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
1.1) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2551 มอบเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 1,000 ชุด
1.2) เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2551 ที่ศาลาเอนกประสงค์เทศบาลเมืองชัยภูมิ อำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,000 ชุด
1.3) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551 ประธานกรรมการบริหาร (นายดิสธร วัชโรทัย) เป็นผู้แทนมอบสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และสระบุรี ดังนี้
- ที่ วัดจันทร์เสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 500 ชุด
- ที่ ตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำนวน 500 ชุด
1.4) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551 กรรมการบริหาร และประธานฝ่ายฝึกอบรม (นายพร อุดมพงษ์) เป็นผู้แทนมอบสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้
- ที่ บ้านปรือ หมู่ที่ 1 ตำบลปรือ อำเภอกระสัง จำนวน 500 ชุด
- ที่ โรงเรียนประโคนชัยวิทยาคม อำเภอประโคนชัย จำนวน 500 ชุด
- ที่ วัดอัมพวัน อำเภอลำปลายมาศ จำนวน 500 ชุด
2) สภากาชาดไทยโดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ได้จัดส่งสิ่งของพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
- เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2551 โดยมี นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นผู้แทนพระองค์มอบสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนผู้ประสบภัยในเขตอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 500 ชุด
- เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2551 โดยมี พลโทนายแพทย์อำนาจ บาลี เป็นผู้แทนพระองค์ มอบสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนผู้ประสบภัยในเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 400 ชุด
- ในวันที่ 26 กันยายน 2551 โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี มอบสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนผู้ประสบภัยในเขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 500 ชุด
1.5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 (ปทุมธานี) เขต 2 (สุพรรณบุรี) เขต 3 (ปราจีนบุรี) เขต 5 (นครราชสีมา) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 8 (กำแพงเพชร) เขต 9 (พิษณุโลก) ได้จัดส่งวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกล เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดที่เกิดสถานการณ์ ดังนี้ เรือท้องแบน 128 ลำ รถบรรทุกติดตั้งเครน 11 คัน รถผลิตน้ำดื่ม 6 คัน รถกู้ภัยเล็ก 8 คัน รถยนต์ยูนิม็อค 4 คัน รถบรรทุก 9 คัน เครื่องสูบน้ำ 11 เครื่อง เต็นท์ที่พักอาศัย 10 หลัง ถุงยังชีพ 13,250 ถุงเสื้อชูชีพ 124 ตัว เจ้าหน้าที่ 442 คน บ้านน็อคดาวน์ (มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก) 10 หลัง
1.6 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้จัดส่งกำลังพล จำนวน 661 นาย รถบรรทุก จำนวน 69 คัน เรือท้องแบน 18 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัย และยังคงให้การช่วยเหลือประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะยุติ
1.7 การประปานครหลวง เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2551 เวลาประมาณ 14.00 น. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประสงค์ โฆษิตานนท์) เป็นประธานในพิธีการมอบน้ำดื่มให้กับกรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย โดยมีอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) เป็นผู้รับมอบน้ำดื่มเพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชน ผู้ประสบอุทกภัย ณ บริเวณลานเอนกประสงค์ สำนักงานใหญ่ การประปานครหลวง จำนวน 50,000 ขวด
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 24-30 กันยายน 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่าในช่วงวันที่ 24 - 26 กันยายน 2551 ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 กันยายน 2551 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจะแผ่ลิ่มลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ร่องความกดอากาศต่ำ มีกำลังแรงขึ้น โดยจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในหลายพื้นที่ อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ฮากุปิต (Hagupit)” บริเวณประเทศจีนตอนล่างกำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนทางเหนือ มุ่งสู่ประเทศเวียดนามตอนบน และลาวในระยะต่อไป อีกทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังจากพายุนี้จะทำให้ภาคเหนือมีฝนเพิ่มมากขึ้นในวันที่ 26 กันยายน 2551
