คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัย ในห้วงวันที่ 11-29 กันยายน 2551 สรุปสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นรวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 29 กันยายน 2551) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11-29 กันยายน 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 27 จังหวัด 172 อำเภอ 946 ตำบล 6,409 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดตาก พิจิตร แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด และจังหวัดจันทบุรี
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 19 คน จ.ปราจีนบุรี 3 คน (อ.กบินทร์ อ.ศรีมหาโพธิ อ.เมืองฯ) จ.สระบุรี 2 คน (อ.แก่งคอย 1 คน อ.มวกเหล็ก 1 คน) จ.นครราชสีมา 2 คน (อ.ปากช่อง 1 คน อ.ปักธงชัย 1 คน) จ.ลพบุรี 2 คน (อ.โคกสำโรง 1 คน อ.สระโบสถ์ 1 คน) จ.หนองบัวลำภู 4 คน (อ.เมือง 3 คน อ.นากลาง 1 คน) จ.แม่ฮ่องสอน 1 คน (อ.แม่สะเรียง) จ.พิษณุโลก 2 คน (อ.วัดโบสถ์ 1 คน อ.วังทอง 1 คน) จ.นครสวรรค์ 1 คน (อ.ลาดยาว) จ.ขอนแก่น 2 คน (อ.บ้านไผ่ 1 คน อ.พระยืน 1 คน)
- สูญหาย 1 คน (อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก)
- ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 294,587 ครัวเรือน 1,014,000 คน
2) ด้านทรัพย์สิน (เบื้องต้น) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง บางส่วน 2,621 หลัง ถนน 1,865 สาย สะพาน 71 แห่ง ทำนบ/ฝาย 251 แห่ง วัด 24 แห่ง โรงเรียน 11 แห่ง สถานที่ราชการ 18 แห่ง ปศุสัตว์ 311 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 6,273 บ่อ ท่อระบายน้ำ 36 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 380,212 ไร่
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 261,754,854 บาท
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน
- สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ตาก นครนายก สุโขทัย พะเยา พิจิตร ลำปาง แม่ฮ่องสอน เลย มหาสารคาม นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ สระบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ชลบุรี และจังหวัดจันทบุรี
- ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ขอนแก่น และจังหวัดปราจีนบุรี รวม 20 อำเภอ 121 ตำบล 201 หมู่บ้าน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 จนถึงวันที่ 20 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 อำเภอ ได้แก่
(1) อำเภอวังทอง 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลวังนกแอ่น ชัยนาม วังทอง วังพิกุล ดินทอง ท่าหมื่นราม และตำบลพันชาลี มีผู้เสียชีวิต 1 คน (นายบุญชู หงส์ทอง 64 ม.9 ต.ดินทอง) ระดับน้ำสูง 0.10-0.30 ม.
(2) อำเภอเมือง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลสมอแข อรัญญิก บ้านป่า และตำบลหัวรอ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม.
(3) อำเภอบางระกำ 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลชุมแสงสงคราม ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ระดับน้ำยังคงเพิ่มปริมาณสูงขึ้น หากมีฝนตกต่อเนื่องอาจทำให้น้ำในพื้นที่ขยายวงกว้างออกไปอีก
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1 สัปดาห์ แต่จะยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรบางแห่ง
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ชลประทานจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 7 ลำ กระสอบทราย จำนวน 500 กระสอบ ให้ทัณฑสถานหญิงเพื่อวางกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าในพื้นที่ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
2) สำนักงานบำรุงทางพิษณุโลกที่ 2 และกองพลพัฒนาที่ 3 สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ พร้อมกำลังพลในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่ปลอดภัย
2) จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 11-16 กันยายน 2551 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 8 อำเภอ 65 ตำบล 530 หมู่บ้าน (เสียชีวิต 2 คน) ราษฎรเดือดร้อน 125,747 คน 35,135 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเมือง โคกสำโรง บ้านหมี่ สระโบสถ์ โคกเจริญ ชัยบาดาล หนองม่วง และอำเภอลำสนธิ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่
