คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 19 ช่วงวันที่ 25-29กันยายน
2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย
เนื่องจากเกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลาย
พื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกิดพื้นที่ประสบอุทกภัย 26 จังหวัด ได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก
เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา เลย สระบุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี
ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด จันทบุรี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และหนองคาย ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
พิษณุโลก ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปราจีนบุรี ดังนี้
1. จังหวัดพิษณุโลก ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในลุ่มน้ำวังทอง (น้ำเข็ก) ล้นตลิ่ง
ท่วมพื้นที่จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังทอง (7 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูง 0.10-0.30 เมตร อำเภอเมือง (4 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.10-0.40 เมตร และอำเภอบางระกำ (1 ตำบล) ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี
ทั้งนี้ โครงการชลประทานพิษณุโลกได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย 8 เครื่อง ที่ อ.พรหมพิราม 1 เครื่อง,ศูนย์วิจัยข้าว
พิษณุโลก 3 เครื่อง,อ.วัดโบสถ์ 2 เครื่อง และอ.เมือง 2 เครื่อง หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์ แต่ยังคงมี
น้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำบางแห่ง
2. จังหวัดลพบุรี เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในช่วงวันที่ 11-16 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลาก ยังมีพื้นที่ประสบภัย
จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (5 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.90 เมตร และอำเภอบ้านหมี่ (9 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.30-0.80
เมตร ขณะนี้ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 41 เครื่อง เร่งระบายน้ำลงคลองชัยนาท-ป่าสัก หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติ
ประมาณกลางเดือนตุลาคม
3. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย มีปริมาณสูงขึ้น เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ
ที่ติดริมน้ำ รวม 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ (2 ตำบล) อำเภอบางบาล (4 ตำบล) อำเภอเสนา (7 ตำบล) อำเภอบางไทร (21 ตำบล)
อำเภอมหาราช (10 ตำบล) อำเภอนครหลวง (3 ตำบล) อำเภอพระนครศรีอยุธยา (14 ตำบล) ในส่วนของอำเภอบ้านแพรก และอำเภอ
บางปะอิน อยู่ระหว่างการสำรวจ
4. จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากฝนที่ตกชุกติดต่อกันในช่วงวันที่ 15-16 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่ครอบคลุม 10
อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านแฮด อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชำสูง อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอพล อำเภอหนอง
นาคำ และอำเภอภูผาม่าน ปัจจุบันสถานการณ์โดยรวมของพื้นที่น้ำท่วมข้างต้นได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยังคงเหลือเพียงน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มบางแห่ง ใน
พื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (1 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร อำเภอชนบท (2 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-
1.00 เมตร อำเภอบ้านแฮด (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร อำเภอบ้านไผ่ (3 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 -0.60 เมตร
5. จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี (8 ตำบล 1 เทศบาล) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.20-0.30 เมตร อำเภอเมือง (11 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร อำเภอศรีมหาโพธิ (10 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.20-0.30 เมตร ทั้งนี้โครงการชลประทานปราจีนบุรีได้เตรียมพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้จำนวน 12 เครื่อง ปัจจุบันได้ติดตั้งไปแล้ว 10 เครื่อง
(ติดตั้งในเขตกบินทร์บุรี อำเภอศรีโพธิ์ และอำเภอเมือง)
6. จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 13 อำเภอ 112 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอกันทรวิชัย อำเภอแกคำ อำเภอยางสีสุ
ราช อำเภอนาเชือก อำเภอนาดูน อำเภอชื่นชม อำเภอบรบือ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอวาปีปทุม อำเภอกุดรัง อำเภอเชียงยืน และอำเภอพยัคฆภูมิ
พิสัย ทั้งนี้ โครงการชลประทานมหาสารคาม ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ รวมจำนวน 15 เครื่อง
7. จังหวัดกาฬสินธุ์ มีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกมลาไสย (6 ตำบล) อำเภอเมือง (2 ตำบล) อำเภอยางตลาด (1
ตำบล) อำเภอฆ้องชัยพัฒนา (1 ตำบล) ทั้งนี้กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 6 ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือจำนวน 13 เครื่อง
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (28 กันยายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 52,642 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ
คิดเป็นร้อยละ 77 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 29,239 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ)
น้อยกว่าปี 2550 (52,840 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 198 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 0.37 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำได้อีก
15,847 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์
เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 271.90 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน
32,036 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 84 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 7,646 และ
7,859 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 57 และ 83 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน
15,505 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯ ทั้งสอง ปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 8,855 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 39
ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 720 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ
ปริมาตรน้ำใช้การได้ 717 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่างฯ ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ (ล้าน ลบ.)
