คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 18 ช่วงวันที่ 15-24กันยายน
2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย
เนื่องจากเกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลาย
พื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกิดพื้นที่ประสบอุทกภัย 25 จังหวัด ได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก
เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี เลย สระบุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี
ตราด จันทบุรี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และหนองคาย ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สุโขทัย
พิจิตร หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ปราจีนบุรี และจังหวัดชลบุรี ดังนี้
1. จังหวัดพิษณุโลก ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในลุ่มน้ำวังทอง (น้ำเข็ก) ล้นตลิ่ง
ท่วมพื้นที่จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังทอง (7 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูง 0.10-0.30 เมตร อำเภอเนินมะปราง (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูง
0.10-0.30 เมตร และอำเภอเมือง (4 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 เมตร
ทั้งนี้ โครงการชลประทานพิษณุโลกได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย 8 เครื่อง ที่ อ.พรหมพิราม 1 เครื่อง,ศูนย์วิจัยข้าว
พิษณุโลก 3 เครื่อง,อ.วัดโบสถ์ 2 เครื่อง และอ.เมือง 2 เครื่อง หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์ แต่ยังคงมี
น้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำบางแห่ง
2. จังหวัดลพบุรี เกิดฝนตกหนักวันที่ 12 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลาก ยังมีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 3 อำเภอ
ได้แก่ อำเภอเมือง (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 เมตร อำเภอโคกสำโรง (6 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 เมตร และอำเภอ
บ้านหมี่ (9 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.30-0.80 เมตร ขณะนี้ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 41 เครื่อง เร่งระบายน้ำลงคลองชัยนาท-ป่าสัก หากไม่มี
ฝนตกลงมาเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 สัปดาห์
3. จังหวัดสุโขทัย ตามที่ได้เกิดฝนตกหนัก ทำให้ปริมาณน้ำจากแม่น้ำยมที่ระบายออกทางคลองธรรมชาติทั้ง 2 ฝั่ง ล้นตลิ่งบางช่วง และ
ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในเขตพื้นที่ราบลุ่ม จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (6 ตำบล) อำเภอกงไกรลาศ (5 ตำบล) โดยในขณะนี้ปริมาณน้ำใน
แม่น้ำยมลดระดับลงต่อเนื่องอย่างช้าๆ ซึ่งโครงการชลประทานจังหวัดสุโขทัย ได้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
4. จังหวัดพิจิตร ตามที่ได้มีน้ำจากเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ไหลลงสู่คลองวังแดง ทำให้น้ำเอ่อเข้าท่วมในเขตพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่
อำเภอเมือง ดงเจริญ ทับคล้อ สากเหล็ก ตะพานหิน บางมูลนาก โพทะเล โพธิ์ประทับช้าง และอำเภอวังทรายพูน ปัจจุบันสถานการณ์โดยรวมของ
พื้นที่น้ำท่วมข้างต้นได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยังคงเหลือเพียงน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มบางแห่ง ในพื้นที่ 3 อำเภอได้แก่ อำเภอทับคล้อ (1 ตำบล) อำเภอ
ตะพานหิน จำนวน (2 ตำบล) อำเภอบางมูลนาก (6 ตำบล) ขณะนี้พื้นที่ 3 อำเภอระดับน้ำยังคงสูงประมาณ 0.20 — 0.30 เมตร และกำลังไหล
ลงสู่แม่น้ำน่านตามประตูระบายน้ำต่างๆ ริมแม่น้ำน่าน คาดว่าหากไม่มีฝนตกเพิ่มเติมในบริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และในพื้นที่ ระดับน้ำจะ
กลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในปลายเดือนกันยายน 2551 ส่วนฝั่งขวาแม่น้ำยม บริเวณที่ต่ำสุด บ้านกระทุ่มน้ำเดือด ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม ระดับน้ำ
ได้ไหลล้นตลิ่งเข้าพื้นที่เป็นบางจุด ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้วประกอบกับเป็นพื้นที่ท่วมขังเดิมเนื่องจากฝนตกในพื้นที่สะสมรวมกันแต่ยังไม่
วิกฤติ
5. จังหวัดหนองบัวลำภู เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ และน้ำจากภูเขาในพื้นที่จังหวัดไหลลงสู่คลองพะเนียง เข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
อำเภอนากลาง (9 ตำบล) อำเภอเมือง (14 ตำบล) อำเภอศรีบุญเรือง (11 ตำบล)
6. จังหวัดชัยภูมิ จากฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวัน ตั้งแต่วันที่ 10-18 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 15
