แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำกราบบังคมทูลเกล้าถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ต่อไป ทั้งนี้ ให้ สศช. รับไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ให้เหมาะสม โดยความสำคัญใน 3 ประเด็น ได้แก่
1. การให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 2. การจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมทั้งการแปลงสภาพของรัฐวิสาหกิจ 3. การดำเนินการเพื่อสร้างเครือข่ายและระบบฐานข้อมูลภาครัฐและภาคประชาชน รวมทั้งให้ สศช. รับความเห็นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปปรับปรุงแผนพัฒนาฯ ให้ครอบคลุมใน 3 ประเด็นดังกล่าวด้วย
โดยร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) มีสาระสำคัญดังนี้
1. วิสัยทัศน์ประเทศไทย
มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข็มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
2. พันธกิจ เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ภายใต้แนวปฏิบัติของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” จึงกำหนดพันธกิจของการพัฒนาประเทศดังนี้ (1) พัฒนาคนให้มีคุณภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่าทัน (2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม (3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม (4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3. วัตถุประสงค์
(1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่องที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมโยงบทบาทครอบครัว สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษา เสริมสร้างระบบสุขภาพอย่างสมดุลระหว่างการส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นำไปสู่การพึ่งตนเองและลดปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ
(3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสาขาการผลิต เพื่อทำให้มูลค่าการผลิตสูงขึ้น
(4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน (Safety Net) และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงิน การคลัง พลังงาน ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดแรงงาน และการลงทุน
(5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งสร้างกลไกในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม
(6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่กับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ และการดำรงชีวิตของคนไทยทั้งในรุ่นปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งสร้างกลไกในการรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างเป็นธรรมและอย่างยั่งยืน
(7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน และภาคประชาชน และขยายบทบาทขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่กับการเสริมสร้างกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
4. เป้าหมาย
(1) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน
(2) เป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน
(3) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ
(4) เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(5) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ปรับเปลี่ยนเร็วและสลับซับซ้อนมากขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างเหมาะสมในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ดังนี้ (1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ (3) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน (4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (5) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
6. การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
โดยที่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ธุรกิจเอกชน และรัฐ ซึ่งเน้นการปฏิบัติเป็นแนวทางหลักในการบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จึงให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งทุกภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาและนำเอาแนวทางตาม 5 ยุทธศาสตร์ของแผนฯ มาแปลงเป็นแผนปฏิบัติการ โดยภาครัฐจะดำเนินการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ชุมชน ก็จะใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กำหนดแนวนโยบายและมาตรการของรัฐที่สำคัญ รวมทั้งแนวทางด้านการวิจัยและพัฒนาที่จะต้องดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ไว้ด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--
1. การให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 2. การจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมทั้งการแปลงสภาพของรัฐวิสาหกิจ 3. การดำเนินการเพื่อสร้างเครือข่ายและระบบฐานข้อมูลภาครัฐและภาคประชาชน รวมทั้งให้ สศช. รับความเห็นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปปรับปรุงแผนพัฒนาฯ ให้ครอบคลุมใน 3 ประเด็นดังกล่าวด้วย
โดยร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) มีสาระสำคัญดังนี้
1. วิสัยทัศน์ประเทศไทย
มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมีคุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข็มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ ซึ่งระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
2. พันธกิจ เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ภายใต้แนวปฏิบัติของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” จึงกำหนดพันธกิจของการพัฒนาประเทศดังนี้ (1) พัฒนาคนให้มีคุณภาพพร้อมคุณธรรมและรอบรู้อย่างเท่าทัน (2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มีคุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม (3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม (4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลภายใต้ระบอบประชาธิปไตยที่มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3. วัตถุประสงค์
(1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่องที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมโยงบทบาทครอบครัว สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษา เสริมสร้างระบบสุขภาพอย่างสมดุลระหว่างการส่งเสริม การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นำไปสู่การพึ่งตนเองและลดปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ
(3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่า (Value Creation) ของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสาขาการผลิต เพื่อทำให้มูลค่าการผลิตสูงขึ้น
(4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน (Safety Net) และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงิน การคลัง พลังงาน ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดแรงงาน และการลงทุน
(5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งสร้างกลไกในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ประชาชนในทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม
(6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่กับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ และการดำรงชีวิตของคนไทยทั้งในรุ่นปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งสร้างกลไกในการรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างเป็นธรรมและอย่างยั่งยืน
(7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน และภาคประชาชน และขยายบทบาทขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่กับการเสริมสร้างกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
4. เป้าหมาย
(1) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคน
(2) เป้าหมายการพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน
(3) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ
(4) เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(5) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ที่ปรับเปลี่ยนเร็วและสลับซับซ้อนมากขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวและกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศอย่างเหมาะสมในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 ดังนี้ (1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ (2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ (3) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน (4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (5) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
6. การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
โดยที่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตทั้งในระดับบุคคล ครัวเรือน ชุมชน ธุรกิจเอกชน และรัฐ ซึ่งเน้นการปฏิบัติเป็นแนวทางหลักในการบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 จึงให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งทุกภาคส่วนจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาและนำเอาแนวทางตาม 5 ยุทธศาสตร์ของแผนฯ มาแปลงเป็นแผนปฏิบัติการ โดยภาครัฐจะดำเนินการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ชุมชน ก็จะใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ได้กำหนดแนวนโยบายและมาตรการของรัฐที่สำคัญ รวมทั้งแนวทางด้านการวิจัยและพัฒนาที่จะต้องดำเนินการในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ไว้ด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--