ปริมาตรน้ำ % ความ ปริมาตรน้ำ % ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสมตั้งแต่
ล้าน ลบ.ม. จุอ่างฯ ล้าน ลบ.ม. 1 ม.ค. 51
1) แม่กวงฯ เชียงใหม่ 77 29 63 24 186 1 101
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 13 อ่าง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำรับ
ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม 1 ม.ค. ได้อีก
สิริกิติ์ 77,859 83 5,009 52 5,391 25.3 6,262 1,651
แม่งัดสมบูรณ์ชล 226 85 204 77 332 1.8 291 39
ห้วยหลวง 119 100 114 96 161 0.3 139 0
น้ำอูน 487 94 444 85 443 2.1 375 33
อุบลรัตน์ 1,975 87 1,565 67 2,271 53.3 2,670 289
ลำปาว 1,169 82 1,084 76 1,985 11.4 1,729 261
ลำพระเพลิง 109 99 108 98 184 0.3 145 0
สิรินธร 1,659 84 828 42 1,664 13.9 1,618 307
ศรีนครินทร์ 15,342 86 4,252 48 5,369 37.2 5,098 1,596
วชิราลงกรณ 7,264 82 4,252 48 5,369 37.2 5,098 1,596
ขุนด่านปราการชล 203 91 198 89 337 1.16 300 21
หนองปลาไหล 138 84 124 76 203 1 98 26
ประแสร์ 230 93 210 85 295 2.5 229 18
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี
P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำยม สถานี Y.20 บ?นห?วยสัก อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และสถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง และ
สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำน่าน สถานี N.64 บ้านผาขวาง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และสถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
สถานี N.67 สะพานบ้านเกศไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำโขง สถานี Kh.97 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี Kh.104 วัดศรีบุญเรือง
อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง สถานี Kh.16B บ้านท่าควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระดับน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำชี สถานี E.91 บ้านหนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม แนวโน้มลดลง สถานี
E.20A บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,572 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อน
เจ้าพระยา (C.13) 1,522 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 53 ลบ.ม.ต่อวินาที) โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.50 เมตร.(รท
ก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา +12.82 เมตร.(รทก.) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 39 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจาก
เมื่อวาน 4 ลบ.ม.ต่อวินาที) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 303 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 28 ลบ.ม.ต่อวินาที)
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 21.33 ล้านลบ.ม.โดยได้เร่งระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 1.74
ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 1.88 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำบางปะกง 5.64 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงอ่าวไทย 12.07
ล้าน ลบ.ม.
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 11.69 ล้าน ลบ.ม. โดยได้เร่งระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนวันละ 6.96
ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 4.73 ล้าน ลบ.ม.
สถานีบางไทร (C.29) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเมื่อเวลา 6.00 น. มีปริมาณเฉลี่ย 2,254
ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 2,454 ลบ.ม.ต่อวินาที)
แม่น้ำท่าจีน ที่สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ความจุ 440 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำ 1.20 เมตร
ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.40 เมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำ 400 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 252 ลบ.ม.ต่อวินาที)
เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 378.00 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 407.34 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อิทธิพลน้ำทะเลในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพุทธ (C.4) ระดับน้ำสูงสุดเมื่อวานนี้ +1.54 เมตร รทก.เวลา 18.00 น.คาดว่า
ระดับน้ำสูงสุดในวันนี้ (28 กันยายน 2551) ระดับ +1.48 เมตร เวลา 19.45 น.
โครงการลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เปิดการระบายน้ำในช่วงจังหวัดน้ำทะเลลง รวม 24 ชั่วโมง ประมาณวันละ
26.31 ล้าน ลบ.ม.(304.50 ลบ.ม./วินาที)
ผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัยช่วงวันที่ 1 —29 กันยายน 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 46 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 16 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16
จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด และภาคใต้ 1 จังหวัด รวมประมาณการการช่วยเหลือ 1,902,172,990 บาท
ด้านพืช 38 จังหวัด เกษตรกร 229,186 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 2,483,523 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,902,636 ไร่ พืชไร่
517,262 ไร่ พืชสวน 63,625 ไร่ ประมาณการช่วยเหลือ 1,643,971,254 บาท
ด้านปศุสัตว์ 21 จังหวัด เกษตรกร 17,759 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 2,924,400 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 84,100 ตัว สุกร-
แพะ-แกะ 18,573 ตัว สัตว์ปีก 2,821,727 ตัว แปลงหญ้า 645 ไร่ ประมาณการช่วยเหลือ 39,003,188 บาท
ด้านประมง 24 จังหวัด เกษตรกร 46,582 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 55,752 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 59,386 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 487
กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 11,646 ตารางเมตร ประมาณการช่วยเหลือ 219,198,548 บาท
ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ประมาณการมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 1,388 ล้านบาท แบ่งเป็น ข้าว
1,074 ล้านบาท พืชไร่ 314 ล้านบาท ส่วนพืชสวนคาดว่าไม่มีความเสียหาย โดยที่จังหวัดลพบุรีได้รับความเสียหายมากสุด ประมาณ 530 ล้านบาท
จากข้าว 368 ล้านบาท และพืชไร่ 162 ล้านบาท
สำหรับการบรรเทาความเดือดร้อนตามระเบียบกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเสนอขอรับสนับสนุนงบกลางต่อ
คณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบัน
ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 22 จังหวัด จำนวน 280 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 38 เครื่อง ดังนี้ จ.กำแพงเพชร 3 เครื่อง พิษณุโลก
6 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง ลพบุรี 41 เครื่อง สิงห์บุรี 31 เครื่อง ปราจีนบุรี 17 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง
อ่างทอง 37 เครื่อง นครราชสีมา 22 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 11 เครื่อง) ขอนแก่น 14 เครื่อง สุพรรณบุรี 26 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 7
เครื่อง) น่าน 14 เครื่อง นครปฐม เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง สกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5 เครื่อง หนองคาย 18
เครื่อง พิจิตร 4 เครื่อง ชัยภูมิ 4 เครื่อง และกาฬสินธุ์ 13 เครื่อง
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 26,000 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 11,938 ตัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2551--จบ--
2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย
เนื่องจากเกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลาย
พื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก เกิดพื้นที่ประสบอุทกภัย 26 จังหวัด ได้แก่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก
เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา เลย สระบุรี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี
ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด จันทบุรี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และหนองคาย ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
พิษณุโลก ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดปราจีนบุรี ดังนี้
1. จังหวัดพิษณุโลก ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในลุ่มน้ำวังทอง (น้ำเข็ก) ล้นตลิ่ง
ท่วมพื้นที่จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวังทอง (7 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูง 0.10-0.30 เมตร อำเภอเมือง (4 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.10-0.40 เมตร และอำเภอบางระกำ (1 ตำบล) ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี
ทั้งนี้ โครงการชลประทานพิษณุโลกได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย 8 เครื่อง ที่ อ.พรหมพิราม 1 เครื่อง,ศูนย์วิจัยข้าว
พิษณุโลก 3 เครื่อง,อ.วัดโบสถ์ 2 เครื่อง และอ.เมือง 2 เครื่อง หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์ แต่ยังคงมี
น้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำบางแห่ง
2. จังหวัดลพบุรี เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องในช่วงวันที่ 11-16 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังและน้ำป่าไหลหลาก ยังมีพื้นที่ประสบภัย
จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (5 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.90 เมตร และอำเภอบ้านหมี่ (9 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.30-0.80
เมตร ขณะนี้ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 41 เครื่อง เร่งระบายน้ำลงคลองชัยนาท-ป่าสัก หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม คาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติ
ประมาณกลางเดือนตุลาคม
3. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย มีปริมาณสูงขึ้น เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ
ที่ติดริมน้ำ รวม 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอผักไห่ (2 ตำบล) อำเภอบางบาล (4 ตำบล) อำเภอเสนา (7 ตำบล) อำเภอบางไทร (21 ตำบล)
อำเภอมหาราช (10 ตำบล) อำเภอนครหลวง (3 ตำบล) อำเภอพระนครศรีอยุธยา (14 ตำบล) ในส่วนของอำเภอบ้านแพรก และอำเภอ
บางปะอิน อยู่ระหว่างการสำรวจ
4. จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากฝนที่ตกชุกติดต่อกันในช่วงวันที่ 15-16 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่ครอบคลุม 10
อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอบ้านแฮด อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชำสูง อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอพล อำเภอหนอง
นาคำ และอำเภอภูผาม่าน ปัจจุบันสถานการณ์โดยรวมของพื้นที่น้ำท่วมข้างต้นได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยังคงเหลือเพียงน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มบางแห่ง ใน
