คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า “ 30 บาทช่วยคนไทยห่างไกลโรค” รอบ 6 เดือน ปีงบประมาณ 2549 (1 ตุลาคม 2548 — 31 มีนาคม 2549) และงานที่สำคัญเพื่อการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพในปี 2549 สรุปได้ดังนี้
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2549 ณ เดือนมีนาคม 2549 พบว่า ประชาชนคนไทยมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 60.79 ล้านคน ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 96.51 ของประชากรทั้งประเทศ (62.99 ล้านคน) มีอัตราความครอบคลุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 จากผลงานในไตรมาส 1 จำนวนประชากรที่มีสิทธิว่างซึ่งรอการตรวจสอบสิทธิ 2.20 ล้านคน ลดลงจากไตรมาส 1 ร้อยละ 5.81
ประชากรลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 47.60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ร้อยละ 0.40 เป็นสิทธิประกันสุขภาพแบบเสียค่าธรรมเนียม จำนวน 22.77 ล้านคน และสิทธิประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียม จำนวน 24.83 ล้านคน หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในไตรมาส 2 มีจำนวน ทั้งสิ้น 1,156 แห่ง เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก 12 แห่ง แยกเป็น โรงพยาบาลของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 828 แห่ง (ร้อยละ 71.63) โรงพยาบาลของรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 74 แห่ง (ร้อยละ 6.40) โรงพยาบาลเอกชน 60 แห่ง (ร้อยละ 5.19) และคลินิกชุมชนอบอุ่น จำนวน 194 แห่ง (ร้อยละ 16.78)
ในช่วง (มิ.ย. — ธ.ค.48) มีจังหวัดเข้าร่วมโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งสิ้น 70 จังหวัด มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 453,174 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.74 ของเป้าหมายโครงการ (เป้าหมายการคัดกรอง 700,000 ราย)พบว่ามีผลผิดปกติจำนวน 5,092 ราย เป็นผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น จำนวน 135 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของจำนวนการอ่านสไลด์ทั้งหมด 324,286 ราย
ณ มีนาคม 2549 จำนวนหน่วยบริการที่มีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA และมาตรฐาน ISO เพิ่มขึ้นเป็น 818 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.12 ของหน่วยบริการทั้งสิ้น 961 แห่ง ส่วนโครงการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้มีการปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ เพิ่มเติมรายการยาที่ใช้ในการรักษาโรคเลือดออกง่าย (ฮีโมฟีเลีย) และเพิ่มบัญชียาสมุนไพร สำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ เพื่อจัดทำสิทธิประโยชน์ด้านยาที่เหมาะสมต่อไป
สปสช. ได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพเพื่อให้บริการข้อมูลสิทธิประโยชน์ แนะนำการใช้บริการ รับเรื่องร้องเรียน การแก้ปัญหาและคุ้มครองสิทธิของผู้รับบริการและหน่วยบริการให้มีมาตรฐานจากผลการดำเนินงานพบว่า เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนองภายใน 7 วันทำการ ร้อยละ 100.00 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการภายใน 30 วันทำการ ร้อยละ 83.24 และเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ร้อยละ 92.87 ส่วนการแก้ไขปัญหาเรื่องการร้องทุกข์ ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ร้อยละ 97.91 ส่วนการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบัน ได้พิจารณาเห็นชอบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ ทั้งหมด 189 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 1,447 ล้านบาท และจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 7 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 119,000 บาท
ประชาชน ผู้รับบริการและผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพ สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ในสื่อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ Website ฯลฯ การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชาชนนั้น ปัจจุบันมีเครือข่ายเข้าร่วมการดำเนินการทั้งสิ้น 15 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายเด็กหรือเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ เป็นต้น ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่าย และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพ การป้องกันโรคในชุมชนและระดับตำบล การดูแลผู้พิการ — ผู้สูงอายุ