(1) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาสามยอด ท่าแค ถนนใหญ่ และตำบลป่าตาล ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
(2) อำเภอบ้านหมี่ เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 9 ตำบล ได้แก่ ตำบล
พุคา หนองทรายขาว หนองเมือง หินปัก ดงพลับ บางกะพี้ บ้านทราย หนองกระเบียน และตำบลบ้านกล้วย ระดับน้ำสูง 0.30-0.80 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าอำเภอเมือง จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วัน อำเภอบ้านหมี่ จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 สัปดาห์
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี อำเภอ สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 83 ลำ รถแบ็คโฮ 2 คัน พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 39,873 ชุด ชุดยาเวชภัณฑ์ 26,668 ชุด กระสอบทราย 25,000 ถุง
2) กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 45 เครื่อง พร้อมนำเครื่องจักรทำการกำจัดวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก
3) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก มีระดับสูงเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นที่ลุ่มริมแม่น้ำบางพื้นที่ ใน 9 อำเภอ 63 ตำบล ได้แก่ อำเภอผักไห่ บางบาล เสนา บางไทร มหาราช นครหลวง พระนครศรีอยุธยา บ้านแพรก และอำเภอบางปะอิน
การให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เร่งออกสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป
4) จังหวัดขอนแก่น เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎร ในพื้นที่ 10 อำเภอ 66 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น บ้านแฮด ชนบท มัญจาคีรี บ้านไผ่ ซำสูง โคกโพธิ์ไชย พล หนองนาคำ และอำเภอภูผาม่าน มีผู้เสียชีวิต 2 คน (อ.บ้านไผ่, อ.พระยืน) ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
(1) อำเภอเมืองขอนแก่น แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลดอนหัน (หมู่ที่ 3,4,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
(2) อำเภอชนบท แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรือง (หมู่ที่ 5,6,8,11,12) และตำบลชนบท (หมู่ที่ 5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
(3) อำเภอบ้านแฮด ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกสำราญ (หมู่ที่ 7,9,10,13)ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 เมตร
(4) อำเภอบ้านไผ่ ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวหนอง หนองใส และตำบลบ้านไผ่ เสียชีวิต 1 คน (นางอัมพร เศษฐา) ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 เมตร
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดขอนแก่น ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น
2) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสนับสนุนเรือท้องแบน 24 ลำ ติดตั้งสะพานแบรี่ย์บริเวณคอสะพานที่ชำรุด แจกถุงยังชีพ 4,530 ชุด ข้าวกล่อง 200 กล่อง จัดหากระสอบทราย 4,000 กระสอบ เทศบาลนครขอนแก่นนำรถขุดเปิดทางน้ำหลังหมู่บ้านมิตรสัมพันธ์
3) มณฑลทหารบกที่ 23 จัดกำลังพล จำนวน 30 นาย และ ตชด.ภาค 2 จัดกำลังพล จำนวน 40 นาย พร้อมเรือท้องแบน ให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย
5) จังหวัดปราจีนบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ดังนี้
(1) อำเภอกบินทร์บุรี ระดับน้ำในเขตเทศบาลกบินทร์บุรีเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ยังมี น้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำพื้นที่การเกษตร 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลกบินทร์บุรี หนองกี่ หาดนางแก้ว ลาดตระเคียน ย่านรี บ่อทอง วังตะเคียน และตำบลเมืองเก่า ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
(2) อำเภอเมืองฯ น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลดงขี้เหล็ก ดงพระราม รอบเมือง บ้านพระ โคกไม้ลาย ไม้เด็ด ท่างาม โนนห้อม เนินหอม บางเตชะ และตำบลวัดโบสถ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
(3) อำเภอศรีมหาโพธิ น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมใน 10 ตำบล ได้แก่ บางกุ้ง หัวหว้า ท่าตูม ศรีมหาโพธิ บ้านทาม สัมพันธ์ หาดยาง ดงกระทงยาม หนองโพลง กรอกสมบูรณ์ ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม.