พื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมือง (1 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 เมตร อำเภอชนบท (2 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-
1.00 เมตร อำเภอบ้านแฮด (4 ตำบล) ระดับน้ำสูง 0.20-0.60 เมตร อำเภอบ้านไผ่ (3 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20 -0.60 เมตร
5. จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี (8 ตำบล 1 เทศบาล) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.20-0.30 เมตร อำเภอเมือง (11 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 เมตร อำเภอศรีมหาโพธิ (10 ตำบล) ระดับน้ำสูงประมาณ
0.20-0.30 เมตร ทั้งนี้โครงการชลประทานปราจีนบุรีได้เตรียมพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำไว้จำนวน 12 เครื่อง ปัจจุบันได้ติดตั้งไปแล้ว 10 เครื่อง
(ติดตั้งในเขตกบินทร์บุรี อำเภอศรีโพธิ์ และอำเภอเมือง)
6. จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 13 อำเภอ 112 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอกันทรวิชัย อำเภอแกคำ อำเภอยางสีสุ
ราช อำเภอนาเชือก อำเภอนาดูน อำเภอชื่นชม อำเภอบรบือ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอวาปีปทุม อำเภอกุดรัง อำเภอเชียงยืน และอำเภอพยัคฆภูมิ
พิสัย ทั้งนี้ โครงการชลประทานมหาสารคาม ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ รวมจำนวน 15 เครื่อง
7. จังหวัดกาฬสินธุ์ มีน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกมลาไสย (6 ตำบล) อำเภอเมือง (2 ตำบล) อำเภอยางตลาด (1
ตำบล) อำเภอฆ้องชัยพัฒนา (1 ตำบล) ทั้งนี้กรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 6 ได้ส่งเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือจำนวน 13 เครื่อง
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (28 กันยายน 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 52,642 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ
คิดเป็นร้อยละ 77 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 29,239 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ)
น้อยกว่าปี 2550 (52,840 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 198 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 0.37 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำได้อีก
15,847 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์
เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 271.90 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน
32,036 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 84 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 7,646 และ
7,859 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 57 และ 83 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน
15,505 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯ ทั้งสอง ปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 8,855 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 39
ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 720 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ
ปริมาตรน้ำใช้การได้ 717 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่างฯ ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ จังหวัด ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ (ล้าน ลบ.)
ปริมาตรน้ำ % ความ ปริมาตรน้ำ % ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสมตั้งแต่
ล้าน ลบ.ม. จุอ่างฯ ล้าน ลบ.ม. 1 ม.ค. 51
1) แม่กวงฯ เชียงใหม่ 77 29 63 24 186 1 101
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 13 อ่าง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำรับ
ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม 1 ม.ค. ได้อีก
สิริกิติ์ 77,859 83 5,009 52 5,391 25.3 6,262 1,651
แม่งัดสมบูรณ์ชล 226 85 204 77 332 1.8 291 39
ห้วยหลวง 119 100 114 96 161 0.3 139 0
น้ำอูน 487 94 444 85 443 2.1 375 33
อุบลรัตน์ 1,975 87 1,565 67 2,271 53.3 2,670 289
ลำปาว 1,169 82 1,084 76 1,985 11.4 1,729 261
ลำพระเพลิง 109 99 108 98 184 0.3 145 0
สิรินธร 1,659 84 828 42 1,664 13.9 1,618 307
ศรีนครินทร์ 15,342 86 4,252 48 5,369 37.2 5,098 1,596
วชิราลงกรณ 7,264 82 4,252 48 5,369 37.2 5,098 1,596
ขุนด่านปราการชล 203 91 198 89 337 1.16 300 21
หนองปลาไหล 138 84 124 76 203 1 98 26
ประแสร์ 230 93 210 85 295 2.5 229 18
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี
P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำยม สถานี Y.20 บ?นห?วยสัก อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และสถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง และ
สถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำน่าน สถานี N.64 บ้านผาขวาง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และสถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
สถานี N.67 สะพานบ้านเกศไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำโขง สถานี Kh.97 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี Kh.104 วัดศรีบุญเรือง
อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง สถานี Kh.16B บ้านท่าควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ระดับน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำชี สถานี E.91 บ้านหนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม แนวโน้มลดลง สถานี
E.20A บ้านฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ท่วม แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,572 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อน
เจ้าพระยา (C.13) 1,522 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 53 ลบ.ม.ต่อวินาที) โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.50 เมตร.(รท
ก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา +12.82 เมตร.(รทก.) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 39 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจาก
เมื่อวาน 4 ลบ.ม.ต่อวินาที) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 303 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 28 ลบ.ม.ต่อวินาที)
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 21.33 ล้านลบ.ม.โดยได้เร่งระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 1.74
ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 1.88 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำบางปะกง 5.64 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงอ่าวไทย 12.07
ล้าน ลบ.ม.