สปสช. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคี สมาคมวิชาชีพ ร่วมกันกำหนดแนวทางการบริหารจัดการโรคค่าใช้จ่ายสูงและโรคเรื้อรังในด้านต่าง ๆ เพื่อการเข้าถึงบริการ และเพิ่มคุณภาพการรักษาที่ถูกต้อง ทันท่วงที ลดภาวะความแทรกซ้อน และความพิการ ผลการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการโรคเฉพาะ (Disease Management) ในรอบ 6 เดือนแรก มีการดำเนินการการบริหารจัดการโรคเฉพาะ จำนวน 9 โรค โดยโรคที่มีการลงทะเบียนมากที่สุดเมื่อเทียบกับเป้าหมายคือ โรคลมชัก (ร้อยละ 100.00) รองลงมาคือ โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย (ร้อยละ 27.33) และการแก้ไขความผิดปกติแต่กำเนิด (ร้อยละ 11.90)
การดำเนินงานศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ (Patient Referral Coordinating Center) ที่ต้องคอยคิวรับการผ่าตัดเป็นเวลานานให้สามารถรับการผ่าตัดได้เร็วขึ้น โดยรับข้อมูลผู้ป่วยที่คอยคิวผ่าตัดหัวใจจากสถาบัน/ โรงพยาบาลตติยภูมิทั่วประเทศ และดำเนินการประสานผู้ป่วยเพื่อเกลี่ยไปรับการผ่าตัดยังสถาบัน/โรงพยาบาลที่มีคิวสั้นกว่า ผลการดำเนินงานในช่วง ตุลาคม 2548 — มีนาคม 2549 พบว่าผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการจำนวน 1,363 ราย (ร้อยละ 94.33) จากจำนวนทั้งหมด 1,445 ราย และได้ดำเนินการประสานแล้วจำนวน 551 ราย (ร้อยละ 40.43) ส่วนผู้ป่วยที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ 812 ราย (ร้อยละ 59.57) ส่วนศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน สามารถประสานหาเตียงได้ ร้อยละ 64.38 ที่เหลือได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้น ขอเสียค่าใช้จ่ายเอง หรือ เสียชีวิต เป็นต้น
โครงการที่สำคัญสำหรับข้าราชการคือโครงการพัฒนาการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก สามารถเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลที่สามารถให้บริการเบิกแทนผู้มีสิทธิได้ เพื่อผู้มีสิทธิไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อนเมื่อใช้บริการผู้ป่วยนอก และไม่ต้องใช้หนังสือรับรองสิทธิจากต้นสังกัดเมื่อใช้บริการผู้ป่วยในได้ รวมทั้งสิ้น 978 แห่ง และคาดว่าโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งมีความพร้อมให้บริการในระบบใหม่คือสามารถดำเนินการเบิกแทนผู้มีสิทธิได้ประมาณเดือนเมษายน 2549 เป็นต้นไป
การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่าในภาพรวมมีการใช้เงินกองทุนฯ ไป ร้อยละ 43.45 โดยงบประมาณที่ใช้ไปมากที่สุดเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ ได้แก่ งบพื้นที่ทุรกันดาร (ร้อยละ 100) รองลงมาเป็นงบกองทุนเอดส์ (ร้อยละ 68.48) และงบเหมาจ่ายรายหัว (ร้อยละ 53.16) ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
ผลการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2549 ณ เดือนมีนาคม 2549 พบว่า ประชาชนคนไทยมีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้น สามารถครอบคลุมประชาชนผู้มีสิทธิจำนวน 60.79 ล้านคน ความครอบคลุมคิดเป็นร้อยละ 96.51 ของประชากรทั้งประเทศ (62.99 ล้านคน) มีอัตราความครอบคลุมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 จากผลงานในไตรมาส 1 จำนวนประชากรที่มีสิทธิว่างซึ่งรอการตรวจสอบสิทธิ 2.20 ล้านคน ลดลงจากไตรมาส 1 ร้อยละ 5.81
ประชากรลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 47.60 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ร้อยละ 0.40 เป็นสิทธิประกันสุขภาพแบบเสียค่าธรรมเนียม จำนวน 22.77 ล้านคน และสิทธิประกันสุขภาพแบบไม่เสียค่าธรรมเนียม จำนวน 24.83 ล้านคน หน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในไตรมาส 2 มีจำนวน ทั้งสิ้น 1,156 แห่ง เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก 12 แห่ง แยกเป็น โรงพยาบาลของรัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 828 แห่ง (ร้อยละ 71.63) โรงพยาบาลของรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 74 แห่ง (ร้อยละ 6.40) โรงพยาบาลเอกชน 60 แห่ง (ร้อยละ 5.19) และคลินิกชุมชนอบอุ่น จำนวน 194 แห่ง (ร้อยละ 16.78)
ในช่วง (มิ.ย. — ธ.ค.48) มีจังหวัดเข้าร่วมโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งสิ้น 70 จังหวัด มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 453,174 ราย คิดเป็นร้อยละ 64.74 ของเป้าหมายโครงการ (เป้าหมายการคัดกรอง 700,000 ราย)พบว่ามีผลผิดปกติจำนวน 5,092 ราย เป็นผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น จำนวน 135 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของจำนวนการอ่านสไลด์ทั้งหมด 324,286 ราย
ณ มีนาคม 2549 จำนวนหน่วยบริการที่มีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA และมาตรฐาน ISO เพิ่มขึ้นเป็น 818 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.12 ของหน่วยบริการทั้งสิ้น 961 แห่ง ส่วนโครงการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้มีการปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้แก่ เพิ่มเติมรายการยาที่ใช้ในการรักษาโรคเลือดออกง่าย (ฮีโมฟีเลีย) และเพิ่มบัญชียาสมุนไพร สำหรับโรงพยาบาลและสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ เพื่อจัดทำสิทธิประโยชน์ด้านยาที่เหมาะสมต่อไป
