คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปความเสียหายจากอุทกภัยโคลนถล่มภาคเหนือและการให้ความช่วยเหลือ (ครั้งที่ 4) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย 5 จังหวัดภาคเหนือ (ระหว่างวันที่ 22 พ.ค. - 26 มิ.ย. 2549)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 5 จังหวัด 26 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 171 ตำบล 1,200 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 87 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 75 คน (ลับแล 23 คน ท่าปลา 29 คน เมือง 23 คน) จังหวัดสุโขทัย 7 คน (ศรีสัชนาลัย 6 คน ศรีสำโรง 1 คน) และจังหวัดแพร่ 5 คน (เมือง) สูญหาย 29 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 28 คน (ลับแล 4 คน ท่าปลา 24 คน) และจังหวัดสุโขทัย 1 คน (ศรีสัชนาลัย) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 352,016 คน 108,542 ครัวเรือน อพยพ 10,601 คน
2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 704 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 479 หลัง จ.แพร่ 135 หลัง จ.สุโขทัย 89 หลัง และ จ.น่าน 1 หลัง) บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 4,314 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 3,813 หลัง จ.สุโขทัย 156 หลัง และ จ.แพร่ 345 หลัง )
3) ด้านทรัพย์สิน ถนน 1,028 สาย สะพาน 176 แห่ง พื้นที่การเกษตร 714,793 ไร่ วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 226 แห่ง พนังกั้นน้ำ 15 แห่ง ท่อระบายน้ำ 314 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 245 แห่ง บ่อปลา/กุ้ง/ตะพาบ 5,345 บ่อ ปศุสัตว์ 76,610 ตัว สัตว์ปีก 260,148 ตัว
4) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 308,615,331.- บาท
(ไม่รวมความเสียหายบ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎร)
2. สถานการณ์ปัจจุบัน
2.1 พื้นที่ที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง น่าน และอุตรดิตถ์
2.2 พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์ ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย ในพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรใน 4 ตำบล 25 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกง (หมู่ที่ 1-13) ระดับน้ำทรงตัว ตำบลไกรนอก (หมู่ที่ 7,8) ตำบลท่าฉนวน (หมู่ที่ 1,4,5,6,7,12) ตำบลกกแรด (หมู่ที่ 2,3,6,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 - 1.50 เมตร น้ำที่ท่วมขัง พื้นที่การเกษตรยังคงเน่าเสีย
3. การเสด็จเยี่ยมราษฎรผู้ประสบอุทกภัย
3.1 วันที่ 26 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยมราษฎร ติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่บ้านน้ำต๊ะ ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ทรงรับฟังรายงานสรุปความคืบหน้าเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย ประทานเงินทุนค่าประกอบอาหารกลางวัน จำนวน 100,000 บาท สำหรับนักเรียน และอุปกรณ์การเรียนการสอนแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำต๊ะ ประทานสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร เพื่อเป็นทุนการศึกษาจากเงินกองทุนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติให้แก่นักเรียน จำนวน 10 ราย จากนั้นได้เสด็จไปทอดพระเนตรแผนงานโครงการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยบ้านน้ำต๊ะ — น้ำลี อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
3.2 วันที่ 21 มิถุนายน 2549 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยที่โรงเรียนบ้านนอตอง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยทรงประกอบอาหาร ณ “รถเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ช่วยด้วยใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน” ประทานให้แก่ราษฎร จากนั้นประทานเงินให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตและประทานถุงยังชีพพระราชทานให้แก่ผู้ประสบภัยของตำบลช่อแฮ จำนวน 404 ชุด ประทานเข็มอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากแก่ผู้บำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 20 ราย ประทานใบแต่งตั้งผู้ดูแลการซ่อมแซมบ้านราษฎรที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 5 ราย และนอกจากนี้ได้ประทานถุงยังชีพพระราชทานให้ผู้แทนอาสากาชาดนำไปมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดสุโขทัยอีกจำนวนหนึ่ง จากนั้นได้เสด็จไปทอดพระเนตรบริเวณที่จะบูรณะวัดศุภนุชิตาคม (บ้านน้ำกลาย) ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
4. การตรวจติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของรัฐมนตรีฯ
4.1 วันที่ 22 มิถุนายน 2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมด้วยที่ปรึกษาด้านการผังเมืองระดับ 10 กรมโยธาธิการและผังเมือง (นายพิชัย เครือชัยพินิต) รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายพงศ์เผ่า เกษทอง) ได้เดินทางไปตรวจติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยได้เป็นประธานในพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิตและสูญหายจากเหตุการณ์อุทกภัย ณ บริเวณปากน้ำลี หมู่ที่ 6 ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (ร.ต.ท.อุปฤทธิ์ ศรีจันทร์) รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายจักริน เปลี่ยนวงษ์) หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ ฯลฯ เข้าร่วมพิธี
จากนั้นได้เดินทางไปที่เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา รับฟังบรรยายสรุปการจัดพื้นที่รองรับการสร้างบ้านถาวรให้แก่ผู้ประสบภัยของอำเภอท่าปลา และตรวจพื้นที่บริเวณนิคมลำน้ำน่าน ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ สร้างบ้านถาวร จำนวน 46 หลัง ให้แก่ผู้ประสบภัย ได้เร่งรัดให้ดำเนินการวางผังหมู่บ้านและเร่งดำเนินการด้านสาธารณูปโภค
ในช่วงบ่าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะฯ ได้เดินทางไปที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อเป็นประธานก่อสร้างบ้านถาวรให้แก่ผู้ประสบภัยของมูลนิธิไทยคม รวม 19 หลัง ที่บ้านดงย่าปลา ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ในการนี้ได้กล่าวปราศรัยและแจ้งการช่วยเหลือของรัฐบาลที่จะดำเนินการช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย (นายสุกิจ เจริญรัตนกุล) รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย (นายโยธิน สมุทรคีรี) หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ฯลฯ เข้าร่วมพิธีด้วย
4.2 วันที่ 26 มิถุนายน 2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะฯ เดินทางไปตรวจสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 1,080 ชุด แก่ผู้ประสบอุทกภัย รวม 5 หมู่บ้าน 1,080 ครัวเรือน ที่ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
จากนั้นได้เดินทางไปเฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการเสด็จเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยบ้านน้ำต๊ะ ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
5. สรุปการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5.1 ได้จัดสร้างเต็นท์ พักอาศัยชั่วคราวเสร็จแล้ว จำนวน 161 หลัง ให้แก่ผู้ประสบภัยที่
(1) เทศบาลตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 80 หลัง
(2) ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 13 หลัง
(3) บ้านน้ำต๊ะ ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 38 หลัง
(4) ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 30 หลัง
5.2 ได้จัดสร้างบ้านพักชั่วคราว (บ้านน็อคดาวน์) ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ที่บ้านแม่คุ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 24 หลัง
5.3 การเตรียมพื้นที่รองรับการสร้างบ้านพักถาวรใน 3 จังหวัด การก่อสร้างบ้านประกอบสำเร็จรูป (บ้านน็อคดาวน์) มูลนิธิไทยคมจะเริ่มดำเนินการในพื้นที่ที่มีความพร้อมแล้ว โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับกรมที่ดินจัดวางผังหมู่บ้าน/ชุมชนให้มีความเหมาะสมและมีพื้นที่ใช้สอยส่วนกลาง ดังนี้
(1) จังหวัดแพร่ ที่อำเภอสูงเม่น จำนวน 23 หลัง ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ สำหรับอำเภอเมือง และอำเภอเด่นชัย อยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาที่ดิน