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และคลื่นซัดฝั่ง สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและชาวเรือ โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กันยายน 2551--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11-25 กันยายน 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 24 จังหวัด 138 อำเภอ 735 ตำบล 4,462 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดตาก พิจิตร แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด และจังหวัดจันทบุรี
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 13 คน จ.สระบุรี 2 คน (อ.แก่งคอย 1 คน อ.มวกเหล็ก 1 คน) จ.ลพบุรี 2 คน (อ.โคกสำโรง 1 คน อ.สระโบสถ์ 1 คน) จ.นครราชสีมา 2 คน (อ.ปากช่อง 1 คน อ.ปักธงชัย 1 คน) จ.หนองบัวลำภู 4 คน (อ.เมือง 3 คน อ.นากลาง 1 คน) จ.แม่ฮ่องสอน 1 คน (อ.แม่สะเรียง) จ.พิษณุโลก 2 คน (อ.วัดโบสถ์ 1 คน อ.วังทอง 1 คน) สูญหาย 1 คน (อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก) ราษฎรเดือดร้อน 282,554 ครัวเรือน 839,573 คน
2) ด้านทรัพย์สิน (เบื้องต้น) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง บางส่วน 1,887 หลัง สะพาน 38 แห่ง ทำนบ/ฝาย 251 แห่ง ถนน 951 สาย วัด 16 แห่ง โรงเรียน 10 แห่ง สถานที่ราชการ 10 แห่ง ปศุสัตว์ 173 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 6,273 บ่อ ท่อระบายน้ำ 36 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 297,862 ไร่
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 114,957,778 บาท
1.3 สถานการณ์ปัจจุบันในขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตาก นครสวรรค์ นครนายก เลย สุโขทัย ฉะเชิงเทรา ตราด ชลบุรี พิจิตร สระบุรี อุบลราชธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ แม่ฮ่องสอน และจังหวัดจันทบุรี ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 8 จังหวัดได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี มีรายละเอียด ดังนี้
1. จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 จนถึงวันที่ 20 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังใน 2 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอวังทอง 7 ตำบล 36 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลวังนกแอ่น (หมู่ที่ 1,2,3,7,16,17) ชัยนาม (หมู่ที่ 2,3,5,9) วังทอง (หมู่ที่ 4,7,12) วังพิกุล (หมู่ที่ 1,2,4,8,14) ดินทอง (หมู่ที่ 1,2,3,5,7) ท่าหมื่นราม (หมู่ที่ 1-4,6,9,10,11,13,14) และตำบลพันชาลี (หมู่ที่ 1-4) เสียชีวิต 1 คน (นายบุญชู หงส์ทอง 64 ม.9 ต.ดินทอง) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.30 ม.
2) อำเภอเมืองฯ 4 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลสมอแข (หมู่ที่ 1,2,3,8) อรัญญิก (หมู่ที่ 4-6) บ้านป่า (หมู่ที่ 2,3,5,6,7,8,10) และตำบลหัวรอ (หมู่ที่ 3,5,6,7) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม.
แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ใน 1 สัปดาห์ แต่จะยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรบางแห่ง
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ชลประทานจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 7 ลำ กระสอบทราย 500 กระสอบ ให้ทัณฑสถานหญิงเพื่อวางกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าในพื้นที่ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
2) สำนักงานบำรุงทางพิษณุโลกที่ 2 และกองพลพัฒนาที่ 3 สนับสนุนเรือท้องแบน 3 ลำ พร้อมกำลังพลในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่ปลอดภัย
2. จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 11-16 กันยายน 2551 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิด น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 8 อำเภอ 65 ตำบล 530 หมู่บ้าน เสียชีวิต 2 คน ราษฎรเดือดร้อน 125,747 คน 35,135 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเมืองฯ โคกสำโรง บ้านหมี่ สระโบสถ์ โคกเจริญ ชัยบาดาล หนองม่วง และอำเภอลำสนธิ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมืองฯ ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาสามยอด (หมู่ที่ 4) ท่าแค (หมู่ที่ 1-10) ถนนใหญ่ (หมู่บ้านสิรันยา และหน้าเทศบาล) ป่าตาล (หมู่ที่ 1,6,7) ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
2) อำเภอโคกสำโรง ยังคงมีน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกสำโรง (หมู่ที่ 1) ถลุงเหล็ก (หมู่ที่ 4) และตำบลหลุมข้าว (หมู่ที่ 9,10,11) (มีผู้เสียชีวิต 1 คน ชื่อนายสายยล คลังผา อายุ 45 ปี) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 8,555 ครัวเรือน 33,822 คน ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 ม.