อำเภอ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ อำเภอเมือง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 เมตร และพื้นที่ริมฝั่งลำน้ำชี ในเขตตำบลลุ่ม
น้ำชี อำเภอบ้านเขว้า ทั้งนี้โครงการชลประทานชัยภูมิได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือการระบายน้ำในเขตเทศบาล จำนวน 4 เครื่อง
7. จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากฝนที่ตกชุกติดต่อกัน ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่ครอบคลุม 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านแฮ
ด อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชำสูง อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอพล อำเภอหนองนาคำ และอำเภอภูผาม่าน ปัจจุบัน
สถานการณ์โดยรวมของพื้นที่น้ำท่วมข้างต้นได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยังคงเหลือเพียงน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มบางแห่ง ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ
เมือง (1 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร อำเภอชนบท (2 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.20 เมตร อำเภอบ้านแฮด (4
ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร อำเภอบ้านไผ่ (3 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 -0.60 เมตร
8. จังหวัดนครราชสีมา ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักท้ายเขื่อนลำตะคอง ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ในเขตพื้นที่ ตำบลขาม
ทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ และ ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมในเขตอำเภอเมือง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ระดับน้ำมีแนว
โน้มลดลงตลอดเวลา ทั้งนี้ กรมชลประทานโดยโครงการส่งน้ำฯ ลำตะคอง ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เข้าช่วยเหลือจำนวน 11 เครื่อง และเครื่อง
สูบน้ำจำนวน 8 เครื่อง คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1-2 วัน
9. จังหวัดกาฬสินธุ์ มีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกมลาไสย (6 ตำบล) อำเภอเมือง (2 ตำบล) อำเภอยางตลาด (1
ตำบล) อำเภอฆ้องชัยพัฒนา (1ตำบล) ทั้งนี้กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 6 ได้ส่งเครื่อง สูบน้ำเข้าช่วยเหลือจำนวน 13 เครื่อง
10. จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 13 อำเภอ 112 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอกันทรวิชัย อำเภอแกคำ อำเภอยางสีสุ
ราช อำเภอนาเชือก อำเภอนาดูน อำเภอชื่นชม อำเภอบรบือ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอวาปีปทุม อำเภอกุดรัง อำเภอเชียงยืน และอำเภอพยัคฆภู
พิสัย ทั้งนี้ โครงการชลประทานมหาสารคาม ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ รวมจำนวน 15 เครื่อง
11. จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี (8 ตำบล 1 เทศบาล) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.20-0.30 เมตร อำเภอเมือง (11 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร อำเภอศรีมหาโพธิ (10 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.20-0.30 เมตร ทั้งนี้โครงการชลประทานปราจีนบุรีได้เตรียมพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้จำนวน 12 เครื่อง ปัจจุบันได้ติดตั้งไปแล้ว 9 เครื่อง
(ติดตั้งในเขตกบินทร์บุรี อำเภอศรีโพธิ์ และอำเภอเมือง)
12. จังหวัดชลบุรี เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ น้ำล้นตลิ่งและเข้าท่วมพื้นที่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ
พนัสนิคม (4 ตำบล) น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20 เมตร อำเภอพานทอง (3 ตำบล) น้ำท่วมสูงประมาณ 0.10 เมตร ระดับน้ำทรงตัว
ขณะนี้โครงการชลประทานชลบุรีได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 2 เครื่องและเร่งระบายน้ำโดยการเปิดประตูระบายน้ำปากคลองบาง
แสม,ประตูระบายน้ำปลายคลองบางแสม,ประตูระบายน้ำพานทอง และ ประตูระบายน้ำตำหรุลงสู่แม่น้ำบางปะกง คาดว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่สภาวะ
ปกติภายใน 1-2 วันนี้
จากปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้พบว่ามีงานที่ต้องเร่งรัดดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขระยะเร่งด่วน ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 4 โครงการ วงเงินประมาณ 500 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.1 โครงการก่อสร้างคลองผันน้ำเลี่ยงเมือง 2 แห่ง วงเงินประมาณ 15 ล้านบาท
1.2 โครงการขุดลอกลำห้วย 3 สาย วงเงินประมาณ 85 ล้านบาท
1.3 ก่อสร้างประตูระบายน้ำสำหรับควบคุมการระบายน้ำ 4 แห่ง วงเงินประมาณ 330 ล้านบาท
1.4 ติดตั้งปั๊มสูบน้ำถาวร 1 แห่ง วงเงินประมาณ 70 ล้านบาท
2. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตจังหวัดขอนแก่น รวม 4 โครงการ วงเงินรวม 211.5 ล้านบาทประกอบด้วย
2.1 เสริมคันกั้นน้ำเขตและซ่อมแซมทำนบดิน และระบบส่งน้ำ อ่างฯ ห้วยเตย อ.เมือง วงเงินประมาณ 3.5 ล้านบาท
2.2 การป้องกันปัญหาน้ำท่วมเขตอำเภอบ้านแฮด รวม 3 โครงการ วงเงินประมาณ 208 ล้านบาท
2.2.1 ก่อสร้างอาคารระบายน้ำอ่างฯ แก่งละว้า วงเงินประมาณ 8 ล้านบาท
2.2.2 ก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยน้ำลัด 2 แห่ง พร้อมขุดลอกลำห้วยยาว 12 กม.วงเงินประมาณ 87 ล้านบาท
2.2.3 ก่อสร้างพนังกั้นน้ำชีก่อสร้างพนังกั้นน้ำชีพร้อมอาคารประกอบ ความยาว 20 กม. วงเงินประมาณ 113 ล้านบาท
ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของจังหวัดขอนแก่นในระยะยาวกรมชลประทานได้วางแผนดำเนินการไว้ 4 โครงการ วงเงิน 1,053 ล้าน
บาท ดังนี้
1. ปรับปรุงคันกั้นน้ำคลองระบายห้วยพระคือ 15 กม. วงเงินประมาณ 15 กม. วงเงินประมาณ 170 ล้านบาท
2. ปรับปรุงพนังกั้นน้ำชี 2 แห่งยาวประมาณ 30 กม.วงเงินประมาณ 130 ล้านบาท
3. ปรับปรุงประตูระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบ ตามคลองระบายน้ำ 5 แห่ง วงเงิน 683 ล้านบาท
4. ปรับปรุงระบบเก็บกักหนองน้ำขนาดใหญ่พร้อมอาคารประกอบ 2 แห่ง วงเงินประมาณ 70 ล้านบาท
3. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 2 โครงการ วงเงินประมาณ 38 ล้านบาท
3.1 ขุดลอกคลองธรรมชาติสายหลักจำนวน 2 สายเพื่อทำหน้าที่ FLOODWAY วงเงินประมาณ 30 ล้านบาท
3.2 ซ่อมแซมคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำที่ชำรุด 4 แห่ง วงเงินประมาณ 8 ล้านบาท
ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของจังหวัดปราจีนบุรีในระยะยาวกรมชลประทานได้วางแผนก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง อำเภอนาดี จังหวัด
ปราจีนบุรี ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2532 วงเงินประมาณ 6,000 ล้านบาท และปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางพลวง เพื่อ
ให้สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ วงเงินรวมประมาณ 2,000 ล้านบาท
4. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมีวัชพืชที่เกิดขึ้นตามทางน้ำไหลจำนวนมากและกำจัดได้ยาก ซึ่งเป็นทั้งทางน้ำไหลที่กรมชลประทานรับผิดชอบ
และบางส่วนเป็นความรับผิดชอบของท้องถิ่นควรมีการบูรณาการการทำงานในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
5. การแก้ไขปัญหาแม่น้ำสายหลักหรือแม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย ฯลฯ ที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของกรมชล
ประทาน เช่น อยู่ในความรับผิดชอบของกรมขนส่งทางน้ำ ฯลฯ ซึ่งแม่น้ำต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการระบายน้ำ บางช่วงมีสิ่งกีดขวางทางน้ำทำ
ให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ควรมีการบูรณาการกับผู้ที่รับผิดชอบเร่งให้มีการปรับปรุงและบำรุงรักษาทางน้ำ เพื่อให้สะดวกต่อการระบายน้ำในช่วง
อุทกภัย
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (24 กันยายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 52,032 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ
คิดเป็นร้อยละ 76 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 28,712 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ)
น้อยกว่าปี 2550 (52,438 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 406 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 1 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำได้อีก
16,690 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์
เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 384.3 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน
30,859 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 81 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 7,556 และ
7,788 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 56 และ 82 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน
15,344 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯ ทั้งสอง ปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 8,694 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 36
ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 666 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ
ปริมาตรน้ำใช้การได้ 663 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่างฯ ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ (ล้าน ลบ.ม.)
ปริมาตรน้ำ % ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ % ความจุอ่างฯ เฉลี่ย วันนี้ สะสมตั้งแต่
ล้าน ลบ.ม. ล้าน ทั้งปี 1 ม.ค. 51
ลบ.ม.
