คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 20 ช่วงวันที่ 30 กันยายน-7
ตุลาคม 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย
เนื่องจากเกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลาย
พื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก
พื้นที่ประสบอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2551 รวม 46 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายแม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร
น่าน แพร่ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
ชัยนาท กรุงเทพมหานคร เลย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนอง
บัวลำภู อุบลราชธานี อุดรธานี นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และสตูล
ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น ปราจีนบุรี มหาสารคาม และ
ศรีสะเกษ
1. จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในลุ่มน้ำวังทอง (น้ำเข็ก) ล้นตลิ่งเข้าท่วม
พื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎร ปัจจุบันยังมีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 อำเภอ ดังนี้อำเภอเมือง (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-
0.40 เมตร อำเภอบางระกำ (6 ตำบล) ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ระดับน้ำยังคงเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ซึ่งหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่า
จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์ แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำบางแห่ง
2. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย มีปริมาณสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ ที่
ติดริมน้ำ รวม 9 อำเภอ ดังนี้ อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางไทร อำเภอมหาราช อำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรี
อยุธยา อำเภอบ้านแพรก และอำเภอบางปะอิน
3. จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากฝนที่ตกชุกติดต่อกัน ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่ 10 อำเภอ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังใน 4 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-0.60 เมตร อำเภอชนบท (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-0.40 เมตร
อำเภอบ้านแฮด (1 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.25 เมตร อำเภอแวงใหญ่ (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-0.50 เมตร
4. จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 อำเภอ ดังนี้ อำเภอกบินทร์บุรี บริเวณตลาด เก่ากบินทร์บุรี ระดับน้ำท่วมสูง
ประมาณ 0.78 เมตร อำเภอศรีมหาโพธิ (2 ตำบล)
5. จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 13 อำเภอ 112 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง กันทรวิชัย แกคำ นาดูน ยางสีสุราช นาเชือก
ชื่นชม บรบือ โกสุมพิสัย วาปีปทุม กุดรัง เชียงยืน และพยัคฆภูมิพิสัย คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภาย 2-3 สัปดาห์
6. จังหวัดศรีสะเกษ ฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้น้ำในลำห้วยสำราญ มีปริมาณสูงขึ้น เอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรในเขตเทศบาลเมือง
ศรีสะเกษ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.30 เมตร ทั้งนี้หากไม่มีฝนตกหนักเพิ่มอีก คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์
ในส่วนของจังหวัดลพบุรี ปัจจุบันสถานการณ์ในภาพรวมได้คลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 แต่ทั้งนี้ เนื่องจาก
อิทธิพลของพายุเมขลา ทำให้เกิดฝนตกซ้ำในช่วงวันที่ 1-2 ตุลาคม 2551 ในเขตพื้นที่ อำเภอบ้านหมี่ ระดับน้ำสูง 0.10-0.30 ม. ซึ่งหากไม่มีฝนตก
เพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1 สัปดาห์
ทั้งนี้ จังหวัดกาฬสินธุ์ตามที่ได้มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 3 อำเภอ ปัจจุบันโดยภาพรวมสถานการณ์ได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยกเว้นบริเวณที่ลุ่มอยู่
ติดลำน้ำปาว (พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก)
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (7 ตุลาคม 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 53,719 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิด
เป็นร้อยละ 78 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 30,405 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ)
น้อยกว่าปี 2550 (55,377 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,658 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 2.99 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำได้
อีก 14,770 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์
เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 255.4 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน
34,604 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 91 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 7,943 และ
8,006 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 59 และ 84 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน
15,949 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ ทั้งสอง ปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 9,299 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40
ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 724 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ
ปริมาตรน้ำใช้การได้ 721 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 15 อ่าง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำรับได้อีก
ปริมาตรน้ำ % ปริมา % เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม
ความจุอ่างฯ ตรน้ำ ความจุอ่างฯ 1 ม.ค.
