1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 226/2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายและ
มอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 226/2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ดังนี้
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1.1 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
1.2 นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
1.3 นายโอฬาร ไชยประวัติ
1.4 พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
ส่วนที่ 2 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการ แทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ รองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนตามลำดับ
1. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 1. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2. นายโอฬาร ไชยประวัติ
2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล 1. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
2. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
3. นายโอฬาร ไชยประวัติ 1. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
2. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
4. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ 1. นายโอฬาร ไชยประวัติ
2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ส่วนที่ 3 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือ ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน ตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนตามลำดับ
1. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ 1. นายสุพล ฟองงาม
2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2. นายสุพล ฟองงาม 1. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 227 /2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายก
รัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 227 /2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีและกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 นิยาม
ในคำสั่งนี้
“กำกับการบริหารราชการ” หมายความว่า กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง หรือสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน หรือคณะกรรมการอื่นแทนนายกรัฐมนตรี ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี อนุญาต หรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
“สั่งและปฏิบัติราชการ” หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการหรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
“กำกับดูแล” หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
ส่วนที่ 2
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.1.1 กระทรวงการต่างประเทศ
1.1.2 กระทรวงคมนาคม
1.1.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.1.4 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.1.5 กระทรวงพลังงาน
1.1.6 กระทรวงยุติธรรม
1.1.7 ราชบัณฑิตยสถาน
1.2 กำกับดูแลและลงนามในเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.2.1 การขอพระราชทานอภัยโทษ
1.2.2 การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
1.3 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน
1.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 - 1.3 ยกเว้น
1.4.1 เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
1.4.2 การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
1.4.3 การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรมเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
1.4.4 การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
1.4.5 การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
1.4.6 การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
1.4.7 เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม
ส่วนที่ 3
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2.1.2 กระทรวงศึกษาธิการ
2.1.3 กระทรวงสาธารณสุข
2.1.4 กรมประชาสัมพันธ์
2.1.5 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
2.3.1 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
2.3.2 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2.4 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และการดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรีในการสั่งการตามกฎหมายดังกล่าว
2.5 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมายและการดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรีในการสั่งการตามกฎหมายดังกล่าว
2.6 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
2.7 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2.8 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ
2.9 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
2.10 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 — 2.9 ยกเว้นในข้อ 1.4
ส่วนที่ 4
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายโอฬาร ไชยประวัติ)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.1.1 กระทรวงการคลัง
3.1.2 กระทรวงพาณิชย์
3.1.4 กระทรวงแรงงาน
3.1.5 กระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.2.2 สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
3.3.1 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
3.3.2 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
3.4 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งชาติ
3.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 — 3.4 ยกเว้นในข้อ 1.4
ส่วนที่ 5
4. รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.1.1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
4.1.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.1.3 กระทรวงวัฒนธรรม
4.1.4 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.1.5 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
4.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
4.3.1 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
4.3.2 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
4.3.3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4.4 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
4.5 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ
4.6 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 — 4.5 ยกเว้นในข้อ 1.4
ส่วนที่ 6
5. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ)
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.1.1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
5.1.2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
5.1.3 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
5.1.4 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ส่วนที่ 7
6. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุพล ฟองงาม)
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.1.1 กรมประชาสัมพันธ์
6.1.2 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
6.1.3 ราชบัณฑิตยสถาน
6.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
6.3 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยการขายตรงและตลาดแบบตรง
ส่วนที่ 8
7. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมมีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้
7.1 การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
7.2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้นเป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
7.3 การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
7.4 การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
8. ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรงให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ
9. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
10.ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บริหารราชการตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 ในการอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ความคุ้มค่า ความรวดเร็ว และความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ รวมทั้ง การประสานราชการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีประสิทธิภาพและบังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและประชาชน โดยคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบ การกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในเชิงรุกในการผลักดันนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีให้เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความมั่นคงแข็งแกร่งในทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพประชากรในทางสังคม และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในทางการเมืองการปกครอง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ดังนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราช บัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.1.1 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
1.1.2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
1.1.3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
1.1.4 คณะกรรมการคดีพิเศษ
1.1.5 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม
1.1.6 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
1.1.7 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
1.1.8 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และ
1.1.9 รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.2.1 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย
1.2.2 คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนัก นายกรัฐมนตรี
1.2.3 คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
1.2.4 คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงแห่งชาติ
1.2.5 คณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ
1.2.6 คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ
1.2.7 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
1.2.8 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
1.2.9 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
1.2.10 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
ส่วนที่ 2
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.1.1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2.1.2 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2.1.3 คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.1.4 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่ สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
2.1.5 สภานายกสภาลูกเสือไทย
2.1.6 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ
2.1.7 คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
2.1.8 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2.1.9 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
2.1.10 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
2.1.11 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
2.1.12 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
2.1.13 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
2.1.14 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
2.1.15 คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และ
2.1.16 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.2.1 คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
2.2.2 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
2.2.3 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
2.2.4 คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
2.2.5 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ
2.2.6 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
ส่วนที่ 3
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายโอฬาร ไชยประวัติ)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.1.1 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.1.2 คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
3.1.3 คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ
3.1.4 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย
3.1.5 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
3.1.6 คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3.2.2 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
3.2.3 คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3.2.4 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
3.2.5 คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
3.2.6 คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
3.2.7 คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
3.2.8 คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ส่วนที่ 4
4. รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.1.1 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
4.1.2 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
4.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
4.1.4 คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
4.1.5 สภาวิจัยแห่งชาติ
4.1.6 คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
4.1.7 คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ
4.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.2.1 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
4.2.2 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
4.2.3 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
4.2.4 คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง
4.2.5 คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
4.2.6 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
4.2.7 คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
4.2.8 คณะกรรมการนโยบายนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
4.2.9 คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
4.2.10 คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
ส่วนที่ 5
5. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ)
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.1.1 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และ
5.1.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
5.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.2.1 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นต่ำกว่า สายสะพาย
5.2.2 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
5.2.3 คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
5.2.4 คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
ส่วนที่ 6
6. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุพล ฟองงาม)
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.1.1 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และ
6.1.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
6.1.3 กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.2.1 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
6.2.2 คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ และ
6.2.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
ส่วนที่ 7
7. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใดเป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย ยกเว้น อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ) เป็นประธาน
8. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
9. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควร ให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 229 /2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับ
และติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 229 /2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังนี้
โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในการประสานติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือ และประเมินผลการปฏิบัติราชการในภูมิภาคให้บังเกิดประสิทธิภาพ เรียบร้อย รวดเร็ว เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยสมควรใช้พื้นที่เขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหลักอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และข้อ 13 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่
1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย แพร่
เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์
1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สุมทรสงคราม
เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง
เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
1.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายโอฬาร ไชยประวัติ) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี
เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ
เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง
1.4 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี
เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี
1.5 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด
เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู
เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์
1.6 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุพล ฟองงาม) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร
เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี
เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ
2. การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ของชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทน แล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
5. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย
6. ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
5. การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 กระทรวงมหาดไทย ตามที่ กระทรวงมหาดไทยเสนอ
1. นายวิชัย ศรีขวัญ พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมการปกครองและให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดราชบุรี และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมการปกครอง
3. นายสมพร ใช้บางยาง พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และให้ดำรงตำแหน่ง
รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
4. นายสุกิจ เจริญรัตนกุล พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
5. นายสุธี มากบุญ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนครราชสีมา และให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
6. นายประจักษ์ สุวรรณภักดี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดจันทบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนครราชสีมา
7. นายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุรินทร์ และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดจันทบุรี
8. นายต่อพงษ์ อ่ำพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดเพชรบูรณ์ และให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
9. นายอุดม พัวสกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดอุทัยธานี และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี
(นักบริหาร 10) กรมโยธาธิการและผังเมือง
10.นายปรีชา บุตรศรี พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมการพัฒนาชุมชนและให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง 10) จังหวัดปทุมธานี
11.นายชุมพร พลรักษ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดตากและให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี
(นักบริหาร 10) กรมการพัฒนาชุมชน
12.นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมที่ดินและให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
(ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