1) แม่กวงฯ เชียงใหม่ 76 29 62 23 186 2.1 97
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 12 อ่าง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำรับได้
ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม 1 ม.ค. อีก
สิริกิติ์ 7,788 82 4,938 52 5,391 41.7 6,157 1,722
แม่งัดสมบูรณ์ชล 220 63 198 75 332 3.8 261 45
ห้วยหลวง 117 99 112 95 161 1.5 137 1
น้ำอูน 487 94 444 85 443 3.3 367 33
ลำปาว 1,154 81 1,069 75 1,985 23.7 1,678 276
ลำพระเพลิง 111 101 110 100 184 0.5 149 0
สิรินธร 1,665 85 834 42 1,664 19.1 1,585 301
ศรีนครินทร์ 15,270 86 5,005 28 4,339 24.1 2,881 2,475
วชิราลงกรณ 7,161 81 4,169 47 5,369 32.2 4,930 1,679
ขุนด่านปราการชล 207 92 202 90 337 2.01 295 17
หนองปลาไหล 137 83 123 75 203 0.5 95 27
ประแสร์ 238 96 218 88 295 2.9 221 10
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.
นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำยม สถานี Y.20 บ?นห?วยสัก อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และสถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง และ
สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำน่าน สถานี N.64 บ้านผาขวาง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และสถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
สถานี N.67 สะพานบ้านเกศไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำโขง สถานี Kh.97 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และสถานี Kh.104 วัดศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ระดับ
น้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง สถานี Kh.16B บ้านท่าควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มลดลง
แม่น้ำชี สถานี E.91 บ้านหนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม แนวโน้มลดลง สถานี
E.20A บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,615 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 11 ลบ.ม.ต่อ
วินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 1,840 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 22 ลบ.ม.ต่อวินาที) โดยมีระดับ
น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.50 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา +13.70 เมตร.(รทก.) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่ง
ฝั่งตะวันออก 35 ลบ.ม.ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 211 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 33 ลบ.ม.ต่อ
วินาที)
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 23.42 ล้านลบ.ม.โดยได้เร่งระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 1.91
ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 1.79 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำบางปะกง 5.90 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงอ่าวไทย 13.82
ล้าน ลบ.ม.
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 11.91 ล้าน ลบ.ม. โดยได้เร่งระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนวันละ 8.46
ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 3.45 ล้าน ลบ.ม.
สถานีบางไทร (C.29) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเมื่อเวลา 6.00 น. มีปริมาณเฉลี่ย 2,441
ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 2,421 ลบ.ม.ต่อวินาที)
แม่น้ำท่าจีน ที่สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ความจุ 440 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำ 1.22 เมตร
ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.38 เมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำโขง ปัจจุบันระดับน้ำในแม่โขงในภาพรวมอยู่ในสภาวะปกติ มีแนวโน้มลดลง
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำ 400 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 330 ลบ.ม.ต่อวินาที)
เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 451.74 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 446.76 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัยช่วงวันที่ 1 —24 กันยายน 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 45 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 15 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16
จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด และภาคใต้ 1 จังหวัด
ด้านพืช 36 จังหวัด เกษตรกร 181,837 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 2,047,739 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,608,637 ไร่ พืชไร่
400,500 ไร่ พืชสวน 38,516 ไร่
ด้านปศุสัตว์ 16 จังหวัด เกษตรกร 13,828 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 2,853,861 ตัว แบ่งเป็น สุกร-แพะ-แกะ 17,074 ตัว สัตว์
ปีก 2,782,540 ตัว
ด้านประมง 17 จังหวัด เกษตรกร 8,605 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 10,908 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 9,262 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 234
กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 7,349 ตารางเมตร
ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ประมาณการมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น 1,276,344,240 บาท แบ่งเป็น ข้าว
975,383,800 บาท พืชไร่ 300,960,440 บาท
สำหรับการบรรเทาความเดือดร้อนตามระเบียบกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเสนอขอรับสนับสนุนงบกลางต่อ
คณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบัน
ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 22 จังหวัด จำนวน 282 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 38 เครื่อง ดังนี้ จ.กำแพงเพชร 3 เครื่อง พิษณุโลก
6 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง ลพบุรี 41 เครื่อง สิงห์บุรี 31 เครื่อง ปราจีนบุรี 16 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง
อ่างทอง 37 เครื่อง นครราชสีมา 22 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 11 เครื่อง) ขอนแก่น 14 เครื่อง สุพรรณบุรี 26 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 7
เครื่อง) น่าน 14 เครื่อง นครปฐม เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง สกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5 เครื่อง หนองคาย 18
เครื่อง พิจิตร 4 เครื่อง ชัยภูมิ 4 เครื่อง มหาสารคาม 15 เครื่อง และกาฬสินธุ์ 13 เครื่อง
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 26,000 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 11,938 ตัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กันยายน 2551--จบ--
2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย
เนื่องจากเกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลาย
พื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกิดพื้นที่ประสบอุทกภัย 25 จังหวัด ได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก
เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี เลย สระบุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี
ตราด จันทบุรี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และหนองคาย ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ลพบุรี สุโขทัย
พิจิตร หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ปราจีนบุรี และจังหวัดชลบุรี ดังนี้
1. จังหวัดพิษณุโลก ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในลุ่มน้ำวังทอง (น้ำเข็ก) ล้นตลิ่ง
ท่วมพื้นที่จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังทอง (7 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูง 0.10-0.30 เมตร อำเภอเนินมะปราง (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูง
0.10-0.30 เมตร และอำเภอเมือง (4 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 เมตร
ทั้งนี้ โครงการชลประทานพิษณุโลกได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย 8 เครื่อง ที่ อ.พรหมพิราม 1 เครื่อง,ศูนย์วิจัยข้าว
พิษณุโลก 3 เครื่อง,อ.วัดโบสถ์ 2 เครื่อง และอ.เมือง 2 เครื่อง หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์ แต่ยังคงมี
น้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำบางแห่ง
2. จังหวัดลพบุรี เกิดฝนตกหนักวันที่ 12 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลาก ยังมีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 3 อำเภอ
ได้แก่ อำเภอเมือง (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 เมตร อำเภอโคกสำโรง (6 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 เมตร และอำเภอ
บ้านหมี่ (9 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.30-0.80 เมตร ขณะนี้ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 41 เครื่อง เร่งระบายน้ำลงคลองชัยนาท-ป่าสัก หากไม่มี
ฝนตกลงมาเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 สัปดาห์
3. จังหวัดสุโขทัย ตามที่ได้เกิดฝนตกหนัก ทำให้ปริมาณน้ำจากแม่น้ำยมที่ระบายออกทางคลองธรรมชาติทั้ง 2 ฝั่ง ล้นตลิ่งบางช่วง และ
ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในเขตพื้นที่ราบลุ่ม จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (6 ตำบล) อำเภอกงไกรลาศ (5 ตำบล) โดยในขณะนี้ปริมาณน้ำใน
แม่น้ำยมลดระดับลงต่อเนื่องอย่างช้าๆ ซึ่งโครงการชลประทานจังหวัดสุโขทัย ได้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
4. จังหวัดพิจิตร ตามที่ได้มีน้ำจากเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ไหลลงสู่คลองวังแดง ทำให้น้ำเอ่อเข้าท่วมในเขตพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่
อำเภอเมือง ดงเจริญ ทับคล้อ สากเหล็ก ตะพานหิน บางมูลนาก โพทะเล โพธิ์ประทับช้าง และอำเภอวังทรายพูน ปัจจุบันสถานการณ์โดยรวมของ
พื้นที่น้ำท่วมข้างต้นได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยังคงเหลือเพียงน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มบางแห่ง ในพื้นที่ 3 อำเภอได้แก่ อำเภอทับคล้อ (1 ตำบล) อำเภอ
ตะพานหิน จำนวน (2 ตำบล) อำเภอบางมูลนาก (6 ตำบล) ขณะนี้พื้นที่ 3 อำเภอระดับน้ำยังคงสูงประมาณ 0.20 — 0.30 เมตร และกำลังไหล
ลงสู่แม่น้ำน่านตามประตูระบายน้ำต่างๆ ริมแม่น้ำน่าน คาดว่าหากไม่มีฝนตกเพิ่มเติมในบริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และในพื้นที่ ระดับน้ำจะ