3) อำเภอบ้านหมี่ เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลพุกา หนองทรายขาว หนองเมือง หินปัก ดงพลับ บางกะพี้ บ้านทราย หนองกระเบียน และตำบลบ้านกล้วย ระดับน้ำสูง 0.30-0.80 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าอำเภอโคกสำโรงจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2 - 3 วัน อำเภอเมืองฯ และอำเภอบ้านหมี่ จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-4 สัปดาห์
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี อำเภอ สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 83 ลำ รถแบ็คโฮ 2 คัน พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 39,873 ชุด ชุดยาเวชภัณฑ์ 26,668 ชุด กระสอบทราย 25,000 ถุง
2) กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 45 เครื่อง พร้อมนำเครื่องจักรทำการกำจัดวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก
3. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำน้อยมีปริมาณสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตรที่ติดริมน้ำ 9 อำเภอ 63 ตำบล 244 หมู่บ้าน 9,942 ครัวเรือน 39,768 คน ดังนี้
1) อำเภอผักไห่ มีน้ำท่วม 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลกุฏี (หมู่ที่ 1,12) และตำบลท่าดินแดง
2) อำเภอบางบาล มีน้ำท่วม 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านกุ่ม น้ำเต่า บางหลวง และตำบลทางช้าง
3) อำเภอเสนา มีน้ำท่วม 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านแพน บ้านโพธิ์ หัวเวีย กระทุ่ม บางนมโค สามกอ และตำบลรางจระเข้
4) อำเภอบางไทร มีน้ำท่วม 21 ตำบล ได้แก่ ตำบลช้างน้อย ช้างใหญ่ บางยี่โท บ้านม้า บ้านกลึง สนามชัย แคตก ไม้ตรา ราชคราม เชียงรากน้อย โพแตง ห่อหมก บ้านแป้ง บ้านเกาะ หน้าไม้ แคออก ช่างเหล็ก กระแชง กกแก้วบูรพา โคกช้าง และตำบลบางพลี
5) อำเภอมหาราช มีน้ำท่วม 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลพิตเพียน โรงช้าง เจ้าปลุก น้ำเต้า มหาราช หัวไผ่ บ้านนา บ้านขวาง ท่าต่อ และตำบลบ้านใหม่
6) อำเภอนครหลวง มีน้ำท่วม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลท่าช้าง บ่อโพง และพระนอน
7) อำเภอพระนครศรีอยุธยา มีน้ำท่วม 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองสระบัว สวนพริก ลุมพลี บ้านเกาะ หันตรา ภูเทอง บ้านใหม่ บ้านป้อม ปากกราน คลองตะเคียน สำเภาล่ม เกาะเรียน คลองสวนพลู และบ้านรุน
8) อำเภอบ้านแพรก (อยู่ระหว่างการสำรวจ)
9) อำเภอบ่างปะอิน (อยู่ระหว่างการสำรวจ)
- ทางหลวงหมายเลข 3263 ตอน อยุธยา-เสนา-บ้านสาลี กม.ที่ 10-11 น้ำท่วมสูง 0.40 ม.ไม่สามารถสัญจรไปมาได้
การให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เร่งออกสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป
4. จังหวัดหนองบัวลำภู เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ และน้ำจากภูเขาในพื้นที่จังหวัดไหลลงคลองพะเนียงเข้าท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ 58 ตำบล 531 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอนาวัง นากลาง เมืองฯ ศรีบุญเรือง โนนสัง และอำเภอสุวรรณคูหา ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอนากลาง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 9 ตำบล ได้แก่ ตำบลดงสวรรค์ กุดแห่ เก่ากลอยนากลาง ด่านช้าง อุทัยสวรรค์ โนนเมือง ฝั่งแดง กุดดินจี่ (เสียชีวิต 1 คน ชื่อ นายคำมี สามา อายุ 71 ปี)
2) อำเภอเมืองฯ มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 14 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองภัยศูนย์ หนองสวรรค์ กุดจิก พร้าว บ้านขาม โนนขมิ้น หนองหว้า โนนทัน หนองบัว หัวนา ป่าไม้งาม นาคำไฮ มะเฟือง และโพธิ์ชัย (เสียชีวิต 3 คน ชื่อ นายโชคชัย นันทะ อายุ 35 ปี นายจักคำ พรมต๊ะ อายุ 68 ปี และ นางสาวอุทัย ท้าววัน)
3) อำเภอศรีบุญเรือง มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรือง นากอก โนนสะอาด ยางหล่อ หนองกุงแก้ว โนนม่วง กุดสะเทียน หนองแก หนองบัวใต้ หันนางาม และทรายทอง
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาธารณภัยจังหวัดหนองบัวลำภู อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป
5. จังหวัดชัยภูมิ เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมใน 15 อำเภอ 106 ตำบล 513 หมู่บ้าน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ 15 ชุมชน ระดับน้ำสูง 0.50-0.80 ม.