(2) จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้จัดเตรียมที่ดินรองรับเบื้องต้นแล้ว ดังนี้ ในที่ดินที่ของนิคม สร้างตนเองลำน้ำน่าน อ.ท่าปลา 2 แปลง ที่ดินสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ อ.เมืองฯ (3 แปลง) และลับแล (2 แปลง) รวม 7 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1,501 ไร่
(3) จังหวัดสุโขทัย จำนวน 15 หลัง (อำเภอศรีสัชนาลัย) ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ต.บ้านตึก
นอกจากนี้ให้การประปาส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการวางระบบสาธารณูปการในพื้นที่ที่มีความพร้อมเพื่อให้พร้อมรองรับเมื่อการสร้างบ้านแล้วเสร็จ สามารถอพยพผู้ประสบภัยเข้าอยู่อาศัย ในชุมชน/หมู่บ้านใหม่ได้ทันที
5.4 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546
(1) ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 59,620,916 บาท แยกได้ดังนี้ ค่าด้านการจัดการศพ จำนวน 79 ราย เป็นเงิน 1,785,000 บาท ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ จำนวน 1,078 ราย เป็นเงิน 2,189,000 บาท ค่าที่อยู่อาศัย จำนวน 1,403 ราย เป็นเงิน 26,259,571 บาท ค่าเครื่องมือ/ทุนประกอบอาชีพ จำนวน 292 ราย เป็นเงิน 1,637,600 บาท ค่าเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 415 ราย เป็นเงิน 470,500 บาท ค่าอาหารจัดเลี้ยง จำนวน 237,491 ราย เป็นเงิน 18,652,498 บาท ค่าอื่นๆ เป็นเงิน 8,626,747 บาท
(2) ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเงิน 16,487,090 บาท
(3) ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 6,118,786 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 82,226,792 บาท
6. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ และอำเภอพรหมพิราม
6.1 อำเภอบางระกำ มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลคุยม่วง ตำบลท่านางงาม ตำบลบางระกำ และตำบลบึงกอก โดยมีน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อยบางพื้นที่ สำหรับน้ำที่เน่าเสียมีสภาพดีขึ้น โดยกรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง
6.2 อำเภอพรหมพิราม มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร จำนวน 7 ตำบล 21 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลศรีภิรมย์ ตำบลวังวน ตำบลท่าช้าง ตำบลตลุกเทียม ตำบลพรหมพิราม ตำบลหนองแขม และตำบลวงฆ้อง โดยระดับน้ำลดลง เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ
7. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมไม่ไหลล้นตลิ่งแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ อำเภอสามง่าม ที่ตำบลรังนก ตำบลสามง่าม ตำบลกำแพงดิน ซึ่งอยู่ในเขตพนังกั้นน้ำ และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่ตำบลวังจิก จำนวนประมาณ 50,000 ไร่ โครงการชลประทานจังหวัดพิจิตร ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ที่มีน้ำท่วมขังลงแม่น้ำยม จึงทำให้น้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ดังกล่าวลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนน้ำที่เน่าเสียมีสภาพดีขึ้น
8. ปัญหาน้ำเน่าเสียในลำน้ำน่านและลำน้ำยมน้ำเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็นในเขตอำเภอบางระกำ บางส่วน และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ไหลลงสู่ลำน้ำน่านและลำน้ำยม ผ่านจังหวัดนครสวรรค์และได้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2549 ที่สะพานเลี่ยงเมืองนครสวรรค์วัดค่า DO (หน่วย มก./ลิตร) ได้ 3.89 ที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยามีค่า 3.66 (ค่า DO ที่ 3.0 น้ำเริ่มเน่าเสีย ปลาได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเริ่มลอยตัว ค่า DO ต่ำกว่า 2.0 เน่าเสียรุนแรงมาก มีผลกระทบต่อสัตว์และพืช) ขณะนี้กรมชลประทานได้แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบรับทราบและเตรียมรับสถานการณ์ พร้อมทั้งเพิ่มการระบายน้ำของเขื่อน ภูมิพลและสิริกิติ์จาก 100 ลบ.ม./วินาที เป็น 300 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย. 2549 เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2549--จบ--
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัย 5 จังหวัดภาคเหนือ (ระหว่างวันที่ 22 พ.ค. - 26 มิ.ย. 2549)
