คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการแก้ไขปัญหายางพาราจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สำนักงานเลขานุการร่วมคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้) เสนอ ดังนี้
1. ขยายโครงการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระดับอำเภอเฉพาะอำเภอที่เกษตรกรนำยางมาจำหน่ายใน 11 อำเภอ คือ จังหวัดปัตตานี 3 อำเภอ (อำเภอมายอ ทุ่งยางแดง และโคกโพธิ์) จังหวัดยะลา 5 อำเภอ (อำเภอรามันบันนังสตา ธารโต ยะหา และเบตง) และจังหวัดนราธิวาส 3 อำเภอ (อำเภอศรีสาคร รือเสาะ และระแงะ) ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2549
2. กรมวิชาการเกษตรใช้กรอบวงเงินงบประมาณที่สำนักงบประมาณได้จัดสรรให้แล้วและยังมีเหลืออยู่จำนวน 84,686,304 บาท ดำเนินการดังนี้
2.1 ใช้เป็นงบดำเนินการบริหารและการจัดการตลาดกลางยางพาราตามข้อ 1 วงเงิน 8,000,000 บาท และให้กรมวิชาการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และกรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่และเบิกค่าใช้จ่ายจากวงเงินงบประมาณข้างต้น และกรมวิชาการเกษตรใช้เป็นเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการซื้อขายยางพาราวงเงิน 30,000,000 บาท (ส่งคืนกระทรวงการคลังเมื่อสิ้นสุดโครงการ)
ทั้งนี้ ให้พิจารณาสถานที่การจัดตั้งตลาดกลางโดยใช้สถานที่ราชการเพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
2.2 สำหรับงบประมาณที่เหลืออีกจำนวน 30,686,304 บาท ให้ส่งคืนกระทรวงการคลัง
3. กองทัพบกใช้กรอบวงเงินที่เหลือ 11,416,560 บาท เป็นค่าดำเนินการรักษาความปลอดภัยและการขนส่งยางพาราที่รับซื้อ และกระทรวงมหาดไทยใช้กรอบวงเงินที่เหลือ101,500 บาท เป็นค่าดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ
4. การเบิกจ่ายตามข้อ 2.1 และข้อ 3 เป็นไปตามที่จ่ายจริงและถัวจ่ายรายการได้
5. ให้กรมวิชาการเกษตรจัดงบปกติเป็นงบดำเนินการให้เพียงพอเมื่อตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลาได้จัดตั้งเรียบร้อยแล้ว
สำนักงานเลขานุการร่วมคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ รายงานตามข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) ว่า
1. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 สำนักงบประมาณได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งหมด จำนวน 97,925,600 บาท เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหายางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) โดยจัดสรรให้กรมวิชาการเกษตร จำนวน 85,000,000 บาท (เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ 25,000,000 บาท และเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการซื้อ-ขายยางแผ่นดิบ จำนวน 60,000,000 บาท) ให้ กองทัพบกเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการขนยางพาราพร้อมค่าแรง จำนวน 12,775,600 บาท และให้สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ 3 จังหวัด จำนวน 150,000 บาท (จังหวัดละ 50,000 บาท)
2. จากการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ระดับอำเภอ จำนวน 14 อำเภอ ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นศูนย์กลางบริการรับซื้อ — ขายยางพาราของเกษตรกรในลักษณะหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ธันวาคม 2548 — พฤษภาคม 2549) บัดนี้ได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
2.1 ผลการดำเนินโครงการ
2.1.1 เปิดดำเนินการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ในพื้นที่ 14 อำเภอของจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