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชัยภูมิ กาชาดจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนเรือท้องแบน 10 ลำ ถุงยังชีพ 280 ถุง น้ำดื่ม 100 โหล กระสอบทราย 30,000 กระสอบ โครงการชลประทานชัยภูมิ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 9 เครื่อง เพื่อระบายน้ำลงสู่ลำห้วยประทาน ตลอด 24 ชั่วโมง
6. จังหวัดขอนแก่น เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ 10 อำเภอ 66 ตำบล 576 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น บ้านแฮด ชนบท มัญจาคีรี บ้านไผ่ ซำสูง โคกโพธิ์ไชย พล หนองนาคำ และอำเภอภูผาม่าน ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
1) อำเภอเมืองขอนแก่น แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลดอนหัน (หมู่ที่ 3,4,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม.
2) อำเภอชนบท แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรือง (หมู่ที่ 4-12) และตำบลชนบท (หมู่ที่ 4,5,6,10,13) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.00 ม.
3) อำเภอบ้านแฮด ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านแฮด โคกสำราญ โนนสมบูรณ์ และตำบลหนองแซง ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร
4) อำเภอบ้านไผ่ ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวหนอง หนองใส และตำบลบ้านไผ่ ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดขอนแก่น ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น
2) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสนับสนุนเรือท้องแบน 24 ลำ ติดตั้งสะพานแบรี่ย์บริเวณคอสะพานที่ชำรุด แจกถุงยังชีพ 4,530 ชุด ข้าวกล่อง 200 กล่อง จัดหากระสอบทราย 4,000 กระสอบ เทศบาลนครขอนแก่นนำรถขุดไปเปิดทางน้ำหลังหมู่บ้านมิตรสัมพันธ์
3) มณฑลทหารบกที่ 23 จัดกำลังพล จำนวน 30 นาย และ ตชด.ภาค 2 จัดกำลังพล จำนวน 40 นาย พร้อมเรือท้องแบน ให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย
7. จังหวัดนครราชสีมา ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักท้ายเขื่อนลำตะคอง ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ในเขตพื้นที่ ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ และตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองฯ ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าว ได้ไหลเข้าท่วมในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ปัจจุบันน้ำที่ท่วมในเขตอำเภอเมือง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีแนวโน้มลดลง ซึ่งกรมชลประทานโดยโครงการส่งน้ำฯ ลำตะคอง ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เข้าช่วยเหลือ จำนวน 11 เครื่อง และเครื่องสูบน้ำ จำนวน 5 เครื่อง คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 วัน
8. จังหวัดปราจีนบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ดังนี้
1) อำเภอกบินทร์บุรี ระดับน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ มีน้ำท่วมขังใน 8 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ เทศบาลตำบลกบินทร์บุรี ตำบลกบินทร์บุรี หนองกี่ หาดนางแก้ว ลาดตระเคียน ย่านรี บ่อทอง วังตะเคียน และตำบลเมืองเก่า ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
2) อำเภอเมืองฯ น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลดงขี้เหล็ก ดงพระราม รอบเมือง บ้านพระ โคกไม้ลาย ไม้เด็ด ท่างาม โนนห้อม เนินหอม บางเตชะ และตำบลวัดโบสถ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
3) อำเภอศรีมหาโพธิ น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 10 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางกุ้ง หัวหว้า ท่าตูม ศรีมหาโพธิ บ้านทาม สัมพันธ์ หาดยาง ดงกระทงยาม หนองโพลง และตำบลกรอกสมบูรณ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
- ทางหลวงหมายเลข 33 ตอน พระปรง-บ้านแก้ง กม.ที่ 1-2 ระดับน้ำสูง 1.00 ม. ไม่สามารถสัญจรไปมาได้
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือ 30 ลำ กระสอบทราย 28,000 ถุง รถแบ็คโฮ 2 คัน ถุงยังชีพ 3,521 ชุด
2) ร.2 พัน 2 รอ. จัดกำลังพล 48 นาย รถบรรทุก 2 คัน รถยูนิม๊อก 1 คัน เรือท้องแบน 3 ลำ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
1.4 สิ่งของพระราชทาน
1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ นำโดยประธานกรรมการบริหาร (นายดิสธร วัชโรทัย) และเลขาธิการฯ (นายประสงค์ พิฑูรกิจจา) และคณะเจ้าหน้าที่ นำสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
1.1) เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2551 มอบเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เทศบาลตำบลโนนสูงเปลือย อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 1,000 ชุด