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือ 30 ลำ กระสอบทราย 28,000 ถุง รถแบ๊คโฮร์ 2 คัน ถุงยังชีพ 3,521 ชุด
อนึ่ง เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2551 เวลาประมาณ 04.00 น. สระเก็บกักน้ำของบริษัท อีสวอร์เตอร์ จำกัด (มหาชน) บรรจุน้ำ 60,000 ลูกบาศก์เมตร ได้เกิดมีน้ำทะลักรั่วไหลจากคันดินของสระเก็บกักน้ำเนื่องมาจากมีการล้างสระเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา ทำให้แผ่นยางเกิดรูรั่วน้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในเขตเทศบาลตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา และตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย ได้รับผลกระทบ 38 ครัวเรือน เครื่องใช้และครัวเรือนได้รับความเสียหาย ไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บแต่อย่างใด
การให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
1) จังหวัดร่วมกับเทศบาลตำบลมาบข่า องค์การบริหารส่วนตำบลละลอก และบริษัท อีสวอร์เตอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ตั้งกองอำนวยการช่วยเหลือเพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎร พร้อมจัดอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า ผ้าห่ม แจกจ่ายให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย
2) ได้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองมาบตาพุด เทศบาลบ้านค่าย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว มูลนิธิร่วมกตัญญู ประมาณ 40 คน พร้อมรถยนต์ไปฉีดล้างดินโคลนทำความสะอาดให้แก่บ้านเรือนราษฎร และได้จัดรถสุขาเคลื่อนที่อำนวยความสะดวกแก่ราษฎรผู้ประสบภัย
3) บริษัทอีสวอร์เตอร์ จำกัด (มหาชน)ได้ประชุมราษฎรผู้ประสบภัยเพื่อกำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัย ดังนี้ จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 30,000 บาท (ภายในวันที่ 29 กันยายน 2551) ทำการซ่อมรถจักรยานยนต์ ประกอบอาหารเลี้ยงจนกว่าราษฎรจะช่วยเหลือตนเองได้ ชดเชยค่าเสียหายด้านทรัพย์สินให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2551
1.4 สิ่งของพระราชทาน
1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ นำโดยประธานกรรมการบริหาร (นายดิสธร วัชโรทัย) และเลขาธิการฯ (นายประสงค์ พิฑูรกิจจา) และคณะเจ้าหน้าที่ นำสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
1.1) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551 ที่วัดจันทร์เสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 500 ชุด และที่ตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำนวน 500 ชุด
1.2) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551 กรรมการบริหารและประธานฝ่ายฝึกอบรม (นายพร อุดมพงษ์) เป็นผู้แทนมอบเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้
- ที่ บ้านปรือ หมู่ที่ 1 ตำบลปรือ อำเภอกระสัง จำนวน 500 ชุด
- ที่ โรงเรียนประโคนชัยวิทยาคม อำเภอประโคนชัย จำนวน 500 ชุด
- ที่ วัดอัมพวัน อำเภอลำปลายมาศ จำนวน 500 ชุด
1.3) เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551ที่ว่าการอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 1,000 ชุด
1.4) เมื่อวันที่ 26 กันย่ายน 51 ที่ต.กล้วยกว้าง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 500 ชุด
2) สภากาชาดไทยโดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ได้จัดส่งสิ่งของพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
- เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี มอบสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนผู้ประสบภัยในเขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี จำนวน 500 ชุด
3) กองงานพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จัดผู้เทน พระองค์ฯ นำโดยประธานที่ปรึกษา กองงานพระวรชายาฯ (พลอากาศเอก โยธิน ประยูร) เดินทางไปมอบถุงพระราชทาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 27 กันยายน 2551 ที่วัดสารวนาราม (วัดบ้านแห) อำเภอนาดี อำเภอศรีมหาโพธิ ศรีมโหสถ และอำเภอกบินทร์บุรี จำนวน 1,500 ชุด
1.5 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้จัดส่งกำลังพล 539 นาย รถบรรทุก 64 คัน เรือ 16 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดต่างๆ และยังคงให้การช่วยเหลือประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะยุติ
1.6 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 (ปทุมธานี) เขต 2 (สุพรรณบุรี) เขต 3 (ปราจีนบุรี) เขต 5 (นครราชสีมา) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 8 (กำแพงเพชร) เขต 9 (พิษณุโลก) ได้จัดส่งวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกล เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดที่เกิดสถานการณ์ ดังนี้ เรือท้องแบน 128 ลำ รถบรรทุกติดตั้งเครน 11 คัน รถผลิตน้ำดื่ม 6 คัน รถกู้ภัยเล็ก 8 คัน รถยนต์ยูนิม็อค 4 คัน รถบรรทุก 9 คัน เครื่องสูบน้ำ 11 เครื่อง เต็นท์ที่พักอาศัย 10 หลัง ถุงยังชีพ 13,250 ถุงเสื้อชูชีพ 124 ตัว เจ้าหน้าที่ 442 คน บ้านน็อคดาวน์ มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก 10 หลัง