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 11.69 ล้าน ลบ.ม. โดยได้เร่งระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนวันละ 6.96
ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 4.73 ล้าน ลบ.ม.
สถานีบางไทร (C.29) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเมื่อเวลา 6.00 น. มีปริมาณเฉลี่ย 2,254
ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 2,454 ลบ.ม.ต่อวินาที)
แม่น้ำท่าจีน ที่สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ความจุ 440 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำ 1.20 เมตร
ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.40 เมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำ 400 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 252 ลบ.ม.ต่อวินาที)
เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 378.00 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 407.34 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อิทธิพลน้ำทะเลในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพุทธ (C.4) ระดับน้ำสูงสุดเมื่อวานนี้ +1.54 เมตร รทก.เวลา 18.00 น.คาดว่า
ระดับน้ำสูงสุดในวันนี้ (28 กันยายน 2551) ระดับ +1.48 เมตร เวลา 19.45 น.
โครงการลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เปิดการระบายน้ำในช่วงจังหวัดน้ำทะเลลง รวม 24 ชั่วโมง ประมาณวันละ
26.31 ล้าน ลบ.ม.(304.50 ลบ.ม./วินาที)
ผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัยช่วงวันที่ 1 —29 กันยายน 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 46 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 16 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16
จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 6 จังหวัด และภาคใต้ 1 จังหวัด รวมประมาณการการช่วยเหลือ 1,902,172,990 บาท
ด้านพืช 38 จังหวัด เกษตรกร 229,186 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 2,483,523 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 1,902,636 ไร่ พืชไร่
517,262 ไร่ พืชสวน 63,625 ไร่ ประมาณการช่วยเหลือ 1,643,971,254 บาท
ด้านปศุสัตว์ 21 จังหวัด เกษตรกร 17,759 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 2,924,400 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 84,100 ตัว สุกร-
แพะ-แกะ 18,573 ตัว สัตว์ปีก 2,821,727 ตัว แปลงหญ้า 645 ไร่ ประมาณการช่วยเหลือ 39,003,188 บาท
ด้านประมง 24 จังหวัด เกษตรกร 46,582 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 55,752 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 59,386 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 487
กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 11,646 ตารางเมตร ประมาณการช่วยเหลือ 219,198,548 บาท
ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ประมาณการมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 1,388 ล้านบาท แบ่งเป็น ข้าว
1,074 ล้านบาท พืชไร่ 314 ล้านบาท ส่วนพืชสวนคาดว่าไม่มีความเสียหาย โดยที่จังหวัดลพบุรีได้รับความเสียหายมากสุด ประมาณ 530 ล้านบาท
จากข้าว 368 ล้านบาท และพืชไร่ 162 ล้านบาท
สำหรับการบรรเทาความเดือดร้อนตามระเบียบกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเสนอขอรับสนับสนุนงบกลางต่อ
คณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบัน
ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 22 จังหวัด จำนวน 280 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 38 เครื่อง ดังนี้ จ.กำแพงเพชร 3 เครื่อง พิษณุโลก
6 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง ลพบุรี 41 เครื่อง สิงห์บุรี 31 เครื่อง ปราจีนบุรี 17 เครื่อง พระนครศรีอยุธยา 1 เครื่อง
อ่างทอง 37 เครื่อง นครราชสีมา 22 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 11 เครื่อง) ขอนแก่น 14 เครื่อง สุพรรณบุรี 26 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 7
เครื่อง) น่าน 14 เครื่อง นครปฐม เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง สกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5 เครื่อง หนองคาย 18
เครื่อง พิจิตร 4 เครื่อง ชัยภูมิ 4 เครื่อง และกาฬสินธุ์ 13 เครื่อง
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 26,000 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 11,938 ตัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2551--จบ--