คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานความเสียหายจากสถานการณ์อุทกภัย ดังนี้
ตามที่เกิดอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง อันสืบเนื่องจากฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และดินถล่ม (Slide) ปิดทับคันทาง ในช่วงเดือนพฤษภาคม — กันยายน 2551 ซึ่งก่อให้เกิดความเส่ยหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของราษฎร ตลอดจนความเสียหายต่อทรัพย์สินของรัฐ อันมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของราษฎร และภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของพื้นที่ในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ นั้น
กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือราษฎรในเบื้องต้น ตลอดจนให้เตรียมการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังน้ำลด ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สภาพความเสียหาย
1.1 กรมทางหลวง มีสภาพที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง รวม 37 จังหวัด 24 สายทาง 251 แห่ง ระยะทาง 194.01 กิโลเมตร มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 46 ล้านบาท
1.2 กรมทางหลวงชนบท มีสายทางที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวม 74 จังหวัด 172 สายทาง มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 520 ล้านบาท
1.3 การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2551 น้ำท่วมปิดทางรถไฟชำรุดเสียหาย ไม่สามารถให้ขบวนรถผ่านได้ ระหว่างสถานีบ้านไผ่ — สถานี ท่าพระ มูลค่าความเสียหาย 30,154,000 บาท (ปัจจุบันขบวนรถไฟสามารถผ่านได้แล้ว)
2. การดำเนินการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุอุทกภัย โดยการเร่งรัดซ่อมแซมทรัพย์สินและเส้นทางที่ชำรุดเสียหาย เพื่อให้การเจรจาผ่านได้ชั่วคราวก่อน รวมทั้งการปักป้ายเตือน ป้ายแนะนำเส้นทาง ทำคันดินกั้นน้ำ วางกระสอบทราย ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ กรณีที่ทางขาดจะมีการทอดสะพานเบลีย์ทันที โดยใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 24 ชั่วโมง ในขณะเดียวกันมีการจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อประสานงานกับจังหวัดและหน่วยงานต่างๆ ในการจัดส่งเครื่องอุปโภคบริโภค การขนย้ายผู้ประสบภัย ฯลฯ
3. การดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะยาว
จากข้อมูลความเสียหาย การแก้ไขปัญหา ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยข้างต้น กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขณะนี้ในบางพื้นที่ยังคงเกิดอุทกภัย รวมทั้งให้สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นได้จริงภายหลังน้ำลด เพื่อเตรียมฟื้นฟูสายทางสู่สภาพปกติต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้นกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการรถไฟแห่งประเทศไทย พิจารณาใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปก่อน หากงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอประการใด กระทรวงคมนาคมจะได้ประมวลข้อเท็จจริงเพื่อนำเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2551--จบ--
ตามที่เกิดอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง อันสืบเนื่องจากฝนตกหนัก น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และดินถล่ม (Slide) ปิดทับคันทาง ในช่วงเดือนพฤษภาคม — กันยายน 2551 ซึ่งก่อให้เกิดความเส่ยหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของราษฎร ตลอดจนความเสียหายต่อทรัพย์สินของรัฐ อันมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของราษฎร และภาวะเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของพื้นที่ในภูมิภาคต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ นั้น
กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือราษฎรในเบื้องต้น ตลอดจนให้เตรียมการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ภายหลังน้ำลด ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจนกระทั่งปัจจุบัน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สภาพความเสียหาย
1.1 กรมทางหลวง มีสภาพที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง รวม 37 จังหวัด 24 สายทาง 251 แห่ง ระยะทาง 194.01 กิโลเมตร มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 46 ล้านบาท
1.2 กรมทางหลวงชนบท มีสายทางที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวม 74 จังหวัด 172 สายทาง มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 520 ล้านบาท
1.3 การรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2551 น้ำท่วมปิดทางรถไฟชำรุดเสียหาย ไม่สามารถให้ขบวนรถผ่านได้ ระหว่างสถานีบ้านไผ่ — สถานี ท่าพระ มูลค่าความเสียหาย 30,154,000 บาท (ปัจจุบันขบวนรถไฟสามารถผ่านได้แล้ว)
2. การดำเนินการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุอุทกภัย โดยการเร่งรัดซ่อมแซมทรัพย์สินและเส้นทางที่ชำรุดเสียหาย เพื่อให้การเจรจาผ่านได้ชั่วคราวก่อน รวมทั้งการปักป้ายเตือน ป้ายแนะนำเส้นทาง ทำคันดินกั้นน้ำ วางกระสอบทราย ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ กรณีที่ทางขาดจะมีการทอดสะพานเบลีย์ทันที โดยใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 24 ชั่วโมง ในขณะเดียวกันมีการจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อประสานงานกับจังหวัดและหน่วยงานต่างๆ ในการจัดส่งเครื่องอุปโภคบริโภค การขนย้ายผู้ประสบภัย ฯลฯ
3. การดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะยาว
จากข้อมูลความเสียหาย การแก้ไขปัญหา ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยข้างต้น กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขณะนี้ในบางพื้นที่ยังคงเกิดอุทกภัย รวมทั้งให้สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นได้จริงภายหลังน้ำลด เพื่อเตรียมฟื้นฟูสายทางสู่สภาพปกติต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้นกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และการรถไฟแห่งประเทศไทย พิจารณาใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปก่อน หากงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอประการใด กระทรวงคมนาคมจะได้ประมวลข้อเท็จจริงเพื่อนำเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2551--จบ--