กลับเข้าสู่ภาวะปกติภายในปลายเดือนกันยายน 2551 ส่วนฝั่งขวาแม่น้ำยม บริเวณที่ต่ำสุด บ้านกระทุ่มน้ำเดือด ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม ระดับน้ำ
ได้ไหลล้นตลิ่งเข้าพื้นที่เป็นบางจุด ซึ่งเป็นพื้นที่การเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้วประกอบกับเป็นพื้นที่ท่วมขังเดิมเนื่องจากฝนตกในพื้นที่สะสมรวมกันแต่ยังไม่
วิกฤติ
5. จังหวัดหนองบัวลำภู เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ และน้ำจากภูเขาในพื้นที่จังหวัดไหลลงสู่คลองพะเนียง เข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่
อำเภอนากลาง (9 ตำบล) อำเภอเมือง (14 ตำบล) อำเภอศรีบุญเรือง (11 ตำบล)
6. จังหวัดชัยภูมิ จากฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวัน ตั้งแต่วันที่ 10-18 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำไหลล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 15
อำเภอ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ อำเภอเมือง ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-0.80 เมตร และพื้นที่ริมฝั่งลำน้ำชี ในเขตตำบลลุ่ม
น้ำชี อำเภอบ้านเขว้า ทั้งนี้โครงการชลประทานชัยภูมิได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือการระบายน้ำในเขตเทศบาล จำนวน 4 เครื่อง
7. จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากฝนที่ตกชุกติดต่อกัน ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่ครอบคลุม 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านแฮ
ด อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชำสูง อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอพล อำเภอหนองนาคำ และอำเภอภูผาม่าน ปัจจุบัน
สถานการณ์โดยรวมของพื้นที่น้ำท่วมข้างต้นได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยังคงเหลือเพียงน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มบางแห่ง ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ
เมือง (1 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร อำเภอชนบท (2 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-1.20 เมตร อำเภอบ้านแฮด (4
ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร อำเภอบ้านไผ่ (3 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 -0.60 เมตร
8. จังหวัดนครราชสีมา ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักท้ายเขื่อนลำตะคอง ทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ในเขตพื้นที่ ตำบลขาม
ทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ และ ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมในเขตอำเภอเมือง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ระดับน้ำมีแนว
โน้มลดลงตลอดเวลา ทั้งนี้ กรมชลประทานโดยโครงการส่งน้ำฯ ลำตะคอง ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เข้าช่วยเหลือจำนวน 11 เครื่อง และเครื่อง
สูบน้ำจำนวน 8 เครื่อง คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1-2 วัน
9. จังหวัดกาฬสินธุ์ มีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกมลาไสย (6 ตำบล) อำเภอเมือง (2 ตำบล) อำเภอยางตลาด (1
ตำบล) อำเภอฆ้องชัยพัฒนา (1ตำบล) ทั้งนี้กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 6 ได้ส่งเครื่อง สูบน้ำเข้าช่วยเหลือจำนวน 13 เครื่อง
10. จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 13 อำเภอ 112 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอกันทรวิชัย อำเภอแกคำ อำเภอยางสีสุ
ราช อำเภอนาเชือก อำเภอนาดูน อำเภอชื่นชม อำเภอบรบือ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอวาปีปทุม อำเภอกุดรัง อำเภอเชียงยืน และอำเภอพยัคฆภู
พิสัย ทั้งนี้ โครงการชลประทานมหาสารคาม ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ รวมจำนวน 15 เครื่อง
11. จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี (8 ตำบล 1 เทศบาล) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.20-0.30 เมตร อำเภอเมือง (11 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร อำเภอศรีมหาโพธิ (10 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.20-0.30 เมตร ทั้งนี้โครงการชลประทานปราจีนบุรีได้เตรียมพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้จำนวน 12 เครื่อง ปัจจุบันได้ติดตั้งไปแล้ว 9 เครื่อง
(ติดตั้งในเขตกบินทร์บุรี อำเภอศรีโพธิ์ และอำเภอเมือง)
12. จังหวัดชลบุรี เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ น้ำล้นตลิ่งและเข้าท่วมพื้นที่ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง ในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอ
พนัสนิคม (4 ตำบล) น้ำท่วมสูงประมาณ 0.20 เมตร อำเภอพานทอง (3 ตำบล) น้ำท่วมสูงประมาณ 0.10 เมตร ระดับน้ำทรงตัว
ขณะนี้โครงการชลประทานชลบุรีได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำจำนวน 2 เครื่องและเร่งระบายน้ำโดยการเปิดประตูระบายน้ำปากคลองบาง
แสม,ประตูระบายน้ำปลายคลองบางแสม,ประตูระบายน้ำพานทอง และ ประตูระบายน้ำตำหรุลงสู่แม่น้ำบางปะกง คาดว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่สภาวะ
ปกติภายใน 1-2 วันนี้
จากปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้พบว่ามีงานที่ต้องเร่งรัดดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขระยะเร่งด่วน ดังนี้
1. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 4 โครงการ วงเงินประมาณ 500 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.1 โครงการก่อสร้างคลองผันน้ำเลี่ยงเมือง 2 แห่ง วงเงินประมาณ 15 ล้านบาท
1.2 โครงการขุดลอกลำห้วย 3 สาย วงเงินประมาณ 85 ล้านบาท
1.3 ก่อสร้างประตูระบายน้ำสำหรับควบคุมการระบายน้ำ 4 แห่ง วงเงินประมาณ 330 ล้านบาท
1.4 ติดตั้งปั๊มสูบน้ำถาวร 1 แห่ง วงเงินประมาณ 70 ล้านบาท
2. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตจังหวัดขอนแก่น รวม 4 โครงการ วงเงินรวม 211.5 ล้านบาทประกอบด้วย
2.1 เสริมคันกั้นน้ำเขตและซ่อมแซมทำนบดิน และระบบส่งน้ำ อ่างฯ ห้วยเตย อ.เมือง วงเงินประมาณ 3.5 ล้านบาท
2.2 การป้องกันปัญหาน้ำท่วมเขตอำเภอบ้านแฮด รวม 3 โครงการ วงเงินประมาณ 208 ล้านบาท
2.2.1 ก่อสร้างอาคารระบายน้ำอ่างฯ แก่งละว้า วงเงินประมาณ 8 ล้านบาท
2.2.2 ก่อสร้างประตูระบายน้ำห้วยน้ำลัด 2 แห่ง พร้อมขุดลอกลำห้วยยาว 12 กม.วงเงินประมาณ 87 ล้านบาท
2.2.3 ก่อสร้างพนังกั้นน้ำชีก่อสร้างพนังกั้นน้ำชีพร้อมอาคารประกอบ ความยาว 20 กม. วงเงินประมาณ 113 ล้านบาท
ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของจังหวัดขอนแก่นในระยะยาวกรมชลประทานได้วางแผนดำเนินการไว้ 4 โครงการ วงเงิน 1,053 ล้าน
บาท ดังนี้
1. ปรับปรุงคันกั้นน้ำคลองระบายห้วยพระคือ 15 กม. วงเงินประมาณ 15 กม. วงเงินประมาณ 170 ล้านบาท
2. ปรับปรุงพนังกั้นน้ำชี 2 แห่งยาวประมาณ 30 กม.วงเงินประมาณ 130 ล้านบาท
3. ปรับปรุงประตูระบายน้ำพร้อมอาคารประกอบ ตามคลองระบายน้ำ 5 แห่ง วงเงิน 683 ล้านบาท
4. ปรับปรุงระบบเก็บกักหนองน้ำขนาดใหญ่พร้อมอาคารประกอบ 2 แห่ง วงเงินประมาณ 70 ล้านบาท
3. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 2 โครงการ วงเงินประมาณ 38 ล้านบาท
3.1 ขุดลอกคลองธรรมชาติสายหลักจำนวน 2 สายเพื่อทำหน้าที่ FLOODWAY วงเงินประมาณ 30 ล้านบาท
3.2 ซ่อมแซมคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำที่ชำรุด 4 แห่ง วงเงินประมาณ 8 ล้านบาท
ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของจังหวัดปราจีนบุรีในระยะยาวกรมชลประทานได้วางแผนก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง อำเภอนาดี จังหวัด
ปราจีนบุรี ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2532 วงเงินประมาณ 6,000 ล้านบาท และปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางพลวง เพื่อ
ให้สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ วงเงินรวมประมาณ 2,000 ล้านบาท
4. การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมีวัชพืชที่เกิดขึ้นตามทางน้ำไหลจำนวนมากและกำจัดได้ยาก ซึ่งเป็นทั้งทางน้ำไหลที่กรมชลประทานรับผิดชอบ
และบางส่วนเป็นความรับผิดชอบของท้องถิ่นควรมีการบูรณาการการทำงานในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
5. การแก้ไขปัญหาแม่น้ำสายหลักหรือแม่น้ำสายสำคัญ เช่น แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย ฯลฯ ที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของกรมชล
ประทาน เช่น อยู่ในความรับผิดชอบของกรมขนส่งทางน้ำ ฯลฯ ซึ่งแม่น้ำต่างๆ เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการระบายน้ำ บางช่วงมีสิ่งกีดขวางทางน้ำทำ
ให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ควรมีการบูรณาการกับผู้ที่รับผิดชอบเร่งให้มีการปรับปรุงและบำรุงรักษาทางน้ำ เพื่อให้สะดวกต่อการระบายน้ำในช่วง
อุทกภัย
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (24 กันยายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 52,032 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ
คิดเป็นร้อยละ 76 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 28,712 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ)
น้อยกว่าปี 2550 (52,438 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 406 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 1 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำได้อีก
16,690 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์
เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 384.3 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน
30,859 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 81 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 7,556 และ
7,788 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 56 และ 82 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน
15,344 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯ ทั้งสอง ปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 8,694 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 36
ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 666 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ
ปริมาตรน้ำใช้การได้ 663 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่างฯ ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ (ล้าน ลบ.ม.)
ปริมาตรน้ำ % ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ % ความจุอ่างฯ เฉลี่ย วันนี้ สะสมตั้งแต่
ล้าน ลบ.ม. ล้าน ทั้งปี 1 ม.ค. 51
ลบ.ม.