1.7 การตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยของผู้บังคับบัญชา
1) เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางไปตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จังหวัดลพบุรี บริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลพุคา อำเภอบ้านหมี่ พร้อมมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 300 ชุด
2) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2551 พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ เดินทางไปตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดจันทบุรี จำนวน 1,400 ชุด ดังนี้
- ที่มูลนิธิสัจจะพุทธธรรมกบินทร์บุรี ตำบลกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 500 ชุด
- ที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 500 ชุด
- ที่สะพานวัดจันทนาราม ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 200 ชุด
- ที่วัดโรมันคาทอลิค ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 200 ชุด
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 28 กันยายน - 4 ตุลาคม 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่าในช่วงวันที่ 28-30 กันยายน 2551 ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ตุลาคม 2551 ร่องความกดอากาศจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในหลายพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่ราบลุ่มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือเนื่องจากคลื่นลมมีกำลังค่อนข้างแรง อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ชังมี” ในมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นเกาะไต้หวันประมาณ วันที่ 29 กันยายน 2551 ต่อจากนั้นจะเปลี่ยนทิศทางเคลื่อนไปประเทศญี่ปุ่นในระยะต่อไป
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และคลื่นซัดฝั่ง สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและชาวเรือ โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2551--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11-29 กันยายน 2551)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 27 จังหวัด 172 อำเภอ 946 ตำบล 6,409 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดตาก พิจิตร แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด และจังหวัดจันทบุรี
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 19 คน จ.ปราจีนบุรี 3 คน (อ.กบินทร์ อ.ศรีมหาโพธิ อ.เมืองฯ) จ.สระบุรี 2 คน (อ.แก่งคอย 1 คน อ.มวกเหล็ก 1 คน) จ.นครราชสีมา 2 คน (อ.ปากช่อง 1 คน อ.ปักธงชัย 1 คน) จ.ลพบุรี 2 คน (อ.โคกสำโรง 1 คน อ.สระโบสถ์ 1 คน) จ.หนองบัวลำภู 4 คน (อ.เมือง 3 คน อ.นากลาง 1 คน) จ.แม่ฮ่องสอน 1 คน (อ.แม่สะเรียง) จ.พิษณุโลก 2 คน (อ.วัดโบสถ์ 1 คน อ.วังทอง 1 คน) จ.นครสวรรค์ 1 คน (อ.ลาดยาว) จ.ขอนแก่น 2 คน (อ.บ้านไผ่ 1 คน อ.พระยืน 1 คน)
- สูญหาย 1 คน (อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก)
- ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 294,587 ครัวเรือน 1,014,000 คน
2) ด้านทรัพย์สิน (เบื้องต้น) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 8 หลัง บางส่วน 2,621 หลัง ถนน 1,865 สาย สะพาน 71 แห่ง ทำนบ/ฝาย 251 แห่ง วัด 24 แห่ง โรงเรียน 11 แห่ง สถานที่ราชการ 18 แห่ง ปศุสัตว์ 311 ตัว บ่อปลา/กุ้ง 6,273 บ่อ ท่อระบายน้ำ 36 แห่ง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมประมาณ 380,212 ไร่
3) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 261,754,854 บาท
1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน
- สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ตาก นครนายก สุโขทัย พะเยา พิจิตร ลำปาง แม่ฮ่องสอน เลย มหาสารคาม นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี มุกดาหาร หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ สระบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ชลบุรี และจังหวัดจันทบุรี
- ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ขอนแก่น และจังหวัดปราจีนบุรี รวม 20 อำเภอ 121 ตำบล 201 หมู่บ้าน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 จนถึงวันที่ 20 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 อำเภอ ได้แก่
(1) อำเภอวังทอง 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลวังนกแอ่น ชัยนาม วังทอง วังพิกุล ดินทอง ท่าหมื่นราม และตำบลพันชาลี มีผู้เสียชีวิต 1 คน (นายบุญชู หงส์ทอง 64 ม.9 ต.ดินทอง) ระดับน้ำสูง 0.10-0.30 ม.
(2) อำเภอเมือง 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลสมอแข อรัญญิก บ้านป่า และตำบลหัวรอ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.40 ม.
