คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการตรวจเยี่ยมสถาบันการเงินที่ถูกวางระเบิดในพื้นที่จังหวัดยะลา ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. จำนวนสาขาของสถาบันการเงินที่เกิดเหตุระเบิด มีจำนวน 22 แห่ง จากจำนวนทั้งสิ้น 28 แห่งประกอบด้วย
1.1 สาขาของธนาคารพาณิชย์ 12 แห่ง
1.2 สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 5 แห่ง
1.3 สาขาของธนาคารออมสิน 3 แห่ง
1.4 สาขาของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 2 แห่ง
2. จากเหตุการณ์วางระเบิดดังกล่าวปรากฏว่า มีลูกค้าของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขายะลาเสียชีวิต 1 ราย คือ พ.ต. สุชาติ ศรีอ่อน และมีผู้บาดเจ็บ 27 ราย นอกจากนี้ ยังมีผู้บาดเจ็บที่เป็นพนักงานของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 1 ราย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5 ราย รวมทั้งเป็นนักศึกษาฝึกงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 1 ราย และสำหรับสถาบันการเงินของรัฐจากการประเมินความเสียหายในเบื้องต้นมีจำนวนประมาณ 1,550,000 บาท
3. สถานการณ์ปัจจุบัน นับจากที่สถาบันการเงินต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดยะลา ปิดทำการมาตั้งแต่เวลา 15.00 น ของวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2549 ได้เปิดทำการตามปกติแล้วในวันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2549 ยกเว้นสาขาของธนาคารอิสลาม 1 สาขาที่ยังอยู่ระหว่างซ่อมแซม ซึ่งคาดว่าจะเปิดทำการได้ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2549 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่สถาบันการเงินต่างๆ ปิดทำการชั่วคราวได้มีสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ถูกวางระเบิด จำนวน 3 แห่ง ยังคงเปิดทำการตามปกติ ได้แก่ สาขาธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และสาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ ในการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์จากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้การปิดทำการของสาขาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของธนาคารพาณิชย์แต่ละธนาคาร
4. ภายหลังการตรวจเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดยะลา อาทิเช่น สาขาธนาคารกรุงไทยฯ สาขา ธ.ก.ส. สาขาธนาคารอิสลามฯ และสาขาธนาคารกสิกรไทยฯ เป็นต้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้ประชุมหารือร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา รองเลขาธิการกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้บังคับการสถานีตำรวจภูธรจังหวัดยะลา หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประธานชมรมธนาคารจังหวัดยะลา และผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินของรัฐ โดยผลการประชุมสรุปได้ ดังนี้
4.1 มาตรการป้องกันระยะสั้น
1) การเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแลสาขาของสถาบันการเงิน จำนวน 2 ราย ในแต่ละสาขา และสำหรับพื้นที่รอบนอกฝ่ายทหารจะเข้าไปดูแล
2) จะจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถาบันการเงินให้มีความรู้และความเข้าใจในการดูแลความปลอดภัยในเชิงเป็นการป้องกันก่อนเกิดปัญหา และให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
4.2 มาตรการป้องกันระยะยาว
1) สนับสนุนให้สาขาของสถาบันการเงินในพื้นที่มีเครื่องตรวจโลหะ/วัตถุระเบิดอย่างเพียงพอ ทั้งชนิดมือถือ และเดินผ่าน
2) จัดให้มีกล้องวงจรปิดอย่างเพียงพอในแต่ละสาขา
4.3 ชมรมธนาคารประจำจังหวัดยะลาได้ขอให้ทางการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำในแต่ละสาขาไปจนถึงสิ้นปี 2549 นั้น ฝ่ายความมั่นคงจะได้มีการประเมินสถานการณ์เป็นระยะๆ รวมถึงความพร้อมของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสาขาสถาบันการเงินเองด้วย
4.4 ที่ประชุมยังได้ข้อสรุปว่า จะได้มีการหารือร่วมกัน เพื่อให้การวางระบบป้องกันเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
5. นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังยังได้เยี่ยมและมอบของชำร่วยให้กับผู้ป่วยที่ยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจังหวัดยะลา รวมทั้งได้เดินทางไปร่วมงานฌาปนกิจศพของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย
6. การเปิดทำการตามปกติของสาขาสถาบันการเงินโดยรวดเร็วส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ อีกทั้งมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนยิ่งขึ้น
อนึ่ง ได้มีการประชุมหารือโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังผู้แทนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2549 เวลา 8.00 น. เพื่อร่วมมือกันในการกำหนดมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อป้องกันเหตุการณ์ในอนาคตด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--
