คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการพิจารณาการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินจัดสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สรุปได้ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2548 ให้ชะลอการจ่ายเงินค่าทดแทนฯ และให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใส เป็นธรรม และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มีคำสั่งที่ 333/2548 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2548 แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินจัดสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยมีนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ผู้ตรวจราชการอัยการ เป็นประธานกรรมการ
2. คณะกรรมการฯ ได้รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส 0001/166 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2548 สรุปได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลที่ได้วางเป็นบรรทัดฐานให้สามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ เนื่องจากบางคดีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง บางคดีศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง และบางคดีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาของศาลแพ่ง ประกอบกับคดีส่วนใหญ่ยังไม่ยุติ และแม้จะมีการจ่ายเงินทดแทนตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก่ผู้ถูกเวนคืนทุกรายที่คดียังไม่ยุติในอัตราไร่ละ 600,000 บาทก็ตาม ก็น่าเชื่อว่ายังมีเจ้าของที่ดินอีกหลายรายที่ไม่พอใจ ดังนั้น การให้ราษฎรยุติคดีตามนัยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 จึงไม่น่าจะเป็นผล ประกอบกับตามคำพิพากษาของศาลแพ่งส่วนใหญ่นั้น กำหนดค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินไร่ละ 800,000 บาท ซึ่งมีคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.156-157/2547 ที่ผู้ฟ้องคดีรายอื่นได้ฟ้องคดีเกี่ยวกับค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน และศาลได้วินิจฉัยว่า เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วินิจฉัยอุทธรณ์และได้แจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบแล้ว กระบวนการพิจารณาของฝ่ายบริหารสิ้นสุดลง ผู้อุทธรณ์จะต้องใช้สิทธิทางศาลต่อไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่มีอำนาจทบทวนและวินิจฉัยเพิ่มค่าทดแทนได้ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมีความเห็นว่า แม้คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดคดีดังกล่าวจะมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความ และมิได้ผูกพันผู้ร้องเรียน 84 รายนี้ ก็ตาม แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐบาลอาจนำหลักการตีความกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีดังกล่าวมาเทียบเคียงประกอบการใช้ดุลยพินิจพิจารณาแนวทางการจ่ายค่าทดแทนเขื่อนป่าสักของผู้ร้องเรียนกรณีนี้ได้ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงอาจรอให้ศาลใช้ดุลยพินิจพิจารณาพิพากษาในแต่ละคดีก่อนให้ได้ข้อยุติ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นชอบตามนี้ คือให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รอการพิจารณาของศาลในแต่ละคดีก่อน เพื่อให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่าสมควรจะให้จ่ายค่าตอบแทนที่ดินในแต่ละรายจำนวนเท่าไร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
1. คณะรัฐมนตรีได้มีมติตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2548 ให้ชะลอการจ่ายเงินค่าทดแทนฯ และให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใส เป็นธรรม และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร รวมทั้งเพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มีคำสั่งที่ 333/2548 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2548 แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินจัดสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยมีนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ผู้ตรวจราชการอัยการ เป็นประธานกรรมการ
2. คณะกรรมการฯ ได้รายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามหนังสือสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ อส 0001/166 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2548 สรุปได้ว่า กรณีที่เกิดขึ้นนี้ยังไม่มีคำพิพากษาของศาลที่ได้วางเป็นบรรทัดฐานให้สามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าทดแทนการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้ เนื่องจากบางคดีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง บางคดีศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง และบางคดีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาของศาลแพ่ง ประกอบกับคดีส่วนใหญ่ยังไม่ยุติ และแม้จะมีการจ่ายเงินทดแทนตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แก่ผู้ถูกเวนคืนทุกรายที่คดียังไม่ยุติในอัตราไร่ละ 600,000 บาทก็ตาม ก็น่าเชื่อว่ายังมีเจ้าของที่ดินอีกหลายรายที่ไม่พอใจ ดังนั้น การให้ราษฎรยุติคดีตามนัยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 กรกฎาคม 2548 จึงไม่น่าจะเป็นผล ประกอบกับตามคำพิพากษาของศาลแพ่งส่วนใหญ่นั้น กำหนดค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินไร่ละ 800,000 บาท ซึ่งมีคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.156-157/2547 ที่ผู้ฟ้องคดีรายอื่นได้ฟ้องคดีเกี่ยวกับค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน และศาลได้วินิจฉัยว่า เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วินิจฉัยอุทธรณ์และได้แจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบแล้ว กระบวนการพิจารณาของฝ่ายบริหารสิ้นสุดลง ผู้อุทธรณ์จะต้องใช้สิทธิทางศาลต่อไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่มีอำนาจทบทวนและวินิจฉัยเพิ่มค่าทดแทนได้ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมีความเห็นว่า แม้คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดคดีดังกล่าวจะมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความ และมิได้ผูกพันผู้ร้องเรียน 84 รายนี้ ก็ตาม แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐบาลอาจนำหลักการตีความกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดในคดีดังกล่าวมาเทียบเคียงประกอบการใช้ดุลยพินิจพิจารณาแนวทางการจ่ายค่าทดแทนเขื่อนป่าสักของผู้ร้องเรียนกรณีนี้ได้ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงอาจรอให้ศาลใช้ดุลยพินิจพิจารณาพิพากษาในแต่ละคดีก่อนให้ได้ข้อยุติ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาแล้วมีความเห็นชอบตามนี้ คือให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รอการพิจารณาของศาลในแต่ละคดีก่อน เพื่อให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่าสมควรจะให้จ่ายค่าตอบแทนที่ดินในแต่ละรายจำนวนเท่าไร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--