คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ 24 จังหวัด ซึ่งเป็นไปตามผลการประชุมคณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ตามที่พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สถานการณ์อุทกภัย
มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 24 จังหวัด 142 อำเภอ 775 ตำบล 4,753 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 16 คน ผู้สูญหาย 1 คน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 282,554 ครัวเรือน มูลค่าความเสียหายประมาณ 114,957,778 บาท ปัจจุบันสถานการณ์ อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 19 จังหวัดยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 5 จังหวัด แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1 สัปดาห์ ยกเว้น อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี คาดว่าระดับน้ำจะลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์
สถานการณ์น้ำในเขื่อน และปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขณะนี้มีปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2549 และยังอยู่ในสถานการณ์ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบริหารจัดการได้
2. การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นโดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดส่งถุงยังชีพวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกล เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดที่เกิดสถานการณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัย 46 จังหวัด ด้านพืชผล ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง เครื่องสูบน้ำ เสบียงสัตว์ ดูแลสุขภาพสัตว์ ซึ่งต้องเตรียมงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือ 1,902,172,990 บาท
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการประสานการช่วยเหลือร่วมกับจังหวัด ตลอดจนเตรียมการฟื้นฟูผู้ประสบภัย ด้านสังคมสงเคราะห์ ได้มอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี ปราจีนบุรี นครราชสีมา และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งเงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉินช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาอุทกภัยเป็นเงิน 4,439,300 บาท
กระทรวงการคลัง และสถาบันการเงิน ประกอบด้วย ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้ ขยายเวลาชำระหนี้เงินกู้ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ปลอดชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย ลดภาระหนี้ที่ผ่อนชำระลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในการซ่อมแซมอาคาร พักชำระหนี้เงินต้น กำหนดวงเงินกู้ฉุกเฉิน ลดค่าธรรมเนียมค้ำประกัน
กระทรวงศึกษาธิการ มีสถานศึกษาและสถาบันการศึกษาได้รับความเสียหาย จำนวน 370 แห่ง มูลค่าความเสียหายในเบื้องต้น 18,468,738 บาท กระทรวงศึกษาธิการได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมอบถุงยังชีพ และมอบเงินช่วยเหลือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งละ 300,000 บาท สำหรับการช่วยเหลือเด็กนักเรียนเมื่อสำรวจข้อมูลครบถ้วนแล้วจะนำเสนอ คชอ. พิจารณาต่อไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดเครื่องมืออุปกรณ์สนับสนุนการช่วยเหลือ เช่น รถบรรทุกน้ำ รถผลิตประปาสนาม ชุดกู้ภัยฉุกเฉิน เรือกู้ภัย ถุงยังชีพ เป็นต้น นอกจากนี้ ได้จัดทำแผนงานเร่งด่วนในพื้นที่ประสบอุทกภัย เช่น การซ่อมแซมระบบประปา เป่าล้างบ่อบาดาล การตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยใช้งบประมาณ จำนวน 31,427,000 บาท และจัดทำแผนงานปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ โดยใช้งบประมาณ ปี 2552 จำนวน 1,530,999,000 บาท
