สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2551)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 15, 2008 12:10 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัย ในห้วงวันที่ 11 กันยายน - 13 ตุลาคม 2551 สรุปสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นรวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน (ข้อมูลถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2551) ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ(ระหว่างวันที่ 11 กันยายน - 13 ตุลาคม 2551)

1.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 33 จังหวัด (เดิม 32 จังหวัด เพิ่ม จ.เชียงใหม่) 274 อำเภอ 1,760 ตำบล 14,238 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดตาก พิจิตร แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พะเยา ลำปาง เชียงใหม่ มหาสารคาม เลย พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี บุรีรัมย์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด สระแก้ว นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด และจังหวัดจันทบุรี ผู้เสียชีวิต 26 คน (จ.ปราจีนบุรี 3 คน สระบุรี 2 คน จ.ลพบุรี 3 คน จ. นครราชสีมา 2 คน จ.หนองบัวลำภู 4 คน จ.แม่ฮ่องสอน 1 คน จ.พิษณุโลก 2 คน จ.นครสวรรค์ 2 คน จ.ขอนแก่น 2 คน จ.สระแก้ว 3 คน จ.สุรินทร์ 2 คน) สูญหาย 1 คน (จ.พิษณุโลก) ราษฎรเดือดร้อน 551,468 ครัวเรือน 2,041,190 คน

                              พื้นที่ประสบภัย                                              ราษฎรประสบภัย
ที่  ภาค        จังหวัด  อำเภอ   ตำบล    หมู่บ้าน    รายชื่อจังหวัด                          ครัวเรือน           คน
1  เหนือ          10     51  2,091      907    ตาก  พิษณุโลก เพชรบูรณ์  นครสวรรค์        59,209      198,396

พิจิตร สุโขทัย พะเยา ลำปาง เชียงใหม่

และแม่ฮ่องสอน

2  ตะวันออก       13    154  1,117   11,069    เลย  ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี     415,437    1,635,877
   เฉียงเหนือ                                   หนองบัวลำภู ชัยภูมิ บุรีรัมย์  มุกดาหาร

มหาสารคาม ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์

ร้อยเอ็ด

3  กลาง           3     33    250    1,436    ลพบุรี  สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา         48,343      129,636
4  ตะวันออก        7     35    187      825    นครนายก  ปราจีนบุรี  ชลบุรี ฉะเชิงเทรา     28,479       77,200

ตราด จันทบุรี สระแก้ว

   รวมทั้งประเทศ   33    274  1,760   14,238                                        551,468    2,041,109

1.2 ความเสียหาย (เบื้องต้น) ข้อมูล ณ วันที่ 13 ตุลาคม 2551

          ลำดับที่   ประเภทความเสียหาย                  จำนวนความเสียหาย
              1   พื้นที่ประสบอุทกภัย                     33 จังหวัด 274 อำเภอ 1,760 ตำบล 14,238 หมู่บ้าน
              2   ประชาชนได้รับความเดือดร้อน            2,041,109 คน 551,468  ครัวเรือน
              3   ผู้เสียชีวิต                           26 คน
              4   ผู้สูญหาย                            1 คน
              5   บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง                8 หลัง
              6   บ้านเรือนเสียหายบางส่วน               4,738 หลัง
              7   ถนนเสียหาย                         3,805 สาย
              8   สะพาน                             115 สะพาน

9 พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมเบื้องต้นประมาณ 617,702 ไร่

             10   มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น              516,042,009  บาท

1.3 สถานการณ์ปัจจุบัน คลี่คลายแล้ว 30 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ตาก พะเยา ลำปาง นครนายก เลย สุโขทัย แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก ฉะเชิงเทรา ตราด ชลบุรี พิจิตร สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี ยโสธร มุกดาหาร หนองบัวลำภู บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ สระแก้ว จันทบุรี และจังหวัดปราจีนบุรี

ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด และจังหวัดมหาสารคาม ในพื้นที่การเกษตร คาดว่า สถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติใน 2-3 สัปดาห์

ลำดับที่   จังหวัดที่ประสบภัย      อำเภอ                          ตำบล      หมู่บ้าน  คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ
    1   ขอนแก่น             2 (เมืองฯ ชนบท )                   4         17           1-2 สัปดาห์
    2   ร้อยเอ็ด             2 (จังหาร  เชียงขวัญ)                4         24           2-3 สัปดาห์
    3   มหาสารคาม          3 (โกสุมพิสัย  กันทรวิชัย เมืองฯ)        6         21           2-3 สัปดาห์
        3 จังหวัด            7 อำเภอ                     14 ตำบล   62 หมู่บ้าน

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2551 เวลาประมาณ 19.00 น. ได้เกิดฝนตกหนักทำให้ฝายน้ำล้น บางแงะชำรุด และน้ำไหลหลากเข้า ท่วมในพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชาชนเดือดร้อน 4 ครัวเรือน เบื้องต้นไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บและเสีย ชีวิต ซึ่งสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอชัยบุรี อบต.สองแพรก ผู้ใหญ่บ้าน อปพร. OTOS ในพื้นที่ มูลนิธิกุศล ศรัทธา สุราษฎร์ธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

