คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานผลความคืบหน้าการเจรจา FTA ของไทยที่มีผลบังคับใช้แล้ว 5 ประเทศ ซึ่งได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย จีน และญี่ปุ่น ดังนี้
1. ความตกลงการค้าเสรีไทย — ออสเตรเลีย (TAFTA)
1.1 การค้าระหว่างประเทศและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)
รายการ การค้าระหว่างประเทศ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี 2550 ปี 2551 ร้อยละ ปี 2550 ปี 2551 ร้อยละสัดส่วน (ม.ค.-มิ.ย.) เปลี่ยนแปลง (ม.ค.-มิ.ย.) การใช้สิทธิ การค้ารวม 9,520.8 5,977.8 33.9 4,652.3 2,612.0 43.7 -ส่งออก 5,720.4 3,511.2 31.5 4,218.8 2,340.1 66.6 -นำเข้า 3,800.6 2,466.6 37.5 433.5 271.9 11.0 -ดุลการค้า 1,920.0 1,044.6 - 3,785.3 2,068.2 -
1.2 การส่งออกและนำเข้าสินค้าที่มีมาตรการปกป้องพิเศษ (SSG)
(1) ออสเตรเลีย มีสินค้าที่มีมาตรการ SSG ได้แก่ สินค้าทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรด ทั้งนี้ มาตรการ SSG ของออสเตรเลียจะใช้มาตรการนี้ได้ถึงสิ้นปี 2551 ในปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.) ออสเตรเลียยังไม่ใช้มาตรการนี้
(2) ไทย มีสินค้าที่มีมาตรการ SSG จำนวน 23 รายการ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เครื่องในวัว เครื่องในหมู เนยแข็ง หางนม ผง เป็นต้น ไทยจะใช้มาตรการนี้ได้จนถึงสิ้นปี 2563 ในปีนี้ (ม.ค. — มิ.ย.) ไทยใช้มาตรการนี้กับ ออสเตรเลียในการนำเข้าองุ่นสด
1.3 การนำเข้าสินค้าที่มีมาตรการจำกัดปริมาณ (TRQ)
ไทยมีมาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้า (TRQ) จำนวน 8 รายการ ได้แก่ นมสดและนมพร้อมดื่ม นมผงขาดมันเนย มัน ฝรั่ง เมล็ดกาแฟ ชา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ น้ำตาล และกาแฟสำเร็จรูป หลังความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ มีการนำเข้าสินค้าที่มีโควตาไม่เกินปริมาณที่ กำหนด เนื่องจากมีคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรการนำเข้าสินค้าแต่ละชนิด ส่วนออสเตรเลียไม่มีมาตรการดังกล่าว
1.4 ผลการดำเนินการภายใต้ Expert Group on SPS
(1) ออสเตรเลีย อนุญาตให้นำเข้าสินค้าที่อยู่ใน Priority List แล้ว 7 รายการ ได้แก่ มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ สับปะรด ทุเรียนแกะเปลือก ส้มโอแกะเปลือก และปลาสวยงาม ในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยมีการส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปออสเตรเลียรวม 1.4 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40
(2) ไทย ผ่อนปรนมาตรการ SPS ให้กับสินค้าออสเตรเลียที่อยู่ใน Priority List ได้แก่ ส้ม มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง โค- กระบือมีชีวิต และอาหารสัตว์ในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารวม 5.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง ร้อยละ 3.7
1.5 ออสเตรเลียลงทุนในไทย
การลงทุนโดยตรงจากออสเตรเลีย ในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) โครงการที่ขอรับการส่งเสริมลงทุน 8 โครงการ มูลค่า 1,024 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่มี 14 โครงการ มูลค่า 1,000 ล้านบาท
1.6 เรื่องที่ต้องดำเนินการต่อ
