คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอข้อมูลสภาวะอากาศ สรุปได้ดังนี้
สาระสำคัญ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา (29 กันยายน — 5 ตุลาคม 2551)
ด้วยในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา พายุโซนร้อน เมขลา ได้ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ ได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย บริเวณจังหวัดหนองคาย ในคืนวันที่ 30 กันยายน 2551 ก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ ในวันถัดมาพายุลูกนี้ส่งผลดีต่อประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังคงมีฝนตกน้อยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีการกระจายของฝนค่อนข้างดี โดยฝนที่ตกหนักไม่มีการกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หลังจากนั้นฝนที่ตกในประเทศไทยยังคงมีการกระจายตัวดีจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันข้างหน้า (6 - 12 ตุลาคม 2551)
การคาดหมายลักษณะอากาศที่สำคัญในช่วง 7 วันข้างหน้า (6 — 12 ตุลาคม 2551)
ลักษณะอากาศทั่วไป ในช่วงวันที่ 6 - 8 ตุลาคม 2551 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศลาว ส่งผลให้ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกำลังแรงขึ้น หลังจากนั้นร่องนี้จะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก
คาดหมาย คาดว่า ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกหนาแน่นเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งแรก หลังจากนั้นฝนจะลดน้อยลง โดยฝนจะมาตกชุกหนาแน่นในภาคกลางและภาคตะวันออก
สรุป พื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงต้องระมัดระวังภัยจากน้ำท่วม เฉพาะในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ สำหรับครึ่งหลังพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคกลางและภาคตะวันออกต้องเพิ่มความระมัดระวังภัยจากน้ำท่วม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 ตุลาคม 2551--จบ--
สาระสำคัญ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา (29 กันยายน — 5 ตุลาคม 2551)
ด้วยในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา พายุโซนร้อน เมขลา ได้ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ ได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย บริเวณจังหวัดหนองคาย ในคืนวันที่ 30 กันยายน 2551 ก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ ในวันถัดมาพายุลูกนี้ส่งผลดีต่อประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังคงมีฝนตกน้อยในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีการกระจายของฝนค่อนข้างดี โดยฝนที่ตกหนักไม่มีการกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง หลังจากนั้นฝนที่ตกในประเทศไทยยังคงมีการกระจายตัวดีจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำ
ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันข้างหน้า (6 - 12 ตุลาคม 2551)
การคาดหมายลักษณะอากาศที่สำคัญในช่วง 7 วันข้างหน้า (6 — 12 ตุลาคม 2551)
ลักษณะอากาศทั่วไป ในช่วงวันที่ 6 - 8 ตุลาคม 2551 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศลาว ส่งผลให้ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกำลังแรงขึ้น หลังจากนั้นร่องนี้จะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก
คาดหมาย คาดว่า ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนตกหนาแน่นเพิ่มมากขึ้นในช่วงครึ่งแรก หลังจากนั้นฝนจะลดน้อยลง โดยฝนจะมาตกชุกหนาแน่นในภาคกลางและภาคตะวันออก
สรุป พื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังคงต้องระมัดระวังภัยจากน้ำท่วม เฉพาะในช่วงครึ่งแรกของสัปดาห์ สำหรับครึ่งหลังพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคกลางและภาคตะวันออกต้องเพิ่มความระมัดระวังภัยจากน้ำท่วม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 ตุลาคม 2551--จบ--