คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ประเทศไทยโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสนับสนุนเงินสำหรับการจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งอาเซียน (ASEAN ICT FUND) เป็นเงินจำนวน 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ โดยจ่ายเงินสนับสนุนปีละ 1 แสนเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,400,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยใช้เงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550-2554 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และเป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ การจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งอาเซียน (ASEAN ICT FUND) มีความจำเป็นเนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้
1) เนื่องจากเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โครงการต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้รวดเร็วสอดคล้องและเท่าทันสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันโครงการของอาเซียนที่ขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนอาเซียนนั้น สำนักเลขาธิการอาเซียนจะเป็นผู้พิจารณาดำเนินการอนุมัติ ซึ่งเท่าที่ผ่านมามักมีความล่าช้า เนื่องจากกองทุนมีจำนวนจำกัดและต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามขั้นตอนเช่นเดียวกับโครงการในสาขาอื่น ๆ ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเงื่อนเวลามากนัก สำหรับโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ก็ต้องผ่านความเห็นชอบจากสำนักเลขาธิการอาเซียนเช่นกัน อีกทั้งคู่เจรจาแต่ละประเทศก็มีข้อกำหนดในรายละเอียดแตกต่างกันไป ผู้เสนอโครงการจำเป็นต้องปรับแก้ข้อเสนอให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเหล่านั้นอีกชั้นหนึ่ง อันเป็นการทำให้การดำเนินโครงการต้องล่าช้าออกไปอีก นอกจากนั้น โครงการของสมาชิกอาเซียนมีจำนวนมาก จึงต้องแข่งขันกันเองเพื่อขอรับการสนับสนุน ส่งผลให้การดำเนินงานของอาเซียนไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทำให้เสียโอกาสทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่อาเซียนจะต้องจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งอาเซียนขึ้น เพื่อให้มีแหล่งทุนที่สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว
2) การใช้ประโยชน์จากกองทุน
กองทุนนี้ใช้เพื่อสนับสนุนด้านการเงินของโครงการความร่วมมือและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (TELSOM) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (TELMIN) อีกชั้นหนึ่ง โดยมีขอบเขตความร่วมมือใน 4 ด้าน ดังต่อไปนี้
- โครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศของอาเซียน (ASEAN Information Infrastructure)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการอำนวยความสะดวกทางการค้า (e-Commerce and ICT Trade Facilitation)
- การเสริมสร้างสังคมสารสนเทศและขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (e-Society and ICT Capacity Building)
- การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Universal Access, Digital Divide and e-Government)
3) การอนุมัติเงินกองทุน โครงการหรือกิจกรรมที่จะได้รับอนุมัติจะต้องมีความเหมาะสม และมีประเทศสมาชิกให้การสนับสนุนอย่างน้อย 2 ประเทศขึ้นไป นอกจากนั้น โครงการจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดด้านการตรวจสอบ การประเมิน และข้อกำหนดอื่น ๆ ตามข้อกำหนดใน TELSOM Guideline on Handling Proposals for ASEAN ICT Cooperation ซึ่ง TELSOM จะรับผิดชอบอนุมัติโครงการที่มีวงเงินไม่เกิน 1 แสนเหรียญสหรัฐฯ ส่วน TELMIN จะรับผิดชอบอนุมัติโครงการที่มีวงเงินเกิน 1 แสนเหรียญสหรัฐ ฯ
ในส่วนของจำนวนเงินสนับสนุน ประเทศไทยต้องสนับสนุนเป็นเงินจำนวน 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ ปีละ 1 แสนเหรียญฯ ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยเริ่มบริจาคงวดแรกจำนวน 1 แสนเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,400,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 44 บาท) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 กันยายน 2549--จบ--
ทั้งนี้ การจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งอาเซียน (ASEAN ICT FUND) มีความจำเป็นเนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้
1) เนื่องจากเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โครงการต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้รวดเร็วสอดคล้องและเท่าทันสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันโครงการของอาเซียนที่ขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนอาเซียนนั้น สำนักเลขาธิการอาเซียนจะเป็นผู้พิจารณาดำเนินการอนุมัติ ซึ่งเท่าที่ผ่านมามักมีความล่าช้า เนื่องจากกองทุนมีจำนวนจำกัดและต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ตามขั้นตอนเช่นเดียวกับโครงการในสาขาอื่น ๆ ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเงื่อนเวลามากนัก สำหรับโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ก็ต้องผ่านความเห็นชอบจากสำนักเลขาธิการอาเซียนเช่นกัน อีกทั้งคู่เจรจาแต่ละประเทศก็มีข้อกำหนดในรายละเอียดแตกต่างกันไป ผู้เสนอโครงการจำเป็นต้องปรับแก้ข้อเสนอให้สอดคล้องกับข้อกำหนดเหล่านั้นอีกชั้นหนึ่ง อันเป็นการทำให้การดำเนินโครงการต้องล่าช้าออกไปอีก นอกจากนั้น โครงการของสมาชิกอาเซียนมีจำนวนมาก จึงต้องแข่งขันกันเองเพื่อขอรับการสนับสนุน ส่งผลให้การดำเนินงานของอาเซียนไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ทำให้เสียโอกาสทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่อาเซียนจะต้องจัดตั้งกองทุนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งอาเซียนขึ้น เพื่อให้มีแหล่งทุนที่สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัวและรวดเร็ว
2) การใช้ประโยชน์จากกองทุน
กองทุนนี้ใช้เพื่อสนับสนุนด้านการเงินของโครงการความร่วมมือและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (TELSOM) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (TELMIN) อีกชั้นหนึ่ง โดยมีขอบเขตความร่วมมือใน 4 ด้าน ดังต่อไปนี้
- โครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศของอาเซียน (ASEAN Information Infrastructure)
- พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการอำนวยความสะดวกทางการค้า (e-Commerce and ICT Trade Facilitation)
- การเสริมสร้างสังคมสารสนเทศและขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (e-Society and ICT Capacity Building)
- การลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Universal Access, Digital Divide and e-Government)
3) การอนุมัติเงินกองทุน โครงการหรือกิจกรรมที่จะได้รับอนุมัติจะต้องมีความเหมาะสม และมีประเทศสมาชิกให้การสนับสนุนอย่างน้อย 2 ประเทศขึ้นไป นอกจากนั้น โครงการจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดด้านการตรวจสอบ การประเมิน และข้อกำหนดอื่น ๆ ตามข้อกำหนดใน TELSOM Guideline on Handling Proposals for ASEAN ICT Cooperation ซึ่ง TELSOM จะรับผิดชอบอนุมัติโครงการที่มีวงเงินไม่เกิน 1 แสนเหรียญสหรัฐฯ ส่วน TELMIN จะรับผิดชอบอนุมัติโครงการที่มีวงเงินเกิน 1 แสนเหรียญสหรัฐ ฯ
ในส่วนของจำนวนเงินสนับสนุน ประเทศไทยต้องสนับสนุนเป็นเงินจำนวน 5 แสนเหรียญสหรัฐฯ ปีละ 1 แสนเหรียญฯ ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยเริ่มบริจาคงวดแรกจำนวน 1 แสนเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 4,400,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 44 บาท) ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 19 กันยายน 2549--จบ--