13.นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสมุทรปราการ และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมที่ดิน
14.นายขวัญชัย วงศ์นิติกร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสตูล และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสมุทรปราการ
15.นายสยุมพร ลิ่มไทย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดเพชรบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสตูล
16.นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดมหาสารคาม และให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกรทรวง
17.นายสุวัฒน์ ตันประวัติ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสกลนคร และให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
18.นายวิทยา ผิวผ่อง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดกำแพงเพชร และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสกลนคร
19.ว่าที่ร้อยตรีโอภาส เศวตมณี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสมุทรสงคราม และให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
20.นายประภาศ บุญยินดี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสิงห์บุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสมุทรสงคราม
21.นายวิชัย ไพรสงบ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดพังงาและให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสิงห์บุรี
22.นายวันชัย สุทิน พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุโขทัยและให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
23.นายอำนาจ ผการัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดกาญจนบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดอุดรธานี
24.นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดกาญจนบุรี
25.นายมานิตย์ วัฒนเสน พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดชุมพร และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดขอนแก่น
26.นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนราธิวาส และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดชุมพร
27.นายวีรวิทย์ วิวัฒนวานิช พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดยโสธร และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดฉะเชิงเทรา
28.นายภานุ อุทัยรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดปัตตานี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนครศรีธรรมราช
29.นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดน่าน และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดตรัง
30.นายวินัย บัวประดิษฐ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดชัยนาท
31.นายประชา เตรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดชลบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
32.นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสระแก้ว และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดชลบุรี
33.นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดลำพูน และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดลำปาง
34.นายดิเรก ก้อนกลีบ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดลำปาง และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดลำพูน
35.นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 10 ชช) และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดระนอง
36.นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสระบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดปราจีนบุรี
37.นายธนเษก อัศวานุวัตร พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสระบุรี
38.นางพรรณี แก่นสุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดปราจีนบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
39.นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดภูเก็ต
40.นายปรีชา เรืองจันทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดพิจิตร และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดภูเก็ต
41.นายกวี กิตติสถาพร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนครสวรรค์ และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดหนองคาย
42.นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์ ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมการปกครองให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนครสวรรค์
43.นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดสงขลา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดปัตตานี
44.นายโยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดลพบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุโขทัย
45.นายสุเมธ แสงนิ่มนวล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดอ่างทองให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
46.นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดนครสวรรค์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดอุทัยธานี
47.นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดพะเยา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดน่าน
48.นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดอุดรธานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดเพชรบูรณ์
49.นายปราโมทย์ สัจจรักษ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดอุบลราชธานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุรินทร์
50.นายพินิจ เจริญพานิช ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดระนองให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดมหาสารคาม
51.นายศานิตย์ นาคสุขศรี ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดสระแก้ว ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสระแก้ว
52.นายวินัย ครุวรรณพัฒน์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดปัตตานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนราธิวาส
53.นางวรรณิดา บุญประคอง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดสมุทรปราการ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
54.นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดนครปฐม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดยโสธร
55.นายเยี่ยมสุริยา พาลุสุข ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดหนองบัวลำภู ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดพังงา
56.นายวันชัย อุดมสิน ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดสุรินทร์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดกำแพงเพชร
57.นายวิเชียร ชวลิต ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดอำนาจเจริญ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดอำนาจเจริญ
58.นายคมสัน เอกชัย ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดชลบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดตาก
59.นายสมชัย หทยะตันติ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดแพร่ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดพิจิตร
60.นายชาย พานิชพรพันธุ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดลำปาง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดเพชรบุรี
61.นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดนครราชสีมา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดร้อยเอ็ด
62.นายมงคล สุระสัจจะ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดศรีสะเกษ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดบุรีรัมย์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
6. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางมุกดา พงษ์สมบัติ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 2. นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 4 ราย ดังนี้ 1. นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์) 2. นายเกษมสันต์ วีระกุล เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การคลัง (นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์) 3. นายพฤติชัย ดำรงรัตน์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี) 4. นางรัชนี พลซื่อ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี)
8. การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้ 1. นายธนพล สมรูป เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประสงค์ โฆษิตานนท์) 2. นายจตุพัฒน์ บารมี เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประสงค์ โฆษิตานนท์)
9. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้ 1. นายเสรี วงษ์มณฑา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร) 2. นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร)
10.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นายภูวเดช อินทวงศ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2. นายศราวุธ เพชรพนมพร เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
11.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2. นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ ดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3. นางสาววีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส ดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
12.การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้ง นายชาญ คราประยูร ดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
13.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ดังต่อไปนี้ 1.นายยุรนันท์ ภมรมนตรี เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2. นางสาวลีลาวดี วัชโรบล เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
14.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองจำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นางศรีญาดา ชินวัตร เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 2. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