2.1.2 การซื้อ — ขายยางแผ่นดิบ มีเกษตรกรนำยางแผ่นดิบมาจำหน่ายที่ตลาดกลางยางพาราตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2549 (วันเปิดตลาดกลาง) — 31 พฤษภาคม 2549 (วันปิดตลาดกลาง) จำนวนทั้งหมด 516.012 ตัน คิดเป็นมูลค่า 35.449 ล้านบาท
2.1.3 ราคาซื้อ-ขายยางพารา เมื่อเปิดการซื้อขายยางพาราตลาดกลางยางพาราตามข้อ 2.1.1 แล้ว ส่งผลให้ราคายางแผ่นดิบในตลาดกลางและในตลาดท้องถิ่นของ 3 จังหวัดมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในช่วงเปิดตลาดกลาง (มกราคม 2549) ราคายางพาราที่ระดับความชื้นร้อยละ 5-7 ที่ซื้อ-ขายในตลาดท้องถิ่นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 87 ของราคายางที่ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ (86.90 บาท/กก.) ส่วนในช่วงที่มียางพารามากที่สุด (มีนาคม 2549) ราคาเพิ่มเป็น 67.52 บาท/กก. และคิดเป็นร้อยละ 90 ของราคายางที่ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ นอกจากนี้ ได้ส่งผลให้ราคาในตลาดท้องถิ่น (บริเวณตลาดกลาง) ยกระดับขึ้นใกล้เคียงกับราคาตลาดกลางที่ประมูลได้ โดยในช่วงเดือนมกราคม 2549 ราคาในตลาดท้องถิ่น บริเวณตลาดกลางต่ำกว่าราคาตลาดกลางประมูลได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.37 บาท ในเดือนมีนาคม 2549 ห่างกันกิโลกรัมละ 1.39 บาท และในเดือนพฤษภาคม 2549 ห่างกันเพียง 0.14 บาท เท่านั้น
2.1.4 คุณภาพยางแผ่นดิบของเกษตรกรดีขึ้น การเปิดบริการซื้อขายยางของตลาดกลางยางพาราที่ตั้งขึ้นส่งผลให้เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นดิบให้ดีขึ้น เห็นได้จากในระยะแรกที่เปิดตลาดกลางมีปริมาณยางแผ่นดิบคุณภาพดี (มีความชื้นร้อยละ 1-5) มาจำหน่ายเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น ที่เหลือเป็นยางแผ่นดิบคุณภาพปานกลาง (มีความชื้นร้อยละ 5-7) จำนวนร้อยละ 50 และยางแผ่นดิบคุณภาพต่ำ (มีความชื้นมากกว่าร้อยละ 7) จำนวนร้อยละ 47 เมื่อสิ้นสุดโครงการมีปริมาณยางแผ่นดิบคุณภาพดีเพิ่มเป็นร้อยละ 32 และยางแผ่นดิบคุณภาพต่ำลดลงเหลือร้อยละ 12 เท่านั้น ซึ่งการที่เกษตรกรทำยางแผ่นดิบคุณภาพดีทำให้ได้ราคายางที่สูงขึ้นด้วย
2.2 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
2.2.1 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการในระยะแรก (11 มกราคม — 31 พฤษภาคม 2549) ทั้งหมดจำนวน 1,721,236 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) กรมวิชาการเกษตรมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ จำนวน 313,696 บาท
(2) กองทัพบกใช้เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงกำลังพล และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1,359,040 บาท
(3) จังหวัดนราธิวาส มีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 48,500 บาท
2.2.2 งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรแล้วมียังมีเหลืออยู่ทั้งหมด จำนวน 96,204,364 บาท โดยอยู่ที่กรมวิชาการเกษตร จำนวน 84,686,304 บาท (แบ่งเป็นเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรซื้อยางแผ่นดิบ 60 ล้านบาท และงบบริหารจัดการตลาด 24,686,304 บาท) ที่กองทัพบก จำนวน 11,416,560 บาท และที่สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 101,500 บาท
2.3 เมื่อวิเคราะห์ผลสำเร็จของโครงการ โดยพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราที่ต้องการให้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นการแข่งขันของตลาดถือได้ว่าโครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ระดับอำเภอได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เพราะทำให้ราคายางพาราในท้องถิ่นสูงขึ้นใกล้เคียงกับราคาในตลาดกลางตามข้อ 2.1.3
2.4 แนวทางดำเนินการต่อไปในปีงบประมาณ 2549
ขยายระยะเวลาโครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไป เพื่อยกระดับราคายางและเพิ่มรายได้ตามความต้องการของเกษตรกรในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 กรกฎาคม 2549--จบ--
1. ขยายโครงการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระดับอำเภอเฉพาะอำเภอที่เกษตรกรนำยางมาจำหน่ายใน 11 อำเภอ คือ จังหวัดปัตตานี 3 อำเภอ (อำเภอมายอ ทุ่งยางแดง และโคกโพธิ์) จังหวัดยะลา 5 อำเภอ (อำเภอรามันบันนังสตา ธารโต ยะหา และเบตง) และจังหวัดนราธิวาส 3 อำเภอ (อำเภอศรีสาคร รือเสาะ และระแงะ) ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2549
2. กรมวิชาการเกษตรใช้กรอบวงเงินงบประมาณที่สำนักงบประมาณได้จัดสรรให้แล้วและยังมีเหลืออยู่จำนวน 84,686,304 บาท ดำเนินการดังนี้
2.1 ใช้เป็นงบดำเนินการบริหารและการจัดการตลาดกลางยางพาราตามข้อ 1 วงเงิน 8,000,000 บาท และให้กรมวิชาการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และกรมส่งเสริมการเกษตรสนับสนุนโครงการอย่างเต็มที่และเบิกค่าใช้จ่ายจากวงเงินงบประมาณข้างต้น และกรมวิชาการเกษตรใช้เป็นเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการซื้อขายยางพาราวงเงิน 30,000,000 บาท (ส่งคืนกระทรวงการคลังเมื่อสิ้นสุดโครงการ)
ทั้งนี้ ให้พิจารณาสถานที่การจัดตั้งตลาดกลางโดยใช้สถานที่ราชการเพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
2.2 สำหรับงบประมาณที่เหลืออีกจำนวน 30,686,304 บาท ให้ส่งคืนกระทรวงการคลัง
3. กองทัพบกใช้กรอบวงเงินที่เหลือ 11,416,560 บาท เป็นค่าดำเนินการรักษาความปลอดภัยและการขนส่งยางพาราที่รับซื้อ และกระทรวงมหาดไทยใช้กรอบวงเงินที่เหลือ101,500 บาท เป็นค่าดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ
4. การเบิกจ่ายตามข้อ 2.1 และข้อ 3 เป็นไปตามที่จ่ายจริงและถัวจ่ายรายการได้
5. ให้กรมวิชาการเกษตรจัดงบปกติเป็นงบดำเนินการให้เพียงพอเมื่อตลาดกลางยางพาราจังหวัดยะลาได้จัดตั้งเรียบร้อยแล้ว
สำนักงานเลขานุการร่วมคณะกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ รายงานตามข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) ว่า
1. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 สำนักงบประมาณได้อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งหมด จำนวน 97,925,600 บาท เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหายางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) โดยจัดสรรให้กรมวิชาการเกษตร จำนวน 85,000,000 บาท (เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ 25,000,000 บาท และเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการซื้อ-ขายยางแผ่นดิบ จำนวน 60,000,000 บาท) ให้ กองทัพบกเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการขนยางพาราพร้อมค่าแรง จำนวน 12,775,600 บาท และให้สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ 3 จังหวัด จำนวน 150,000 บาท (จังหวัดละ 50,000 บาท)
2. จากการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ระดับอำเภอ จำนวน 14 อำเภอ ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นศูนย์กลางบริการรับซื้อ — ขายยางพาราของเกษตรกรในลักษณะหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 6 เดือน (ธันวาคม 2548 — พฤษภาคม 2549) บัดนี้ได้สิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้
2.1 ผลการดำเนินโครงการ
2.1.1 เปิดดำเนินการตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ในพื้นที่ 14 อำเภอของจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
2.1.2 การซื้อ — ขายยางแผ่นดิบ มีเกษตรกรนำยางแผ่นดิบมาจำหน่ายที่ตลาดกลางยางพาราตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2549 (วันเปิดตลาดกลาง) — 31 พฤษภาคม 2549 (วันปิดตลาดกลาง) จำนวนทั้งหมด 516.012 ตัน คิดเป็นมูลค่า 35.449 ล้านบาท
