คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 ที่เห็นชอบให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว และอนุมัติร่างพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยร่างพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 ซึ่งมีหลักการดังนี้
1. เพิ่มเติมความเป็นบทนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 คำว่า “สลากรัฐบาล” และ “สลากกินรวบรัฐบาล” เพื่อให้สลากรัฐบาลรวมถึงการออกสลากกินรวบของรัฐบาลด้วย ทำให้เกิดความชัดเจนในการตีความ
2. ยกเลิกความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 และให้ใช้ความใหม่แทน เพื่อเพิ่มวัตถุประสงค์ให้ครอบคลุมถึงการออกสลากรัฐบาลทุกประเภท
3. ยกเลิกความในมาตรา 13 (7) แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 และให้ใช้ความใหม่แทน เพื่อให้การกำหนดราคา วิธีการจำหน่าย และการคัดเลือกตัวแทนจำหน่าย ครอบคลุมสลากทุกประเภท
4. เพิ่มเติมความเป็นมาตรา 22/1 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 เพื่อกำหนดวิธีการจัดสรรเงินได้จากการออกสลากกินรวบรัฐบาล
5. ยกเลิกความในมาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 และให้ใช้ความใหม่แทน เพื่อกำหนดวิธีการจัดสรรเงิน การจำหน่าย สิทธิเรียกร้องเงินรางวัล รวมทั้งการกำหนดโทษ ให้ครอบคลุมถึงสลากรัฐบาลทุกประเภท
6. กำหนดบทเฉพาะกาลให้เงินที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้รับจากการจำหน่าย สลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว ที่ได้ดำเนินการมาก่อนพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ เมื่อได้จัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานและจ่ายเงินรางวัลตามกฎเกณฑ์ที่แจ้งไว้ต่อสาธารณชนแล้ว ให้ส่งสมทบเข้ากองทุนสะสมเงินรางวัลเป็นจำนวนไม่เกินที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการ ส่วนที่เหลือให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด และให้นิติสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับผู้ซื้อสลาก และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับตัวแทนจำหน่าย สำหรับสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว มีผลใช้บังคับได้
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ออกสลากรัฐบาลหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้จากการขายสลากดังกล่าวมาจัดสรรคืนสู่สังคมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนคนยากจน ในด้านการศึกษา การแพทย์ สังคม และสาธารณประโยชน์ และเพื่อดำเนินการให้เป็นกิจการที่รัฐสามารถควบคุมและกำกับดูแลให้ถูกต้องอย่างเหมาะสมตามกฎหมาย
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า กฎหมายจัดตั้งสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ครอบคลุมถึงสลากรัฐบาลหลายประเภทที่มีอยู่ จึงได้มีหนังสือเพื่อขอหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัวของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ให้ความเห็นว่า
1. การออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัวนั้น ไม่ถือว่าเป็นการดำเนินการภายในขอบวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 สำนักงานสลากกินแบ่งจึงไม่สามารถดำเนินการได้ ส่วนการที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ดำเนินการออกสลากดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 นั้น ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า มติคณะรัฐมนตรีมิใช่กฎหมาย จึงไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือลบล้างกฎหมายได้
ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 ที่เห็นชอบให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว จึงไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 กรณีย่อมสมควรเร่งดำเนินการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามกฎหมายต่อไป
2. หากรัฐบาลมีนโยบายให้ออกสลากดังกล่าวต่อไป สมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีอำนาจในการดำเนินการในเรื่องนี้ได้ ตลอดจนบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวกับการจัดสรรรายได้จากการจำหน่ายสลากดังกล่าว และการนำรายได้จากการจำหน่ายสลากเข้าสู่ระบบรายรับของแผ่นดิน พร้อมกับมีระบบควบคุมตรวจสอบและเป็นไปอย่างโปร่งใสด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--
โดยร่างพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 ซึ่งมีหลักการดังนี้
1. เพิ่มเติมความเป็นบทนิยามในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 คำว่า “สลากรัฐบาล” และ “สลากกินรวบรัฐบาล” เพื่อให้สลากรัฐบาลรวมถึงการออกสลากกินรวบของรัฐบาลด้วย ทำให้เกิดความชัดเจนในการตีความ
2. ยกเลิกความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 และให้ใช้ความใหม่แทน เพื่อเพิ่มวัตถุประสงค์ให้ครอบคลุมถึงการออกสลากรัฐบาลทุกประเภท
3. ยกเลิกความในมาตรา 13 (7) แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 และให้ใช้ความใหม่แทน เพื่อให้การกำหนดราคา วิธีการจำหน่าย และการคัดเลือกตัวแทนจำหน่าย ครอบคลุมสลากทุกประเภท
4. เพิ่มเติมความเป็นมาตรา 22/1 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 เพื่อกำหนดวิธีการจัดสรรเงินได้จากการออกสลากกินรวบรัฐบาล
5. ยกเลิกความในมาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 และมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 และให้ใช้ความใหม่แทน เพื่อกำหนดวิธีการจัดสรรเงิน การจำหน่าย สิทธิเรียกร้องเงินรางวัล รวมทั้งการกำหนดโทษ ให้ครอบคลุมถึงสลากรัฐบาลทุกประเภท
6. กำหนดบทเฉพาะกาลให้เงินที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้รับจากการจำหน่าย สลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว ที่ได้ดำเนินการมาก่อนพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ เมื่อได้จัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานและจ่ายเงินรางวัลตามกฎเกณฑ์ที่แจ้งไว้ต่อสาธารณชนแล้ว ให้ส่งสมทบเข้ากองทุนสะสมเงินรางวัลเป็นจำนวนไม่เกินที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการ ส่วนที่เหลือให้นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด และให้นิติสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับผู้ซื้อสลาก และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับตัวแทนจำหน่าย สำหรับสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว มีผลใช้บังคับได้
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ออกสลากรัฐบาลหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้จากการขายสลากดังกล่าวมาจัดสรรคืนสู่สังคมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนคนยากจน ในด้านการศึกษา การแพทย์ สังคม และสาธารณประโยชน์ และเพื่อดำเนินการให้เป็นกิจการที่รัฐสามารถควบคุมและกำกับดูแลให้ถูกต้องอย่างเหมาะสมตามกฎหมาย
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า กฎหมายจัดตั้งสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ครอบคลุมถึงสลากรัฐบาลหลายประเภทที่มีอยู่ จึงได้มีหนังสือเพื่อขอหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัวของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ให้ความเห็นว่า
1. การออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัวนั้น ไม่ถือว่าเป็นการดำเนินการภายในขอบวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 สำนักงานสลากกินแบ่งจึงไม่สามารถดำเนินการได้ ส่วนการที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ดำเนินการออกสลากดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 นั้น ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมายได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า มติคณะรัฐมนตรีมิใช่กฎหมาย จึงไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือลบล้างกฎหมายได้
ดังนั้น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 ที่เห็นชอบให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว จึงไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517 กรณีย่อมสมควรเร่งดำเนินการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติตามกฎหมายต่อไป
2. หากรัฐบาลมีนโยบายให้ออกสลากดังกล่าวต่อไป สมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมีอำนาจในการดำเนินการในเรื่องนี้ได้ ตลอดจนบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวกับการจัดสรรรายได้จากการจำหน่ายสลากดังกล่าว และการนำรายได้จากการจำหน่ายสลากเข้าสู่ระบบรายรับของแผ่นดิน พร้อมกับมีระบบควบคุมตรวจสอบและเป็นไปอย่างโปร่งใสด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549--จบ--