1. จำนวนสาขาของสถาบันการเงินที่เกิดเหตุระเบิด มีจำนวน 22 แห่ง จากจำนวนทั้งสิ้น 28 แห่งประกอบด้วย
1.1 สาขาของธนาคารพาณิชย์ 12 แห่ง
1.2 สาขาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 5 แห่ง
1.3 สาขาของธนาคารออมสิน 3 แห่ง
1.4 สาขาของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 2 แห่ง
2. จากเหตุการณ์วางระเบิดดังกล่าวปรากฏว่า มีลูกค้าของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขายะลาเสียชีวิต 1 ราย คือ พ.ต. สุชาติ ศรีอ่อน และมีผู้บาดเจ็บ 27 ราย นอกจากนี้ ยังมีผู้บาดเจ็บที่เป็นพนักงานของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 1 ราย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5 ราย รวมทั้งเป็นนักศึกษาฝึกงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 1 ราย และสำหรับสถาบันการเงินของรัฐจากการประเมินความเสียหายในเบื้องต้นมีจำนวนประมาณ 1,550,000 บาท
3. สถานการณ์ปัจจุบัน นับจากที่สถาบันการเงินต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดยะลา ปิดทำการมาตั้งแต่เวลา 15.00 น ของวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2549 ได้เปิดทำการตามปกติแล้วในวันจันทร์ที่ 4 กันยายน 2549 ยกเว้นสาขาของธนาคารอิสลาม 1 สาขาที่ยังอยู่ระหว่างซ่อมแซม ซึ่งคาดว่าจะเปิดทำการได้ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2549 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่สถาบันการเงินต่างๆ ปิดทำการชั่วคราวได้มีสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ไม่ถูกวางระเบิด จำนวน 3 แห่ง ยังคงเปิดทำการตามปกติ ได้แก่ สาขาธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และสาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ ในการปิดสาขาของธนาคารพาณิชย์จากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้การปิดทำการของสาขาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของธนาคารพาณิชย์แต่ละธนาคาร
4. ภายหลังการตรวจเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดยะลา อาทิเช่น สาขาธนาคารกรุงไทยฯ สาขา ธ.ก.ส. สาขาธนาคารอิสลามฯ และสาขาธนาคารกสิกรไทยฯ เป็นต้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้ประชุมหารือร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการและผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิเช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา รองเลขาธิการกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้บังคับการสถานีตำรวจภูธรจังหวัดยะลา หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประธานชมรมธนาคารจังหวัดยะลา และผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินของรัฐ โดยผลการประชุมสรุปได้ ดังนี้
4.1 มาตรการป้องกันระยะสั้น
1) การเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแลสาขาของสถาบันการเงิน จำนวน 2 ราย ในแต่ละสาขา และสำหรับพื้นที่รอบนอกฝ่ายทหารจะเข้าไปดูแล
2) จะจัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสถาบันการเงินให้มีความรู้และความเข้าใจในการดูแลความปลอดภัยในเชิงเป็นการป้องกันก่อนเกิดปัญหา และให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
4.2 มาตรการป้องกันระยะยาว
1) สนับสนุนให้สาขาของสถาบันการเงินในพื้นที่มีเครื่องตรวจโลหะ/วัตถุระเบิดอย่างเพียงพอ ทั้งชนิดมือถือ และเดินผ่าน
2) จัดให้มีกล้องวงจรปิดอย่างเพียงพอในแต่ละสาขา
4.3 ชมรมธนาคารประจำจังหวัดยะลาได้ขอให้ทางการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำในแต่ละสาขาไปจนถึงสิ้นปี 2549 นั้น ฝ่ายความมั่นคงจะได้มีการประเมินสถานการณ์เป็นระยะๆ รวมถึงความพร้อมของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสาขาสถาบันการเงินเองด้วย
4.4 ที่ประชุมยังได้ข้อสรุปว่า จะได้มีการหารือร่วมกัน เพื่อให้การวางระบบป้องกันเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
5. นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังยังได้เยี่ยมและมอบของชำร่วยให้กับผู้ป่วยที่ยังคงรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลจังหวัดยะลา รวมทั้งได้เดินทางไปร่วมงานฌาปนกิจศพของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วย
6. การเปิดทำการตามปกติของสาขาสถาบันการเงินโดยรวดเร็วส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ อีกทั้งมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนยิ่งขึ้น
อนึ่ง ได้มีการประชุมหารือโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังผู้แทนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และสมาคมธนาคารไทย เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2549 เวลา 8.00 น. เพื่อร่วมมือกันในการกำหนดมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อป้องกันเหตุการณ์ในอนาคตด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กันยายน 2549--จบ--