1.4 การให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 11 กันยายน 2551 - ปัจจุบัน)

1.4.1 สิ่งของพระราชทาน

1) มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ นำสิ่งของและเครื่องอุปโภคบริโภคพระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาค เหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่วันที่ 16-26 กันยายน และ 2-10 ตุลาคม 2551 รวม 35,350 ชุด

2) สภากาชาดไทยโดยสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ ได้จัดสิ่งของพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อให้การช่วยเหลือและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัด พิจิตร ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา นครนายก สระบุรี และจังหวัดพิษณุโลก รวม 10,550 ชุด และได้จัดส่งรถผลิตน้ำดื่ม จำนวน 2 คัน พร้อมเจ้า หน้าที่เพื่อผลิตน้ำดื่มให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยในเขตพื้นที่ ตำบลดินดำ และตำบลดงสิงห์ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป

3) กองงานพระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯนำถุงพระราชทานไปมอบให้ในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ขอนแก่น ปราจีนบุรี พิษณุโลก และจังหวัดลพบุรี รวม 5,000 ชุด

4) มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก นำถุงพระราชทานไปมอบให้ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู และจังหวัด ลพบุรี รวม 1,625 ชุด

1.4.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 1 (ปทุมธานี) เขต 2 (สุพรรณบุรี) เขต 3 (ปราจีนบุรี) เขต 5 (นครราชสีมา) เขต 6 (ขอนแก่น) เขต 7 (สกลนคร) เขต 8 (กำแพงเพชร) เขต 9 (พิษณุโลก) ได้จัดส่งวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกล เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดที่เกิดสถานการณ์ ดังนี้ เรือท้องแบน 128 ลำ รถ บรรทุกติดตั้งเครน 11 คัน รถผลิตน้ำดื่ม 6 คัน รถกู้ภัยเล็ก 8 คัน รถยนต์ยูนิม็อค 4 คัน รถบรรทุก 9 คัน เครื่องสูบน้ำ 11 เครื่อง เต็นท์ที่พัก อาศัย 70 หลัง ถุงยังชีพ 13,250 ถุง เสื้อชูชีพ 124 ตัว เจ้าหน้าที่ 442 คน บ้านน็อคดาวน์ (มูลนิธิเพื่อนพึ่ง(ภาฯ) ยามยาก) 10 หลัง

1.5. การตรวจติดตามสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข) และคณะพร้อมด้วยนายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีกำหนดการเดินทางไปตรวจราชการและเยี่ยมผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู เลย ร้อยเอ็ด และจังหวัด มหาสารคาม โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รับการตรวจเยี่ยมและมอบสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้

  • วันที่ 11 ตุลาคม 2551

จังหวัดหนองบัวลำภู ที่อบต.หนองเรือ อำเภอโนนสัง จำนวน 500 ชุด, อบต.ทรายทอง อำเภอศรีบุญเรือง จำนวน 1,000 ชุด, บ้านหนองด่าน ตำบลด่านช้าง อำเภอนากลาง จำนวน 500 ชุด และบ้านดอนหัน ตำบลหัวนา อำเภอเมือง เพื่อตรวจความเสียหายเส้น ทางเข้าบ้านดอนหัน

  • วันที่ 12 ตุลาคม 2551

จังหวัดเลย ที่หอประชุมโรงเรียนเชียงคานวิทย์ อำเภอเชียงคาน จำนวน 600 ชุด และหอประชุมอำเภอปากชม อำเภอ ปากชม จำนวน 1,000 ชุด

  • วันที่ 13 ตุลาคม 2551

จังหวัดร้อยเอ็ด ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จำนวน 2,000 ชุด และบ้านโนนเชียงบัง ตำบลผักแว่น อำเภอจังหาร จำนวน 1,600 ชุด

จังหวัดมหาสารคาม ที่โรงเรียนผดุงนารีมหาสารคาม อำเภอเมือง จำนวน 1,000 ชุด และหอประชุมที่ว่าการอำเภอ โกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จำนวน 1,000 ชุด

2. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 12 - 18 ตุลาคม 2551

2.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทยเกือบตลอดช่วง ทำให้ร่องความกดอากาศต่ำเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ และอ่าวไทยตอนกลาง ลักษณะ เช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย และเริ่มมีอากาศเย็นในตอนเช้าในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับ ภาคใต้จะมีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป และคลื่นลมบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองสูงมากกว่า 2 เมตร ในระยะนี้บริเวณภาคใต้ทั้ง 2 ฝั่งจะมีฝนตกหนักเกิดขึ้น ได้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาสระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้บางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรงโดยเฉพาะ ในบริเวณที่มีฝน ฟ้าคะนองจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือระวังอันตรายในการเดินเรือไว้ด้วย

2.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนให้จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่มซึ่งเกิดจากฝนตกหนัก อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม สร้างความเสียหายให้แก่ ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยและชาวเรือ โดยให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และจังหวัดที่อาจจะได้รับผล กระทบ จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ ประสบภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้นได้อย่างทันต่อเหตุการณ์

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 ตุลาคม 2551--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