15.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงยุติธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอให้แต่งตั้ง นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
16.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) เสนอให้แต่งตั้ง นายโสภณ โกชุม ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)
17.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมืองดังนี้ 1. นายณพจน์สกร ทรัพยสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายธีระชัย แสนแก้ว) 2. นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีระชัย แสนแก้ว)
18.แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ 10 (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 ดังนี้
1. นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
3. นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักบริหาร 10) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รับโอนมาดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
4. นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ รองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
5. นายบุญนริศร์ สุวรรณพูล รองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
19.การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) ทดแทนข้าราชการที่เกษียณอายุ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง ดังนี้ 1. นางจิรพร มีหลีสวัสดิ์ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ 10 ชช.) ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) 2. นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ 10 ชช.) ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) 3. นายพิพัฒน์ บูรณะนนท์ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ 10 ชช.) ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
20.การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ ให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ด้วย โดยให้เป็นไปตามลำดับ ดังนี้ 1. นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 2. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
21.การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอมอบหมายการรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยให้เป็นไปตามลำดับ ดังนี้ 1. นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 2. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
22.การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 6 ราย ดังนี้
1. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2. นางสาวเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ชัย ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์)
3. นายวีระศักดิ์ จินารัตน์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์)
4. นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
5. นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์)
6. ร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์)
23.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นางรัตนาภรณ์ สมบูรณ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
24.ขอความเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ดังนี้ 1. นายธีระวัฒน์ ศิริวันสานฑ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวราวุธ ศิลปอาชา) 2. นายบัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการในหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวราวุธ ศิลปอาชา) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
25.ขอความเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ดังนี้ 1. นายยืนหยัด ใจสมุทร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายโสภณ ซารัมย์) 2. นายสมศักดิ์ แต้เจริญวิริยะกุล เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการในหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายโสภณ ซารัมย์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
26.การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอให้แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ แทนนายศิวะพร ทรรทรานนท์ นายประเสริฐ เกษมโกเมศ และกรรมการอื่น รวม 4 คน ดังนี้ 1. นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต (ลำดับที่ 46 ตามบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง) 2. ผศ.ดร. มานวิภา อินทรทัต (ลำดับที่ 64 ตามบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง) 3. นายวิรัติ ศักดิ์จิรพาพงษ์ (ลำดับที่ 76 ตามบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง) 4. นายประดิษฐ์ วงศ์วิลัย
27.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 10 ราย ดังนี้
1. พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
2. นายสุชน ชาลีเครือ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
3. นายนิกร จำนง ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
4. นายปลอดประสพ สุรัสวดี ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
5. นายณัฐพล เกียรติวินัยสกุล ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายก รัฐมนตรี นายชวรัตน์
ชาญวีรกูล)
6. นายสมพรต สาระโกเศศ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล)
7. นายกมล บันไดเพชร ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ)
8. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ)
9. นายนาวิน บุญเสรฐ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสุพล ฟองงาม)
10.นายชัยศรี กีฬา ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสุพล ฟองงาม)
28.การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพิ่มเติม
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอให้แต่งตั้ง นายอัชพร จารุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน (เพิ่มเติม)
29.การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 230 / 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ดังนี้
เพื่อให้การดำเนินการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาสินค้าข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของประเทศ บังเกิดประสิทธิผลเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต ระบบการผลิต และการตลาดข้าวโดยส่วนรวม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ” เรียกโดยย่อว่า “กขช.” โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (นายโอฬาร ไชยประวัติ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นายปราโมทย์ วานิชานนท์ นายสมพร อิศวิลานนท์ และนายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมการค้าภายใน และอธิบดีกรมการข้าว เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
(1) เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ ต่อคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับข้าวในระยะสั้นและระยะยาวให้สอดรับกันทั้งระบบ
(2) อนุมัติแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดข้าวที่คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตและคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาดเสนอ
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อการพัฒนาการผลิตและการตลาดข้าว โดยผ่านกองทุนวิจัยพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและการตลาด หรือแหล่งทุนอื่นที่ กขช. จะเห็นสมควร
(4) พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสีข้าว ผู้ค้าข้าวและผู้ส่งออกข้าว เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมสูงสุดและเกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(5) พิจารณาอนุมัติการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ของระเบียบนี้
(6) ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย และมาตรการที่กำหนด
(7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการด้านการผลิตและการตลาดข้าวตามที่ กขช.เห็นสมควร
(8) เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือขอเอกสารหลักฐาน โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการ
(9) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 โดยเบิกจ่ายจากสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 ตุลาคม 2551--จบ--
มอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 226/2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีและมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ดังนี้
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกัน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
1. ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
1.1 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
1.2 นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
1.3 นายโอฬาร ไชยประวัติ
1.4 พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
2. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนข้างต้น จะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้ต้องได้รับความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
ส่วนที่ 2 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการ แทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ รองนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนตามลำดับ
1. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ 1. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2. นายโอฬาร ไชยประวัติ
2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล 1. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
2. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
3. นายโอฬาร ไชยประวัติ 1. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
2. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
4. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ 1. นายโอฬาร ไชยประวัติ
2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ส่วนที่ 3 นายกรัฐมนตรีมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือ ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนกัน ตามลำดับ ดังนี้
ลำดับที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนตามลำดับ
1. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ 1. นายสุพล ฟองงาม
2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2. นายสุพล ฟองงาม 1. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
2. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 227 /2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายก
รัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 227 /2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีและกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 นิยาม
ในคำสั่งนี้
“กำกับการบริหารราชการ” หมายความว่า กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง หรือสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน หรือคณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน หรือคณะกรรมการอื่นแทนนายกรัฐมนตรี ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี อนุญาต หรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ
“สั่งและปฏิบัติราชการ” หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการหรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
“กำกับดูแล” หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
ส่วนที่ 2
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.1.1 กระทรวงการต่างประเทศ
1.1.2 กระทรวงคมนาคม
1.1.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.1.4 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.1.5 กระทรวงพลังงาน
1.1.6 กระทรวงยุติธรรม
1.1.7 ราชบัณฑิตยสถาน
1.2 กำกับดูแลและลงนามในเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.2.1 การขอพระราชทานอภัยโทษ
1.2.2 การขอแปลงสัญชาติเป็นไทย
1.3 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน
1.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 - 1.3 ยกเว้น
1.4.1 เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
1.4.2 การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
1.4.3 การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรมเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
1.4.4 การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
1.4.5 การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี
1.4.6 การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
1.4.7 เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม
ส่วนที่ 3
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2.1.2 กระทรวงศึกษาธิการ
2.1.3 กระทรวงสาธารณสุข
2.1.4 กรมประชาสัมพันธ์
2.1.5 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
2.3.1 สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
2.3.2 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2.4 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และการดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรีในการสั่งการตามกฎหมายดังกล่าว
2.5 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมายและการดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรีในการสั่งการตามกฎหมายดังกล่าว
2.6 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
2.7 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2.8 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติ
2.9 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
2.10 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 — 2.9 ยกเว้นในข้อ 1.4
ส่วนที่ 4
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายโอฬาร ไชยประวัติ)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.1.1 กระทรวงการคลัง
3.1.2 กระทรวงพาณิชย์
3.1.4 กระทรวงแรงงาน
3.1.5 กระทรวงอุตสาหกรรม
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.2.2 สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
3.3.1 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
3.3.2 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
3.4 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งชาติ
3.5 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 — 3.4 ยกเว้นในข้อ 1.4
ส่วนที่ 5
4. รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.1.1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
4.1.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.1.3 กระทรวงวัฒนธรรม
4.1.4 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.1.5 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
4.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
4.3 การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
4.3.1 สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
4.3.2 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
4.3.3 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
4.4 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
4.5 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ
4.6 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 — 4.5 ยกเว้นในข้อ 1.4
ส่วนที่ 6
5. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ)
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.1.1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
5.1.2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
5.1.3 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
5.1.4 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ส่วนที่ 7
6. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุพล ฟองงาม)
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.1.1 กรมประชาสัมพันธ์
6.1.2 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
6.1.3 ราชบัณฑิตยสถาน
6.2 การมอบหมายให้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
- บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
6.3 การสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยการขายตรงและตลาดแบบตรง
ส่วนที่ 8
7. รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ ย่อมมีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้
7.1 การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
7.2 การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้นเป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
7.3 การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
7.4 การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
8. ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรงให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ
9. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
10.ในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บริหารราชการตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 ในการอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ความคุ้มค่า ความรวดเร็ว และความมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ รวมทั้ง การประสานราชการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีประสิทธิภาพและบังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและประชาชน โดยคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเป็นระบบ การกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในเชิงรุกในการผลักดันนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีให้เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความมั่นคงแข็งแกร่งในทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพประชากรในทางสังคม และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในทางการเมืองการปกครอง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
3. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 228/2551 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ดังนี้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 15 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่แก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราช บัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1
1. รองนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)
1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
1.1.1 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
1.1.2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
1.1.3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
1.1.4 คณะกรรมการคดีพิเศษ
1.1.5 คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม
1.1.6 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
1.1.7 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
1.1.8 คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และ
1.1.9 รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
1.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1.2.1 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย
1.2.2 คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยสำนัก นายกรัฐมนตรี
1.2.3 คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
1.2.4 คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงแห่งชาติ
1.2.5 คณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ
1.2.6 คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งชาติ
1.2.7 คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
1.2.8 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
1.2.9 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า
1.2.10 คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ
ส่วนที่ 2
2. รองนายกรัฐมนตรี (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล)
2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
2.1.1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2.1.2 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
2.1.3 คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.1.4 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่ สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์
2.1.5 สภานายกสภาลูกเสือไทย
2.1.6 คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ
2.1.7 คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
2.1.8 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
2.1.9 คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
2.1.10 คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
2.1.11 คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
2.1.12 คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ
2.1.13 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ
2.1.14 คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
2.1.15 คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และ
2.1.16 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
2.2.1 คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
2.2.2 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์
2.2.3 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ
2.2.4 คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ
2.2.5 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ
2.2.6 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ
ส่วนที่ 3
3. รองนายกรัฐมนตรี (นายโอฬาร ไชยประวัติ)
3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
3.1.1 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
3.1.2 คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ
3.1.3 คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ
3.1.4 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย
3.1.5 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ
3.1.6 คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ
3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
3.2.1 คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
3.2.2 คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
3.2.3 คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3.2.4 คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน
3.2.5 คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ
3.2.6 คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
3.2.7 คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ
3.2.8 คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ส่วนที่ 4
4. รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์)
4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
4.1.1 คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ
4.1.2 คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
4.1.3 คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
4.1.4 คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
4.1.5 สภาวิจัยแห่งชาติ
4.1.6 คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
4.1.7 คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ
4.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
4.2.1 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
4.2.2 คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
4.2.3 คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน
4.2.4 คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนงานโครงการหลวง
4.2.5 คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
4.2.6 คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
4.2.7 คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
4.2.8 คณะกรรมการนโยบายนาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
4.2.9 คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
4.2.10 คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ
ส่วนที่ 5
5. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ)
5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
5.1.1 คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และ
5.1.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
5.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
5.2.1 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นต่ำกว่า สายสะพาย
5.2.2 คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ
5.2.3 คณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
5.2.4 คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
ส่วนที่ 6
6. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุพล ฟองงาม)
6.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
6.1.1 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และ
6.1.2 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
6.1.3 กรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
6.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
6.2.1 คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ
6.2.2 คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ และ
6.2.3 รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
ส่วนที่ 7
7. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใดเป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ.กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย ยกเว้น อ.ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ) เป็นประธาน
8. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
9. ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควร ให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
4. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 229 /2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับ
และติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 229 /2551 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังนี้
โดยที่เป็นการสมควรมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในการประสานติดตาม เร่งรัด ช่วยเหลือ และประเมินผลการปฏิบัติราชการในภูมิภาคให้บังเกิดประสิทธิภาพ เรียบร้อย รวดเร็ว เกิดประโยชน์สูงสุด สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถแปลงนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยสมควรใช้พื้นที่เขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหลักอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และข้อ 13 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 นายกรัฐมนตรี จึงมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1. พื้นที่
1.1 รองนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน
เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดน่าน พะเยา เชียงราย แพร่
เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์
1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสาคร สุมทรสงคราม
เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง
เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
1.3 รองนายกรัฐมนตรี (นายโอฬาร ไชยประวัติ) กำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี
เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก สมุทรปราการ
เขตตรวจราชการที่ 7 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง
1.4 รองนายกรัฐมนตรี (พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง
เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี
เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี
1.5 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ระยอง ตราด
เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดหนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู
เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์
1.6 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุพล ฟองงาม) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่ดังนี้
เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร
เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี
เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ
2. การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ของชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหา อุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตาม การปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
4. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทน แล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
5. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย
6. ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
5. การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 กระทรวงมหาดไทย
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 กระทรวงมหาดไทย ตามที่ กระทรวงมหาดไทยเสนอ
1. นายวิชัย ศรีขวัญ พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมการปกครองและให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดราชบุรี และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมการปกครอง
3. นายสมพร ใช้บางยาง พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และให้ดำรงตำแหน่ง
รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
4. นายสุกิจ เจริญรัตนกุล พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
5. นายสุธี มากบุญ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนครราชสีมา และให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
6. นายประจักษ์ สุวรรณภักดี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดจันทบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนครราชสีมา
7. นายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุรินทร์ และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดจันทบุรี
8. นายต่อพงษ์ อ่ำพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดเพชรบูรณ์ และให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
9. นายอุดม พัวสกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดอุทัยธานี และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี
(นักบริหาร 10) กรมโยธาธิการและผังเมือง
10.นายปรีชา บุตรศรี พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมการพัฒนาชุมชนและให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
(นักปกครอง 10) จังหวัดปทุมธานี