2.1.3 ราคาซื้อ-ขายยางพารา เมื่อเปิดการซื้อขายยางพาราตลาดกลางยางพาราตามข้อ 2.1.1 แล้ว ส่งผลให้ราคายางแผ่นดิบในตลาดกลางและในตลาดท้องถิ่นของ 3 จังหวัดมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในช่วงเปิดตลาดกลาง (มกราคม 2549) ราคายางพาราที่ระดับความชื้นร้อยละ 5-7 ที่ซื้อ-ขายในตลาดท้องถิ่นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.20 บาท คิดเป็นร้อยละ 87 ของราคายางที่ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ (86.90 บาท/กก.) ส่วนในช่วงที่มียางพารามากที่สุด (มีนาคม 2549) ราคาเพิ่มเป็น 67.52 บาท/กก. และคิดเป็นร้อยละ 90 ของราคายางที่ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ นอกจากนี้ ได้ส่งผลให้ราคาในตลาดท้องถิ่น (บริเวณตลาดกลาง) ยกระดับขึ้นใกล้เคียงกับราคาตลาดกลางที่ประมูลได้ โดยในช่วงเดือนมกราคม 2549 ราคาในตลาดท้องถิ่น บริเวณตลาดกลางต่ำกว่าราคาตลาดกลางประมูลได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.37 บาท ในเดือนมีนาคม 2549 ห่างกันกิโลกรัมละ 1.39 บาท และในเดือนพฤษภาคม 2549 ห่างกันเพียง 0.14 บาท เท่านั้น
2.1.4 คุณภาพยางแผ่นดิบของเกษตรกรดีขึ้น การเปิดบริการซื้อขายยางของตลาดกลางยางพาราที่ตั้งขึ้นส่งผลให้เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นดิบให้ดีขึ้น เห็นได้จากในระยะแรกที่เปิดตลาดกลางมีปริมาณยางแผ่นดิบคุณภาพดี (มีความชื้นร้อยละ 1-5) มาจำหน่ายเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น ที่เหลือเป็นยางแผ่นดิบคุณภาพปานกลาง (มีความชื้นร้อยละ 5-7) จำนวนร้อยละ 50 และยางแผ่นดิบคุณภาพต่ำ (มีความชื้นมากกว่าร้อยละ 7) จำนวนร้อยละ 47 เมื่อสิ้นสุดโครงการมีปริมาณยางแผ่นดิบคุณภาพดีเพิ่มเป็นร้อยละ 32 และยางแผ่นดิบคุณภาพต่ำลดลงเหลือร้อยละ 12 เท่านั้น ซึ่งการที่เกษตรกรทำยางแผ่นดิบคุณภาพดีทำให้ได้ราคายางที่สูงขึ้นด้วย
2.2 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
2.2.1 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการในระยะแรก (11 มกราคม — 31 พฤษภาคม 2549) ทั้งหมดจำนวน 1,721,236 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) กรมวิชาการเกษตรมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ จำนวน 313,696 บาท
(2) กองทัพบกใช้เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงกำลังพล และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1,359,040 บาท
(3) จังหวัดนราธิวาส มีค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 48,500 บาท
2.2.2 งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรแล้วมียังมีเหลืออยู่ทั้งหมด จำนวน 96,204,364 บาท โดยอยู่ที่กรมวิชาการเกษตร จำนวน 84,686,304 บาท (แบ่งเป็นเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรซื้อยางแผ่นดิบ 60 ล้านบาท และงบบริหารจัดการตลาด 24,686,304 บาท) ที่กองทัพบก จำนวน 11,416,560 บาท และที่สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 101,500 บาท
2.3 เมื่อวิเคราะห์ผลสำเร็จของโครงการ โดยพิจารณาถึงจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราที่ต้องการให้เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นการแข่งขันของตลาดถือได้ว่าโครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ระดับอำเภอได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ เพราะทำให้ราคายางพาราในท้องถิ่นสูงขึ้นใกล้เคียงกับราคาในตลาดกลางตามข้อ 2.1.3
2.4 แนวทางดำเนินการต่อไปในปีงบประมาณ 2549
ขยายระยะเวลาโครงการจัดตั้งตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อไป เพื่อยกระดับราคายางและเพิ่มรายได้ตามความต้องการของเกษตรกรในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 กรกฎาคม 2549--จบ--