คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกรอบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลัก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6.2 ตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย ดังนี้
1. กรอบการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) มีวัตถุประสงค์เพื่อจะทำให้ระบบราชการสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ระบบใหม่จะต้องไม่สร้างขั้นตอน หรือกำหนดรูปแบบการทำงานที่เกินความจำเป็น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของแต่ละหน่วยงานในปัจจุบันมีลักษณะต่างฝ่ายต่างดำเนินการ มีส่วนราชการจำนวนไม่มากที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้ การดำเนินการตามกรอบที่เสนอ มีลักษณะเป็นโครงข่ายข้อมูลที่อยู่เหนือระบบงานของส่วนราชการปัจจุบัน ที่ส่วนราชการไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลทุกเรื่องเข้าสู่ระบบ แต่ทุกหน่วยงานสามารถมีทางเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบโครงข่ายนี้ได้ ซึ่งจะเป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของส่วนราชการอื่นที่ไม่มีข้อมูลพื้นฐาน แต่มีความจำเป็นต้องการใช้ข้อมูลนั้นๆ ดังนั้น ในการดำเนินการช่วงแรก ส่วนราชการแต่ละส่วนอาจต้องมีการปรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภายในบางระบบเพื่อรองรับกรอบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลัก
2. การเริ่มดำเนินการตามกรอบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลัก ควรเริ่มในลักษณะนำร่อง โดยให้แต่ละกลุ่มงานที่มีความพร้อมเข้าสู่ระบบเพื่อทดลองให้สามารถนำไปใช้ได้จริงหรือประยุกต์ใช้ได้
3. การทำงานในระบบที่เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกันบนมาตรฐานหรือระบบงานเดียวกัน จำเป็นที่ต้องมีการจัดทำระบบงาน (Business Process) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดขั้นตอนการทำงาน ตลอดจนแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น หน่วยงานหลักที่เป็นเจ้าภาพในแต่ละระบบควรเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณาเพื่อทราบความต้องการและนำไปออกแบบระบบต่อไป ในส่วนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งจะต้องรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานกลางด้านเทคโนโลยี นั้น ควรดำเนินการในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนให้ส่วนราชการที่มีระบบต่าง ๆ ที่ดีอยู่แล้ว หรือระบบที่เป็นความต้องการเฉพาะสามารถดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ รวมทั้งให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบกลางได้โดยไม่เกิดภาวะชะงักงัน
4. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการ มีความจำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบในการกำกับควบคุมดูแล ให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล ซึ่งในเบื้องต้นควรมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับ ก.พ.ร. สร้างการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ให้สามารถใช้ระบบจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรต่อไป
กรอบการพัฒนาระบบงาน มีสาระสำคัญดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพใน 3 มิติ คือ
1.1 บูรณาการระบบ Back Office ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้ข้อมูลและระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐร่วมกันได้ โดยพัฒนาระบบแยกเป็นส่วนต่าง ๆ 5 ส่วน คือ
ชั้นที่ 1 การจัดให้มีระบบโครงข่ายโทรคมนาคม (Telecom Networks) ที่เหมาะสมในการเชื่อมโยงองค์กรต่างๆ
ชั้นที่ 2 กำหนดมาตรฐานกลางและช่องทางการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบโทรคมนาคม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดต่อใช้ข้อมูลหรือระบบร่วมกันได้ เช่น มาตรฐานการส่งข้อมูลในโครงข่าย เป็นต้น
ชั้นที่ 3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ (Information) ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ระหว่างหน่วยงาน เช่น ข้อมูลบุคคล ข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลสถานที่ พร้อมทั้งจัดทำระบบความปลอดภัยของข้อมูล เช่น ระบบยืนยันตัวบุคคล (Authentication)
ชั้นที่ 4 การจัดทำโปรแกรมประยุกต์กลางของแต่ละระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) เพื่อประมวลผลและใช้ข้อมูลร่วมกัน และสามารถดึงข้อมูลส่วนราชการได้ หรือสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์กลางที่ส่วนราชการหลัก ๆ มีอยู่ไปใช้งานร่วมกันได้
ชั้นที่ 5 การบูรณาการระบบและข้อมูลสารสนเทศ (Integration) ระหว่างส่วนราชการต่างๆ เข้าหากัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ e-Citizen Service หรือ One Stop Service ได้
1.2 พัฒนาระบบ Back Office ให้สนองตอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการที่ 1,3 และ 6
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานเน้นการปฏิบัติงานที่สั้น สะดวกและรวดเร็ว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณเน้นการอำนวยความสะดวก ไม่เยิ่นเย้อ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย เน้นความทันสมัย ระบบไร้กระดาษและองค์กรเสมือนจริง (Virtual Organization)