(3) อำเภอบางระกำ 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลชุมแสงสงคราม ซึ่งเป็นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ระดับน้ำยังคงเพิ่มปริมาณสูงขึ้น หากมีฝนตกต่อเนื่องอาจทำให้น้ำในพื้นที่ขยายวงกว้างออกไปอีก
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1 สัปดาห์ แต่จะยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำการเกษตรบางแห่ง
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัด ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ชลประทานจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือท้องแบน 7 ลำ กระสอบทราย จำนวน 500 กระสอบ ให้ทัณฑสถานหญิงเพื่อวางกั้นน้ำไม่ให้ไหลเข้าในพื้นที่ พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง
2) สำนักงานบำรุงทางพิษณุโลกที่ 2 และกองพลพัฒนาที่ 3 สนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 3 ลำ พร้อมกำลังพลในการขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่ปลอดภัย
2) จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 11-16 กันยายน 2551 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลันเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตรใน 8 อำเภอ 65 ตำบล 530 หมู่บ้าน (เสียชีวิต 2 คน) ราษฎรเดือดร้อน 125,747 คน 35,135 ครัวเรือน ได้แก่ อำเภอเมือง โคกสำโรง บ้านหมี่ สระโบสถ์ โคกเจริญ ชัยบาดาล หนองม่วง และอำเภอลำสนธิ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่
(1) อำเภอเมือง ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตรใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลเขาสามยอด ท่าแค ถนนใหญ่ และตำบลป่าตาล ระดับน้ำสูง 0.20-0.40 ม.
(2) อำเภอบ้านหมี่ เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร และพื้นที่การเกษตรใน 9 ตำบล ได้แก่ ตำบล
พุคา หนองทรายขาว หนองเมือง หินปัก ดงพลับ บางกะพี้ บ้านทราย หนองกระเบียน และตำบลบ้านกล้วย ระดับน้ำสูง 0.30-0.80 ม.
แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าอำเภอเมือง จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 วัน อำเภอบ้านหมี่ จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 สัปดาห์
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 2 สุพรรณบุรี อำเภอ สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยสนับสนุนเรือท้องแบน จำนวน 83 ลำ รถแบ็คโฮ 2 คัน พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 39,873 ชุด ชุดยาเวชภัณฑ์ 26,668 ชุด กระสอบทราย 25,000 ถุง
2) กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 45 เครื่อง พร้อมนำเครื่องจักรทำการกำจัดวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก
3) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำลพบุรีและแม่น้ำป่าสัก มีระดับสูงเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นที่ลุ่มริมแม่น้ำบางพื้นที่ ใน 9 อำเภอ 63 ตำบล ได้แก่ อำเภอผักไห่ บางบาล เสนา บางไทร มหาราช นครหลวง พระนครศรีอยุธยา บ้านแพรก และอำเภอบางปะอิน
การให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เร่งออกสำรวจความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
พ.ศ.2546 (งบ 50 ล้านบาท) ต่อไป
4) จังหวัดขอนแก่น เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎร ในพื้นที่ 10 อำเภอ 66 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น บ้านแฮด ชนบท มัญจาคีรี บ้านไผ่ ซำสูง โคกโพธิ์ไชย พล หนองนาคำ และอำเภอภูผาม่าน มีผู้เสียชีวิต 2 คน (อ.บ้านไผ่, อ.พระยืน) ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่
(1) อำเภอเมืองขอนแก่น แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ตำบลดอนหัน (หมู่ที่ 3,4,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.50 ม.
(2) อำเภอชนบท แม่น้ำชีได้เอ่อล้นเข้าท่วมในพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรือง (หมู่ที่ 5,6,8,11,12) และตำบลชนบท (หมู่ที่ 5) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.30-0.50 ม.
