คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และลำปาง สรุปได้ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง และน่าน โดยมีรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน (นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ) เป็นประธานและได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดที่ประสบปัญหาอุทกภัยจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และลำปาง โดยมอบหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดที่ประสบภัยเป็นประธานคณะทำงานในระดับจังหวัด
2. ตรวจสอบความเสียหายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงฯ ในพื้นที่ 5 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2549) มีรายงานความเสียหายเบื้องต้น ดังนี้
2.1 ด้านทรัพยากรน้ำ บ่อบาดาล 1,709 บ่อ ระบบประปาบาดาล 314 ระบบ อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ระบบประปาผิวดิน 39 แห่ง บ่อน้ำตื้น 2,400 บ่อ และแหล่งน้ำในหมู่บ้าน 240 แห่งด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ทั้งที่ราบและบนภูเขาสูงในความรับผิดชอบของ กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช อยู่ในระหว่างดำเนินการประเมินความเสียหายวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบกรณีมีการพบเศษไม้จำนวนมากลอยอยู่ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ หมู่ที่ 10 อำเภอเด่นชัย และอ่างเก็บน้ำแม่มาน หมู่ที่ 4 ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่ไม้ที่พบเป็นเศษไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน และซากต้นไม้ริมน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก จึงได้สั่งการให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ ตรวจสอบ ชักลากและเก็บรักษาไม้ต่าง ๆ ตามระเบียบของทางราชการ รวมทั้งพิจารณานำไม้เนื้ออ่อนและเศษไม้ไปใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่ต่อไป
4. วันที่ 28 พฤษภาคม 2549 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมสื่อมวลชนร่วมตรวจสอบกรณีมีการพบเศษไม้จำนวนมากลอยอยู่ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะและอ่างเก็บน้ำแม่มาน จังหวัดแพร่ และบินตรวจสภาพป่าในพื้นที่ป่าต้นน้ำอ่างเก็บน้ำทั้งสองแห่ง
5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้สนธิกำลังเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดที่ประสบภัย โดยมอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงฯ สนับสนุนการทำงานของจังหวัดต่าง ๆ ในด้านบุคลากร รถยนต์และเครื่องจักรกล (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2549) ดังนี้
รายการ สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ รวม
2.1 เจ้าหน้าที่ 296 นาย 331 นาย 100 นาย 727 นาย
2.2 ชุดเป่าล้างบ่อบาดาล 7 ชุด 6 ชุด 2 ชุด 15 ชุด
2.3 จุดจ่ายน้ำสะอาด 7 จุด 2 จุด - 9 จุด
2.4 รถบรรทุกน้ำ 4 คัน 8 คัน 4 คัน 16 ชุด
2.5 รถบรรทุก/รถปิคอัพ 26 คัน 3 คัน 15 คัน 44 คัน
2.6 รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ 29 คัน 10 คัน 39 คัน
2.7 ชุดผลิตน้ำประปาสนาม 1 ชุด 3 ชุด - 4 ชุด
2.8 สารคลอรีน 20,000 เม็ด
2.9 รถเครน 1 คัน 11 คัน 1 คัน 13 คัน
2.10 รถจอหนัง 2 คัน 1 คัน - 3 คัน
2.11 เลื่อยโซ่ยนต์ - 10 เครื่อง - 10 เครื่อง
2.12 เฮลิคอปเตอร์ - 1 ลำ 1 ลำ 2 ลำ
2.13 ช้าง - 1 เชือก 1 เชือก 2 เชือก
2.14 เครื่องกำเนิดไฟฟ้า - 3 เครื่อง - 3 เครื่อง
2.15 เต็นท์นอน 3 คน - 15 หลัง - 15 หลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
1. แต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหาจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง และน่าน โดยมีรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพยากรน้ำในแผ่นดิน (นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ) เป็นประธานและได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดที่ประสบปัญหาอุทกภัยจังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ น่าน และลำปาง โดยมอบหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดที่ประสบภัยเป็นประธานคณะทำงานในระดับจังหวัด
2. ตรวจสอบความเสียหายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงฯ ในพื้นที่ 5 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2549) มีรายงานความเสียหายเบื้องต้น ดังนี้
2.1 ด้านทรัพยากรน้ำ บ่อบาดาล 1,709 บ่อ ระบบประปาบาดาล 314 ระบบ อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ระบบประปาผิวดิน 39 แห่ง บ่อน้ำตื้น 2,400 บ่อ และแหล่งน้ำในหมู่บ้าน 240 แห่งด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ทั้งที่ราบและบนภูเขาสูงในความรับผิดชอบของ กรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช อยู่ในระหว่างดำเนินการประเมินความเสียหายวันที่ 27 พฤษภาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบกรณีมีการพบเศษไม้จำนวนมากลอยอยู่ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะ หมู่ที่ 10 อำเภอเด่นชัย และอ่างเก็บน้ำแม่มาน หมู่ที่ 4 ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่ไม้ที่พบเป็นเศษไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน และซากต้นไม้ริมน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก จึงได้สั่งการให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ ตรวจสอบ ชักลากและเก็บรักษาไม้ต่าง ๆ ตามระเบียบของทางราชการ รวมทั้งพิจารณานำไม้เนื้ออ่อนและเศษไม้ไปใช้ประโยชน์และสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรในพื้นที่ต่อไป
4. วันที่ 28 พฤษภาคม 2549 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมสื่อมวลชนร่วมตรวจสอบกรณีมีการพบเศษไม้จำนวนมากลอยอยู่ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำแม่จั๊วะและอ่างเก็บน้ำแม่มาน จังหวัดแพร่ และบินตรวจสภาพป่าในพื้นที่ป่าต้นน้ำอ่างเก็บน้ำทั้งสองแห่ง
5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้สนธิกำลังเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดที่ประสบภัย โดยมอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงฯ สนับสนุนการทำงานของจังหวัดต่าง ๆ ในด้านบุคลากร รถยนต์และเครื่องจักรกล (ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2549) ดังนี้
รายการ สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ รวม
2.1 เจ้าหน้าที่ 296 นาย 331 นาย 100 นาย 727 นาย
2.2 ชุดเป่าล้างบ่อบาดาล 7 ชุด 6 ชุด 2 ชุด 15 ชุด
2.3 จุดจ่ายน้ำสะอาด 7 จุด 2 จุด - 9 จุด
2.4 รถบรรทุกน้ำ 4 คัน 8 คัน 4 คัน 16 ชุด
2.5 รถบรรทุก/รถปิคอัพ 26 คัน 3 คัน 15 คัน 44 คัน
2.6 รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ 29 คัน 10 คัน 39 คัน
2.7 ชุดผลิตน้ำประปาสนาม 1 ชุด 3 ชุด - 4 ชุด
2.8 สารคลอรีน 20,000 เม็ด
2.9 รถเครน 1 คัน 11 คัน 1 คัน 13 คัน
2.10 รถจอหนัง 2 คัน 1 คัน - 3 คัน
2.11 เลื่อยโซ่ยนต์ - 10 เครื่อง - 10 เครื่อง
2.12 เฮลิคอปเตอร์ - 1 ลำ 1 ลำ 2 ลำ
2.13 ช้าง - 1 เชือก 1 เชือก 2 เชือก
2.14 เครื่องกำเนิดไฟฟ้า - 3 เครื่อง - 3 เครื่อง
2.15 เต็นท์นอน 3 คน - 15 หลัง - 15 หลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--