สิริกิติ์ 8,006 84 5,168 54 5,391 23 6,462 1,504
แม่งัดสมบูรณ์ชล 240 91 218 82 332 4.3 311 25
ห้วยหลวง 119 101 114 96 161 1.1 148 -
น้ำอูน 492 95 449 86 443 3 397 28
อุบลรัตน์ 2,141 95 1,731 76 2,271 32.2 3,091 123
ลำปาว 1,218 85 1,133 79 1,985 13.9 1,841 212
ลำพระเพลิง 114 104 113 103 184 1.9 169 -
ลำแซะ 226 82 219 80 193 1.5 176 49
สิรินธร 1,699 86 868 44 1,664 6.1 1,747 267
ศรีนครินทร์ 15,504 87 5,239 30 4,339 19.5 3,200 2,241
วชิราลงกรณ 7,298 82 4,286 48 5,369 13.5 5,313 1,562
ขุนด่านปราการชล 203 91 196 88 337 0.81 313 21
คลองสียัด 369 88 339 81 204 2.1 299 51
หนองปลาไหล 153 93 138 84 203 1.3 114 12
ประแสร์ 225 91 205 83 295 2.1 262 23
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว และ
สถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำยม สถานี Y.20 บ?นห?วยสัก อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำ
โค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มลดลง
แม่น้ำน่าน สถานี N.64 บ้านผาขวาง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และสถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
สถานี N.67 สะพานบ้านเกศไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำชี สถานี E.23 บ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ E.16.A บ้านท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สถานี E.91 บ้าน
หนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สถานี E.18 บ้านท่าไคร้ อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สถานี E.20A บ้านฟ้าหยาด
อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี E.9 บ้านโจด อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ระดับน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มลดลง สถานี E.8A บ้านดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มลดลง สถานี M.5 บ้านเมืองคง
อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และสถานี M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้ม
เพิ่มขึ้น
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,638 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อน
เจ้าพระยา (C.13) 1,648 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 10 ลบ.ม.ต่อวินาที) โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.40 เมตร.(รท
ก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา +13.18 เมตร.(รทก.) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 38 ลบ.ม.ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อ
วาน) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 288 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 4 ลบ.ม.ต่อวินาที)
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 27.72 ล้านลบ.ม.โดยได้เร่งระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 7.04
ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 1.65 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำบางปะกง 3.03 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงอ่าวไทย 16.00
ล้าน ลบ.ม.
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 23.99 ล้าน ลบ.ม. โดยได้เร่งระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนวันละ
19.82 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 4.17 ล้าน ลบ.ม.
สถานีบางไทร (C.29) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเมื่อเวลา 6.00 น. มีปริมาณเฉลี่ย 2,014
ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 51 ลบ.ม.ต่อวินาที)
แม่น้ำท่าจีน ที่สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ความจุ 440 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำ 1.25 เมตร
ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.35 เมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำ 551 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 554 ลบ.ม.ต่อวินาที)
เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 446.14 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 520.40 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อิทธิพลน้ำทะเลในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพุทธ (C.4) ระดับน้ำสูงสุดเมื่อวานนี้ +1.52 เมตร รทก. เวลา 11.15 น. คาดว่า
ระดับน้ำสูงสุดวันนี้ อยู่ที่ระดับ +1.58 เมตร เวลา 14.00 น.
โครงการลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เปิดการระบายน้ำในช่วงจังหวะน้ำทะเลลง รวม 21 ชั่วโมง ประมาณวันละ
19.25 ล้าน ลบ.ม. (254.58 ลบ.ม./วินาที)
ผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัยช่วงวันที่ 1 —30 กันยายน 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 46 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 15 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15
จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และภาคใต้ 2 จังหวัด
ด้านพืช 46 จังหวัด เกษตรกร 320,254 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 3,263,682 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 2,532,008 ไร่ พืชไร่
657,258 ไร่ พืชสวน 74,416 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2551)
ด้านปศุสัตว์ 29 จังหวัด เกษตรกร 30,350 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 3,156,678 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 133,621 ตัว สุกร-
แพะ-แกะ 29,197 ตัว สัตว์ปีก 2,993,860 ตัว แปลงหญ้า 3,002 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2551)
ด้านประมง 29 จังหวัด เกษตรกร 58,559 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 73,134 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 74,147 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 658
กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 14,270 ตารางเมตร (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2551)
สำหรับการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้
ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 และหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วย
เหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 1 กันยายน 2551 กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ได้นำเสนอคณะกรรมการอำนวยการ กำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2551 เพื่อพิจารณา
ขอกรอบวงเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2551 แล้ว ประมาณ 2,841.22 ล้านบาท
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบัน
ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 22 จังหวัด จำนวน 337 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 38 เครื่อง ตามจังหวัดต่างๆ ดังนี้ จังหวัดกำแพงเพชร 3
เครื่อง พิษณุโลก 5 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง ลพบุรี 41 เครื่อง สิงห์บุรี 31 เครื่อง ปราจีนบุรี 9 เครื่อง พระนครศรี
อยุธยา 1 เครื่อง อ่างทอง 37 เครื่อง นครราชสีมา 50 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 11 เครื่อง) ขอนแก่น 14 เครื่อง สุพรรณบุรี 26 เครื่อง
(เครื่องผลักดันน้ำ 7 เครื่อง) น่าน 14 เครื่อง นครปฐม (เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง) สกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5
เครื่อง หนองคาย 18 เครื่อง พิจิตร 4 เครื่อง ชัยภูมิ 4 เครื่อง มหาสารคาม 50 เครื่อง กาฬสินธุ์ 13 เครื่อง
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 567,841 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 53,590 ตัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 ตุลาคม 2551--จบ--
ตุลาคม 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์อุทกภัย
เนื่องจากเกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลาย
พื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก
พื้นที่ประสบอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2551 รวม 46 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายแม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร
น่าน แพร่ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
ชัยนาท กรุงเทพมหานคร เลย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนอง
บัวลำภู อุบลราชธานี อุดรธานี นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และสตูล
ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น ปราจีนบุรี มหาสารคาม และ
ศรีสะเกษ
1. จังหวัดพิษณุโลก เกิดฝนตกหนักตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2551 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในลุ่มน้ำวังทอง (น้ำเข็ก) ล้นตลิ่งเข้าท่วม
พื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎร ปัจจุบันยังมีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 อำเภอ ดังนี้อำเภอเมือง (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-
0.40 เมตร อำเภอบางระกำ (6 ตำบล) ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ระดับน้ำยังคงเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ซึ่งหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มคาดว่า
จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์ แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มต่ำบางแห่ง
2. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย มีปริมาณสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ ที่
ติดริมน้ำ รวม 9 อำเภอ ดังนี้ อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางไทร อำเภอมหาราช อำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรี
อยุธยา อำเภอบ้านแพรก และอำเภอบางปะอิน
3. จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากฝนที่ตกชุกติดต่อกัน ทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่ 10 อำเภอ ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขังใน 4 อำเภอ ดังนี้
อำเภอเมือง (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-0.60 เมตร อำเภอชนบท (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-0.40 เมตร
อำเภอบ้านแฮด (1 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.25 เมตร อำเภอแวงใหญ่ (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.20-0.50 เมตร
4. จังหวัดปราจีนบุรี ปัจจุบันมีพื้นที่ประสบภัย จำนวน 2 อำเภอ ดังนี้ อำเภอกบินทร์บุรี บริเวณตลาด เก่ากบินทร์บุรี ระดับน้ำท่วมสูง
ประมาณ 0.78 เมตร อำเภอศรีมหาโพธิ (2 ตำบล)
5. จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 13 อำเภอ 112 ตำบล ได้แก่ อำเภอเมือง กันทรวิชัย แกคำ นาดูน ยางสีสุราช นาเชือก