สปสช. ได้จัดทำโครงการพัฒนาศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพเพื่อให้บริการข้อมูลสิทธิประโยชน์ แนะนำการใช้บริการ รับเรื่องร้องเรียน การแก้ปัญหาและคุ้มครองสิทธิของผู้รับบริการและหน่วยบริการให้มีมาตรฐานจากผลการดำเนินงานพบว่า เรื่องร้องเรียนทุกเรื่องได้รับการตอบสนองภายใน 7 วันทำการ ร้อยละ 100.00 ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการภายใน 30 วันทำการ ร้อยละ 83.24 และเรื่องร้องเรียนที่ได้รับการดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ร้อยละ 92.87 ส่วนการแก้ไขปัญหาเรื่องการร้องทุกข์ ดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ ร้อยละ 97.91 ส่วนการช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบัน ได้พิจารณาเห็นชอบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้รับบริการ ทั้งหมด 189 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 1,447 ล้านบาท และจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้กับผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข จำนวน 7 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 119,000 บาท
ประชาชน ผู้รับบริการและผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพ สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ในสื่อชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ Website ฯลฯ การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชาชนนั้น ปัจจุบันมีเครือข่ายเข้าร่วมการดำเนินการทั้งสิ้น 15 เครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายเด็กหรือเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ เป็นต้น ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่าย และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพ การป้องกันโรคในชุมชนและระดับตำบล การดูแลผู้พิการ — ผู้สูงอายุ
สปสช. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคี สมาคมวิชาชีพ ร่วมกันกำหนดแนวทางการบริหารจัดการโรคค่าใช้จ่ายสูงและโรคเรื้อรังในด้านต่าง ๆ เพื่อการเข้าถึงบริการ และเพิ่มคุณภาพการรักษาที่ถูกต้อง ทันท่วงที ลดภาวะความแทรกซ้อน และความพิการ ผลการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการโรคเฉพาะ (Disease Management) ในรอบ 6 เดือนแรก มีการดำเนินการการบริหารจัดการโรคเฉพาะ จำนวน 9 โรค โดยโรคที่มีการลงทะเบียนมากที่สุดเมื่อเทียบกับเป้าหมายคือ โรคลมชัก (ร้อยละ 100.00) รองลงมาคือ โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย (ร้อยละ 27.33) และการแก้ไขความผิดปกติแต่กำเนิด (ร้อยละ 11.90)
การดำเนินงานศูนย์ประสานงานส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ (Patient Referral Coordinating Center) ที่ต้องคอยคิวรับการผ่าตัดเป็นเวลานานให้สามารถรับการผ่าตัดได้เร็วขึ้น โดยรับข้อมูลผู้ป่วยที่คอยคิวผ่าตัดหัวใจจากสถาบัน/ โรงพยาบาลตติยภูมิทั่วประเทศ และดำเนินการประสานผู้ป่วยเพื่อเกลี่ยไปรับการผ่าตัดยังสถาบัน/โรงพยาบาลที่มีคิวสั้นกว่า ผลการดำเนินงานในช่วง ตุลาคม 2548 — มีนาคม 2549 พบว่าผู้ป่วยที่ต้องดำเนินการจำนวน 1,363 ราย (ร้อยละ 94.33) จากจำนวนทั้งหมด 1,445 ราย และได้ดำเนินการประสานแล้วจำนวน 551 ราย (ร้อยละ 40.43) ส่วนผู้ป่วยที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ 812 ราย (ร้อยละ 59.57) ส่วนศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน สามารถประสานหาเตียงได้ ร้อยละ 64.38 ที่เหลือได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้น ขอเสียค่าใช้จ่ายเอง หรือ เสียชีวิต เป็นต้น
โครงการที่สำคัญสำหรับข้าราชการคือโครงการพัฒนาการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก สามารถเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลที่สามารถให้บริการเบิกแทนผู้มีสิทธิได้ เพื่อผู้มีสิทธิไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อนเมื่อใช้บริการผู้ป่วยนอก และไม่ต้องใช้หนังสือรับรองสิทธิจากต้นสังกัดเมื่อใช้บริการผู้ป่วยในได้ รวมทั้งสิ้น 978 แห่ง และคาดว่าโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งมีความพร้อมให้บริการในระบบใหม่คือสามารถดำเนินการเบิกแทนผู้มีสิทธิได้ประมาณเดือนเมษายน 2549 เป็นต้นไป
การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่าในภาพรวมมีการใช้เงินกองทุนฯ ไป ร้อยละ 43.45 โดยงบประมาณที่ใช้ไปมากที่สุดเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ ได้แก่ งบพื้นที่ทุรกันดาร (ร้อยละ 100) รองลงมาเป็นงบกองทุนเอดส์ (ร้อยละ 68.48) และงบเหมาจ่ายรายหัว (ร้อยละ 53.16) ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--