แท็ก
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
ร่างพระราชบัญญัติ
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
กระทรวงแรงงาน
การท่องเที่ยว
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการท่องเที่ยว กีฬา พุทธศาสนา แรงงานและการพัฒนาสังคม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานฯ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงแรงงานเสนอว่า กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับในปัจจุบันคือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 19 สิงหาคม 2541 ภายหลังจากที่ใช้บังคับ ได้มีการร้องเรียนให้ ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวจากลูกจ้าง นายจ้าง ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการบัญญัติกฎหมาย นักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) โดยเห็นควรผลักดันให้มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศ ให้มีการคุ้มครองแรงงานภายใต้การดำเนินการของรัฐ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม ลดความเอาเปรียบในการจ้างงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และให้แก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งมีประเด็นใน การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ที่สำคัญ เช่น ปรับปรุงบทบัญญัติให้สอดคล้องกับบทบัญญัติว่าด้วยความเสมอภาคกันในกฎหมายตามมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขยายความคุ้มครองให้แก่ลูกจ้างกรณีที่มีการจ้างงานลักษณะเหมาค่าแรง เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจแรงงานของพนักงานตรวจแรงงาน กำหนดการคุ้มครองแรงงานให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม กำหนดให้มีการใช้สื่ออิเลกทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นสำหรับการแจ้งการดำเนินงานหรือส่งเอกสารต่อหน่วยงานของรัฐได้
ทั้งนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวม 2 ครั้ง ผลการสัมมนามีข้อเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในหลายประเด็น เช่น เวลาทำงานปกติ การคุ้มครองแรงงานหญิง การหยุดกิจการชั่วคราว การรับเหมาค่าแรงและการตรวจแรงงาน เป็นต้น
กระทรวงแรงงานจึงเห็นควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้แรงงานให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป รวมทั้งเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ โดยการอ้างประเด็นทางด้านแรงงาน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 มกราคม 2549--จบ--
กระทรวงแรงงานเสนอว่า กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานที่ใช้บังคับในปัจจุบันคือพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 19 สิงหาคม 2541 ภายหลังจากที่ใช้บังคับ ได้มีการร้องเรียนให้ ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวจากลูกจ้าง นายจ้าง ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการบัญญัติกฎหมาย นักวิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) โดยเห็นควรผลักดันให้มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของประเทศ ให้มีการคุ้มครองแรงงานภายใต้การดำเนินการของรัฐ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม ลดความเอาเปรียบในการจ้างงานระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง และให้แก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งมีประเด็นใน การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ ที่สำคัญ เช่น ปรับปรุงบทบัญญัติให้สอดคล้องกับบทบัญญัติว่าด้วยความเสมอภาคกันในกฎหมายตามมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขยายความคุ้มครองให้แก่ลูกจ้างกรณีที่มีการจ้างงานลักษณะเหมาค่าแรง เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจแรงงานของพนักงานตรวจแรงงาน กำหนดการคุ้มครองแรงงานให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม กำหนดให้มีการใช้สื่ออิเลกทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่นสำหรับการแจ้งการดำเนินงานหรือส่งเอกสารต่อหน่วยงานของรัฐได้
ทั้งนี้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวม 2 ครั้ง ผลการสัมมนามีข้อเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในหลายประเด็น เช่น เวลาทำงานปกติ การคุ้มครองแรงงานหญิง การหยุดกิจการชั่วคราว การรับเหมาค่าแรงและการตรวจแรงงาน เป็นต้น
กระทรวงแรงงานจึงเห็นควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยปรับปรุงบทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้แรงงานให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป รวมทั้งเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ โดยการอ้างประเด็นทางด้านแรงงาน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ...ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 มกราคม 2549--จบ--