1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 5 จังหวัด 26 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 171 ตำบล 1,200 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน
1.2 ความเสียหาย
1) ผู้เสียชีวิต 87 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 75 คน (ลับแล 23 คน ท่าปลา 29 คน เมือง 23 คน) จังหวัดสุโขทัย 7 คน (ศรีสัชนาลัย 6 คน ศรีสำโรง 1 คน) และจังหวัดแพร่ 5 คน (เมือง) สูญหาย 29 คน จังหวัดอุตรดิตถ์ 28 คน (ลับแล 4 คน ท่าปลา 24 คน) และจังหวัดสุโขทัย 1 คน (ศรีสัชนาลัย) ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 352,016 คน 108,542 ครัวเรือน อพยพ 10,601 คน
2) บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 704 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 479 หลัง จ.แพร่ 135 หลัง จ.สุโขทัย 89 หลัง และ จ.น่าน 1 หลัง) บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 4,314 หลัง (จ.อุตรดิตถ์ 3,813 หลัง จ.สุโขทัย 156 หลัง และ จ.แพร่ 345 หลัง )
3) ด้านทรัพย์สิน ถนน 1,028 สาย สะพาน 176 แห่ง พื้นที่การเกษตร 714,793 ไร่ วัด/โรงเรียน/สถานที่ราชการ 226 แห่ง พนังกั้นน้ำ 15 แห่ง ท่อระบายน้ำ 314 แห่ง ทำนบ/ฝาย/เหมือง 245 แห่ง บ่อปลา/กุ้ง/ตะพาบ 5,345 บ่อ ปศุสัตว์ 76,610 ตัว สัตว์ปีก 260,148 ตัว
4) มูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 308,615,331.- บาท
(ไม่รวมความเสียหายบ้านเรือนและทรัพย์สินของราษฎร)
2. สถานการณ์ปัจจุบัน
2.1 พื้นที่ที่สถานการณ์อุทกภัยคลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง น่าน และอุตรดิตถ์
2.2 พื้นที่ที่ยังคงมีสถานการณ์ ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย ในพื้นที่อำเภอกงไกรลาศ ยังคงมีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรใน 4 ตำบล 25 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลกง (หมู่ที่ 1-13) ระดับน้ำทรงตัว ตำบลไกรนอก (หมู่ที่ 7,8) ตำบลท่าฉนวน (หมู่ที่ 1,4,5,6,7,12) ตำบลกกแรด (หมู่ที่ 2,3,6,12) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50 - 1.50 เมตร น้ำที่ท่วมขัง พื้นที่การเกษตรยังคงเน่าเสีย
3. การเสด็จเยี่ยมราษฎรผู้ประสบอุทกภัย
3.1 วันที่ 26 มิถุนายน 2549 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเยี่ยมราษฎร ติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่บ้านน้ำต๊ะ ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ทรงรับฟังรายงานสรุปความคืบหน้าเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย ประทานเงินทุนค่าประกอบอาหารกลางวัน จำนวน 100,000 บาท สำหรับนักเรียน และอุปกรณ์การเรียนการสอนแก่ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านน้ำต๊ะ ประทานสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร เพื่อเป็นทุนการศึกษาจากเงินกองทุนพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติให้แก่นักเรียน จำนวน 10 ราย จากนั้นได้เสด็จไปทอดพระเนตรแผนงานโครงการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยบ้านน้ำต๊ะ — น้ำลี อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
3.2 วันที่ 21 มิถุนายน 2549 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรที่ประสบอุทกภัยที่โรงเรียนบ้านนอตอง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โดยทรงประกอบอาหาร ณ “รถเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ช่วยด้วยใจ คนไทยไม่ทิ้งกัน” ประทานให้แก่ราษฎร จากนั้นประทานเงินให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตและประทานถุงยังชีพพระราชทานให้แก่ผู้ประสบภัยของตำบลช่อแฮ จำนวน 404 ชุด ประทานเข็มอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากแก่ผู้บำเพ็ญประโยชน์ จำนวน 20 ราย ประทานใบแต่งตั้งผู้ดูแลการซ่อมแซมบ้านราษฎรที่ได้รับความเสียหาย จำนวน 5 ราย และนอกจากนี้ได้ประทานถุงยังชีพพระราชทานให้ผู้แทนอาสากาชาดนำไปมอบให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดสุโขทัยอีกจำนวนหนึ่ง จากนั้นได้เสด็จไปทอดพระเนตรบริเวณที่จะบูรณะวัดศุภนุชิตาคม (บ้านน้ำกลาย) ตำบลป่าแดง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
4. การตรวจติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของรัฐมนตรีฯ
4.1 วันที่ 22 มิถุนายน 2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมด้วยที่ปรึกษาด้านการผังเมืองระดับ 10 กรมโยธาธิการและผังเมือง (นายพิชัย เครือชัยพินิต) รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (นายพงศ์เผ่า เกษทอง) ได้เดินทางไปตรวจติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยได้เป็นประธานในพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิตและสูญหายจากเหตุการณ์อุทกภัย ณ บริเวณปากน้ำลี หมู่ที่ 6 ตำบลนางพญา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (ร.ต.ท.อุปฤทธิ์ ศรีจันทร์) รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ (นายจักริน เปลี่ยนวงษ์) หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์ ฯลฯ เข้าร่วมพิธี
จากนั้นได้เดินทางไปที่เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา รับฟังบรรยายสรุปการจัดพื้นที่รองรับการสร้างบ้านถาวรให้แก่ผู้ประสบภัยของอำเภอท่าปลา และตรวจพื้นที่บริเวณนิคมลำน้ำน่าน ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ สร้างบ้านถาวร จำนวน 46 หลัง ให้แก่ผู้ประสบภัย ได้เร่งรัดให้ดำเนินการวางผังหมู่บ้านและเร่งดำเนินการด้านสาธารณูปโภค
ในช่วงบ่าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะฯ ได้เดินทางไปที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพื่อเป็นประธานก่อสร้างบ้านถาวรให้แก่ผู้ประสบภัยของมูลนิธิไทยคม รวม 19 หลัง ที่บ้านดงย่าปลา ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ในการนี้ได้กล่าวปราศรัยและแจ้งการช่วยเหลือของรัฐบาลที่จะดำเนินการช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย (นายสุกิจ เจริญรัตนกุล) รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย (นายโยธิน สมุทรคีรี) หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ฯลฯ เข้าร่วมพิธีด้วย
4.2 วันที่ 26 มิถุนายน 2549 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) พร้อมคณะฯ เดินทางไปตรวจสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาอุทกภัยที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มอบถุงยังชีพ จำนวน 1,080 ชุด แก่ผู้ประสบอุทกภัย รวม 5 หมู่บ้าน 1,080 ครัวเรือน ที่ตำบลชุมแสงสงคราม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
จากนั้นได้เดินทางไปเฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการเสด็จเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยบ้านน้ำต๊ะ ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
5. สรุปการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5.1 ได้จัดสร้างเต็นท์ พักอาศัยชั่วคราวเสร็จแล้ว จำนวน 161 หลัง ให้แก่ผู้ประสบภัยที่
(1) เทศบาลตำบลหัวดง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 80 หลัง
(2) ตำบลบ้านด่านนาขาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 13 หลัง
(3) บ้านน้ำต๊ะ ตำบลน้ำหมัน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 38 หลัง
(4) ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 30 หลัง
5.2 ได้จัดสร้างบ้านพักชั่วคราว (บ้านน็อคดาวน์) ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก ที่บ้านแม่คุ หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 24 หลัง
5.3 การเตรียมพื้นที่รองรับการสร้างบ้านพักถาวรใน 3 จังหวัด การก่อสร้างบ้านประกอบสำเร็จรูป (บ้านน็อคดาวน์) มูลนิธิไทยคมจะเริ่มดำเนินการในพื้นที่ที่มีความพร้อมแล้ว โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับกรมที่ดินจัดวางผังหมู่บ้าน/ชุมชนให้มีความเหมาะสมและมีพื้นที่ใช้สอยส่วนกลาง ดังนี้
(1) จังหวัดแพร่ ที่อำเภอสูงเม่น จำนวน 23 หลัง ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ สำหรับอำเภอเมือง และอำเภอเด่นชัย อยู่ระหว่างดำเนินการจัดหาที่ดิน
(2) จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้จัดเตรียมที่ดินรองรับเบื้องต้นแล้ว ดังนี้ ในที่ดินที่ของนิคม สร้างตนเองลำน้ำน่าน อ.ท่าปลา 2 แปลง ที่ดินสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ อ.เมืองฯ (3 แปลง) และลับแล (2 แปลง) รวม 7 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1,501 ไร่
