คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานการวิจัยเชิงสำรวจลำดับความสำคัญที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างที่รับเงินเดือนในภาคเอกชน สรุปได้ดังนี้
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการโดยให้สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต จัดทำการสำรวจ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. วิธีการทำวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจลำดับความสำคัญที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างที่ทำงานรับเงินเดือนในภาคเอกชน
2. ช่วงเวลาที่ทำวิจัย วันที่ 24 — 25 พฤษภาคม 2549
3. จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,073 ตัวอย่าง จากพื้นที่วิจัยภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4. สรุปผลการสำรวจ
4.1 ความเดือดร้อนที่ได้รับจากผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ
อันดับที่ 1 รายจ่ายสูงขึ้น ร้อยละ 51.45 เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้น ภาระหนี้เพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
อันดับที่ 2 รายได้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 26.25 เนื่องจากถูกลดสวัสดิการหรือค่าตอบแทนเปลี่ยนสายงานเพราะรายได้ลดลง และรายได้เท่าเดิมเพิ่มขึ้น
อันดับที่ 3 ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 15.70 เนื่องจากโอกาสในการเปลี่ยนงานยากขึ้น ขอสินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจไม่ได้ และต้องการอาชีพเสริม
อันดับที่ 4 ความเดือดร้อนอื่น ๆ ร้อยละ 6.55 เนื่องจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น รายรับเท่าเดิมแต่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น และค่าครองชีพสูงขึ้น
4.2 สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลให้รัฐบาลช่วยเหลือหรือดูแลให้เป็นพิเศษ คือ อันดับที่ 1 ลดค่าโดยสารขนส่งมวลชน ร้อยละ 73.63 อันดับที่ 2 เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 73.00 อันดับที่ 3 ลดภาษีเพื่อบรรเทาค่าครองชีพ ร้อยละ 68.13 อันดับที่ 4 จัดขายสินค้าราคาพิเศษ ร้อยละ 66.75 อันดับที่ 5 ไม่เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 63.13 อันดับที่ 6 หาแหล่งเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ ร้อยละ 61.88 อันดับที่ 7 ต้องการอาชีพเสริม ร้อยละ 58.63 อื่น ๆ เช่น ลดราคาน้ำมัน ควบคุมราคาสินค้า เพิ่มเงินเดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--
กระทรวงการคลังได้ดำเนินการโดยให้สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต จัดทำการสำรวจ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. วิธีการทำวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจลำดับความสำคัญที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างที่ทำงานรับเงินเดือนในภาคเอกชน
2. ช่วงเวลาที่ทำวิจัย วันที่ 24 — 25 พฤษภาคม 2549
3. จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,073 ตัวอย่าง จากพื้นที่วิจัยภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4. สรุปผลการสำรวจ
4.1 ความเดือดร้อนที่ได้รับจากผลกระทบทางเศรษฐกิจมากที่สุด คือ
อันดับที่ 1 รายจ่ายสูงขึ้น ร้อยละ 51.45 เนื่องจากราคาสินค้าสูงขึ้น ภาระหนี้เพิ่มขึ้นและอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
อันดับที่ 2 รายได้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 26.25 เนื่องจากถูกลดสวัสดิการหรือค่าตอบแทนเปลี่ยนสายงานเพราะรายได้ลดลง และรายได้เท่าเดิมเพิ่มขึ้น
อันดับที่ 3 ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 15.70 เนื่องจากโอกาสในการเปลี่ยนงานยากขึ้น ขอสินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจไม่ได้ และต้องการอาชีพเสริม
อันดับที่ 4 ความเดือดร้อนอื่น ๆ ร้อยละ 6.55 เนื่องจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น รายรับเท่าเดิมแต่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น และค่าครองชีพสูงขึ้น
4.2 สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลให้รัฐบาลช่วยเหลือหรือดูแลให้เป็นพิเศษ คือ อันดับที่ 1 ลดค่าโดยสารขนส่งมวลชน ร้อยละ 73.63 อันดับที่ 2 เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 73.00 อันดับที่ 3 ลดภาษีเพื่อบรรเทาค่าครองชีพ ร้อยละ 68.13 อันดับที่ 4 จัดขายสินค้าราคาพิเศษ ร้อยละ 66.75 อันดับที่ 5 ไม่เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 63.13 อันดับที่ 6 หาแหล่งเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ ร้อยละ 61.88 อันดับที่ 7 ต้องการอาชีพเสริม ร้อยละ 58.63 อื่น ๆ เช่น ลดราคาน้ำมัน ควบคุมราคาสินค้า เพิ่มเงินเดือน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤษภาคม 2549--จบ--