(1) การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการเพิ่มเติม และนโยบายการแข่งขันภายใน 3 ปีหลังความตกลงมีผลใช้บังคับ (ปี2551)
(2) การทบทวนการดำเนินมาตรการปกป้องพิเศษภายใน 3 ปี หลังความตกลงมีผลใช้บังคับ (ปี 2551)
(3) การทบทวนความตกลงฯ (ระดับรัฐมนตรี) ภายใน 5 ปี หลังความตกลงมีผลใช้บังคับ (ปี 2553)
(4) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความตกลงการค้าเสรีไทย — ออสเตรเลียทุกปี หรือตามที่ตกลงกัน
2. ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์ (TNZCEP)
2.1 การค้าระหว่างประเทศและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)
รายการ การค้าระหว่างประเทศ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี 2550 ปี 2551 ร้อยละ ปี 2550 ปี 2551 ร้อยละสัดส่วน (ม.ค.-มิ.ย.) เปลี่ยนแปลง (ม.ค.-มิ.ย.) การใช้สิทธิ การค้ารวม 1,024.1 733.4 71.9 -ส่งออก 611.7 350.9 27.8 * * * -นำเข้า 412.4 422.5 140.9 155.5 143.2 33.9 -ดุลการค้า 199.3 -71.6 - หมายเหตุ : * ไม่มีสถิติการใช้ประโยชน์ เนื่องจาก กระทรวงพาณิชย์ไม่ต้องออกหนังสือรับรอง
2.2 การส่งออกและนำเข้าสินค้าที่มีมาตรการปกป้องพิเศษ (SSG)
ไทย มีสินค้าที่มีมาตรการ SSG จำนวน 25 รายการ ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ เนย องุ่นสด และมันฝรั่ง เป็นต้น โดย จะสิ้นสุดในปี 2563 ส่วนในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) ไทยใช้มาตรการนี้กับนิวซีแลนด์ในการนำเข้าสินค้าเนยแข็งอื่น ๆ ส่วน นิวซีแลนด์ ไม่มี SSG
2.3 การนำเข้าสินค้าที่มีมาตรการจำกัดปริมาณ (TRQ)
ไทย มีมาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้า (TRQ) จำนวน 4 กลุ่มสินค้า ได้แก่ นมสดและนมพร้อมดื่ม มันฝรั่ง หัวหอม และ เมล็ดพันธุ์หัวหอม โดยหลังความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ มีการนำเข้าสินค้าดังกล่าวไมเกินโควตาที่กำหนด เนื่องจากมีคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรการ นำเข้าสินค้าแต่ละชนิดส่วนนิวซีแลนด์ไม่มี TRQ
2.4 ผลการดำเนินการภายใต้ Expert Group on SPS
นิวซีแลนด์อนุญาตให้นำเข้าสินค้าที่อยู่ใน Priority List แล้ว 5 รายการ ได้แก่ มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ ขิงสด และทุเรียนแกะ เปลือก ในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย) ไทยมีการส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปนิวซีแลนด์รวม 0.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2.5 นิวซีแลนด์ลงทุนในไทย
การลงทุนโดยตรงจากนิวซีแลนด์ ในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย) โครงการที่ขอรับการส่งเสริมลงทุน 4 โครงการ มูลค่า 453 ล้านบาท เทียบกับระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ไม่มีการลงทุนในไทยเลย
2.6 เรื่องที่ต้องดำเนินการต่อ
(1) การเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการเพิ่มเติม ภายใน 3 ปี หลังความตกลงมีผลใช้บังคับ (30 มิถุนายน 2551)
(2) การทบทวนการดำเนินมาตรการปกป้องพิเศษภายใน 3 ปี หลังความตกลงมีผลใช้บังคับ (1 กรกฎาคม 2551)
(3) การทบทวนความตกลงฯ (ระดับรัฐมนตรี) ภายใน 5 ปี หลังความตกลงมีผลใช้บังคับ (30 มิถุนายน 2553)
(4) การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นไทย—นิวซีแลนด์ทุกปี หรือตามที่ตกลงกัน
