สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 21 ช่วงวันที่ 8-13 ตุลาคม 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 15, 2008 12:35 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอสรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 21 ช่วงวันที่ 8-13 ตุลาคม 2551 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย สถานการณ์น้ำ ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์อุทกภัย

เนื่องจากเกิดร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรงพาดผ่านภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกตอนบน ประกอบกับ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลาย พื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

พื้นที่ประสบอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2551 รวม 47 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายแม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร น่าน แพร่ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พะเยา ลำปาง อุตรดิตถ์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท กรุงเทพมหานคร สุพรรณบุรี เลย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี อุดรธานี นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด จันทบุรี สุราษฎร์ธานี และสตูล

ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น และร้อยเอ็ด

1. จังหวัดขอนแก่น ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอเมือง (2 ตำบล) และอำเภอชนบท (2 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูง ประมาณ 0.20-0.40 เมตร แนวโน้มสถานการณ์ หากไม่มีฝนตกในพื้นที่ คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-5 สัปดาห์

2. จังหวัดร้อยเอ็ด ยังมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อำเภอจังหาร (3 ตำบล) อำเภอเชียงขวัญ (1 ตำบล) ระดับน้ำท่วมสูง ประมาณ 0.30-0.75 เมตร แนวโน้มสถานการณ์ระดับน้ำทรงตัว

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ (12 ตุลาคม 2551) มีปริมาณน้ำในอ่างฯทั้งหมด 54,420 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิด เป็นร้อยละ 79 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 31,106 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2550 (57,084 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,664 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 4 ของความจุอ่างฯ ทั้งนี้ สามารถรับน้ำได้อีก 14,069 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี 38,221 ล้านลูกบาศก์ เมตร ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ วันนี้ 252.7 ล้านลูกบาศก์เมตร (ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ถึง วันนี้ จำนวน 35,955 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 94 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี)

อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,175 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 61 ของความจุ อ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ 4,375 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ และเมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2550 (10,458 ล้าน ลบ.ม.) น้อยกว่า จำนวน 2,283 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,102 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น ร้อยละ 85 ของความจุ อ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ 5,252 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 55 ของความจุอ่างฯ และเมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2550 (7,163 ล้าน ลบ.ม.) มากกว่า จำนวน 939 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 855 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 89 ของความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำใช้การได้ 852 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 89 ของความจุอ่างฯ และเมื่อเปรียบเทียบปริมาตรน้ำปัจจุบันกับปี 2550 (759 ล้าน ลบ.ม.) มากกว่า จำนวน 96 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 18 อ่าง ได้แก่

อ่างเก็บน้ำ             ปริมาตรน้ำในอ่างฯ        ปริมาตรน้ำใช้การได้             ไหลลงอ่างฯ             ปริมาณน้ำรับได้อีก

ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ ปริมาตรน้ำ %ความจุอ่างฯ เฉลี่ยทั้งปี วันนี้ สะสม 1 ม.ค.

1.สิริกิติ์               8,102          85      5,252          55    5,391   25.4        6,621           1,408
2.แม่งัดสมบูรณ์ชล          252          95        230          87      332    2.6          326              13
3.ห้วยหลวง              121         102        115          97      161    1.2          155               -
4.น้ำอูน                 494          95        451          87      433    2.2          409              26
5.อุบลรัตน์             2,244          99      1,834          81    2,271   46.6        3,344              20
6.ลำตะคอง              269          86        242          77      270    1.5          126              45
7.ลำปาว              1,244          87      1,159          81    1,985    9.6        1,895             186
8.ลำพระเพลิง            112         102        111         101      184    0.5          178               -
9.มูลบน                 129          91        122          76       82      5           94              12
10.ลำแซะ               231          84        224          82      193    1.5          183              44
11.สิรินธร             1,707          87        876          45    1,664   10.7        1,793             259
12.ป่าสักชลสิทธิ์           855          89        852          89    2,200   36.2        2,302             105
13.ศรีนครินทร์         15,554          88      5,289          30    4,339   21.4        3,300           2,191
14.วชิราลงกรณ         7,270          82      4,258          48    5,369   14.1        5,391           1,590
15.ขุนด่านปราการชล       205          91        200          89      337   1.32          320              19
16.คลองสียัด             375          89        345          82      204    1.6          306              45
17.หนองปลาไหล          158          97        145          88      203    1.4          122               6
18.ประแสร์              225          91        205          83      295    0.6          274              23