(3) จังหวัดสุโขทัย จำนวน 15 หลัง (อำเภอศรีสัชนาลัย) ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ต.บ้านตึก
นอกจากนี้ให้การประปาส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการวางระบบสาธารณูปการในพื้นที่ที่มีความพร้อมเพื่อให้พร้อมรองรับเมื่อการสร้างบ้านแล้วเสร็จ สามารถอพยพผู้ประสบภัยเข้าอยู่อาศัย ในชุมชน/หมู่บ้านใหม่ได้ทันที
5.4 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคเหนือ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546
(1) ด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 59,620,916 บาท แยกได้ดังนี้ ค่าด้านการจัดการศพ จำนวน 79 ราย เป็นเงิน 1,785,000 บาท ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ จำนวน 1,078 ราย เป็นเงิน 2,189,000 บาท ค่าที่อยู่อาศัย จำนวน 1,403 ราย เป็นเงิน 26,259,571 บาท ค่าเครื่องมือ/ทุนประกอบอาชีพ จำนวน 292 ราย เป็นเงิน 1,637,600 บาท ค่าเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 415 ราย เป็นเงิน 470,500 บาท ค่าอาหารจัดเลี้ยง จำนวน 237,491 ราย เป็นเงิน 18,652,498 บาท ค่าอื่นๆ เป็นเงิน 8,626,747 บาท
(2) ด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเงิน 16,487,090 บาท
(3) ด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นเงิน 6,118,786 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 82,226,792 บาท
6. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตร 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางระกำ และอำเภอพรหมพิราม
6.1 อำเภอบางระกำ มีน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตร จำนวน 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลชุมแสงสงคราม ตำบลคุยม่วง ตำบลท่านางงาม ตำบลบางระกำ และตำบลบึงกอก โดยมีน้ำท่วมขังเพียงเล็กน้อยบางพื้นที่ สำหรับน้ำที่เน่าเสียมีสภาพดีขึ้น โดยกรมชลประทานได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง
6.2 อำเภอพรหมพิราม มีน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร จำนวน 7 ตำบล 21 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลศรีภิรมย์ ตำบลวังวน ตำบลท่าช้าง ตำบลตลุกเทียม ตำบลพรหมพิราม ตำบลหนองแขม และตำบลวงฆ้อง โดยระดับน้ำลดลง เริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ
7. สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมไม่ไหลล้นตลิ่งแล้ว แต่ยังคงมีน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตรในพื้นที่ อำเภอสามง่าม ที่ตำบลรังนก ตำบลสามง่าม ตำบลกำแพงดิน ซึ่งอยู่ในเขตพนังกั้นน้ำ และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่ตำบลวังจิก จำนวนประมาณ 50,000 ไร่ โครงการชลประทานจังหวัดพิจิตร ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ ที่มีน้ำท่วมขังลงแม่น้ำยม จึงทำให้น้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ดังกล่าวลดระดับลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนน้ำที่เน่าเสียมีสภาพดีขึ้น
8. ปัญหาน้ำเน่าเสียในลำน้ำน่านและลำน้ำยมน้ำเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็นในเขตอำเภอบางระกำ บางส่วน และอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ไหลลงสู่ลำน้ำน่านและลำน้ำยม ผ่านจังหวัดนครสวรรค์และได้ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.2549 ที่สะพานเลี่ยงเมืองนครสวรรค์วัดค่า DO (หน่วย มก./ลิตร) ได้ 3.89 ที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยามีค่า 3.66 (ค่า DO ที่ 3.0 น้ำเริ่มเน่าเสีย ปลาได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเริ่มลอยตัว ค่า DO ต่ำกว่า 2.0 เน่าเสียรุนแรงมาก มีผลกระทบต่อสัตว์และพืช) ขณะนี้กรมชลประทานได้แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อ ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบรับทราบและเตรียมรับสถานการณ์ พร้อมทั้งเพิ่มการระบายน้ำของเขื่อน ภูมิพลและสิริกิติ์จาก 100 ลบ.ม./วินาที เป็น 300 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย. 2549 เพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียนี้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 มิถุนายน 2549--จบ--