1.3 แบ่งบทบาทหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ให้มีการทำงานร่วมกันตามกลุ่มงานพัฒนา 5 ขั้น มีการแบ่งความรับผิดชอบที่ชัดเจนว่าหน่วยงานใดมีบทบาทในการพัฒนาหรือปฏิบัติการอย่างไร โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ หน่วยงานหลัก หน่วยงานรอง หน่วยงานเสริม และหน่วยงานที่ปรึกษา
2. กรอบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ซึ่งมีความสำคัญต่อหน่วยงานของภาครัฐในการให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นข้อมูลให้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร จึงเป็นระบบที่ควรพิจารณาให้ตอบสนองยุทธศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฯ รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันเนื่องมาจากการพัฒนาระบบราชการหน่วยงานอื่นสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้และเป็นที่ยอมรับของทุกหน่วยงาน
3. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องดำเนินการคู่ขนานไปกับการพัฒนา 4 ประการ คือ
3.1 ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี 4 ฉบับ เพื่อให้การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทในการสนับสนุนหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) เช่น เป็นเจ้าภาพในด้านการกำหนดมาตรฐานด้าน I/T และผลักดันให้หน่วยงานราชการอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาด้าน I/T แก่หน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้ประสานให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เป็นต้น
3.3 หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักต้องถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบและให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ที่ตนเป็นเจ้าภาพให้ได้มาตรฐานและเป็นระบบกลาง สำหรับหน่วยงานอื่นมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ยอมรับและนำไปใช้ด้วย
3.4 รัฐบาลชี้นำและผลักดันการใช้ข้อมูลร่วมกัน และการบูรณาการข้อมูล เช่น ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ข้อมูลสารสนเทศด้านบุคคล เป็นต้น โดยควรกำหนดให้ความสำเร็จในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ เป็นส่วนหนึ่งของคำรับรองการปฏิบัติราชการระหว่างรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรี และระหว่างรัฐมนตรีกับปลัดกระทรวง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--
1. กรอบการพัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) มีวัตถุประสงค์เพื่อจะทำให้ระบบราชการสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้น ระบบใหม่จะต้องไม่สร้างขั้นตอน หรือกำหนดรูปแบบการทำงานที่เกินความจำเป็น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของแต่ละหน่วยงานในปัจจุบันมีลักษณะต่างฝ่ายต่างดำเนินการ มีส่วนราชการจำนวนไม่มากที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้ การดำเนินการตามกรอบที่เสนอ มีลักษณะเป็นโครงข่ายข้อมูลที่อยู่เหนือระบบงานของส่วนราชการปัจจุบัน ที่ส่วนราชการไม่จำเป็นต้องนำข้อมูลทุกเรื่องเข้าสู่ระบบ แต่ทุกหน่วยงานสามารถมีทางเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบโครงข่ายนี้ได้ ซึ่งจะเป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของส่วนราชการอื่นที่ไม่มีข้อมูลพื้นฐาน แต่มีความจำเป็นต้องการใช้ข้อมูลนั้นๆ ดังนั้น ในการดำเนินการช่วงแรก ส่วนราชการแต่ละส่วนอาจต้องมีการปรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภายในบางระบบเพื่อรองรับกรอบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลัก
2. การเริ่มดำเนินการตามกรอบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลัก ควรเริ่มในลักษณะนำร่อง โดยให้แต่ละกลุ่มงานที่มีความพร้อมเข้าสู่ระบบเพื่อทดลองให้สามารถนำไปใช้ได้จริงหรือประยุกต์ใช้ได้
3. การทำงานในระบบที่เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างกันบนมาตรฐานหรือระบบงานเดียวกัน จำเป็นที่ต้องมีการจัดทำระบบงาน (Business Process) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดขั้นตอนการทำงาน ตลอดจนแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการทำงานที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น หน่วยงานหลักที่เป็นเจ้าภาพในแต่ละระบบควรเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณาเพื่อทราบความต้องการและนำไปออกแบบระบบต่อไป ในส่วนของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งจะต้องรับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานกลางด้านเทคโนโลยี นั้น ควรดำเนินการในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนให้ส่วนราชการที่มีระบบต่าง ๆ ที่ดีอยู่แล้ว หรือระบบที่เป็นความต้องการเฉพาะสามารถดำเนินการต่อไปได้ตามปกติ รวมทั้งให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบกลางได้โดยไม่เกิดภาวะชะงักงัน
4. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ของหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการ มีความจำเป็นต้องมีผู้รับผิดชอบในการกำกับควบคุมดูแล ให้คำปรึกษาและติดตามประเมินผล ซึ่งในเบื้องต้นควรมอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับ ก.พ.ร. สร้างการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ให้สามารถใช้ระบบจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรต่อไป
กรอบการพัฒนาระบบงาน มีสาระสำคัญดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพใน 3 มิติ คือ
1.1 บูรณาการระบบ Back Office ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้ข้อมูลและระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐร่วมกันได้ โดยพัฒนาระบบแยกเป็นส่วนต่าง ๆ 5 ส่วน คือ
ชั้นที่ 1 การจัดให้มีระบบโครงข่ายโทรคมนาคม (Telecom Networks) ที่เหมาะสมในการเชื่อมโยงองค์กรต่างๆ
ชั้นที่ 2 กำหนดมาตรฐานกลางและช่องทางการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบโทรคมนาคม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดต่อใช้ข้อมูลหรือระบบร่วมกันได้ เช่น มาตรฐานการส่งข้อมูลในโครงข่าย เป็นต้น
ชั้นที่ 3 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ (Information) ที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ระหว่างหน่วยงาน เช่น ข้อมูลบุคคล ข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลสถานที่ พร้อมทั้งจัดทำระบบความปลอดภัยของข้อมูล เช่น ระบบยืนยันตัวบุคคล (Authentication)
ชั้นที่ 4 การจัดทำโปรแกรมประยุกต์กลางของแต่ละระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) เพื่อประมวลผลและใช้ข้อมูลร่วมกัน และสามารถดึงข้อมูลส่วนราชการได้ หรือสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์กลางที่ส่วนราชการหลัก ๆ มีอยู่ไปใช้งานร่วมกันได้
ชั้นที่ 5 การบูรณาการระบบและข้อมูลสารสนเทศ (Integration) ระหว่างส่วนราชการต่างๆ เข้าหากัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของ e-Citizen Service หรือ One Stop Service ได้
1.2 พัฒนาระบบ Back Office ให้สนองตอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการที่ 1,3 และ 6
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงานเน้นการปฏิบัติงานที่สั้น สะดวกและรวดเร็ว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณเน้นการอำนวยความสะดวก ไม่เยิ่นเย้อ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย เน้นความทันสมัย ระบบไร้กระดาษและองค์กรเสมือนจริง (Virtual Organization)
1.3 แบ่งบทบาทหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ให้มีการทำงานร่วมกันตามกลุ่มงานพัฒนา 5 ขั้น มีการแบ่งความรับผิดชอบที่ชัดเจนว่าหน่วยงานใดมีบทบาทในการพัฒนาหรือปฏิบัติการอย่างไร โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ หน่วยงานหลัก หน่วยงานรอง หน่วยงานเสริม และหน่วยงานที่ปรึกษา
2. กรอบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ซึ่งมีความสำคัญต่อหน่วยงานของภาครัฐในการให้บริการประชาชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นข้อมูลให้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร จึงเป็นระบบที่ควรพิจารณาให้ตอบสนองยุทธศาสตร์ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฯ รองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันเนื่องมาจากการพัฒนาระบบราชการหน่วยงานอื่นสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้และเป็นที่ยอมรับของทุกหน่วยงาน
3. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนาระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องดำเนินการคู่ขนานไปกับการพัฒนา 4 ประการ คือ
3.1 ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี 4 ฉบับ เพื่อให้การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในหน่วยงานภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3.2 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทในการสนับสนุนหน่วยงานหลักในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) เช่น เป็นเจ้าภาพในด้านการกำหนดมาตรฐานด้าน I/T และผลักดันให้หน่วยงานราชการอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เป็นหน่วยงานที่ปรึกษาด้าน I/T แก่หน่วยงานภาครัฐ เป็นผู้ประสานให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เป็นต้น
3.3 หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักต้องถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบและให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ (Back Office) ที่ตนเป็นเจ้าภาพให้ได้มาตรฐานและเป็นระบบกลาง สำหรับหน่วยงานอื่นมีส่วนร่วมคิดร่วมทำ ยอมรับและนำไปใช้ด้วย
3.4 รัฐบาลชี้นำและผลักดันการใช้ข้อมูลร่วมกัน และการบูรณาการข้อมูล เช่น ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ข้อมูลสารสนเทศด้านบุคคล เป็นต้น โดยควรกำหนดให้ความสำเร็จในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตามยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพ เป็นส่วนหนึ่งของคำรับรองการปฏิบัติราชการระหว่างรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรี และระหว่างรัฐมนตรีกับปลัดกระทรวง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--