11.นายชุมพร พลรักษ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดตากและให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี
(นักบริหาร 10) กรมการพัฒนาชุมชน
12.นายชัยฤกษ์ ดิษฐอำนาจ พ้นจากตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมที่ดินและให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง
(ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
13.นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสมุทรปราการ และให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร 10) กรมที่ดิน
14.นายขวัญชัย วงศ์นิติกร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสตูล และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสมุทรปราการ
15.นายสยุมพร ลิ่มไทย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดเพชรบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสตูล
16.นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดมหาสารคาม และให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกรทรวง
17.นายสุวัฒน์ ตันประวัติ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสกลนคร และให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
18.นายวิทยา ผิวผ่อง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดกำแพงเพชร และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสกลนคร
19.ว่าที่ร้อยตรีโอภาส เศวตมณี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสมุทรสงคราม และให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
20.นายประภาศ บุญยินดี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสิงห์บุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสมุทรสงคราม
21.นายวิชัย ไพรสงบ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดพังงาและให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสิงห์บุรี
22.นายวันชัย สุทิน พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุโขทัยและให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
23.นายอำนาจ ผการัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดกาญจนบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดอุดรธานี
24.นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดกาญจนบุรี
25.นายมานิตย์ วัฒนเสน พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดชุมพร และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดขอนแก่น
26.นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนราธิวาส และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดชุมพร
27.นายวีรวิทย์ วิวัฒนวานิช พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดยโสธร และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดฉะเชิงเทรา
28.นายภานุ อุทัยรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดปัตตานี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนครศรีธรรมราช
29.นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดน่าน และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดตรัง
30.นายวินัย บัวประดิษฐ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดชัยนาท
31.นายประชา เตรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดชลบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
32.นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสระแก้ว และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดชลบุรี
33.นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดลำพูน และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดลำปาง
34.นายดิเรก ก้อนกลีบ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดลำปาง และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดลำพูน
35.นายวันชาติ วงษ์ชัยชนะ พ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 10 ชช) และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดระนอง
36.นายธวัชชัย เทอดเผ่าไทย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสระบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดปราจีนบุรี
37.นายธนเษก อัศวานุวัตร พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสระบุรี
38.นางพรรณี แก่นสุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดปราจีนบุรี และให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
39.นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดภูเก็ต
40.นายปรีชา เรืองจันทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดพิจิตร และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดภูเก็ต
41.นายกวี กิตติสถาพร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนครสวรรค์ และให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดหนองคาย
42.นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์ ตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมการปกครองให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนครสวรรค์
43.นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดสงขลา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดปัตตานี
44.นายโยธินศร์ สมุทรคีรีจ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดลพบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุโขทัย
45.นายสุเมธ แสงนิ่มนวล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดอ่างทองให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
46.นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดนครสวรรค์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดอุทัยธานี
47.นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดพะเยา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดน่าน
48.นายวิลาศ รุจิวัฒนพงศ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดอุดรธานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดเพชรบูรณ์
49.นายปราโมทย์ สัจจรักษ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดอุบลราชธานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสุรินทร์
50.นายพินิจ เจริญพานิช ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดระนองให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดมหาสารคาม
51.นายศานิตย์ นาคสุขศรี ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดสระแก้ว ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดสระแก้ว
52.นายวินัย ครุวรรณพัฒน์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดปัตตานี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดนราธิวาส
53.นางวรรณิดา บุญประคอง ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดสมุทรปราการ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
54.นายขจรศักดิ์ สิงโตกุล ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดนครปฐม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดยโสธร
55.นายเยี่ยมสุริยา พาลุสุข ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดหนองบัวลำภู ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดพังงา
56.นายวันชัย อุดมสิน ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดสุรินทร์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดกำแพงเพชร
57.นายวิเชียร ชวลิต ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดอำนาจเจริญ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดอำนาจเจริญ
58.นายคมสัน เอกชัย ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดชลบุรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดตาก
59.นายสมชัย หทยะตันติ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดแพร่ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดพิจิตร
60.นายชาย พานิชพรพันธุ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดลำปาง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดเพชรบุรี
61.นายพงษ์ศิริ กุสุมภ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดนครราชสีมา ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดร้อยเอ็ด
62.นายมงคล สุระสัจจะ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 9) จังหวัดศรีสะเกษ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง 10) จังหวัดบุรีรัมย์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เป็นต้นไป
6. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นางมุกดา พงษ์สมบัติ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 2. นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
7. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 4 ราย ดังนี้ 1. นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์) 2. นายเกษมสันต์ วีระกุล เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การคลัง (นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์) 3. นายพฤติชัย ดำรงรัตน์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี) 4. นางรัชนี พลซื่อ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี)
8. การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้ 1. นายธนพล สมรูป เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประสงค์ โฆษิตานนท์) 2. นายจตุพัฒน์ บารมี เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประสงค์ โฆษิตานนท์)
9. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้ 1. นายเสรี วงษ์มณฑา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร) 2. นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร)
10.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นายภูวเดช อินทวงศ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2. นายศราวุธ เพชรพนมพร เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
11.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ดำรงตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2. นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ ดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 3. นางสาววีรินทร์ทิรา นาทองบ่อจรัส ดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