นอกจากนี้ ได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี (นายจารุพงศ์ พลเดช) รายงานสถานการณ์อุทกภัยของจังหวัดลพบุรีว่า เมื่อวันที่ 11-16 กันยายน 2551 จังหวัดลพบุรีได้เกิดฝนตกหนักส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน รวม 10 อำเภอ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ อำเภอเมืองและอำเภอบ้านหมี่ซึ่งมีระดับน้ำท่วม โดยเฉลี่ยประมาณ 100-150 ซม. คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2 สัปดาห์ พื้นที่เกษตรเสียหาย 389,499 ไร่ มูลค่าประมาณ 300 ล้านบาท การแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน จังหวัดได้บล็อกพื้นที่เป็นส่วน ๆ เพื่อสูบน้ำระบายลงคลองชัยนาท- ป่าสัก เร่งระบายน้ำโดยการเปิดช่องระบายน้ำคันคลองชัยนาท-ป่าสักเพิ่ม แจกถุงยังชีพ จำนวน 51,640 ชุด จัดครัวประกอบอาหารเลี้ยง 2 แห่ง สุขาเคลื่อนที่ และส้วมลอยน้ำ สนับสนุนเรือท้องแบน รถแมคโคร กระสอบทราย เครื่องสูบน้ำ เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เครื่องกรองน้ำ และเครื่องทำน้ำดื่ม 5,000 ลิตร การให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข ให้ อสม. 1 คนรับผิดชอบ 15 ครัวเรือน แจกยาเวชภัณฑ์ ตรวจสอบคุณภาพน้ำ แจกถุงขยะ การฟื้นฟูอาชีพ ได้มีการประชุมและสอบถามตามความต้องการของชุมชน ซึ่งชุมชนต้องการพันธุ์ข้าว พันธุ์พืช ส่งเสริมอาชีพ OTOP สรุปแล้ว จังหวัดลพบุรียังสามารถรับสถานการณ์ได้
3. การช่วยเหลือภายหลังน้ำลด
ภายหลังน้ำลดให้หน่วยงานต่าง ๆ เร่งสำรวจความเสียหายที่แท้จริง โดยยึดหลักชุมชน และประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน เป็นตัวตั้ง เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำประชาคม และมอบหมาย
(1) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย โดยให้ดำเนินการสำรวจและช่วยเหลือให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน และให้ประชาคมในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อสำรวจและช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนด้วย
(2) ให้กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) พิจารณาการช่วยเหลือวัดที่ให้สถานที่และเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบอุทกภัย และพิจารณาช่วยเหลือในการฟื้นฟูอาชีพด้วย รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการในการช่วยเหลือจังหวัดในภาคใต้ของประเทศ ซึ่งอาจประสบอุทกภัยในระยะต่อไป
4. แนวทางการบริหารจัดการ
เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการที่ดำเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าวอยู่หลายคณะ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยซึ่งเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการให้ความช่วยเหลือ จึงเห็นควรให้มีการนำประเด็นดังกล่าวหารือ แนวทางการในการจัดทำแผนป้องกันอุทกภัยในระยะยาว โดยมอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสนอแผนฯ ต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2551--จบ--
1. สถานการณ์อุทกภัย
มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 24 จังหวัด 142 อำเภอ 775 ตำบล 4,753 หมู่บ้าน มีผู้เสียชีวิต 16 คน ผู้สูญหาย 1 คน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 282,554 ครัวเรือน มูลค่าความเสียหายประมาณ 114,957,778 บาท ปัจจุบันสถานการณ์ อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 19 จังหวัดยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 5 จังหวัด แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกเพิ่มคาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 1 สัปดาห์ ยกเว้น อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี คาดว่าระดับน้ำจะลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์
สถานการณ์น้ำในเขื่อน และปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขณะนี้มีปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2549 และยังอยู่ในสถานการณ์ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบริหารจัดการได้
2. การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นโดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดส่งถุงยังชีพวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรกล เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดที่เกิดสถานการณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบอุทกภัย 46 จังหวัด ด้านพืชผล ด้านปศุสัตว์ ด้านประมง เครื่องสูบน้ำ เสบียงสัตว์ ดูแลสุขภาพสัตว์ ซึ่งต้องเตรียมงบประมาณในการให้ความช่วยเหลือ 1,902,172,990 บาท
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดำเนินการประสานการช่วยเหลือร่วมกับจังหวัด ตลอดจนเตรียมการฟื้นฟูผู้ประสบภัย ด้านสังคมสงเคราะห์ ได้มอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี ปราจีนบุรี นครราชสีมา และพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งเงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉินช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาอุทกภัยเป็นเงิน 4,439,300 บาท