ชื่นชม บรบือ โกสุมพิสัย วาปีปทุม กุดรัง เชียงยืน และพยัคฆภูมิพิสัย คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภาย 2-3 สัปดาห์
6. จังหวัดศรีสะเกษ ฝนตกหนักในพื้นที่ ทำให้น้ำในลำห้วยสำราญ มีปริมาณสูงขึ้น เอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรในเขตเทศบาลเมือง
ศรีสะเกษ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.30 เมตร ทั้งนี้หากไม่มีฝนตกหนักเพิ่มอีก คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 สัปดาห์
ในส่วนของจังหวัดลพบุรี ปัจจุบันสถานการณ์ในภาพรวมได้คลี่คลายเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 แต่ทั้งนี้ เนื่องจาก
อิทธิพลของพายุเมขลา ทำให้เกิดฝนตกซ้ำในช่วงวันที่ 1-2 ตุลาคม 2551 ในเขตพื้นที่ อำเภอบ้านหมี่ ระดับน้ำสูง 0.10-0.30 ม. ซึ่งหากไม่มีฝนตก
เพิ่มคาดว่าจะเข้าสู่สภาวะปกติใน 1 สัปดาห์
ทั้งนี้ จังหวัดกาฬสินธุ์ตามที่ได้มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 3 อำเภอ ปัจจุบันโดยภาพรวมสถานการณ์ได้เข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ยกเว้นบริเวณที่ลุ่มอยู่
ติดลำน้ำปาว (พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก)
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (7 ตุลาคม 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 53,719 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิด
เป็นร้อยละ 78 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 30,405 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯ)
น้อยกว่าปี 2550 (55,377 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 1,658 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 2.99 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำได้
อีก 14,770 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 22 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์
เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 255.4 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน
34,604 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 91 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 7,943 และ
8,006 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 59 และ 84 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน
15,949 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯ ทั้งสอง ปริมาตรน้ำใช้การได้รวม 9,299 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 40
ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 724 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ
ปริมาตรน้ำใช้การได้ 721 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 15 อ่าง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำรับได้อีก
ปริมาตรน้ำ % ปริมา % เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม
ความจุอ่างฯ ตรน้ำ ความจุอ่างฯ 1 ม.ค.
สิริกิติ์ 8,006 84 5,168 54 5,391 23 6,462 1,504
แม่งัดสมบูรณ์ชล 240 91 218 82 332 4.3 311 25
ห้วยหลวง 119 101 114 96 161 1.1 148 -
น้ำอูน 492 95 449 86 443 3 397 28
อุบลรัตน์ 2,141 95 1,731 76 2,271 32.2 3,091 123
ลำปาว 1,218 85 1,133 79 1,985 13.9 1,841 212
ลำพระเพลิง 114 104 113 103 184 1.9 169 -
ลำแซะ 226 82 219 80 193 1.5 176 49
สิรินธร 1,699 86 868 44 1,664 6.1 1,747 267
ศรีนครินทร์ 15,504 87 5,239 30 4,339 19.5 3,200 2,241
วชิราลงกรณ 7,298 82 4,286 48 5,369 13.5 5,313 1,562
ขุนด่านปราการชล 203 91 196 88 337 0.81 313 21
คลองสียัด 369 88 339 81 204 2.1 299 51
หนองปลาไหล 153 93 138 84 203 1.3 114 12
ประแสร์ 225 91 205 83 295 2.1 262 23
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว และ
สถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำยม สถานี Y.20 บ?นห?วยสัก อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำ
โค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มลดลง
แม่น้ำน่าน สถานี N.64 บ้านผาขวาง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน และสถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
สถานี N.67 สะพานบ้านเกศไชย อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำชี สถานี E.23 บ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ E.16.A บ้านท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สถานี E.91 บ้าน
หนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สถานี E.18 บ้านท่าไคร้ อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สถานี E.20A บ้านฟ้าหยาด
อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี E.9 บ้านโจด อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ระดับน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มลดลง สถานี E.8A บ้านดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำมูล สถานี M.6A บ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มลดลง สถานี M.5 บ้านเมืองคง
อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และสถานี M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้ม
เพิ่มขึ้น
แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,638 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อน
เจ้าพระยา (C.13) 1,648 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 10 ลบ.ม.ต่อวินาที) โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.40 เมตร.(รท
ก.) ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา +13.18 เมตร.(รทก.) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 38 ลบ.ม.ต่อวินาที (เท่ากับเมื่อ
วาน) รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 288 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน 4 ลบ.ม.ต่อวินาที)
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 27.72 ล้านลบ.ม.โดยได้เร่งระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 7.04
ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 1.65 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำบางปะกง 3.03 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงอ่าวไทย 16.00
ล้าน ลบ.ม.
ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 23.99 ล้าน ลบ.ม. โดยได้เร่งระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนวันละ
19.82 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 4.17 ล้าน ลบ.ม.
สถานีบางไทร (C.29) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเมื่อเวลา 6.00 น. มีปริมาณเฉลี่ย 2,014
ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 51 ลบ.ม.ต่อวินาที)
แม่น้ำท่าจีน ที่สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ความจุ 440 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำ 1.25 เมตร
ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.35 เมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำ 551 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 554 ลบ.ม.ต่อวินาที)
เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 446.14 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 520.40 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
อิทธิพลน้ำทะเลในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพุทธ (C.4) ระดับน้ำสูงสุดเมื่อวานนี้ +1.52 เมตร รทก. เวลา 11.15 น. คาดว่า
ระดับน้ำสูงสุดวันนี้ อยู่ที่ระดับ +1.58 เมตร เวลา 14.00 น.
โครงการลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เปิดการระบายน้ำในช่วงจังหวะน้ำทะเลลง รวม 21 ชั่วโมง ประมาณวันละ
19.25 ล้าน ลบ.ม. (254.58 ลบ.ม./วินาที)
ผลกระทบด้านการเกษตร
อุทกภัยช่วงวันที่ 1 —30 กันยายน 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 46 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 15 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15
จังหวัด ภาคกลาง 7 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และภาคใต้ 2 จังหวัด
ด้านพืช 46 จังหวัด เกษตรกร 320,254 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 3,263,682 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 2,532,008 ไร่ พืชไร่
657,258 ไร่ พืชสวน 74,416 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2551)
ด้านปศุสัตว์ 29 จังหวัด เกษตรกร 30,350 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 3,156,678 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 133,621 ตัว สุกร-
แพะ-แกะ 29,197 ตัว สัตว์ปีก 2,993,860 ตัว แปลงหญ้า 3,002 ไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2551)
ด้านประมง 29 จังหวัด เกษตรกร 58,559 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 73,134 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 74,147 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 658
กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 14,270 ตารางเมตร (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2551)
สำหรับการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นเงิน ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้
ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 และหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วย
เหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 1 กันยายน 2551 กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ได้นำเสนอคณะกรรมการอำนวยการ กำกับ ติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2551 เพื่อพิจารณา
ขอกรอบวงเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2551 แล้ว ประมาณ 2,841.22 ล้านบาท
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ
กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบัน
ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 22 จังหวัด จำนวน 337 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 38 เครื่อง ตามจังหวัดต่างๆ ดังนี้ จังหวัดกำแพงเพชร 3
เครื่อง พิษณุโลก 5 เครื่อง ชัยนาท 1 เครื่อง อุทัยธานี 3 เครื่อง ลพบุรี 41 เครื่อง สิงห์บุรี 31 เครื่อง ปราจีนบุรี 9 เครื่อง พระนครศรี
อยุธยา 1 เครื่อง อ่างทอง 37 เครื่อง นครราชสีมา 50 เครื่อง (เครื่องผลักดันน้ำ 11 เครื่อง) ขอนแก่น 14 เครื่อง สุพรรณบุรี 26 เครื่อง
(เครื่องผลักดันน้ำ 7 เครื่อง) น่าน 14 เครื่อง นครปฐม (เครื่องผลักดันน้ำ 20 เครื่อง) สกลนคร 5 เครื่อง นครพนม 3 เครื่อง เชียงราย 5
เครื่อง หนองคาย 18 เครื่อง พิจิตร 4 เครื่อง ชัยภูมิ 4 เครื่อง มหาสารคาม 50 เครื่อง กาฬสินธุ์ 13 เครื่อง
2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์
กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 567,841 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 53,590 ตัว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 ตุลาคม 2551--จบ--