12.การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้แต่งตั้ง นายชาญ คราประยูร ดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
13.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)
คณะรัฐมนตรอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ดังต่อไปนี้ 1.นายยุรนันท์ ภมรมนตรี เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 2. นางสาวลีลาวดี วัชโรบล เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
14.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมืองจำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นางศรีญาดา ชินวัตร เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 2. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
15.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงยุติธรรม)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอให้แต่งตั้ง นายภูมิพัฒน์ พชรทรัพย์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
16.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) เสนอให้แต่งตั้ง นายโสภณ โกชุม ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์)
17.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้แต่งตั้งข้าราชการการเมืองดังนี้ 1. นายณพจน์สกร ทรัพยสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายธีระชัย แสนแก้ว) 2. นายสุรชาติ ชาญประดิษฐ์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธีระชัย แสนแก้ว)
18.แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ 10 (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งระดับ 10 ดังนี้
1. นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
2. นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง และให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
3. นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักบริหาร 10) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รับโอนมาดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
4. นายบรรยงค์ ลิ้มประยูรวงศ์ รองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
5. นายบุญนริศร์ สุวรรณพูล รองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
19.การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) ทดแทนข้าราชการที่เกษียณอายุ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอให้แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่ง ดังนี้ 1. นางจิรพร มีหลีสวัสดิ์ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ 10 ชช.) ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) 2. นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ 10 ชช.) ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) 3. นายพิพัฒน์ บูรณะนนท์ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณ 10 ชช.) ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (นักบริหาร 10) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
20.การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ในการแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ ให้ครอบคลุมถึงกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ด้วย โดยให้เป็นไปตามลำดับ ดังนี้ 1. นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ 2. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
21.การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติเป็นหลักการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอมอบหมายการรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยให้เป็นไปตามลำดับ ดังนี้ 1. นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 2. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
22.การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพาณิชย์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 6 ราย ดังนี้
1. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2. นางสาวเพ็ญชิสา หงษ์อุปถัมภ์ชัย ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์)
3. นายวีระศักดิ์ จินารัตน์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์)
4. นายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
5. นายเกรียงไกร กิตติธเนศวร ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์)
6. ร้อยเอก รชฏ พิสิษฐบรรณกร ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์)
23.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นางรัตนาภรณ์ สมบูรณ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. นายสุวัฒน์ ม่วงศิริ เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
24.ขอความเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ดังนี้ 1. นายธีระวัฒน์ ศิริวันสานฑ์ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวราวุธ ศิลปอาชา) 2. นายบัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการในหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวราวุธ ศิลปอาชา) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
25.ขอความเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ดังนี้ 1. นายยืนหยัด ใจสมุทร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายโสภณ ซารัมย์) 2. นายสมศักดิ์ แต้เจริญวิริยะกุล เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการในหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายโสภณ ซารัมย์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
26.การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอให้แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ แทนนายศิวะพร ทรรทรานนท์ นายประเสริฐ เกษมโกเมศ และกรรมการอื่น รวม 4 คน ดังนี้ 1. นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต (ลำดับที่ 46 ตามบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง) 2. ผศ.ดร. มานวิภา อินทรทัต (ลำดับที่ 64 ตามบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง) 3. นายวิรัติ ศักดิ์จิรพาพงษ์ (ลำดับที่ 76 ตามบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง) 4. นายประดิษฐ์ วงศ์วิลัย
27.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้แต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 10 ราย ดังนี้
1. พลเอก เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
2. นายสุชน ชาลีเครือ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
3. นายนิกร จำนง ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
4. นายปลอดประสพ สุรัสวดี ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
5. นายณัฐพล เกียรติวินัยสกุล ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายก รัฐมนตรี นายชวรัตน์
ชาญวีรกูล)
6. นายสมพรต สาระโกเศศ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (รองนายกรัฐมนตรี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล)
7. นายกมล บันไดเพชร ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ)
8. นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ)
9. นายนาวิน บุญเสรฐ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสุพล ฟองงาม)
10.นายชัยศรี กีฬา ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสุพล ฟองงาม)
28.การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพิ่มเติม
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอให้แต่งตั้ง นายอัชพร จารุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน (เพิ่มเติม)
29.การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 230 / 2551 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ดังนี้
เพื่อให้การดำเนินการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาสินค้าข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของประเทศ บังเกิดประสิทธิผลเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต ระบบการผลิต และการตลาดข้าวโดยส่วนรวม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ” เรียกโดยย่อว่า “กขช.” โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี (นายโอฬาร ไชยประวัติ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้แทนสำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย นายปราโมทย์ วานิชานนท์ นายสมพร อิศวิลานนท์ และนายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมการค้าภายใน และอธิบดีกรมการข้าว เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่
(1) เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ ต่อคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับข้าวในระยะสั้นและระยะยาวให้สอดรับกันทั้งระบบ
(2) อนุมัติแผนงาน โครงการ และมาตรการเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดข้าวที่คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการผลิตและคณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติด้านการตลาดเสนอ
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัย เพื่อการพัฒนาการผลิตและการตลาดข้าว โดยผ่านกองทุนวิจัยพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและการตลาด หรือแหล่งทุนอื่นที่ กขช. จะเห็นสมควร
(4) พิจารณาหลักเกณฑ์ และวิธีการสนับสนุน ช่วยเหลือเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการโรงสีข้าว ผู้ค้าข้าวและผู้ส่งออกข้าว เพื่อให้เกิดประโยชน์โดยรวมสูงสุดและเกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
(5) พิจารณาอนุมัติการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ของระเบียบนี้
(6) ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย และมาตรการที่กำหนด
(7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และคณะที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการด้านการผลิตและการตลาดข้าวตามที่ กขช.เห็นสมควร
(8) เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงหรือขอเอกสารหลักฐาน โดยให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของทางราชการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการ
(9) ดำเนินการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 โดยเบิกจ่ายจากสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 ตุลาคม 2551--จบ--