(3) อำเภอบ้านแฮด ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 1 ตำบล ได้แก่ ตำบลโคกสำราญ (หมู่ที่ 7,9,10,13)ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 เมตร
(4) อำเภอบ้านไผ่ ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหัวหนอง หนองใส และตำบลบ้านไผ่ เสียชีวิต 1 คน (นางอัมพร เศษฐา) ระดับน้ำสูง 0.20-0.50 เมตร
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
1) จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาอุทกภัยจังหวัดขอนแก่น ณ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น
2) จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าสนับสนุนเรือท้องแบน 24 ลำ ติดตั้งสะพานแบรี่ย์บริเวณคอสะพานที่ชำรุด แจกถุงยังชีพ 4,530 ชุด ข้าวกล่อง 200 กล่อง จัดหากระสอบทราย 4,000 กระสอบ เทศบาลนครขอนแก่นนำรถขุดเปิดทางน้ำหลังหมู่บ้านมิตรสัมพันธ์
3) มณฑลทหารบกที่ 23 จัดกำลังพล จำนวน 30 นาย และ ตชด.ภาค 2 จัดกำลังพล จำนวน 40 นาย พร้อมเรือท้องแบน ให้การช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย
5) จังหวัดปราจีนบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 3 อำเภอ ดังนี้
(1) อำเภอกบินทร์บุรี ระดับน้ำในเขตเทศบาลกบินทร์บุรีเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่ยังมี น้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำพื้นที่การเกษตร 8 ตำบล ได้แก่ ตำบลกบินทร์บุรี หนองกี่ หาดนางแก้ว ลาดตระเคียน ย่านรี บ่อทอง วังตะเคียน และตำบลเมืองเก่า ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
(2) อำเภอเมืองฯ น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 11 ตำบล ได้แก่ ตำบลดงขี้เหล็ก ดงพระราม รอบเมือง บ้านพระ โคกไม้ลาย ไม้เด็ด ท่างาม โนนห้อม เนินหอม บางเตชะ และตำบลวัดโบสถ์ ระดับน้ำสูงประมาณ 0.20-0.30 ม.
(3) อำเภอศรีมหาโพธิ น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมใน 10 ตำบล ได้แก่ บางกุ้ง หัวหว้า ท่าตูม ศรีมหาโพธิ บ้านทาม สัมพันธ์ หาดยาง ดงกระทงยาม หนองโพลง กรอกสมบูรณ์ ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม.
การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
จังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเรือ 30 ลำ กระสอบทราย 28,000 ถุง รถแบ๊คโฮร์ 2 คัน ถุงยังชีพ 3,521 ชุด
อนึ่ง เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2551 เวลาประมาณ 04.00 น. สระเก็บกักน้ำของบริษัท อีสวอร์เตอร์ จำกัด (มหาชน) บรรจุน้ำ 60,000 ลูกบาศก์เมตร ได้เกิดมีน้ำทะลักรั่วไหลจากคันดินของสระเก็บกักน้ำเนื่องมาจากมีการล้างสระเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา ทำให้แผ่นยางเกิดรูรั่วน้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรในเขตเทศบาลตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา และตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย ได้รับผลกระทบ 38 ครัวเรือน เครื่องใช้และครัวเรือนได้รับความเสียหาย ไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บแต่อย่างใด
การให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น
1) จังหวัดร่วมกับเทศบาลตำบลมาบข่า องค์การบริหารส่วนตำบลละลอก และบริษัท อีสวอร์เตอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ตั้งกองอำนวยการช่วยเหลือเพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎร พร้อมจัดอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า ผ้าห่ม แจกจ่ายให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัย
2) ได้สนธิกำลังเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเมืองมาบตาพุด เทศบาลบ้านค่าย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว มูลนิธิร่วมกตัญญู ประมาณ 40 คน พร้อมรถยนต์ไปฉีดล้างดินโคลนทำความสะอาดให้แก่บ้านเรือนราษฎร และได้จัดรถสุขาเคลื่อนที่อำนวยความสะดวกแก่ราษฎรผู้ประสบภัย
3) บริษัทอีสวอร์เตอร์ จำกัด (มหาชน)ได้ประชุมราษฎรผู้ประสบภัยเพื่อกำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัย ดังนี้ จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 30,000 บาท (ภายในวันที่ 29 กันยายน 2551) ทำการซ่อมรถจักรยานยนต์ ประกอบอาหารเลี้ยงจนกว่าราษฎรจะช่วยเหลือตนเองได้ ชดเชยค่าเสียหายด้านทรัพย์สินให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2551
1.4 สิ่งของพระราชทาน
1) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ นำโดยประธานกรรมการบริหาร (นายดิสธร วัชโรทัย) และเลขาธิการฯ (นายประสงค์ พิฑูรกิจจา) และคณะเจ้าหน้าที่ นำสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
1.1) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551 ที่วัดจันทร์เสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 500 ชุด และที่ตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จำนวน 500 ชุด
1.2) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2551 กรรมการบริหารและประธานฝ่ายฝึกอบรม (นายพร อุดมพงษ์) เป็นผู้แทนมอบเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้