(5) โครงการความร่วมมือด้านปศุสัตว์
3. เขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย (ITFTA)
3.1 การค้าระหว่างประเทศและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)
รายการ การค้าระหว่างประเทศ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี 2550 ปี 2551 ร้อยละ ปี 2550 ปี 2551 ร้อยละสัดส่วน (ม.ค.-มิ.ย.) เปลี่ยนแปลง (ม.ค.-มิ.ย.) การใช้สิทธิ การค้ารวม 4,728.30 2,897.20 32 450.8 248.1 8.6 -ส่งออก 2,662.2 1,576.9 28.2 417.3 223.7 14.2 -นำเข้า 2,066.1 1,320.2 26.9 33.5 24.4 1.8 -ดุลการค้า 596.1 256.7 - 383.8 199.3 -
3.2 อินเดียลงทุนในไทย
การลงทุนโดยตรงจากอินเดีย ในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) โครงการที่ขอรับการส่งเสริมลงทุน 10 โครงการ มูลค่า 576 ล้าน บาท เทียบกับปีก่อนที่มี 12 โครงการ มูลค่า 2,090 ล้านบาท
3.3 เรื่องที่ต้องดำเนินการต่อ การเจรจาเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติมจากเดิมที่เปิดเสรีไปแล้ว 82 รายการ
4. ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน — จีน (ACFTA)
4.1 การค้าระหว่างประเทศและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)
รายการ การค้าระหว่างประเทศ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี 2550 ปี 2551 ร้อยละ ปี 2550 ปี 2551 ร้อยละสัดส่วน (ม.ค.-มิ.ย.) เปลี่ยนแปลง (ม.ค.-มิ.ย.) การใช้สิทธิ การค้ารวม 31,046.60 18,337.80 29.2 2,028.20 1,052.60 5.7 -ส่งออก 14,821.7 8,359.9 27.4 1,874.1 978.4 11.7 -นำเข้า 16,224.9 9,977.9 30.8 154.1 74.2 0.7 -ดุลการค้า -1,403.2 -1,618.0 - 1,720.0 904.2 -
4.2 จีนลงทุนในไทย
การลงทุนโดยตรงจากจีน ในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) โครงการที่ขอรับการส่งเสริมลงทุน 7 โครงการ มูลค่า 180 ล้าน บาท เทียบกับปีก่อนมี 18 โครงการ มูลค่า 3,962 ล้านบาท โดยมีโครงการขนาดใหญ่ที่ได้รับอนุมัติที่มีเงินลงทุนตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป คือ กิจการโรงแรม
5. ความตกลงการค้าเสรีไทย — ญี่ปุ่น (JTEPA)
5.1 การค้าระหว่างประเทศและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.)
รายการ การค้าระหว่างประเทศ (ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
(ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ปี 2550 ปี 2551 ร้อยละเปลี่ยนแปลง ปี 2550 ปี 2551 ร้อยละสัดส่วน (ม.ค.-มิ.ย.) (ม.ค.-มิ.ย.) การใช้สิทธิ การค้ารวม 46,358.40 26,359.00 19.1 723.9 3,061.10 11.6 -ส่งออก 17,976.9 9,878.8 13.0 677.1 2,325.4 23.5 -นำเข้า 28,381.5 16,480.2 23.1 46.8 735.7 4.5 -ดุลการค้า -10.404.6 -6,601.40 - 630.3 1,589.70 -
5.2 ญี่ปุ่นลงทุนในไทย
การลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่น ในปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย) โครงการที่ขอรับการส่งเสริมลงทุน 164 โครงการ มูลค่า 29,846 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนมี 161 โครงการ มูลค่า 61,748 ล้านบาท อุตสาหกรรมที่นักลงทุนญี่ปุ่นยื่นขอมากที่สุด คือ กลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนโลหะ และยานพาหนะ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 ตุลาคม 2551--จบ--