คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง ขออนุมัติเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างฝายยางจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติอนุมัติเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างฝายยางจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี จากเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติค่าก่อสร้างโครงการฯ วงเงิน 63.000 ล้านบาท (รวมเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 3.000 ล้านบาท) เป็นวงเงินทั้งสิ้น 104.124 ล้านบาท (ไม่รวมเงินสำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด) มีระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี (พ.ศ. 2549-2550) เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย และสามารถบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรโดยเร็ว
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ทำการตรวจสอบสภาพฝายยางฯ เพื่อเตรียมการปรับปรุง ปรากฏว่าได้พบปัญหาเพิ่มเติมบริเวณฐานฝายคอนกรีตซึ่งมีการแตกร้าว และเกิดคราบสนิมภายในรอยแยก กรมชลประทานจึงแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาความเหมาะสม เพื่อกำหนดแนวทางในการออกแบบปรับปรุงฝายยางจันทบุรีขึ้น ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการประสานขอแบบก่อสร้างเดิม รายการคำนวณจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน (พพ.เดิม) มาประกอบกับการตรวจสอบสภาพจริงของฝายยาง พบว่ามีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายจุดได้แก่
1. ฐานฝายคอนกรีตโครงสร้างปัจจุบันมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากใช้งานมานาน มีการกัดกร่อนของเกลือทะเล ทำให้คอนกรีตและโครงสร้างเหล็กเสื่อมสภาพ และพบว่าผิวคอนกรีตมีการผุกร่อนมากจนสามารถมองเห็นหินตามผิวได้อย่างชัดเจน
2. รอยแตกบริเวณกำแพงปีกฝั่งซ้าย ทำให้มีน้ำเค็มรั่วไหลเข้าไปในน้ำจืดเหนือฝาย และไหลเข้าพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังทำให้ระบบประปามีสภาพเป็นน้ำกร่อย
3. ตัวฝายยางเริ่มหมดอายุการใช้งาน มีรอยฉีกขาดหลายจุด และมีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ หากฉีกขาดมากจะทำให้ฝายพังทลายได้
4. แบบและรายการคำนวณที่ได้รับจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน (พพ.เดิม) ไม่ครบถ้วน จึงไม่สามารถวิเคราะห์ความมั่นคงของโครงสร้าง ระบบฐานราก เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยได้
จากปัญหาดังกล่าว คณะทำงานฯ มีความเห็นว่าควรรื้อฝายเดิมทิ้งและสร้างฐานฝายคอนกรีต พร้อมติดตั้งฝายยางใหม่จะเหมาะสมที่สุด เพราะหากใช้ฐานฝายคอนกรีตเดิมและติดตั้งเฉพาะส่วนของฝายยางใหม่แล้ว อาจไม่สามารถรับแรงดันได้เมื่อพิจารณาคุณภาพของคอนกรีตตามสภาพปัจจุบัน หากเกิดการพังทลายจะทำให้เกิดเสียหายแก่พื้นที่การเกษตร/ชุมชน และระบบประปาของจังหวัดจันทบุรี ดังนั้น กรมชลประทานจึงจำเป็นต้องปรับแผนงาน/เพิ่มเติมรายการก่อสร้างจากที่ได้ประเมินไว้เดิม 60.000 ล้านบาท เป็นวงเงินค่าก่อสร้างใหม่ 104.124 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร การป้องกันน้ำเค็มและระบบประปาของจังหวัดจันทบุรี และเพื่อให้มีน้ำต้นทุนเพียงพอในการสนับสนุนทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มีนาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ทำการตรวจสอบสภาพฝายยางฯ เพื่อเตรียมการปรับปรุง ปรากฏว่าได้พบปัญหาเพิ่มเติมบริเวณฐานฝายคอนกรีตซึ่งมีการแตกร้าว และเกิดคราบสนิมภายในรอยแยก กรมชลประทานจึงแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาความเหมาะสม เพื่อกำหนดแนวทางในการออกแบบปรับปรุงฝายยางจันทบุรีขึ้น ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการประสานขอแบบก่อสร้างเดิม รายการคำนวณจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน (พพ.เดิม) มาประกอบกับการตรวจสอบสภาพจริงของฝายยาง พบว่ามีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายจุดได้แก่
1. ฐานฝายคอนกรีตโครงสร้างปัจจุบันมีคุณภาพต่ำ เนื่องจากใช้งานมานาน มีการกัดกร่อนของเกลือทะเล ทำให้คอนกรีตและโครงสร้างเหล็กเสื่อมสภาพ และพบว่าผิวคอนกรีตมีการผุกร่อนมากจนสามารถมองเห็นหินตามผิวได้อย่างชัดเจน
2. รอยแตกบริเวณกำแพงปีกฝั่งซ้าย ทำให้มีน้ำเค็มรั่วไหลเข้าไปในน้ำจืดเหนือฝาย และไหลเข้าพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังทำให้ระบบประปามีสภาพเป็นน้ำกร่อย
3. ตัวฝายยางเริ่มหมดอายุการใช้งาน มีรอยฉีกขาดหลายจุด และมีแนวโน้มที่จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเกิดความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ หากฉีกขาดมากจะทำให้ฝายพังทลายได้
4. แบบและรายการคำนวณที่ได้รับจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทน (พพ.เดิม) ไม่ครบถ้วน จึงไม่สามารถวิเคราะห์ความมั่นคงของโครงสร้าง ระบบฐานราก เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยได้
จากปัญหาดังกล่าว คณะทำงานฯ มีความเห็นว่าควรรื้อฝายเดิมทิ้งและสร้างฐานฝายคอนกรีต พร้อมติดตั้งฝายยางใหม่จะเหมาะสมที่สุด เพราะหากใช้ฐานฝายคอนกรีตเดิมและติดตั้งเฉพาะส่วนของฝายยางใหม่แล้ว อาจไม่สามารถรับแรงดันได้เมื่อพิจารณาคุณภาพของคอนกรีตตามสภาพปัจจุบัน หากเกิดการพังทลายจะทำให้เกิดเสียหายแก่พื้นที่การเกษตร/ชุมชน และระบบประปาของจังหวัดจันทบุรี ดังนั้น กรมชลประทานจึงจำเป็นต้องปรับแผนงาน/เพิ่มเติมรายการก่อสร้างจากที่ได้ประเมินไว้เดิม 60.000 ล้านบาท เป็นวงเงินค่าก่อสร้างใหม่ 104.124 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร การป้องกันน้ำเค็มและระบบประปาของจังหวัดจันทบุรี และเพื่อให้มีน้ำต้นทุนเพียงพอในการสนับสนุนทั้งภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 มีนาคม 2549--จบ--