1) แม่กวงฯ เชียงใหม่ 76 29 62 23 186 2.1 97
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 12 อ่าง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำรับได้
ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม 1 ม.ค. อีก
สิริกิติ์ 7,788 82 4,938 52 5,391 41.7 6,157 1,722
แม่งัดสมบูรณ์ชล 220 63 198 75 332 3.8 261 45
ห้วยหลวง 117 99 112 95 161 1.5 137 1
น้ำอูน 487 94 444 85 443 3.3 367 33
ลำปาว 1,154 81 1,069 75 1,985 23.7 1,678 276
ลำพระเพลิง 111 101 110 100 184 0.5 149 0
สิรินธร 1,665 85 834 42 1,664 19.1 1,585 301
ศรีนครินทร์ 15,270 86 5,005 28 4,339 24.1 2,881 2,475
วชิราลงกรณ 7,161 81 4,169 47 5,369 32.2 4,930 1,679
ขุนด่านปราการชล 207 92 202 90 337 2.01 295 17
หนองปลาไหล 137 83 123 75 203 0.5 95 27
ประแสร์ 238 96 218 88 295 2.9 221 10
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.
นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำยม สถานี Y.20 บ?นห?วยสัก อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และสถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง และ
สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำน่าน สถานี N.64 บ้านผาขวาง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และสถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
สถานี N.67 สะพานบ้านเกศไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำโขง สถานี Kh.97 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และสถานี Kh.104 วัดศรีบุญเรือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ระดับ
น้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง สถานี Kh.16B บ้านท่าควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มลดลง
แม่น้ำชี สถานี E.91 บ้านหนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม แนวโน้มลดลง สถานี
E.20A บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,615 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 11 ลบ.ม.ต่อ
วินาที) อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา (C.13) 1,840 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 22 ลบ.ม.ต่อวินาที) โดยมีระดับ
น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.50 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา +13.70 เมตร.(รทก.) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่ง
ฝั่งตะวันออก 35 ลบ.ม.ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อวาน) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 211 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 33 ลบ.ม.ต่อ
วินาที)
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 23.42 ล้านลบ.ม.โดยได้เร่งระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 1.91
ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 1.79 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำบางปะกง 5.90 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงอ่าวไทย 13.82
ล้าน ลบ.ม.
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 11.91 ล้าน ลบ.ม. โดยได้เร่งระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนวันละ 8.46
ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 3.45 ล้าน ลบ.ม.
สถานีบางไทร (C.29) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเมื่อเวลา 6.00 น. มีปริมาณเฉลี่ย 2,441
ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 2,421 ลบ.ม.ต่อวินาที)
แม่น้ำท่าจีน ที่สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ความจุ 440 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำ 1.22 เมตร
ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.38 เมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
แม่น้ำโขง ปัจจุบันระดับน้ำในแม่โขงในภาพรวมอยู่ในสภาวะปกติ มีแนวโน้มลดลง
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำ 400 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 330 ลบ.ม.ต่อวินาที)
เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 451.74 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 446.76 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัยช่วงวันที่ 1 —24 กันยายน 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 45 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 15 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16
จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด และภาคใต้ 1 จังหวัด
ด้านพืช 36 จังหวัด เกษตรกร 181,837 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 2,047,739 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,608,637 ไร่ พืชไร่
400,500 ไร่ พืชสวน 38,516 ไร่
ด้านปศุสัตว์ 16 จังหวัด เกษตรกร 13,828 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 2,853,861 ตัว แบ่งเป็น สุกร-แพะ-แกะ 17,074 ตัว สัตว์
ปีก 2,782,540 ตัว
ด้านประมง 17 จังหวัด เกษตรกร 8,605 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 10,908 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 9,262 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 234
กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 7,349 ตารางเมตร
ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ประมาณการมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น 1,276,344,240 บาท แบ่งเป็น ข้าว
975,383,800 บาท พืชไร่ 300,960,440 บาท
สำหรับการบรรเทาความเดือดร้อนตามระเบียบกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเสนอขอรับสนับสนุนงบกลางต่อ
คณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบัน
ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 22 จังหวัด จำนวน 282 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 38 เครื่อง ดังนี้ จ.กำแพงเพชร 3 เครื่อง พิษณุโลก
6 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง ลพบุรี 41 เครื่อง สิงห์บุรี 31 เครื่อง ปราจีนบุรี 16 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง
อ่างทอง 37 เครื่อง นครราชสีมา 22 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 11 เครื่อง) ขอนแก่น 14 เครื่อง สุพรรณบุรี 26 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 7
เครื่อง) น่าน 14 เครื่อง นครปฐม เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง สกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5 เครื่อง หนองคาย 18
เครื่อง พิจิตร 4 เครื่อง ชัยภูมิ 4 เครื่อง มหาสารคาม 15 เครื่อง และกาฬสินธุ์ 13 เครื่อง
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 26,000 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 11,938 ตัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 กันยายน 2551--จบ--