1.2) เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2551 ที่ศาลาเอนกประสงค์เทศบาลเมืองชัยภูมิ อำเภอเมืองฯ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1,000 ชุด
1.3) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551 ประธานกรรมการบริหาร (นายดิสธร วัชโรทัย) เป็นผู้แทนมอบสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และสระบุรี ดังนี้
- ที่ วัดจันทร์เสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 500 ชุด
- ที่ ตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำนวน 500 ชุด
1.4) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551 กรรมการบริหาร และประธานฝ่ายฝึกอบรม (นายพร อุดมพงษ์) เป็นผู้แทนมอบสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้
- ที่ บ้านปรือ หมู่ที่ 1 ตำบลปรือ อำเภอกระสัง จำนวน 500 ชุด
- ที่ โรงเรียนประโคนชัยวิทยาคม อำเภอประโคนชัย จำนวน 500 ชุด
- ที่ วัดอัมพวัน อำเภอลำปลายมาศ จำนวน 500 ชุด
2) สภากาชาดไทยโดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ได้จัดส่งสิ่งของพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
- เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2551 โดยมี นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นผู้แทนพระองค์มอบสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนผู้ประสบภัยในเขตอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 500 ชุด
- เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2551 โดยมี พลโทนายแพทย์อำนาจ บาลี เป็นผู้แทนพระองค์ มอบสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนผู้ประสบภัยในเขตอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก 400 ชุด
- ในวันที่ 26 กันยายน 2551 โดยสำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี มอบสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนผู้ประสบภัยในเขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 500 ชุด
1.5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 (ปทุมธานี) เขต 2 (สุพรรณบุรี) เขต 3 (ปราจีนบุรี) เขต 5 (นครราชสีมา) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 8 (กำแพงเพชร) เขต 9 (พิษณุโลก) ได้จัดส่งวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกล เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดที่เกิดสถานการณ์ ดังนี้ เรือท้องแบน 128 ลำ รถบรรทุกติดตั้งเครน 11 คัน รถผลิตน้ำดื่ม 6 คัน รถกู้ภัยเล็ก 8 คัน รถยนต์ยูนิม็อค 4 คัน รถบรรทุก 9 คัน เครื่องสูบน้ำ 11 เครื่อง เต็นท์ที่พักอาศัย 10 หลัง ถุงยังชีพ 13,250 ถุงเสื้อชูชีพ 124 ตัว เจ้าหน้าที่ 442 คน บ้านน็อคดาวน์ (มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก) 10 หลัง
1.6 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้จัดส่งกำลังพล จำนวน 661 นาย รถบรรทุก จำนวน 69 คัน เรือท้องแบน 18 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัย และยังคงให้การช่วยเหลือประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะยุติ
1.7 การประปานครหลวง เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2551 เวลาประมาณ 14.00 น. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประสงค์ โฆษิตานนท์) เป็นประธานในพิธีการมอบน้ำดื่มให้กับกรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย โดยมีอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายอนุชา โมกขะเวส) เป็นผู้รับมอบน้ำดื่มเพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชน ผู้ประสบอุทกภัย ณ บริเวณลานเอนกประสงค์ สำนักงานใหญ่ การประปานครหลวง จำนวน 50,000 ขวด
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 24-30 กันยายน 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่าในช่วงวันที่ 24 - 26 กันยายน 2551 ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 27-30 กันยายน 2551 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจะแผ่ลิ่มลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ร่องความกดอากาศต่ำ มีกำลังแรงขึ้น โดยจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในหลายพื้นที่ อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ฮากุปิต (Hagupit)” บริเวณประเทศจีนตอนล่างกำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกค่อนทางเหนือ มุ่งสู่ประเทศเวียดนามตอนบน และลาวในระยะต่อไป อีกทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังจากพายุนี้จะทำให้ภาคเหนือมีฝนเพิ่มมากขึ้นในวันที่ 26 กันยายน 2551
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และคลื่นซัดฝั่ง สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและชาวเรือ โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กันยายน 2551--จบ--