คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์ธรณีพิบัติภัย ประจำวันที่ 29 กันยายน 2551 สรุปได้ดังนี้
สภาพอากาศ
ร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา)
พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก
พื้นที่ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภัยดินถล่มในระยะนี้ คือ
1. จังหวัดน่าน : อำเภอเวียงสา (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 92 คน)
อำเภอเมืองน่าน (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 58 คน)
2. จังหวัดสุโขทัย : อำเภอทุ่งเสลี่ยม (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 87 คน)
อำเภอศรีสัชนาลัย (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 359 คน)
3. จังหวัดเพชรบูรณ์ : อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 76 คน)
อำเภอหล่มเก่า (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 88 คน)
4. จังหวัดจันทบุรี : อำเภอสอยดาว (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 41 คน)
อำเภอเขาคิชฌกูฏ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 155 คน)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรธรณี กำลังประสานงานโดยตรงกับเครือข่ายฯ ในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
การดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุหลุมยุบ
- ด้วยปรากฏสภาพหลุมยุบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เมตร ลึก 5.5 เมตร บริเวณพื้นที่บ้านโนนถาวร ตำบลด่านช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู กรมทรัพยากรธรณี ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบทางธรณีฟิสิกส์ พบว่าในบริเวณใกล้เคียงมีโพรงที่สามารถพัฒนาเป็นหลุมยุบได้ 3 โพรง ทั้งนี้ได้ประสานกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดหนองบัวลำภู ในการกำหนดมาตรการแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพธรณีวิทยาแล้ว
- ด้วยปรากฏสภาพดินคืบตัวบนภูเขาภูแลนคา บ้านหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ดินคืบตัวอยู่สูงจากทางระบายน้ำล้นประมาณ 70 เมตร และอยู่ห่างจากท้ายเขื่อนลำปะทาวประมาณ 500 เมตรหากเกิดฝนตกหนักหรือตกติดต่อกัน จะทำให้เกิดดินไหลลงมายังทางระบายน้ำล้น แต่ไม่มีผลกระทบต่อบ้านเรือน เนื่องจากเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ภูแลนคา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2551--จบ--
สภาพอากาศ
ร่องความกดอากาศต่ำกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา)
พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก
พื้นที่ที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภัยดินถล่มในระยะนี้ คือ
1. จังหวัดน่าน : อำเภอเวียงสา (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 92 คน)
อำเภอเมืองน่าน (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 58 คน)
2. จังหวัดสุโขทัย : อำเภอทุ่งเสลี่ยม (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 87 คน)
อำเภอศรีสัชนาลัย (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 359 คน)
3. จังหวัดเพชรบูรณ์ : อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 76 คน)
อำเภอหล่มเก่า (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 88 คน)
4. จังหวัดจันทบุรี : อำเภอสอยดาว (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 41 คน)
อำเภอเขาคิชฌกูฏ (เครือข่ายฯ กรมทรัพยากรธรณี จำนวน 155 คน)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรธรณี กำลังประสานงานโดยตรงกับเครือข่ายฯ ในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
การดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุหลุมยุบ
- ด้วยปรากฏสภาพหลุมยุบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เมตร ลึก 5.5 เมตร บริเวณพื้นที่บ้านโนนถาวร ตำบลด่านช้าง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู กรมทรัพยากรธรณี ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบทางธรณีฟิสิกส์ พบว่าในบริเวณใกล้เคียงมีโพรงที่สามารถพัฒนาเป็นหลุมยุบได้ 3 โพรง ทั้งนี้ได้ประสานกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดหนองบัวลำภู ในการกำหนดมาตรการแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพธรณีวิทยาแล้ว
- ด้วยปรากฏสภาพดินคืบตัวบนภูเขาภูแลนคา บ้านหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ดินคืบตัวอยู่สูงจากทางระบายน้ำล้นประมาณ 70 เมตร และอยู่ห่างจากท้ายเขื่อนลำปะทาวประมาณ 500 เมตรหากเกิดฝนตกหนักหรือตกติดต่อกัน จะทำให้เกิดดินไหลลงมายังทางระบายน้ำล้น แต่ไม่มีผลกระทบต่อบ้านเรือน เนื่องจากเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ภูแลนคา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2551--จบ--