- ที่ บ้านปรือ หมู่ที่ 1 ตำบลปรือ อำเภอกระสัง จำนวน 500 ชุด
- ที่ โรงเรียนประโคนชัยวิทยาคม อำเภอประโคนชัย จำนวน 500 ชุด
- ที่ วัดอัมพวัน อำเภอลำปลายมาศ จำนวน 500 ชุด
1.3) เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551ที่ว่าการอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี 1,000 ชุด
1.4) เมื่อวันที่ 26 กันย่ายน 51 ที่ต.กล้วยกว้าง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 500 ชุด
2) สภากาชาดไทยโดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ได้จัดส่งสิ่งของพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้
- เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 สำนักงานบรรเทาทุกข์ฯ ร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี มอบสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนผู้ประสบภัยในเขตอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี จำนวน 500 ชุด
3) กองงานพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จัดผู้เทน พระองค์ฯ นำโดยประธานที่ปรึกษา กองงานพระวรชายาฯ (พลอากาศเอก โยธิน ประยูร) เดินทางไปมอบถุงพระราชทาน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรที่ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ในวันที่ 27 กันยายน 2551 ที่วัดสารวนาราม (วัดบ้านแห) อำเภอนาดี อำเภอศรีมหาโพธิ ศรีมโหสถ และอำเภอกบินทร์บุรี จำนวน 1,500 ชุด
1.5 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้จัดส่งกำลังพล 539 นาย รถบรรทุก 64 คัน เรือ 16 ลำ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดต่างๆ และยังคงให้การช่วยเหลือประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะยุติ
1.6 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 (ปทุมธานี) เขต 2 (สุพรรณบุรี) เขต 3 (ปราจีนบุรี) เขต 5 (นครราชสีมา) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 8 (กำแพงเพชร) เขต 9 (พิษณุโลก) ได้จัดส่งวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกล เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดที่เกิดสถานการณ์ ดังนี้ เรือท้องแบน 128 ลำ รถบรรทุกติดตั้งเครน 11 คัน รถผลิตน้ำดื่ม 6 คัน รถกู้ภัยเล็ก 8 คัน รถยนต์ยูนิม็อค 4 คัน รถบรรทุก 9 คัน เครื่องสูบน้ำ 11 เครื่อง เต็นท์ที่พักอาศัย 10 หลัง ถุงยังชีพ 13,250 ถุงเสื้อชูชีพ 124 ตัว เจ้าหน้าที่ 442 คน บ้านน็อคดาวน์ มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก 10 หลัง
1.7 การตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยของผู้บังคับบัญชา
1) เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551 นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางไปตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จังหวัดลพบุรี บริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลพุคา อำเภอบ้านหมี่ พร้อมมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 300 ชุด
2) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2551 พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะ เดินทางไปตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัย พร้อมมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดจันทบุรี จำนวน 1,400 ชุด ดังนี้
- ที่มูลนิธิสัจจะพุทธธรรมกบินทร์บุรี ตำบลกบินทร์บุรี อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 500 ชุด
- ที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 500 ชุด
- ที่สะพานวัดจันทนาราม ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 200 ชุด
- ที่วัดโรมันคาทอลิค ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 200 ชุด
2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 28 กันยายน - 4 ตุลาคม 2551
2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่าในช่วงวันที่ 28-30 กันยายน 2551 ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในทะเลจีนใต้ตอนกลาง ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามัน และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ส่วนในช่วงวันที่ 1-4 ตุลาคม 2551 ร่องความกดอากาศจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในหลายพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณพื้นที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่ราบลุ่มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือเนื่องจากคลื่นลมมีกำลังค่อนข้างแรง อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “ชังมี” ในมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นเกาะไต้หวันประมาณ วันที่ 29 กันยายน 2551 ต่อจากนั้นจะเปลี่ยนทิศทางเคลื่อนไปประเทศญี่ปุ่นในระยะต่อไป
2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ซึ่งเกิดจากฝนตกหนักและคลื่นลมแรง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และคลื่นซัดฝั่ง สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและชาวเรือ โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2551--จบ--