กระทรวงการคลัง และสถาบันการเงิน ประกอบด้วย ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้ ขยายเวลาชำระหนี้เงินกู้ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ ปลอดชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย ลดภาระหนี้ที่ผ่อนชำระลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในการซ่อมแซมอาคาร พักชำระหนี้เงินต้น กำหนดวงเงินกู้ฉุกเฉิน ลดค่าธรรมเนียมค้ำประกัน
กระทรวงศึกษาธิการ มีสถานศึกษาและสถาบันการศึกษาได้รับความเสียหาย จำนวน 370 แห่ง มูลค่าความเสียหายในเบื้องต้น 18,468,738 บาท กระทรวงศึกษาธิการได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมมอบถุงยังชีพ และมอบเงินช่วยเหลือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งละ 300,000 บาท สำหรับการช่วยเหลือเด็กนักเรียนเมื่อสำรวจข้อมูลครบถ้วนแล้วจะนำเสนอ คชอ. พิจารณาต่อไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดเครื่องมืออุปกรณ์สนับสนุนการช่วยเหลือ เช่น รถบรรทุกน้ำ รถผลิตประปาสนาม ชุดกู้ภัยฉุกเฉิน เรือกู้ภัย ถุงยังชีพ เป็นต้น นอกจากนี้ ได้จัดทำแผนงานเร่งด่วนในพื้นที่ประสบอุทกภัย เช่น การซ่อมแซมระบบประปา เป่าล้างบ่อบาดาล การตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยใช้งบประมาณ จำนวน 31,427,000 บาท และจัดทำแผนงานปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ โดยใช้งบประมาณ ปี 2552 จำนวน 1,530,999,000 บาท
นอกจากนี้ ได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี (นายจารุพงศ์ พลเดช) รายงานสถานการณ์อุทกภัยของจังหวัดลพบุรีว่า เมื่อวันที่ 11-16 กันยายน 2551 จังหวัดลพบุรีได้เกิดฝนตกหนักส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน รวม 10 อำเภอ ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ อำเภอเมืองและอำเภอบ้านหมี่ซึ่งมีระดับน้ำท่วม โดยเฉลี่ยประมาณ 100-150 ซม. คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2 สัปดาห์ พื้นที่เกษตรเสียหาย 389,499 ไร่ มูลค่าประมาณ 300 ล้านบาท การแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน จังหวัดได้บล็อกพื้นที่เป็นส่วน ๆ เพื่อสูบน้ำระบายลงคลองชัยนาท- ป่าสัก เร่งระบายน้ำโดยการเปิดช่องระบายน้ำคันคลองชัยนาท-ป่าสักเพิ่ม แจกถุงยังชีพ จำนวน 51,640 ชุด จัดครัวประกอบอาหารเลี้ยง 2 แห่ง สุขาเคลื่อนที่ และส้วมลอยน้ำ สนับสนุนเรือท้องแบน รถแมคโคร กระสอบทราย เครื่องสูบน้ำ เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เครื่องกรองน้ำ และเครื่องทำน้ำดื่ม 5,000 ลิตร การให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข ให้ อสม. 1 คนรับผิดชอบ 15 ครัวเรือน แจกยาเวชภัณฑ์ ตรวจสอบคุณภาพน้ำ แจกถุงขยะ การฟื้นฟูอาชีพ ได้มีการประชุมและสอบถามตามความต้องการของชุมชน ซึ่งชุมชนต้องการพันธุ์ข้าว พันธุ์พืช ส่งเสริมอาชีพ OTOP สรุปแล้ว จังหวัดลพบุรียังสามารถรับสถานการณ์ได้
3. การช่วยเหลือภายหลังน้ำลด
ภายหลังน้ำลดให้หน่วยงานต่าง ๆ เร่งสำรวจความเสียหายที่แท้จริง โดยยึดหลักชุมชน และประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน เป็นตัวตั้ง เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำประชาคม และมอบหมาย
(1) ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย โดยให้ดำเนินการสำรวจและช่วยเหลือให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน และให้ประชาคมในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อสำรวจและช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนด้วย
(2) ให้กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) พิจารณาการช่วยเหลือวัดที่ให้สถานที่และเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ผู้ประสบอุทกภัย และพิจารณาช่วยเหลือในการฟื้นฟูอาชีพด้วย รวมทั้งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการในการช่วยเหลือจังหวัดในภาคใต้ของประเทศ ซึ่งอาจประสบอุทกภัยในระยะต่อไป
4. แนวทางการบริหารจัดการ
เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการที่ดำเนินการแก้ไขในเรื่องดังกล่าวอยู่หลายคณะ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยซึ่งเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการให้ความช่วยเหลือ จึงเห็นควรให้มีการนำประเด็นดังกล่าวหารือ แนวทางการในการจัดทำแผนป้องกันอุทกภัยในระยะยาว โดยมอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสนอแผนฯ ต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2551--จบ--