2. สภาพน้ำท่า

แม่น้ำปิง สถานี P.7A ที่สะพานบ้านห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง และสถานี P.17 บ้านท่างิ้ว อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำวัง สถานี W.4A บ้านวังหมัน อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง

แม่น้ำยม สถานี Y.20 บ?นห?วยสัก อำเภอสอง และสถานี Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ระดับน้ำอยู่ใน เกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี Y.4 สะพานตลาดธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มทรงตัว และสถานี Y.17 บ้านสามง่าม อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มทรงตัว

แม่น้ำน่าน สถานี N.64 บ้านผาขวาง อำเภอเมือง และสถานี N.1 หน้าสำนักงานป่าไม้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ระดับน้ำอยู่ใน เกณฑ์น้อย แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี N.5A สะพานเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี N.67 สะพานบ้านเกศไชย อำเภอชุมแสง จ.นครสวรรค์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มทรงตัว

แม่น้ำชี สถานี E.23 บ้านค่าย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์มาก แนวโน้มลดลง สถานี E.16.A บ้านท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มลดลง สถานี E.91 บ้านหนองขนอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สถานี E.8A บ้านดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สถานี E.18 บ้านท่าไคร้ อำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด สถานี E.20A บ้านฟ้า หยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มเพิ่มขึ้น

แม่น้ำมูล สถานี M.2A บ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานี M.6A บ้านสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มลดลง สถานี M.5 บ้านเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ระดับน้ำอยู่ใน เกณฑ์ล้นตลิ่งแนวโน้มเพิ่มขึ้น และสถานี M.7 สะพานเสรีประชาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ล้นตลิ่ง แนวโน้มทรงตัว

แม่น้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) 1,693 ลบ.ม.ต่อวินาที อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อน เจ้าพระยา (C.13) 1,543 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน) โดยมีระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา +16.40 เมตร.(รทก.) ท้ายเขื่อนเจ้า พระยา +12.88 เมตร.(รทก.) ระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก 175 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน) รับน้ำ เข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก 351 ลบ.ม.ต่อวินาที (เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน)

ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 24.64 ล้านลบ.ม. โดยได้เร่งระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 7.04 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำลงแม่น้ำนครนายก วันละ 2.20 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำบางปะกง 3.85 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงอ่าวไทย 11.55 ล้าน ลบ.ม.

ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกตอนล่าง รวมสูบและระบายทั้งหมด 16.33 ล้าน ลบ.ม. โดยได้เร่งระบายน้ำลงแม่น้ำท่าจีนวันละ 9.90 ล้าน ลบ.ม. ระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยา 6.42 ล้าน ลบ.ม.

สถานีบางไทร (C.29) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำไหลผ่านเมื่อเวลา 6.00 น. มีปริมาณเฉลี่ย 1,588 ลบ.ม.ต่อวินาที (ลดลงจากเมื่อวาน)

อิทธิพลน้ำทะเลในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สะพานพุทธ (C.4) ระดับน้ำสูงสุดเมื่อวานนี้ +1.47 เมตร รทก. เวลา 17.15 น. คาดว่า ระดับน้ำสูงสุดวันนี้ อยู่ที่ระดับ +1.26 เมตร เวลา 18.00 น.

โครงการลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้เปิดการระบายน้ำในช่วงจังหวะน้ำทะเลลง ปริมาณไหลผ่านเฉลี่ย 303.03 ลบ. ม.ต่อวินาที จำนวน 21 ชั่วโมง คิดเป็นปริมาตรน้ำวันละ 26.18 ล้าน ลบ.ม.

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระบายน้ำ 210 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 94 ลบ.ม.ต่อวินาที)

เขื่อนพระรามหก ปริมาณน้ำไหลผ่าน 147 ลบ.ม.ต่อวินาที (เมื่อวาน 55 ลบ.ม.ต่อวินาที)

แม่น้ำท่าจีน ที่สถานี T.1 หน้าที่ว่าการอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม (ความจุ 440 ลบ.ม.ต่อวินาที) ระดับน้ำ 1.27 เมตร ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.33 เมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ผลกระทบด้านการเกษตร

อุทกภัยช่วงวันที่ 1 —30 กันยายน 2551 พื้นที่ประสบภัยรวม 47 จังหวัดได้แก่ ภาคเหนือ 15 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด ภาคกลาง 8 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด และภาคใต้ 2 จังหวัด

ด้านพืช 46 จังหวัด เกษตรกร 338,047 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 3,316,596 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 2,570,311 ไร่ พืชไร่ 669,693 ไร่ พืชสวน 76,592 ไร่ (ข้อมูล 9 ต.ค. 2551)

ด้านปศุสัตว์ 29 จังหวัด เกษตรกร 30,349 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 3,155,827 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 133,619 ตัว สุกร- แพะ-แกะ 28,412 ตัว สัตว์ปีก 2,993,796 ตัว แปลงหญ้า 3,002 ไร่ (ข้อมูล 6 ต.ค. 2551)

ด้านประมง 29 จังหวัด เกษตรกร 58,559 ราย บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ 74,147 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 73,134 ไร่ กระชังเลี้ยงสัตว์น้ำ 658 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 14,270 ตารางเมตร (ข้อมูล 8 ต.ค. 2551)

การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร

1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ

กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลืออุทกภัยตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,200 เครื่อง ปัจจุบัน ได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 22 จังหวัด จำนวน 348 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 38 เครื่อง ตามจังหวัดต่างๆ ดังนี้

ภาค           จังหวัด   เครื่องสูบน้ำ (เครื่อง)   เครื่องผลักดันน้ำ (เครื่อง)
เหนือ              5                  32                      -          พิจิตร(4) กำแพงเพชร(3) พิษณุโลก(6)

เชียงราย(5) น่าน(14)

ต.อ.เฉียงเหนือ      8                 167                     11          นครราชสีมา(60,ผลักดันน้ำ(11) สกลนคร

(5) หนองคาย(18) ขอนแก่น(14) ชัยภูมิ(4)

มหาสารคาม(50) กาฬสินธุ์(13) นครพนม(3)

กลาง              8                 140                     27          ชัยนาท(1) อุทัยธานี(3) ลพบุรี(41) สิงห์บุรี(

31) พระนครศรีอยุธยา(1) อ่างทอง(37)

นครปฐม(ผลักดันน้ำ 20) สุพรรณบุรี

(26,ผลักดันน้ำ 7)

ตะวันออก           1                   9                      -          ปราจีนบุรี(9)
รวม              22                 348                     38

2. การสนับสนุนเสบียงสัตว์และดูแลสุขภาพสัตว์

กรมปศุสัตว์สนับสนุนเสบียงสัตว์จำนวน 567,841 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพสัตว์ 53,590 ตัว

3. สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก

กรมส่งเสริมการเกษตร โดยศูนย์ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตร ศูนย์เพาะเลี้ยงพันธุ์พืช จำนวน 10 แห่ง ผลิตต้นกล้าพืชผักจำนวน 1 ล้านต้น แจกจ่ายให้เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว จำนวน 250,000 ต้น รวมทั้งได้จัดตั้งครัวสายใยรักแห่งครอบครัว เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดลพบุรีและปราจีนบุรี

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 ตุลาคม 2551--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